No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 58 (เล่ม 50)

แทบเท้าผู้นี้ มีรัศมีเหมือนกลีบดอกบัว พราหมณ์นี้
ปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้แตกฉาน ซึ่งเป็น
ตำแหน่งประเสริฐสุด เพราะการบริจาคทานด้วย
ศรัทธานั้น และเพราะการสดับพระธรรมเทศนา
พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ถึงสุขในทุกภพ เที่ยวไปในภพ
น้อยภพใหญ่ จักได้สมมโนรถเช่นนี้ ในกัปนับแต่นี้ไป
แสนหนึ่ง พระศาสดามีพระนามว่า โคดม ซึ่งสมภพ
ในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาท ของพระศาสดาพระ-
องค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของ
พระศาสดา มีนามว่าโกฏิฐิตะ เราได้ฟังพระพุทธ-
พยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วย
เมตตา บำรุงพระชินสีห์เจ้า ตราบเท่าสิ้นชีวิตใน
ครั้งนั้น เพราะเราเป็นผู้มีสติประกอบไปด้วยปัญญา
เพราะผลแห่งกรรมนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนง
ไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช
อันไพบูลย์ โดยเวลาสุดคณานับ เพราะกรรมนั้นนำไป
เราจึงเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ เราท่องเที่ยวไปแต่
ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดี เราเกิดแต่ในสอง

58
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 59 (เล่ม 50)

ตระกูล คือตระกูลกษัตริย์ และตระกูลพราหมณ์
หาเกิดในตระกูลต่ำทรามไม่มี นี้เป็นผลแห่งกรรมที่
สั่งสมไว้ดี เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของพราหมณ์
เกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมา ในพระนครสาวัตถี
มารดาของเราชื่อจันทวดี บิดาชื่ออัสสลายนะ ใน
คราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาเรา เพื่อความ
บริสุทธิ์ทุกอย่าง เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ได้ออก
บวชเป็นบรรพชิต พระโมคคัลลานะ เป็นอาจารย์
พระสารีบุตร เป็นอุปัชฌาย์ เราตัดทิฏฐิพร้อมด้วย
มูลรากเสียได้ ในเมื่อกำลังปลงผม และเมื่อกำลัง
ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้บรรลุพระอรหัต เรามี
ปรีชาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าโลก จึงทรงตั้ง
เราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราอันท่านพระอุปติสสะ
ไต่ถามในปฏิสัมภิทา ก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง ฉะนั้น เรา
จึงเป็นผู้เลิศในพระศาสนา เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้น
แล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพัน
ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เรา
ได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว โดยลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว คุณ
พิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

59
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 60 (เล่ม 50)

เขาสั่งสมซึ่งบุญและญาณสมภาร ในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. มารดาบิดาได้ขนานนามเขาว่า "โกฏฐิตะ".
โกฏฐิตมาณพนั้น เจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท สำเร็จศิลปศาสตร์
ของพราหมณ์ วันหนึ่ง ไปยังสำนักของพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธา
บวชแล้ว จำเดิมแต่เวลาที่ได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นผู้ชำนาญเชี่ยวชาญ ในปฏิสัมภิทาญาณ
เข้าไปหาพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแล้ว ถามปัญหาก็ดี เข้าเฝ้าพระทศพล
แล้ว ทูลถามปัญหาก็ดี ก็ถามปัญหาเฉพาะในปฏิสัมภิทาเท่านั้น.
พระเถระรูปนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะ
เป็นผู้มีอธิการอันการทำไว้แล้วในภพนั้น และเพราะเป็นผู้มีความชำนาญ ที่
สั่งสมไว้แล้ว ด้วยประการดังพรรณนามานี้
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงกระท่านหาเวทัลลสูตร ให้เป็นอัตถุปปัติ
ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณ
โดยมีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาโกฏฐิตะเลิศกว่าพวก
ภิกษุสาวกของเราผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. สมัยต่อมา เมื่อท่านเสวยวิมุตติสุขได้กล่าว
คาถา โดยเปล่งเป็นอุทาน ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ภาษิตคาถานี้
ไว้อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่ว พูดด้วย
ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลาย
เหมือนลมพัดใบไม้ ให้ร่วงหล่นไปฉะนั้น ดังนี้.

