เพราะเป็นสภาพที่สุขุม หรือชื่อว่า บรรลุประโยชน์ เพราะมีประโยชน์อย่างยิ่ง
เป็นสภาพ โดยอรรถว่า ไม่แปรผัน ชื่อว่า ถึงความเป็นใหญ่ เพราะการทำ
ความเป็นพระอริยะ และเพราะเป็นนิมิตแห่งความยิ่งใหญ่ ชื่อว่า ลึกซึ้ง
เพราะมีความไม่ตื้นเป็นสภาพ ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะเห็นได้โดยยาก คือ
ไม่สามารถจะเห็นได้โดยง่าย ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ชื่อว่า ลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยาก จึงจัดเป็นสัจจธรรม ๔ โดยพิเศษแล้ว ได้แก่นิโรธสัจ
ที่ละเอียดสุขุม ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย ขวนขวายกัมมัฏฐานภาวนา ที่มี
สัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุโดยชอบทีเดียว เพราะสมบูรณ์ด้วยธิติ.
บทว่า อปฺปมตฺตา ความว่า ยังข้อปฏิบัติ คือ ความไม่ประมาท
ให้บริบูรณ์ ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ ในที่ทั้งปวง.
บทว่า วิจกฺขณา ความว่า เฉลียว ฉลาด ในวิปัสสนาภาวนา.
เชื่อมความว่า เพราะฉะนั้น พึงอยู่ร่วมกันด้วยสัตบุรุษทั้งหลายนั้นเทียว. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า ปณฺฑิเตหตฺถทสฺสิภิ นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ. เชื่อมความ
ว่า เพราะเหตุที่ธีรชนทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา
ย่อมบรรลุประโยชน์พิเศษ มีความเป็นผู้ยิ่งใหญ่เป็นต้น เพราะบัณฑิตทั้งหลาย
ชี้ช่อง คือ เป็นต้นเหตุ ฉะนั้น พึงคบกับด้วยสัตบุรุษ เช่นนั้นอย่างเดียว.
คาถานี้ ของพระเถระ ก็จัดเป็นคาถาพยากรณ์อรหัตผล โดยการ
แสดงถึงปฏิเวธธรรม ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา