No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 108 (เล่ม 50)

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นนิมิตของวิชชา อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณ
เหล่านั้น จึงได้ภาษิตคาถาว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้เป็นการมา
ดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟังธรรม
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็น
ความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคตํ ความว่า เป็นการมาที่ดี เชื่อม
ความว่า การที่เรามานี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สฺวาคตํ ความว่า อันเรามาดี
แล้ว ต้องเปลี่ยนวิภัตติเป็น มยา. บทว่า นาปคตํ ตัดบทเป็น น อปคตํํ
ได้ความว่า ไม่ไปปราศจากการถึงความเจริญ คือประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
นยิทํ ทุมฺมนฺติตํ มม ความว่า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เรา
ไม่ถูกต้อง หรือ เราไตร่ตรองไม่ดี ก็หามิได้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ ดังนี้ว่า
ความคิด คือความดำริ ได้แก่ ถ้อยคำที่เรากล่าวว่า เราฟังธรรมในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวชดังนี้ หรือสิ่งที่เราพิจารณาด้วยจิต แม้นี้
เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุ ในบทว่า ทุมฺมนฺติตํํ
นั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวิภตฺเตสุ ดังนี้. บทว่า ปวิภตฺเตสุ
ความว่า จำแนกแล้วโดยประการ (ต่าง ๆ). บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ใน
ไญยธรรม หรือในสมถธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในธรรมที่เดียรถีย์ กล่าวไว้
ด้วยสามารถแห่งปกติเป็นต้น หรือในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตรัสจำแนกไว้ ด้วยสามารถแห่งอริยสัจ มีทุกขสัจเป็นต้น. บทว่า ยํ เสฏฺฐํ
ตทุปาคมึ ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมใดประเสริฐที่สุด เราเข้า

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 109 (เล่ม 50)

ถึงธรรมนั้น ซึ่งเป็นจตุราริยสัจจธรรม อีกอย่างหนึ่ง เราเข้าถึงซึ่งศาสน-
ธรรม อันเป็นเหตุนำสัตว์ให้ตรัสรู้ คือเข้าถึงว่า นี้ธรรม นี้วินัย. อีกอย่าง
หนึ่ง ในบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ ทรง
จำแนกแล้ว ด้วยสามารถแห่งกุศลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็น
ต้น ตามความเป็นจริง ธรรมใด ประเสริฐ คือสูงสุด ได้แก่ ประเสริฐใน
ศาสนานั้น เราเข้าถึงแล้ว คือเข้าถึงแล้วโดยประจักษ์ในตน ได้แก่ ทำให้
แจ้งแล้ว ซึ่งธรรมนั้นอันประเสริฐ อันหมายถึงธรรม คือ มรรค ผล และ
นิพพาน. เพราะฉะนั้น จึงประกอบความว่า การที่เรามาสู่สำนักของพระ
ศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดว่า จักฟังธรรมใน
สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ ดังนี้.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถรคาถา
๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ
[๑๔๗] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้น
เป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้วไม่ติดอยู่
ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปของโลก ดังนี้.
จบวรรคที่ ๑

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 110 (เล่ม 50)

อรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
คาถาของท่านพระปุณณมาสเถระ เริ่มต้นว่า วิหริ อเปกฺขํ ดังนี้.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระ
เถระนั้น บังเกิดในกำเนิดแห่งนกจักรพรากเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป
มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงเอาจะงอยปากของตนคาบดอกสาหร่ายไป ทำการบูชา
แล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัป
ที่ ๑๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๘ ครั้ง. ส่วนในกัปนี้
เมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง บังเกิด
ในตระกูลกุฎุมพี บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมจุติจากนั้นแล้ว ท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ นามว่า สมิทธะ
ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในวันที่เขาเกิด หม้อเปล่าทุกใบ
ในเรือนนั้น ได้เต็มไปด้วยสุพรรณมาศ (ถั่วทอง). ด้วยเหตุนั้น คนทั้ง
หลายจึงขนานนามเขาว่า ปุณณมาส. เขาเจริญวัยแล้วประสบความสำเร็จ
ในวิชชาของพราหมณ์ทั้งหลาย กระทำการวิวาห์ ได้บุตรคนหนึ่ง เกิด
เบื่อหน่ายการอยู่ครองเรือน เพราะเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรม ได้เฉพาะแล้วซึ่งศรัทธา บรรพชาแล้ว ถึง
พร้อมแล้วด้วยกิจทุกอย่าง หมั่นประกอบเนือง ๆ ในกัมมัฏฐาน ๔ ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ไว้
ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเป็นนกจักรพรากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
สินธุ เรามีสาหร่ายล้วน ๆ เป็นภักษา และสำรวมดีแล้ว

110
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 111 (เล่ม 50)