60
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 61 (เล่ม 50)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสนฺโต ความว่า บุคคล ชื่อว่า
สงบแล้ว เพราะกระทำความสงบระงับ อินทรีย์ทั้งหลายมีมนะเป็นที่ ๖ โดย
กระทำให้หมดพยศ.
บทว่า อุปรโต ความว่า งดคือเว้นจากการทำความชั่วทุกอย่าง.
บทว่า มนฺตภาณี ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า มันตา ก็บุคคล
ชื่อว่า มันตภาณี เพราะพิจารณาด้วยปัญญานั้นแล้วจึงกล่าว. อธิบายว่า
กล่าวโดยไม่ละความเป็นผู้กล่าวในกาลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่า
มนฺตภาณี เพราะกล่าวด้วยสามารถแห่งการกล่าวมนต์. อธิบายว่า เว้นคำ
ที่เป็นทุภาษิต กล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต อันประกอบด้วยองค์ ๔ เท่านั้น
โดยการกล่าวของตน. บุคคลชื่อว่า อนุทฺธโต (ไม่ฟุ้งซ่าน) เพราะไม่ฟุ้งซ่าน
โดยการยกตน ด้วยสามารถแห่งชาติเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สงบแล้ว เพราะสงบกายทุจริต ๓ ได้ โดย
เว้นขาดจากกายทุจริตนั้น ชื่อว่า งดเว้น เพราะงดเว้น คือ ละมโนทุจริต
ทั้ง ๓ ได้. ชื่อว่า พูดด้วยปัญญา เพราะพูดละเมียดละไม ไม่ล่วงละเมิด
วจีทุจริต ๔. ชื่อว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านอันเกิดแต่นิมิต คือ
ทุจริต ๓ อย่าง. ก็ผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ โดยละทุจริต ๓ อย่างได้ เช่นนี้
เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะละอุทธัจจะได้กระทำสมาธินั้นแหละให้เป็นปทัฎฐาน
เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมชื่อว่า กำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้ คือ ขจัดสังกิเลส-
ธรรม ที่ชื่อว่าลามก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความลามกได้แม้ทุกอย่าง ตามลำดับ
แห่งมรรค ได้แก่ ละได้ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน. เหมือนอะไร ?
เหมือนลมพัดใบไม้ให้ร่วงไปฉะนั้น. อุปมาเหมือนลม (มาลุตะ) ย่อมกำจัดใบ
คือ ใบที่เหลืองของต้นไม้ คือ ให้สลัดหลุดจากขั้ว ฉันใด ผู้ที่ตั้งอยู่ใน

61
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 62 (เล่ม 50)

ข้อปฏิบัติ ตามที่กล่าวแล้วก็ฉันนั้น ย่อมนำบาปธรรมทั้งปวงออกจากสันดาน
ของตนได้. พึงทราบว่า คาถานี้ของพระเถระ ก็จัดว่าเป็นคาถาพยากรณ์
อรหัตผลโดยการอ้างถึงพระอรหัตผล.
ก็ในคาถานี้ ท่านแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งประโยค ด้วยการกล่าวถึง
การละกายทุจริต และวจีทุจริต แสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ ด้วยการ
กล่าวถึงการละมโนทุจริต แสดงถึงการละนิวรณ์ ของท่านผู้มีประโยคและ
อาสยะบริสุทธิ์อย่างนี้ เพราะตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ด้วยการกล่าวถึง
ความไม่มีอุทธัจจะ นี้ว่า "อนุทฺธโต" บรรดาประโยค และอาสยะเหล่านั้น
ศีลสมบัติย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งประโยค. การกำหนดธรรมที่เป็น
อุปการะต่อสมถภาวนา ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ สมาธิภาวนา
ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยการละนิวรณ์. ปัญญาภาวนา ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยบาทคาถา
นี้ว่า ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม (ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้).
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ สิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น คำสอน
ที่งาม ๓ อย่าง ปหาน ๓ มีตทังคปหานเป็นต้น ข้อปฏิบัติโดยมัชฌิมาปฏิทา
พร้อมกับการเว้นส่วนสุด ๒ อย่าง และอุบายเป็นเครื่องก้าวล่วงภพในอบาย
เป็นต้น บัณฑิตพึงเอามาขยายประกอบความตามเหมาะสม. แม้ในคาถาที่เหลือ
ก็พึงทราบการประกอบความตามสมควรโดยนัยนี้. ก็ข้าพเจ้าจะพรรณนาเพียง
ใจความเท่านั้น ในตอนหลัง ในคาถานั้น ๆ. คำว่า อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา
มหาโกฏฺฐิโต ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ (ได้ภาษิตคาถานี้ไว้) อย่างนี้
นี้ เป็นคำกล่าวยกย่องอย่างเดียวกันกับกล่าวยกย่องพระมหาโมคคัลลานะ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาโกฏฐิตเถรคาถา

62
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 63 (เล่ม 50)

๓. กังขาเรวตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกังขาเรวตเถระ
[๑๔๐] ได้ยินว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคต เหล่าใด
ย่อมกำจัดความสงสัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา
เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อม
ชื่อว่า เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.
อรรถกถากังขาเรวตเถรคาถา
คาถาของท่านพระกังขาเรวตะ เริ่มต้นว่า ปญฺญํ อิมํ ปสฺส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้
พระเถระนี้ ก็เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล กรุงหงสาวดี วันหนึ่งในเวลา
แสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เขาไปวิหารพร้อมกับมหาชน
โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดาทรงตั้ง
ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในฌานคิดว่าในอนาคต
แม้เราก็ควรเป็นเช่นกับภิกษุรูปนี้ ดังนี้ ในเวลาจบเทศนา นิมนต์พระศาสดา

63
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 64 (เล่ม 50)

กระทำมหาสักการะ โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยการการทำอธิการนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนา
สมบัติอย่างอื่น ก็นับแต่นี้ไปในวันสุดท้ายของวันที่ ๗ พระองค์ตั้งภิกษุรูปนั้น
ไว้ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ฉันใด ในอนาคตกาล
แม้ข้าพระองค์ ก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้ว ตั้งความปรารถนาไว้.
พระบรมศาสดา ทรงตรวจดูอนาคตกาลแล้ว ทรงเห็นความสำเร็จ
จึงทรงพยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะ จักเสด็จอุบัติในที่สุด
แห่งแสนกัปในอนาคตกาล ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป.
เขากระทำแต่กรรมดี จนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ตลอดเวลาแสนกัป บังเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก ณ กรุงสาวัตถี
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ไปสู่วิหารพร้อมด้วยมหาชน
ผู้เดินไปเพื่อฟังธรรม ภายหลังภัตร ยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมกถาของ
พระทศพลแล้ว ได้เฉพาะซึ่งศรัทธา บวชแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว ให้อาจารย์
บอกกัมมัฏฐาน กระทำบริกรรมฌาน เป็นผู้ได้ฌาน กระทำฌานให้เป็นบาท
แล้วบรรลุพระอรหัต.
โดยมากท่านจะเข้าสมาบัติ ที่พระทศพลทรงเข้า ได้เป็นผู้มีชำนาญ
ที่สั่งสมแล้ว ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุ
ผู้เพ่งฌานทั้งหลาย โดยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกังขา-
เรวตะเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เพ่งฌาน ดังนี้. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

64
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 65 (เล่ม 50)

