No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 128 (เล่ม 50)

พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนสิว-
ละ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจ
ของเราไปอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยว
ข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้ง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปชฺฌาโย ความว่า ชื่อว่า อุปัชฌายะ
เพราะเข้าไปเพ่งโทษน้อยและโทษใหญ่ คือมุ่งแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแล้ว
เพ่งดูด้วยญาณจักษุ. สามเณรเรียกตัวเอง ด้วยบทว่า มํ. บทว่า อวจาสิ
แปลว่า ได้กล่าวแล้ว.
บทว่า อิโต คจฺฉาม สิวก เป็นคำแสดงอาการที่กล่าวแล้ว.
อธิบายว่า ดูก่อนสิวกะ เราจะไปจากละแวกบ้านนี้ เราจงมาพากันไป สู่ที่ ๆ
เป็นป่าเท่านั้นเถิด ที่ ๆ เป็นป่าเท่านั้น เหมาะที่พวกเราทั้งหลายจะอยู่. ก็
สิวกสามเณรอันพระอุปัชฌาย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เกิดความสลดใจ เหมือนม้า
อาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกหวดด้วยแส้ฉะนั้น เมื่อจะประกาศความที่ตนประสงค์
จะไปสู่ป่าอย่างเดียว จึงกล่าวว่า
กายของเราอยู่ป่านี้ แต่ใจของเราอยู่ในป่า แม้
เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มี
แก่ผู้รู้แจ้ง ดังนี้.
คาถานั้น มีใจความดังนี้ เพราะเหตุที่ บัดนี้ แม้ร่างกายของเรานี้
ยังอยู่ที่ท้ายบ้าน แต่อัธยาศัยน้อมไปสู่ป่าอย่างเดียว ฉะนั้น เราแม้นอนอยู่ก็
จักไป คือ แม้ชื่อว่านอนอยู่เพราะไม่สามารถ ในการยืน นั่งและเดิน โดย
เป็นไข้ ก็จะคลาน กระเสือกกระสนไป เหมือนงู ทั้ง ๆ อาการที่นอนนี้
มาเถิดท่านขอรับ เราจงไปสู่ป่ากันเถิด เพราะเหตุไร ? เพราะความเกี่ยว

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 129 (เล่ม 50)

ข้องด้วยหมู่ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แล้ว เพราะสภาพธรรมดา ความเกี่ยวข้องในที่
ไหน ๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้โทษในกาม และในสงสาร รู้อานิสงส์ในเนกขัมมะ
และพระนิพพาน ตามความเป็นจริง ฉะนั้น คำสั่งของอุปัชฌาย์ จึงดำรงมั่น
แก่สามเณรด้วยคำพูดหนเดียวเท่านั้น ท่านพยากรณ์พระอรหัตผลด้วยการ
อ้างถึงคำสั่งเพียงหนเดียว.
จบอรรถกถาวนวัจฉเถรสามเณรคาถา
๕. กุณฑธานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุณฑธานเถระ
[๑๕๒] ได้ยินว่า พระกุณฑธานเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น
ให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุผู้ล่วงธรรม เป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ
ได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว.
อรรถกถากุณฑธานเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุณฑธานเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ
ชเห. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครหงสาวดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ฟังธรรมอยู่ เห็นภิกษุหนึ่ง อันพระ-

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 130 (เล่ม 50)

ศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้จับสลากก่อน ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น กระทำสมควรแก่ฐานันดรนั้น ท่องเที่ยวไปแล้ว. ครั้นวันหนึ่ง
เขาได้น้อมถวาย เครือกล้วยใหญ่สีเหลืองเหมือนจุณแห่งมโนศิลา แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วประทับนั่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับเครือกล้วยนั้น แล้วทรงเสวย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเสวยราชสมบัติทิพย์ ในหมู่เทพ ๑๑ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๔ ครั้ง เขากระทำบุญบ่อย ๆ อย่างนี้ แล้วท่องเที่ยว
อยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นภุมมเทวดา ในกาลของพระ-
พุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ.
ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ย่อมไม่มีอุโบสถ
ทุก ๆ กึ่งเดือน จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ได้มีอุโบสถในระหว่าง ๖ ปี. ส่วนพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสปะ สวดปาฏิ-
โมกข์ทุก ๆ ๖ เดือน. ในการสวดพระปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุผู้เป็นสหายกัน ๒ รูป
ผู้อยู่ประจำ เดินทางไปด้วยคิดว่า จักกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดาตนนี้ คิดว่า
ภิกษุ ๒ รูปนี้ รักกันแน่นหนาเหลือเกิน เมื่อมีผู้ทำลาย (ให้แตกกัน)
จะแตกกันหรือไม่หนอ มองหาโอกาส (ทำลาย) ภิกษุทั้งสองอยู่ เดินไปไม่ห่าง
ภิกษุสองรูปนั้นนัก. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ให้พระเถระอีกรูปหนึ่งถือบาตร
และจีวรไว้ เดินไปสู่ที่ ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อขับถ่ายสรีระ ล้างมือล้างเท้าแล้ว
ออกจากที่ใกล้พุ่มไม้ ภุมมเทวดาเดินตามหลังพระเถระนั้นไป แปลงเพศเป็น
หญิงรูปงาม ทำประหนึ่งสยายผมแล้วเกล้าใหม่ ทำประหนึ่งปัดฝุ่นที่หลัง และ
ทำเป็นประหนึ่ง จัดผ้านุ่งใหม่ เดินตามรอยเท้าพระเถระไป ออกจากพุ่มไม้
แล้ว. พระเถระผู้เป็นสหายยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เห็นเหตุนั้นแล้วเกิดโทมนัส
คิดว่า บัดนี้ ความรักที่ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน กับภิกษุนี้ ฉิบหายแล้ว

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 131 (เล่ม 50)

ถ้าเราพึงรู้ว่าเธอเป็นผู้มีกิเลสมากอย่างนี้ เราจักไม่ทำความคุ้นเคย กับภิกษุนี้
ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ ดังนี้ เมื่อพระเถระนั้นมาถึงเท่านั้น ก็กล่าวว่า
นิมนต์รับเอาบาตร จีวรของท่านไปเถิดอาวุโส เราไม่ปรารถนาจะร่วมทางกับ
ผู้ที่ลามกเช่นท่าน หทัยของภิกษุผู้ลัชชีนั้น ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ได้เป็นประหนึ่ง
ถูกเขาเอาหอกที่คมกริบเสียบแล้ว. ลำดับนั้น ลัชชีภิกษุนั้นจึงพูดกับพระเถระ
ผู้เป็นสหายว่า อาวุโส ท่านพูดอะไร เช่นนั้น เรายังไม่รู้ (ว่าต้อง) อาบัติ
แม้เพียงทุกกฏตลอดเวลาที่ประมาณเท่านี้ ก็วันนี้ ท่านกล่าวเราเป็นคนลามก
ท่านเห็นอะไรหรือ ? พระเถระผู้เป็นสหายจึงพูดว่า เรื่องอื่นที่เห็นแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไร ท่านออกในที่เดียวกันกับมาตุคาม ผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้ว
อย่างนี้ หรือ (มิใช่). พระเถระผู้ลัชชี กล่าวว่า อาวุโส เรื่องนี้ไม่มีแก่เราเลย
เราไม่เห็นมาตุคามเห็นปานนี้เลย. แม้เมื่อพระเถระผู้ลัชชีจะกล่าวอย่างนี้ถึง
๓ ครั้ง พระเถระนอกนี้ ก็ไม่เชื่อถือถ้อยคำ ยึดถือเอาเหตุที่ตนเห็นแล้ว
นั่นแหละว่าเป็นเรื่องจริง ไม่เดินร่วมทางเดียวกับภิกษุนั้น ไปสู่สำนักของ
พระศาสดาโดยทางอื่น.
ต่อแต่นั้นมา ถึงเวลาที่ภิกษุสงฆ์เข้าสู่โรงอุโบสถ ภิกษุนั้นเห็นลัชชี
ภิกษุนั้น ในโรงอุโบสถ รู้ชัดแล้ว ก็ออกไปเสียด้วยคิดว่า ภิกษุเช่นนี้ มีอยู่
ในโรงอุโบสถนี้ เราจักไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ ดังนี้แล้ว ได้ยืนอยู่ใน
ภายนอก. ลำดับนั้น ภุมมเทวดาคิดว่า เราทำกรรมหนักหนอ แล้วแปลงเพศ
เป็นอุบาสกแก่ไปยังสำนักของภิกษุนั้น กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุไฉน
พระคุณเจ้า จึงยืนอยู่ในที่นี้. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอุบาสก ภิกษุลามกรูปหนึ่ง
เข้าไปสู่โรงอุโบสถนี้ เราไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ เราคิดดังนี้ จึง
ออกมายืนอยู่ข้างนอก. ภุมมเทวดา จึงพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าถือ
อย่างนี้เลย ภิกษุนี้ มีศีลบริสุทธิ์ ชื่อว่ามาตุคามที่ท่านเห็นแล้ว คือ ข้าพเจ้าเอง

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 132 (เล่ม 50)

เพื่อจะทดลองไมตรีของท่านทั้งสองว่า ไมตรีของพระเถระทั้งสองรูปนี้จะมั่นคง
หรือไม่มั่นคงหนอดังนี้ ข้าพเจ้าผู้อยากดูความที่ท่านทั้งสองจะแตกไมตรีกัน
หรือไม่ กระทำกรรมนั้นแล้ว. ภิกษุนั้น ถามว่า ดูก่อนสัปบุรุษก็ท่านเป็นอะไร ?
ภุมมเทวดา ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นภุมมเทวดาคนหนึ่ง.
เทวบุตร เมื่อชี้แจงเสร็จ ก็ไม่ดำรงอยู่ในทิพพานุภาพ หมอบลงแทบเท้าของ
พระเถระ อ้อนวอนพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษแก่
ข้าพเจ้าเถิด พระเถระไม่รู้โทษนั้น ขอท่านจงทำอุโบสถเถิด ดังนี้แล้วนิมนต์
ให้พระเถระเข้าสู่โรงอุโบสถ. พระเถระนั้น ลงทำอุโบสถในที่เดียวกัน
เท่านั้น แต่ไม่นั่งในที่เดียวกันกับภิกษุนั้น ด้วยสามารถแห่งความสนิทสนม
อย่างมิตรอีก ทั้งไม่พูดถึงกรรมของพระเถระนี้. ส่วนพระเถระที่ถูกโจท
บำเพ็ญวิปัสสนาบ่อย ๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ภุมมเทวดา ไม่รอดพ้นจากภัยในอบายตลอด
พุทธันดรหนึ่ง. ก็ถ้าในเวลาไร มาสู่ความเป็นมนุษย์ โทษที่กระทำไว้ด้วย
กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น ๆ จะหล่นทับถมเขาทีเดียว ในกาลแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เขาเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี
คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า ธานมาณพ. ธานมาณพเจริญวัยแล้ว เรียน
ไตรเพท ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาในเวลาแก่ มีศรัทธา บวชแล้ว.
จำเดิมแต่วันที่ท่านอุปสมบทแล้ว สตรีผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วนางหนึ่ง
จะปรากฏติดตามท่านอยู่เป็นนิตย์ อย่างนี้คือ เมื่อท่านเข้าบ้าน ก็เข้าบ้าน
พร้อมกับท่าน เมื่อท่านออกก็ออกด้วย เมื่อท่านเข้าวิหารก็เข้าไปด้วย แม้
เมื่อท่านยืนอยู่ ก็ยืนอยู่ด้วย.
พระเถระไม่เห็นนางเลย แต่ด้วยกรรมเก่าของท่าน นางจึงปรากฏ
แก่คนเหล่าอื่น สตรีทั้งหลาย เมื่อถวายข้าวยาคู ถวายภิกษาในบ้าน จะพากัน

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 133 (เล่ม 50)

พูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้. สำหรับท่าน อีกกระบวยหนึ่ง
สำหรับหญิงผู้เป็นสหายของเราทั้งหลาย คนนี้ ดังนี้แล้ว ทำการเย้ยหยัน.
เป็นความลำบากอย่างยอดยิ่งแก่พระเถระ. ทั้งสามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลาย
ก็พากันห้อมล้อมท่านผู้เข้าไปสู่วิหาร พูดเยาะเย้ยว่า พระธานะเป็นเหี้ย.
ครั้นนั้น ท่านจึงเกิดมีนามเพิ่มว่า กุณฑธานเถระ* ด้วยเหตุนั้นเอง
ท่านเพียรพยายามแล้วก็ไม่สามารถจะอดกลั้นความเยาะเย้ย อันสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำอยู่ได้เกิดบ้าขึ้นมา พูดว่า พวกท่านสิเป็นเหี้ย อุปัชฌาย์
ของพวกท่านก็เป็นบ้า อาจารย์ก็เป็นบ้า. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ฟ้องท่านแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระโกณฑธานะกล่าวคำหยาบ
อย่างนี้ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย พระศาสดาตรัสสั่งให้เรียกพระ-
โกณฑธานะเถระมา ตรัสถามว่า ดูก่อนธานะ ได้ยินว่า เธอกล่าวคำหยาบกับ
สามเณรทั้งหลายหรือ เมื่อพระโกณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เป็นความจริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า เหตุไฉน เธอจึงกล่าวอย่างนี้. พระ-
โกณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดกลั้นความลำบาก
(ที่เกิดขึ้น) เป็นประจำไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่สามารถจะยังกรรมที่เธอทำไว้ในก่อน ให้สลายไปได้จนถึงวันนี้ เธอ
อย่ากล่าวคำหยาบเห็นปานนี้อีก ดังนี้แล้วตรัสว่า
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ ผู้ที่เธอ
กล่าวแล้ว พึงกล่าวตอบเธอ เพราะว่า ถ้อยคำแข่งดี
ให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ ถ้าเธอไม่ยังตน
ให้หวั่นไหวดุจกังสดาล ถูกขจัดแล้ว เธอจักเป็นผู้ถึง
พระนิพพาน ความแข่งดีย่อมไม่มีแก่เธอ ดังนี้.
* พม่า. เป็นโกณฑธานเถระ

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 134 (เล่ม 50)

และชาวเมืองทั้งหลาย ก็กราบทูลความที่พระเถระนั้นท่องเที่ยวไปกับ
มาตุคาม แม้แก่พระเจ้าโกศล. พระราชาส่งราชบุรุษไปด้วยตรัสว่า ดูก่อน
พนาย พวกท่านจงไป จงใคร่ครวญดู ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เองก็เสด็จไป
สู่ที่อยู่ของพระเถระ ด้วยบริวารจำนวนน้อย แล้วเสด็จประทับยืนดูอยู่ ณ
ส่วนข้างหนึ่ง ในขณะนั้น พระเถระนั่งทำสูจิกรรมอยู่ แม้หญิงนั้น ก็ปรากฏ
เป็นเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงพระดำริว่า
เหตุนี้มีอยู่ จึงเสด็จไปยังที่หญิงนั้นยืนอยู่ เมื่อพระราชาเสด็จมา หญิงนั้นก็
ทำเป็นเหมือนเข้าไปสู่บรรณศาลา อันเป็นที่อยู่ของพระเถระ.
แม้พระราชา ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลานั้นแหละ พร้อมกับหญิงนั้น
ทรงตรวจดูทั่ว ๆ ไป ก็ไม่เห็น จึงเข้าพระทัยว่า นี้ ไม่ใช่มาตุคาม คงเป็น
กรรมวิบากอย่างหนึ่ง ของพระเถระ แม้ถึงจะเสด็จเข้าไปใกล้พระเถระก่อน
ก็ไม่ไหว้พระเถระ ทรงรู้ว่าเหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ
แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้า-
ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตบ้างหรือ ? พระเถระทูลว่า พอสมควรอยู่
มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าใจคำพูด
ของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองเช่นนี้ ใครเล่า
จะเสื่อมใส จำเดิมแต่นี้ไป พระคุณเจ้า ไม่ต้องมีกิจที่จะต้องไปในที่ไหน ๆ
โยมจะบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ขอพระคุณเจ้า จงอย่าประมาทในโยนิ-
โสมนสิการดังนี้แล้ว เริ่มถวายภิกษาเป็นประจำ พระเถระได้พระราชาเป็นผู้
อุปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะมีโภชนะเป็นที่สบาย เจริญ-
วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต จำเดิมแต่นั้น หญิงนั้น ก็หายไป.
ครั้งนั้น มหาสุภัททาอุบาสิกา อยู่ในเรือนแห่งตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ในอุคคนคร อธิฏฐานอุโบสถด้วยคิดว่า ขอพระศาสดาจงทรงอนุเคราะห์เรา

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 135 (เล่ม 50)

เป็นหญิงปราศจากกลิ่นคาว ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน กระทำสัจจกิริยาว่า
ดอกไม้เหล่านี้ อย่าหยุดอยู่ในระหว่าง จงตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระ
ทศพลด้วยสัญญานี้ ขอพระทศพลจงรับภิกษาของเรา พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป
ในวันพรุ่งนี้ แล้วเหวี่ยงกำแห่งดอกมะลิไป ๘ กำ. ดอกไม้ทั้งหลายลอยไป
ตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระศาสดา ในเวลาที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนา.
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเพดานดอกมะลินั้นแล้ว ทรงรับภิกษาของนาง
สุภัททา ด้วยจิตอย่างเดียว ในวันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณตั้งขึ้นแล้ว จึงตรัสกะพระ-
อานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ วันนี้พวกเราจักไปภิกษาจารในที่ไกล เธอ
อย่าให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นปุถุชน จงให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น
พระเถระแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระศาสดาจักเสด็จ
ภิกษาจารในที่ไกล ภิกษุที่เป็นปุถุชนอย่ารับสลาก ภิกษุที่เป็นพระอริยเท่านั้น
จงรับสลากดังนี้. พระกุณฑธานเถระ เหยียดมือออกไปก่อนทีเดียว โดยพูดว่า
อาวุโส ท่านจงนำสลากมา. พระอานนท์กล่าวว่า พระศาสดาไม่ตรัสสั่งให้
ให้สลากแก่ภิกษุเช่นท่าน ตรัสสั่งให้ให้แก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น ดังนี้แล้ว
เกิดปริวิตก ไปกราบทูลพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า จงให้สลากแก่
ผู้ที่ขอ.
พระเถระคิดว่า ถ้าสลากไม่ควรให้แก่พระโกณฑธานะ เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระศาสดาพึงห้ามไว้ ในเรื่องนี้ชะรอยจักมีเหตุ จึงย้อนกลับไปด้วยคิดว่า
เราจักให้สลากแก่พระกุณฑธานะ. ก่อนแต่พระอานนท์จะมาถึงนั่นแหละ
พระกุณฑธานเถระเจ้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ยืนอยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์
กล่าวว่า อาวุโสอานนท์ พระศาสดาทรงรู้จักเรา พระศาสดาไม่ทรงห้ามภิกษุ
เช่นเรา ผู้จับสลากก่อนหรอก ดังนี้แล้วยื่นมือไปจับสลาก. พระศาสดาทรง
กระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปบัติ แต่งตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ

135
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 136 (เล่ม 50)

ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จับสลากก่อน. เพราะเหตุที่พระเถระนี้ ได้พระราชา
เป็นผู้อุปถัมภ์ เพราะได้อาหารเป็นที่สบาย จึงมีจิตเป็นสมาธิ เจริญวิปัสสนา
ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
คำเป็นคาถาประพันธ์ไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บำรุงพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ซึ่ง
ทรงหลีกเร้นอยู่ตลอด ๗ วัน เรารู้เวลาที่พระองค์เสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้น ได้ถือผลกล้วยใหญ่เข้าไปถวาย
พระมหามุนีทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้สัพพัญญู ผู้นำของโลก เป็นมหามุนี
ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ทรงรับไว้แล้วเสวย
พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงนำหมู่ยอดเยี่ยม เสวยแล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ยักษ์เหล่าใดประชุมกันอยู่ที่ภูเขานี้ และ
คณะภูตในป่าทั้งหมดนั้น จงฟังคำเรา ผู้ใดบำรุงพระ
พุทธเจ้าผู้เพียง ดังไกรสรราชสีห์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น
ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว ผู้นั้นจักได้เป็นท้าว
เทวราช ๑๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง
ในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดย
พระโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราชจัก
เสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นได้ด่าสมณะทั้งหลายผู้มีศีล
หาอาสวะมิได้ จักได้ชื่อ (อันเหมาะสม) ด้วยวิบาก
แห่งกรรมอันลามก เขาจักได้เป็นโอรสทายาทในธรรม

136
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 137 (เล่ม 50)

ของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จัก
เป็นสาวกมีชื่อว่า กุณฑธานะ เราประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ความสงัด เพ่งฌาน ยินดีในฌาน ยังพระศาสดาให้
ทรงโปรดปราน ไม่มีอาสวะอยู่ พระชินเจ้าอันพระ-
สาวกทั้งหลายแวดล้อม ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงให้เรารับการ
แจกสลาก เราห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถวายบังคม
พระศาสดาผู้นำของโลก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่
ได้รับสลากที่ ๑ ไว้ข้างหน้าของผู้ประเสริฐ ด้วยกรรม
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้
หวั่นไหว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้ง
เราไว้ในอรรคฐาน เรามีความเพียรอันนำมาซึ่งธุระ
นำความเกษมจากโยคะมาให้ เราทรงกายเป็นที่สุดไว้
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณพิเศษ
เหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เรากระทำให้แจ้งแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นปุถุชนเหล่าใด ไม่รู้คุณของพระเถระนี้ แม้ผู้เป็น
(พระอรหันต์) แล้วเช่นนี้ ในการจับสลากที่ ๑ ในครั้งนั้นต่างพากันคิด
เหมือนกันว่า นี้อะไรหนอแล. พระเถระเพื่อจะกำจัดความสงสัยของภิกษุ
เหล่านั้น จึงเหาะขึ้นสู่อากาศแล้วแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เมื่อจะพยากรณ์พระ-
อรหัตผล โดยการอ้างถึงพระอรหัตผล จึงได้ภาษิตคาถานี้ว่า

137