บาปกรรมที่ท่านการทำไว้ ด้วยสามารถแห่งการกำจัดพระเถระผู้เป็น
พระขีณาสพรูปหนึ่งในกาลก่อน ซึ่งเป็นเหตุให้หมกไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี
อันมีมาแล้วเหมือนภิกษุชื่อว่า เมตติยะ และภุมมชกะ ที่ถูกเตือนด้วย กมฺม-
ปิโลติกาย นั้นแหละ เข้าใจผิดว่า พวกเราถูกพระเถระนี้ ทำให้แตกกับคฤหบดี
ชื่อว่า กัลยาณภัตติยะ จึงกำจัดเสียด้วยปาราชิกธรรมอันหามูลมิได้. และเมื่อ
อธิกรณ์นั้น อันสงฆ์ระงับแล้วด้วยสติวินัย พระเถระนี้ เมื่อจะประกาศคุณ
ของตน เพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อัน
บุคคลอื่นฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ พระทัพพมัลล-
บุตรองค์นั้นเป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วยการ
ฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษข้ามความ
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด
มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.
ศัพท์ว่า โย ในคาถานั้น แสดงถึงบุคคลผู้ไม่ได้กำหนดแน่นอน.
ด้วยบทว่า โส นี้ พึงทราบว่า ท่านกำหนดความแน่นอนของบุคคลนั้นไว้
แล้ว. แม้ด้วยบททั้งสอง พระเถระ กล่าวหมายถึงตนเอง โดยทำให้เป็นดุจ
คนอื่น. บทว่า ทุทฺทมโย ความว่าฝึกได้โดยยาก คือ ไม่อาจเพื่อจะฝึกได้.
และพระเถระกล่าวบทนี้ไว้ เพราะคิดถึงความดิ้นรนแห่งจิตที่เคลื่อนไปด้วย
ความเมา ของเหล่ากิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ทิฏฐิ และความไม่สงบแห่งอินทรีย์
ทั้งหลาย. บทว่า ทเมน ได้แก่ ฝึกฝนด้วยมรรคอันเลิศ สูงสุด อธิบายว่า
ผู้ที่ฝึกแล้ว ด้วยการฝึกด้วยมรรคอันเลิศนั้น สมควรกล่าวได้ว่า มีตนอันฝึก