เป็นต้น และขันธ์เป็นต้น คือแทงตลอดตามความเป็นจริง และยังผู้อื่นให้รู้
โดยประการนั้น.
ก็ในคาถานี้ ท่านประสงค์เอาญาณ คือ พระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดา ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อิมํ ดังนี้. อธิบายว่า เทศนาญาณนั้น
ท่านกล่าวว่า อิมํ โดยถือเอาปัญญาที่ปรากฏแล้ว ดุจเห็นได้เฉพาะหน้า
โดยการถือเอาซึ่งนัย ด้วยกำลังแห่งเทศนาอันสำเร็จแล้วในตน. อีกอย่างหนึ่ง
เทศนาญาณของพระศาสดา อันสาวกทั้งหลาย ย่อมถือเอาโดยนัย ด้วยมรรค
ผลอันเลิศใด แม้ปฏิเวธญาณ ในวิสัยของตน อันพระสาวกทั้งหลายก็ถือเอา
ได้โดยนัย ด้วยมรรคผลอันเลิศนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระธรรม
เสนาบดีจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้สภาพที่คล้อยตามธรรม อัน
ข้าพระองค์รู้แจ้งแล้ว ดังนี้.
บทว่า ปสฺส ความว่า ผู้ที่หมดความสงสัยแล้วย่อมเรียกร้องกัน
โดยคำที่ไม่กำหนดแน่นอน อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ จิตของตนนั่นเอง. เหมือน
อย่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะเปล่งอุทาน ก็ตรัสว่า ท่านจงดูโลกนี้ สัตว์
ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก ถูกอวิชชาครอบงำ หรือยินดีแล้วในขันธบัญจกที่
เกิดแล้ว ไม่พ้นไปจากภพ ดังนี้.
บทว่า ตถาคตานํ ความว่า ชื่อว่า ตถาคต ด้วยอรรถว่าเสด็จมา
แล้วอย่างนั้นเป็นต้น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
ด้วยเหตุ ๘ ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่าง
นั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต
เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้จริง ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้
จริงตามความเป็นจริง ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีปกติเห็นอย่างนั้น ๑
ชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต