No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 118 (เล่ม 50)

๒. มหาวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาวัจฉเถระ
[๑๔๙] ได้ยินว่า พระมหาวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมี
ตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาล
ปรินิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
อรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหาวัจฉเถระเริ่มต้นว่า ปญฺญาพลี. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านได้ถวายน้ำดื่มให้เป็นทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ และแก่ภิกษุสงฆ์. ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า สิขี ได้เป็นอุบาสกอีก ได้การทำบุญกรรมเป็นอันมาก
อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ด้วยบุญกรรมเหล่านั้น ท่านท่องเที่ยวไปใน
สุคติภพนั้น ๆ แล้ว เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์นามว่า สมิทธิ ในนาลคาม
แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้. เขาจึงมีชื่อว่า มหาวัจฉะ. เขาเจริญวัย
แล้ว สดับความที่ท่านพระสารีบุตร เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วคิดว่า แม้ขึ้นชื่อว่าท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นผู้มีปัญญามาก ยังเข้าถึง
ความเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้า

118
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 119 (เล่ม 50)

พระองค์นั้น แหละจักเป็นบุคคลผู้เลิศในโลกนี้ เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า
บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกัมมัฏฐาน บรรลุพระ
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ในภิกษุสงฆ์
ผู้ยอดเยี่ยมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ จึงได้น้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลา
ที่เราจะต้องการน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ในอากาศ
หรือพื้นดิน น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสนแต่
กัปนี้ เราได้ให้ทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เรา
ไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ
อภิญญา ๖ เรากระทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ เพื่อจะ
ให้เกิดความอุตสาหะแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยการแสดงให้เห็นชัดซึ่ง
ข้อที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมี
ตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาลปริ
นิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาพลี ความว่า ผู้ประกอบไปด้วย
ปัญญา อันดียิ่งเนือง ๆ ด้วยสามารถแห่งปาริหาริกปัญญาและวิปัสสนาปัญญา.

119
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 120 (เล่ม 50)

บทว่า สีลวตูปปนฺโน ความว่า เข้าถึงแล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย
จาตุปาริสุทธิศีลอันอุกฤษุฏ์ และด้วยวัตรกล่าวคือ ธุดงคธรรม.
บทว่า สมาหิโต ความว่า ประกอบด้วยสมาธิ ต่างด้วยอุปจารสมาธิ
และอัปปนาสมาธิ.
บทว่า ฌานรโต ความว่า ต่อแต่นั้นไป จึงยินดี คือ หมั่นประกอบ
ติดต่อกันไป ในอารัมมณูปนิชฌานและในลักขณูปนิชฌาน. ชื่อว่า มีสติ
เพราะไม่อยู่ปราศจากสติในกาลทั้งปวง.
บทว่า ยทตฺถิยํความว่า การบริโภคที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ชื่อว่า
อัตถิยะ ชื่อว่า ยทัตถิยะ เพราะเหตุที่บริโภคโภชนะมีประโยชน์ หมายความว่า
การบริโภคของผู้ที่บริโภคปัจจัยเช่นใด ย่อมชื่อว่ามีประโยชน์ ก็บริโภคโภชนะ
เช่นนั้น.
คำว่า การบริโภคโภชนะที่มีประโยชน์ นั้นย่อมมีได้ ด้วยสามี-
บริโภค หรือด้วยทายาทบริโภค ไม่ใช่บริโภคโดยประการอื่น นี้ พึงเห็นเป็น
เพียงตัวอย่าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โภชนะ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลพึงกิน
พึงบริโภค ได้แก่ ปัจจัย ๔.
ปาฐะว่า ยทตฺถิกํ ดังนี้บ้าง ปัจจัย ๔ อันพระศาสดาทรงอนุญาต
แล้ว เพื่ออันใด คือเพื่อประโยชน์อันใด เพื่อประโยชน์อันนั้น คือเพื่อ
ประโยชน์มีการตั้งอยู่แห่งกายเป็นต้น และการตั้งอยู่แห่งกายนั้น ก็เพื่ออนุปา-
ทิเสสนิพพาน เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุบริโภคปัจจัยคือโภชนะ เพื่อประโยชน์
แก่อนุปาทาทิเสสปรินิพพาน ต่อแต่นั้น ก็พึงหวัง กาลปรินิพพาน คือ พึง
คอยท่าอนุปาทาปรินิพพานกาล ของตน ชื่อว่ามีราคะไปปราศแท้ในที่นี้
คือ ในพระศาสนานี้ อธิบายว่า ก็คุณธรรมข้อนี้ย่อมไม่มี แก่คนภายนอกผู้
แม้มีราคะในกามทั้งหลายปราศไปแล้ว.
จบอรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา

120
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 121 (เล่ม 50)

๓. วนวัจฉเถร คาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวนวัจฉเถระ
[๑๕๐] ได้ยินว่า พระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภูเขาทั้งหลาย อันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดัง
เมฆ ดูรุจิเรกงามดี มีธารวารีเย็นใสสะอาด ดารดาษ
ไปด้วยแมลงค่อมทอง ภูเขาเหล่านั้น ย่อมทำให้เรา
รื่นรมย์ใจ ดังนี้.
อรรถกถาวนวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระวนวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า นีลพฺภวณฺณา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านเกิดในกำเนิดของเต่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำชื่อว่า วินตา อัตภาพของเต่านั้น
ได้มีประมาณเท่าเรือลำเล็กได้ยินว่าในวันหนึ่ง เต่านั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนอยู่ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชะรอยจะมีพระพุทธ
ประสงค์เสด็จไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะทูลเชิญเสด็จ โดยประทับบนหลังของตน
จึงหมอบลงแทบบาทมูล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเต่านั้น
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเสด็จขึ้นประทับ. เขาเกิดปีติโสมนัส ว่ายแหวก
คลื่น ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถึงฝั่งโน้นในทันใดนั้นเอง ดุจลูกศรที่ถูกยิง
ออกไปด้วยกำลังสาย ฉะนั้น.

121
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 122 (เล่ม 50)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ผลแห่งบุญนั้น และสมบัติอันจะ
พึงบังเกิดในบัดนี้ แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บวชเป็นดาบส ตั้ง ๑๐๐ ครั้งเป็นเวลาไม่น้อย ได้
เป็นผู้มีปกติอยู่ในป่าอย่างเดียว ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
พระนามว่า กัสสปะ ไปเกิดในกำเนิดแห่งนกพิราบอีก เห็นภิกษุผู้อยู่ในป่า
รูปหนึ่ง มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว และครั้นจุติจากกำเนิด
นกพิราบนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครพาราณสี เจริญวัย
แล้ว เกิดความสังเวช บวชแล้วเข้าไปสะสมบุญกรรมเป็นอันมาก ล้วนเป็น
อุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในภพนั้น ๆ
อย่างนี้ แล้วถือปฏิสนธิในเรือนของพราหมณ์ นามว่า วัจฉโคตร ในพระนคร
กบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มารดาของเขามีครรภ์แก่รอบแล้ว เกิด
แพ้ท้อง ต้องการจะชมป่า จึงเข้าป่าท่องเที่ยวไป. ในทันใดนั้นเอง ลมกัม-
มัชวาทของนางปั่นป่วนแล้ว คนทั้งหลายจัดแจงขึงผ้าม่านให้แล้ว. นางคลอดบุตร
(สมบูรณ์) ด้วยลักษณะของผู้มีบุญ กุมารนั้นได้เป็นสหายเล่นฝุ่นกับพระ-
โพธิสัตว์ เขาได้มีโคตรและชื่อว่า วัจฉะ. (ต่อมา) ปรากฏนามว่า วนวัจฉะ โดย
ที่มีความยินดีในป่า ในเวลาต่อมา เมื่อพระมหาสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
บำเพ็ญมหาปธานอยู่ ก็ออกบวช ด้วยคิดว่า แม้เราก็จักอยู่ในป่า ร่วมกับ
สิทธัตถกุมาร ดังนี้ แล้วออกบวชเป็นดาบส อยู่ในป่าหิมวันต์ สดับว่า
พระสิทธัตถะตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณแล้ว จึงไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
บวชแล้วเรียนกัมมัฏฐานอยู่ในป่า ขวนขวายวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้ทำให้
แจ้งซึ่งพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
เป็นพระสยัมภู เป็นนายกของโลก เป็นพระตถาคต

122
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 123 (เล่ม 50)

ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำ วินตา เราเป็นเต่า เที่ยวไปในน้ำ
โผล่จากน้ำ ประสงค์จะทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้าม
ฟาก จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้เป็นนาถะของโลก ( กราบ
ทูลว่า) ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็นมหามุนี พระนาม
ว่า อัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลังข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์
จักให้พระองค์เสด็จข้ามฟาก ขอพระองค์โปรดทรง
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ แกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ทรงทราบ
ถึงความดำริของเรา จึงได้เสด็จขึ้นหลังเรา แล้ว
ประทับยืนอยู่ ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตนได้
และในเวลาที่ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือนกับสุข
เมื่อพื้นพระบาทสัมผัสไม่ พระสัมพุทธเจ้าทรงพระ-
นามว่า อัตทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จขึ้นประทับยืน
ที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า เราข้าม
กระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณเท่าจิตเป็นไป ก็พญาเต่า
ตัวมีบุญนี้ ส่งเราข้ามฟาก ด้วยการส่งพระพุทธเจ้าข้าม
ฟากนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา เขาจักรื่นรมย์
อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป จากเทวโลกมามนุษย-
โลกนี้ เป็นผู้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ อาสนะ
เดียว จักข้ามพ้นกระแสน้ำ คือความสงสัยได้ พืช
แม้น้อยที่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนาดี เมื่อฝนยังอุทก
ธารให้ตกอยู่โดยชอบ ผลย่อมทำชาวนาให้ยินดี แม้
ฉันใด พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้

123
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 124 (เล่ม 50)

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทกธารโดยชอบ
ผลจักทำเราให้ยินดี เราเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้ว เพื่อ
ความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะ
ทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๑๑๘
เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุพระอรหัต แล้วเสด็จประทับ
อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ ท่านได้ไปที่พระนครกบิลพัสดุ์นั้น ถวายบังคม
พระศาสดา สมาคมกับภิกษุทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งปฏิสันถาร อันภิกษุ
ทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส การอยู่ในป่าอย่างผาสุก ท่านได้แล้วหรือ ?
ก็ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ทั้งป่าและภูเขาน่ารื่นรมย์ เมื่อจะพรรณนาถึงป่าที่
ตนอยู่แล้ว ได้ภาษิตคาถาว่า
ภูเขาทั้งหลาย อันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดัง
เมฆ ดูรุจิเรกงามดี มีธารวารีเย็นใสสะอาด เป็นที่
พำนักของผู้สะอาด ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง
ภูเขาเหล่านั้น ย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลพฺภวณฺณา ความว่า มีสีดังวลาหก
ที่เขียวขจี และมีสัณฐานดังนีลวลาหก. บทว่า รุจิรา ความว่า มีแสงและ
รัศมีรุจิเรก. บทว่า สีตวารี ความว่ามีน้ำเย็นฉ่ำใสสะอาด. บทว่า สุจินฺธรา
ความว่า ชื่อว่าเป็นที่พำนักของผู้ที่สะอาด เพราะเป็นภูมิภาคที่สะอาดบริสุทธิ์
และเพราะเป็นที่พำนักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้มีจิตบริสุทธิ์. ก็เพื่อสะดวก

124
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 125 (เล่ม 50)

แก่การประพันธ์คาถา ท่านจึงนิเทศนิคหิต เป็น น. ปาฐะว่า สีตวารี
สุจินฺธรา ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า ทรงไว้ซึ่งน้ำเย็นใสสะอาด (และ) มีแอ่งน้ำเย็น
สนิท ใสสะอาด. บทว่า อินฺทโคปกสญฺฉนฺนา ความว่า ดารดาษไปด้วย
กิมิชาติสีแดง มีวรรณะดังแก้วประพาฬ อันได้นามว่า แมลงค่อมทอง ท่าน
กล่าวอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งเวลาที่มีฝนตก. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ได้แก่ ติณชาติ ที่มีสีแดง นามว่า อินทโคปกะ. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า
ได้แก่ ต้นกรรณิการ์. บทว่า เสลา ได้แก่ ภูเขาล้วนด้วยหิน อธิบายว่า ภูเขา
ที่ไม่มีฝุ่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนด้วยหิน.
บทว่า รมยนฺติ มํ ความว่า ยังเราให้ยินดี คือเพิ่มพูนความยินดีในวิเวก
แก่เรา. พระเถระเมื่อจะประกาศถึงความยินดีในป่า ที่อบรมมาเป็นเวลานาน
ของตนอย่างนี้ จึงแสดงถึงความยินดีในวิเวก ๓ อย่างเท่านั้น. ในบรรดาวิเวก
๓ อย่างนั้น ด้วยอุปธิวิเวก เป็นอันพระเถระแสดงการพยากรณ์พระอรหัตผล
แล้วทีเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัจฉเถรคาถา
๔. วนวัจฉสามเณรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสามเณรของพระวนวัจฉเถระ
[ ๑๕๑ ] ได้ยินว่า สามเณรของพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนสิว-
กะ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจ
ของเราอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยว
ข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้งชัด ดังนี้.

