No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 311 (เล่ม 4)

เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า
พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา).
เตียงที่เขาทำด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า
กุลีรปาท (เตียงมีขาดังก้ามปู) ก็หรือว่า เตียงที่มีเท้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี้ท่านเรียกว่า เตียงมีขาดังก้ามปู. ก็เตียงชื่อว่า อาหัจจปาทกะ นี้ ท่านกล่าว
ไว้ในบาลีข้างหน้านั่นแลอย่างนี้ว่า เตียงที่เจาะด้วยเตียงทำ ชื่อว่า อาหัจจ-
ปาทกะ (เตียงมีขาจรดแม่แคร่). เพราะเหตุนั้น เ ตียงที่ทำเจาะแม่แคร่
ทั้งหลาย แล้วสอดปลายขาเข้าไปในแม่แคร่นั้น สลักลิ่มในเบื้องบน บัณฑิต
พึงทราบว่า เตียงมีขาจรดแม่แคร่. แม้ในตั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
หลายบทว่า อนฺโต สํเวเฐตฺวา พทฺธํ โหติ มีความว่า เก้าอี้
ที่เขาถักให้กว้างทั้งข้างล่างและข้างบน ตรงกลางสอบ (แคบ) มีสัณฐานคล้าย
บัณเฑาะว์. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำเก้าอี้นั้น ให้หุ้มด้วยหนังสีหะ และ
เสือโคร่งที่ตรงกลางก็มี. ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่าหนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี. จริงอยู่
แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะนั้น จึง
เป็นของมีค่ามาก
ข้อว่า อนุปฺปสมฺปนฺนํ สนฺถราเปติ ตสฺส ปริโพโธ มีความว่า
เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้ซึ่งถูกใช้ให้วาง.
ข้อว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
มีความว่า ภิกษุผู้เดินเลยเลฑฑุบาต ของบุรุษผู้มีกำลังกลางคนไปต้องปาจิตตีย์.
[ว่าด้วยผู้รับผิดชอบเสนาสนบริขารมีเตียงเป็นต้น]
ก็ในคำว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉัน แล้วสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไป

311
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 312 (เล่ม 4)

แต่งตั้ง เตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน. ภิกษุหนุ่มนั้นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง.
พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและ
อุตราสงค์ไว้. จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ. พระเถระนั่งแล้ว เมื่อ
จะไป ไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป.
ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั่น จงกรม
พลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียงตั่ง ขอรับ ถ้า
พระเถระรู้จักธรรมเนียม พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด เราจักกระทำให้เป็นปรกติ
เดิม ถ้าภิกษุผู้เถระ เป็นคนเขลาไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุ
หนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้ เราจะไม่ให้ (ใคร) นั่ง ไม่ให้ (ใคร) นอน,
ภิกษุ หนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิด ขอรับ ได้ข้ออ้างไหว้แล้ว พึง
ไปเถิด. เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปแล้ว เป็นธุระของพระเถระเท่านั้น และบัณฑิต
พึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
ก็ถ้าว่า ในขณะที่สั่งนั่นเอง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ. ผมมีกิจ
จำต้องทำบางอย่าง มีการซักล้างสิ่งของเป็นต้น และพระเถระกล่าวกะเธอว่า
เธอแต่งตั้งแล้วจงไปเถิด ดังนี้ แล้วออกจากโรงฉันไปเสียในที่อื่น พระวินัยธร
พึงปรับ (พระเถระ) ตัวอย่างเท้า. ถ้าพระเถระไปนั่งในที่นั้นนั่น เอง, และ
เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป โดยนัยก่อนนั่นแหละ.
ก็ถ้าว่า พระเถระสั่งสามเณร. เมื่อสามเณรแม้จัดตั้งเตียงและตั่งใน
โรงฉันนั้นแล้วนั่ง พระเถระไปเสียที่อื่นจากโรงฉัน พระวินัยธรพึงปรับด้วย
ย่างเท้าเดิน. พระเถระไปนั่งแล้ว ในเวลาไปต่อไป พึงปรับด้วยอาบัติในเมื่อ
เดินเลยเลฑฑุบาตไป.