ในสัตว์ทั้งหลาย เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี
เสด็จไปในอากาศ จึงเอาจะงอยปากคาบดอกสาหร่าย
บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ผู้ใด
ตั้งศรัทธาอันไม่หวั่นไหวไว้ด้วยดีในพระตถาคตเจ้า
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ การที่เรา
ได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นการ
มาดีหนอ เราเป็นนกจักรพรากได้ปลูกพืชไว้ดีแล้ว
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๑๗ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๘ ครั้ง มีพลมา ทรงพระนามเดียวกันว่า สุจารุทัสสนะ.
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น ภรรยาเก่าของท่าน ประสงค์จะเล้าโลมท่าน จึงประดับ
ตกแต่งเข้าไปหาพร้อมด้วยบุตร ปรารภเพื่อจะกระทำการเปลือย โดย
การกล่าวเล้าโลมที่ท่าน่ารัก. พระเถระเห็นเหตุการณ์ของนาง เพื่อจะประกาศ
ความที่ตนไม่เกี่ยวข้อง แม้ในอารมณ์ไหน ๆ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยาน ในโลกนี้ หรือโลกอื่น
ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้ว
ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปของโลก ดังนี้.

111
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 112 (เล่ม 50)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหริ ความว่า นำไป คือ นำออกไป
ได้แก่ขจัดเสีย (ซึ่งทุกข์) โดยพิเศษ. บทว่า อเปกฺขํ ได้แก่ ตัณหา. บทว่า
อิธ ได้แก่ในโลก หรืออัตภาพนี้. บทว่า หุรํ ได้แก่ ในอนาคต หรือ
อัตภาพอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายใน.
บทว่า หุรํ ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายนอก. วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ
มีความหมายรวมกับ ดังในประโยคมีอาทิว่า อปทา วา ทฺวิปทา วา
ไม่มีเท้าบ้าง มีสองเท้าบ้าง. ด้วยบทว่า โย ท่านแสดงถึงตนนั่นแหละ ทำเป็น
เหมือนผู้อื่น. บทว่า เวทคู ความว่า ถึงแล้วโดยเวท คือ ถึง ได้แก่บรรลุ
พระนิพพาน ด้วยมรรคญาณ หรือจบสัจจะทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งปริญญากิจ
ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจตั้งอยู่แล้ว. บทว่า ยตฺตโก ความว่า
มีการสำรวมด้วยมรรคสังวรเป็นสภาพ หรือมีการสำรวมด้วยสัมมาวายามะเป็น
สภาพ. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนุปลิตฺโต ความว่า ไม่ติดในธรรม
คือในอารมณ์ทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งการติดด้วยตัณหาและทิฏฐิ. ท่านแสดง
ถึงการก้าวล่วงโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภเป็นต้นได้ด้วยบทนั้น. บทว่า โลกสฺส
ได้แก่หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์. ก็หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์นั้น ชื่อว่า
โลก ด้วยอรรถว่า ชำรุดแตกหักไป. บทว่า ชญฺญา แปลว่า รู้แจ้ง. บทว่า
อุทยพฺพยญฺจ ได้แก่ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ท่านแสดงถึงปฏิปทา
อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งคุณตามทีกล่าวแล้วด้วยบทนี้. ก็ในคาถานี้ มีอธิบาย
ดังนี้ ผู้ใดรู้ความเกิดขึ้นและความสิ้นไปแห่งโลกมีขันธโลกเป็นต้นทั้งสิ้น
ด้วยอาการครบทั้ง ๕๐ เป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สำรวมแล้วไม่ติดอยู่ในธรรม
ไหน ๆ ผู้นั้นไม่ทะเยอทะยานในธรรมทั้งปวง คือ กำจัดเสียได้ สันโดษ
บรรดาอาการที่ไม่เหมาะสมเช่นนั้น จะไม่สำคัญประการที่ไม่เหมาะสมไร ๆ เลย
ดูก่อนมารผู้อันธพาล เพราะฉะนั้น ท่านจงไปตามทางที่ท่านมาแล้วนั้นแหละ

112
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 113 (เล่ม 50)

ดังนี้. ครั้งนั้น หญิงนั้นรู้ว่า สมณะรูปนี้ หมดความต้องการในเราและบุตร
เราไม่อาจจะประเล้าประโลมสมณะรูปนี้ได้ จึงหลีกไป.
จบอรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑
แห่งอรรถกถาเถรคาถา นามว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระสุภูติเถระ ๒. พระมหาโกฏฐิตเถระ ๓. พระกังขาเรวต-
เถระ ๔. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ๕. พระทัพพมัลลบุตรเถระ ๖. พระ
สัมภูตเถระ ๗. พระภัลลิยเถระ ๘. พระวีรเถระ ๙. พระปีลินทวัจฉเถระ
๑๐. พระปุณณมาสเถระ และอรรถกถา.