125
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 126 (เล่ม 50)

อรรถกถาวนวัจฉสามเถรคาถา*
คาถาของวนวัจฉสามเณร เริ่มต้นว่า อุปชฺฌาโย. เรื่องราวของท่าน
เป็นมาอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ท่านเกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู วันหนึ่งเข้าสู่ป่าด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนานว่า เวสสภู ประทับนั่งอยู่ ณ
ซอกภูเขาในป่านั้น มีจิตเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ประคองอัญชลี
ยืนอยู่แล้ว. เขาเห็นผลไม้มะรื่น น่าชื่นใจ ในป่านั้น จึงเก็บเอาผลมะรื่น
เหล่านั้นน้อมเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงทรงรับไว้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อ
ผู้เป็นลุงบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็
บวชพร้อมกับลุง สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นอันมาก
แล้วเกิดเป็นหลานของพระวนวัจฉเถระ ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้นาม
ว่า สิวกะ เมื่อพระวนวัจฉเถระ ผู้เป็นที่ชอบของตน บวชในศาสนาแล้ว
ถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิตแล้ว พำนักอยู่ในป่า มารดาของท่านฟังความ
เป็นไปนั้นแล้ว พูดกะบุตรว่า พ่อสีวกะ เจ้าจงบวชในสำนักของพระเถระ
เดี๋ยวนี้ พระเถระแก่แล้ว. เพราะคำพูดของมารดาเพียงคำเดียวเท่านั้น และ
เพราะอธิการ ที่ตนเคยทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงไปยังสำนักของพระเถระผู้
เป็นลุง บวชแล้ว บำรุงพระเถระ อาศัยอยู่ในป่า.
วันหนึ่ง เมื่อท่านไปสู่ท้ายบ้านด้วยกรณียกิจบางอย่าง เกิดอาพาธอย่าง
หนัก. แม้เมื่อผู้คนช่วยจัดยาถวาย อาพาธก็ไม่สงบ. เมื่อท่านชักช้าอยู่
* ฉบับพม่าเป็น สิวกสามเณร.

126
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 127 (เล่ม 50)

พระเถระคิดว่า สามเณรประพฤติล้าช้า จะมีเหตุอะไรหนอ ดังนี้ จึงไปที่ท้าย
บ้านนั้น เห็นท่านป่วย จึงการทำสิ่งที่ควรกระทำนั้น ๆ แก่ท่าน ยังส่วนแห่ง
วันให้ล่วงไปแล้ว ในเวลาใกล้รุ่ง ตอนกลางคืน จึงพูดว่า ดูก่อนสิวกะ นับ
จำเดิมแต่เราบวชแล้ว ไม่เคยอยู่ในบ้าน เราจะจากบ้านนี้ไปสู่ป่าเดี๋ยวนี้แหละ
ส่วนสามเณร ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ แม้ว่ากาย
ของผม จะอยู่ท้ายบ้าน แต่จิตอยู่ในป่า เพราะฉะนั้น แม้ถึงจะนอน ผมก็
จะไปป่าเหมือนกัน . พระเถระฟังดังนั้นแล้ว จึงจับแขนสามเณร นำไปสู่ป่า
ทันที แล้วให้โอวาท. สานเณรตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ เห็นแจ้งแล้ว
บรรลุพระอรหัต. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี เป็น
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน โชติช่วง
เหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา เรามี
จิตเลื่อมใส มีใจโสมนัสประนมอัญชลีเหนือเศียร
เกล้า แล้วเอาผลมะรื่นถวาย แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้
ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ
เสร็จแล้ว ดังนี้.
สามเณร บรรลุพระอรหัตแล้ว เทียบเคียงเนื้อความ อันอุปัชฌาย์
และตน กล่าวแล้ว เมื่อจะประกาศความยินดียิ่งในวิเวกของตนและกิจที่ตน
ทำสำเร็จแล้ว จึงได้ภาษิตคาถาว่า

127