312
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 313 (เล่ม 4)

ก็ถ้าว่า พระเถระเมื่อจะสั่ง สั่งว่า เธอจัดตั้งเตียงและตั่งแล้ว จงนั่ง
รอที่เตียงและตั่งนั้นนั่นแหละ ดังนี้. ย่อมได้เพื่อจะไปในที่ที่คนปรารถนา.
ส่วนผู้รับสั่งเมื่อไม่ทำให้เป็นปกติเสียเอง เดินไปเป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลย
เลฑฑุบาตไป.
ในระหว่างการประชุม ภิกษุทั้งหลายแต่งตั้งเตียงและตั่งแล้วนั่งในเวลา
จะไปพึงบอกแก่อารามิกบุรุษ (คนทำการวัด) ว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บเตียง
และตั่งนี้ ดังนี้ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่สั่ง ไปเสีย ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาต
ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียง
และตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น.
เป็นภารธุระของพวกภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น. ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปด้วย
อ้างว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของเรา นี้สำหรับอาจารย์ของเรา ดังนี้. จำเติมแต่
นั้นไป เป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นเท่านั้น. ในเวลาไป เมื่อไม่
กระทำไว้ตามเติม เดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มานั่ง
เป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง, เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวก
ภิกษุผู้นั่ง ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย
เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุไร เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง.
เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่มา
เพียงใด เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น. เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้
แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น มีการฟังธรรมตลอดวันและ
คืนทั้งสิ้น. ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป ภิกษุอื่นมานั่ง ภิกษุใด ๆ

313
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 314 (เล่ม 4)

มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้น ๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้ เป็น
ภาระของท่าน แล้วจึงไป. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยัง
ไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนอกนี้ มานั่งอยู่
ภายในอุปจาร สถานที่นั้นนั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรมนอกนี้ ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่ง
อยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตไป, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าววินัยนี้ไว้ว่า ทุก ๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป
เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒.
[ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา]
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า จิมิลิกํ วา เป็นต้น ดังนี้ .
เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาว
เป็นต้น ชื่อว่า จิมิลกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อ
ลำแพนทับไว้ข้างบน.
เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง ชนิด
แห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาด
พื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสืออ่อน.
แม้บรรดาหนังสัตว์ มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น
หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ใน
การบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฎในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น .
เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็ก ๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า
ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า.

314
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 315 (เล่ม 4)

ตั่งที่เขาทำด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ แผ่นกระดานและดังที่ทำด้วยไม้. แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่าน
สงเคราะห์ด้วยทั่งแผ่นกระดานนั้น แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้โดยพิสดาร
ทีเดียวว่า ภิกษุวางเชิงรองบาตร ฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล พัด
ใบไม้ เครื่องไม้อย่างใดอย่างหนึ่งชั้นที่สุด กระบวยตักน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม
ไว้ในที่แจ้งแล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ. แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ใน
สิกขาบทที่ ๒. ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือ
ภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม รางน้ำย้อมเป็นต้น ไว้ในโรงไฟ. ถ้าโรงไฟ
ไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวาง
ไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร
สองบทว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก มีความว่า ในมหาปัจจรีเป็นต้น
กล่าวว่า การถือเอาโดยวิสาสะในบุคคลใด ไม่ขึ้น, เป็นทุกกฎในเพราะสิ่งของ
ของบุคคลนั้น, แต่วิสาสะในบุคคลใดขึ้น, สิ่งของของบุคคลนั้น ย่อมเป็นดุจ
ของส่วนตัวบุคคลของตน.
สองบทว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ มีความว่า บุคคลใด จะเป็นภิกษุก็ดี
สามเณรก็ดี อารามิกบุรุษก็ดี เป็นลัชชี ย่อมสำคัญดุจเป็นภารธุระของตน.
ภิกษุใดบอกลาบุคคลเช่นนั้นแล้วไป. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น .
สองบทว่า โอตาเปนฺโต คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเอาออกผึ่งไว้ที่
แดด ไปด้วยคิดว่า เราจักมาเก็บ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปอย่างนั้น.
คำว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะถูกรบกวนด้วย
อันตรายบางอย่าง. ก็ถ้าภิกษุผู้แก่กว่าให้ย้ายออกแล้ว ถือเอา (เสนาสนะ) ก็ดี,

315
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 316 (เล่ม 4)

ถ้าว่า ยักษ์หรือเปรต มานั่งอยู่ ก็ดี หรือว่าอิสรชนบางคนมายึดเอาก็ดี
เสนาสนะจัดว่าถูกหวงแหน (กางกั้น ). ก็หรือว่าเมื่อสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่ง
เป็นต้น มาสู่ประเทศนั้นแล้วพักอยู่ เสนาสนะจัดว่าถูกรบกวนเหมือนกัน
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แม้ไม่เก็บ ไปเสีย เพราะเสนาสนะถูกอันตรายบางอย่าง
รบกวนอย่างนี้.
บทว่า อาปทาสุ คือ ในเพราะอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย
แห่งพรหมจรรย์. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล
ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ

316
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 317 (เล่ม 4)

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระสตัตรสวัคคีย์
[๓๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
สัตตรสวัคคีย์มีพวก ๑๗ รูปเป็นสหายกัน เมื่ออยู่ก็อยู่พร้อมกัน เมื่อหลีกไป
ก็หลีกไปพร้อมกัน พวกเธอปูที่นอนในวหารเป็นของสงฆ์แห่งหนึ่งแล้ว เมื่อ
หลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอกมอบหมาย
หลีกไป เสนาสนะถูกปลวกกัด บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสัตตรสวัคคีย์ ปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์
แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอก
มอบหมาย หลีกไปแล้ว เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด แล้วกราบทูลเนื้อความ
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุสัตตรสวัคดีย์ ปูที่นอนในวิหารอันเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป
ไม่เก็บเอง ไม่ให้จนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปแล้ว
เสนาสนะถูกปลวกกัด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ
เหล่านั้น ปูที่นอนไว้ในวิหารเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไฉนจึงไม่เก็บเอง

317
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 318 (เล่ม 4)

ไม่ให้คนอื่นเก็บ ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปเสีย เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด
การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเมื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๖๔.๕ อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่งที่นอนใน
วิหารเป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งที่
นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๐] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่
สงฆ์
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก เครื่องลาดรักษาผิวพื้น เครื่องลาด
เตียง เครื่องลาดพื้น เสื่ออ่อน ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องลาด
ทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้.
บทว่า ปู คือ ปูเอง.
บทว่า ให้ปู คือ ให้คนอื่นปู.

318
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 319 (เล่ม 4)

คำว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น คือ
ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ให้เก็บ คือ ไม่ให้คนอื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอก
มอบหมายภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด เดินเลยเครื่องล้อมแห่งอารามที่
เขาล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินเลยอุปจารแห่งอารามที่เขาไม่ได้ล้อม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๘๑] วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูเองก็ดี
ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี
ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงสัย ปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน
เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือ
ไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของบุคคล ปูเองก็ดี ให้คนอื่น
ปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอน
อันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรง
ฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่น

319
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 320 (เล่ม 4)

เก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ภิกษุตั้งไว้เองก็ดี ให้คนอื่นตั้งไว้ก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ในวิหารก็ดี
ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป
ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเตียงตั่งอันตั้งไว้นั้น หรือไม่บอกมอบ
หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล . . . ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.
วิหารเป็นของส่วนตัวของตน . . . ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๒] ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑ ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑ ภิกษุ
บอกมอบหมายแล้วไป ๑ เสนาสนะมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุยังห่วงไป
ยืนอยู่ ณ ที่นั้นบอกมอบหมายมา ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุมี
อันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

320