ในกัปที่แสน นับแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง
ทรงเป็นนายก มีพระหนุเหมือนราชสีห์ มีพระสุรเสียง
เหมือนพรหม มีสำเนียงคล้ายหงส์และกลองใหญ่
เสด็จดำเนินเยื้องกรายดุจช้าง มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมี
ของจันทเทพบุตรเป็นต้น มีพระปรีชามาก มีความเพียร
มาก มีความเพ่งพินิจมาก มีพละมาก ประกอบด้วย
พระมหากรุณา เป็นที่พึ่งของสัตว์ กำจัดความมืดใหญ่
ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว คราวหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ผู้เลิศกว่าไตรโลก เป็นมุนี ทรงรู้วารจิตของสัตว์
พระองค์นั้นทรงแนะนำเวไนยสัตว์เป็นอันมาก ทรง-
แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ พระพิชิตมารตรัสสรรเสริญ
ภิกษุผู้เพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌาน มีความเพียรสงบ
ระงับไม่ขุ่นมัวในท่ามกลางบริษัท ทรงทำให้ประชาชน
ยินดี ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์เรียนจบไตรเพท อยู่ใน
พระนครหงสาวดี ได้สดับพระธรรมเทศนาก็ชอบใจ
จึงปรารถนาฐานันดรนั้น ทีนั้นพระพิชิตมาร ผู้เป็น
สังฆปริณายกยอดเยี่ยม ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลาง
สงฆ์ว่า จงดีใจเถิดพราหมณ์ ท่านจักได้ฐานันดรนี้
สมดังมโนรถปรารถนา ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระ-
ศาสดา พระนามว่าโคตมะ ผู้สมภพในวงศ์ของ
พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักได้
เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นพระ-

65
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 66 (เล่ม 50)

โอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดา มี
ชื่อว่า " เรวตะ " เพราะกรรมที่ทำไว้ดี และเพราะการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปยัง
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภพสุดท้าย ในบัดนี้ เราเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ อันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมายใน
โกลิยนครในคราวที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรม
เทศนาในพระนครกบิลพัสดุ์ เราเลื่อมใสในพระสุคต-
เจ้า จึงออกบวชเป็นบรรพชิต ความสงสัยของเราใน
สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะนั้น ๆ มีมากมาย พระ-
พุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันอุดม แนะนำข้อสงสัย
ทั้งปวงนั้น ต่อแต่นั้น เราก็ข้ามพ้นสงสารได้ เป็นผู้
ยินดีความสุขในฌานอยู่ ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้า
ทอดพระเนตรเห็นเรา จึงได้ตรัสพุทธภาษิตนั่นว่า
ความสงสัยในโลกนี้ หรือโลกอื่น ในความรู้
ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่น อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
อันบุคคลผู้มีปกติเพ่งพินิจ มีความเพียรเผากิเลส
ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมละได้ทั้งสิ้น.
กรรมที่ทำไว้ในกัปที่แสน ได้แสดงผลแก่เรา
ในอัตภาพนี้ เราพ้นกิเลสแล้วเหมือนลูกศรที่พ้นจาก
แล่ง ได้เผากิเลสของเราเสียแล้ว ลำดับนั้น พระมุนีผู้
มีปรีชาใหญ่ เสด็จถึงที่สุดของโลก ทรงเห็นว่าเรายิน
ดีในฌาน จึงทรงแต่งตั้งว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายที่ได้ฌาน เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ถอนภพ

66
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 67 (เล่ม 50)

ขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพัน ดังช้างตัด
เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาใน
สำนักของพระพุทธเจ้า ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้ว-
หนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว คุณพิเศษเหล่า
นี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระมหาเถระนี้ ผู้กระทำกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น พิจารณาดู ข้อที่
ตนมีความคิดสงสัยอยู่เป็นปกติ และข้อที่ตนปราศจากความสงสัยได้โดยประการ
ทั้งปวง ในบัดนี้ บังเกิดความพอใจเป็นอันมากว่า อานุภาพของพระศาสดา
ของเรา น่าชื่นใจนัก ด้วยอานุภาพของพระองค์นั้น ทำให้เราปราศจากความ
สงสัย มีจิตสงบระงับแล้วในภายใน อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อจะสรรเสริญปัญญา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ดังไฟอันรุ่งเรือง ในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใด
ย่อมกำจัดความสงสัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา
เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อม
ชื่อว่าเป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญํ ความว่า ธรรมชาติชื่อว่า ปัญญา
เพราะอรรถว่า รู้ซึ่งประการทั้งหลาย และเพราะยังคนอื่นให้รู้ โดยประการ
ทั้งหลาย. อธิบายว่า รู้ประการมี อาสยะ อนุสัย จริยา และอธิมุตติ ของ
เวไนยสัตว์ทั้งหลาย และรู้ประการอันจะพึงแสดง ในบรรดาธรรมทั้งหลายมีกุศล

67