113
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 114 (เล่ม 50)

เถรคาถา เอกนิบาตวรรคที่ ๒
๑. จูฬวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจูฬวัจฉเถระ
[๑๔๘] ได้ยินว่า พระจูฬวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุ ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรม อัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว พึงบรรลุสันตบท อัน
เป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.
วรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระจูฬวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า ปามุชฺชพหุโล. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านเกิดในตระกูลที่ยากจน สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้าง
คนอื่น เห็นพระเถระนามว่า สุชาตะ ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ มีใจเลื่อมใสเข้าไปหา ถวายผ้าแล้วกราบด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยราชย์ในหมู่เทพถึง ๓๓ ครั้ง ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง เป็นเจ้าประเทศราช ในวาระเป็นอเนก

114
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 115 (เล่ม 50)

(นับครั้งไม่ถ้วน). เมื่อท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวดาและมนุษย์อยู่อย่างนี้
ในเมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง จึง
บวชแล้วบำเพ็ญสมณธรรม แล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในคติแห่งเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงโกสัมพี
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ท่านได้มีนามว่า จูฬวัจฉะ.
จูฬวัจฉกุมารเจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยาของพราหมณ์ทั้งหลาย
สดับพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาได้ศรัทธาบรรพชาแล้วได้การ
อุปสมบทการทำกิจแห่งบรรพชิตสำเร็จแล้ว เรียนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่
จริงแล้วภาวนาอยู่. ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีได้เกิดแตกกัน.
ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระ ไม่ยึดถือลัทธิของภิกษุทั้งสองฝ่าย ตั้งอยู่ในโอวาท
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานแล้ว เพิ่มพูนวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ชื่อสุชาตะ แสวงหาผ้าบังสุกุล
อยู่ที่กองหยากเยื่อ เราเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ใน
พระนครหงสาวดีได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้ว อภิวาทด้วย
เศียรเกล้า ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์ ได้ไปสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ เราเป็นจอมเทวดา เสวยเทพสมบัติในเทวโลก
๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง และได้
เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
เพราะละวายผ้าครึ่งผืนเป็นทาน เราเป็นผู้ไม่มีภัยแต่

115
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 116 (เล่ม 50)

ไหน เบิกบานอยู่ ทุกวันนี้ เมื่อเราปรารถนา ก็เอาผ้า
เปลือกไม้คลุมแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งป่าและภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้
เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จ
แล้ว ดังนี้.
ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นความพินาศจาก
ประโยชน์ตน ของผู้ที่ชอบการทะเลาะวิวาท ของภิกษุเหล่านั้น เกิดธรรมสังเวช
และพิจารณาถึงคุณวิเศษ ที่ตนได้บรรลุแล้วด้วยอำนาจปีติ และโสมนัสจึงได้
ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ในธรรมอัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วพึงบรรลุสันตบทอันเป็น
ธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโมชฺชพหุโล ความว่า ชื่อว่าเป็น
ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ด้วยสามารถแห่งความยินดียิ่งในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอธิกุศล โดยความเป็นผู้ไม่มีวิปฏิสาร เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ดีแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธมฺเม พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเม ได้แก่
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือโลกุตรธรรม ๙ อย่าง. ก็พระธรรมนั้น
ชื่อว่าอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เป็นอย่างดีเลิศ เพราะเป็นพระธรรม
อันพระผู้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศแล้ว ด้วยเทศนาที่พระองค์

116
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 117 (เล่ม 50)

ทรงยกขึ้นแสดงเอง. ส่วนแม้เทศนาธรรม ก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า ธมฺเม นี้
เหมือนกัน เพราะความที่เทศนาธรรมนั้นเป็นอุบายให้สัตว์เข้าถึงพระธรรม.
พระเถระกล่าว บทว่า ปทํ สนฺตํ หมายถึงพระนิพพาน. ก็ภิกษุ
เห็นปานนี้ ย่อมบรรลุ คือประสบสันตบทอันเป็นส่วนสงบระงับแล้ว ได้แก่
พระนิพพาน ที่ชื่อเป็นที่เข้าสงบระงับสังขาร เพราะเข้าไปสงบระงับดับสังขาร
ทั้งปวงได้ ชื่อว่าเป็นสุข เพราะเป็นสุขอย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ เพราะ
ไม่มีวิปฏิสาร เป็นผู้หมั่นขวนขวายในพระสัทธรรมย่อมประสบสมบัติทุกอย่าง
มีวิมุตติเป็นปริโยสาน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อน
อานนท์ ศีลที่เป็นฝ่ายกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผลแล ความไม่เดือดร้อน
ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปามุชฺชพหุโล ความว่า เป็นผู้มากไปด้วย
ความชื่นบาน โดยมุ่งถึงพระรัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว
ดังนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามที่อาจมีขึ้นว่า ผู้นั้นมากไปด้วยความปราโมทย์ใน
อะไร ? หรือการทำอะไร ? พระเถระจงกล่าวบาทคาถามีอาทิว่า ธมฺเม
พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอันพระพุทธเจ้าประกาศดีแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า
สมบัติทั้งหลาย ย่อมอยู่ในเงื้อมมือของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธา โดยการเกิดขึ้น
โดยง่ายแห่ง (จักร ๔) คือ สัปปุริสูปสังเสวนะ การคบหาสัตบุรุษ ๑ สัท-
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อม
เข้าไปนั่งใกล้ ดังนี้เป็นต้น .
จบอรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา

117