No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 48 (เล่ม 50)

เหตุแห่งความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญนี้
เป็นชื่อของความสุข ดังนี้. มาในอารมณ์ที่เป็นสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนมหาลี ก็เพราะเหตุใดแล รูปจึงเป็นสุขอันสุขติดตามแล้ว ก้าวลงแล้ว
สู่ความสุ ดังนี้. มาในความไม่เพ่งเล็ง ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อน
จุนทะ. รูปสมาบัติเหล่านี้ เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ในวินัยของพระ-
อริยเจ้า ดังนี้. มาในพระนิพพาน ดังในประโยคว่า พระนิพพานเป็นสุข
อย่างยิ่ง ดังนี้. มาในฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา โดยการบอกกล่าว จนถึง
สวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ดังนี้. มาในอารมณ์ ที่น่าปรารถนา
ดังในประโยคมีอาทิว่า เป็นไปเพื่อสวรรค์ มีสุขเป็นวิบาก ยังสวรรค์ให้เป็น
ไปพร้อม ดังนี้. แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่ามาในอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือ
ในอารมณ์อันเป็นเหตุแห่งความสุข.
ก็กุฎีนั้น ยังความพอใจ ทั้งภายใน และภายนอก ให้ถึงพร้อมแล้ว
ท่านจึงเรียกว่า สุข เพราะอยู่อาศัยสบาย. อนึ่ง ท่านเรียกว่า " สุข "
เพราะเป็นปัจจัยแห่งความสุขทางกายและสุขทางใจ โดยประกอบไปด้วยความ
สมบูรณ์ด้วยความสุขทุกฤดู เพราะไม่หนาวเกินไป และไม่ร้อนเกินไป.
บทว่า นิวาตา แปลว่า ไม่มีลม อธิบายว่า เว้นจากอันตราย
อันเกิดแต่ลม เพราะมีช่องหน้าต่างอันปิดลงกลอนได้สนิท. บทว่า นิวาตา
นี้ เป็นบทแสดงถึงความที่กุฎีนั้นอำนวยความสุข. เพราะว่า ในเสนาสนะที่มี
ลม จะไม่ได้ฤดูเป็นที่สบาย ในเสนาสนะที่อับลม จึงจะได้ฤดูเป็นที่สบายนั้น.
บทว่า วสฺส แปลว่า ยังฝนให้ตก คือ ยังธารนำให้หลั่งลงมาโดยชอบ.
เทวศัพท์ ในบทว่า เทวา นี้ มาในความหมายว่า กษัตริย์
ผู้สมมติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พัน

48
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 49 (เล่ม 50)

อันมีเมืองกุสาวดีราชธานี เป็นประมุขเหล่านี้ ของพระองค์ ขอพระองค์จงยัง
ฉันทะให้เกิด ในพระนครเหล่านี้เถิด จงทำความใยดีในชีวิต ดังนี้. มาใน
อุปปัตติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา มีวรรณะ
มากด้วยความสุข ดังนี้. มาในวิสุทธิเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า คำสอน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้เป็นเทพเหนือเทพ ผู้เห็นไญยธรรม
ทั้งปวง ดังนี้. ก็ในเมื่อกล่าวถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพเหนือกว่า
วิสุทธิเทพทั้งหลาย เทพนอกนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแล้วทีเดียว. มาในอากาศ
ดังในประโยคมีอาทิว่า ในอากาศที่แจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ดังนี้.
มาในเมฆหรือหมอก ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ดังนี้. แม้ในคาถานี้ ได้แก่ เมฆหรือหมอก. ก็พระเถระกล่าวบังคับเมฆหมอก
เหล่านั้นว่า วัสสะ (จงยังฝนให้ตก).
บทว่า ยถาสุขํ แปลว่า ตามใจชอบ. พระเถระเมื่อจะอนุเคราะห์
เหล่าสัตว์ผู้อาศัยฝนเป็นอยู่ จึงกล่าวว่า อันตรายในภายนอกไม่มีแก่เรา เพราะ
การตกของท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจงตกตามสบายเถิด ดังนี้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความไม่มีอันตรายในภายใน จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า จิตฺตํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ ความว่า จิตของเรา
ตั้งอยู่แล้วในอารมณ์ด้วยดี คือดียิ่ง โดยชอบ คือโดยความเป็นเอกัคคตารมณ์
อันถูกต้องทีเดียว.
แลจิตนั้น มิได้ตั้งมั่น ด้วยเหตุเพียงข่มนิวรณ์เป็นต้นไว้ได้เท่านั้น
โดยที่แท้ จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว คือพ้นแล้วโดยพิเศษ จากสังโยชน์ทั้งปวง
อันสงเคราะห์ด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์ และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ และจากกิเลส

49
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 50 (เล่ม 50)

ธรรมทั้งปวง. อธิบายว่า ละกิเลสเหล่านั้นได้ ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน
แล้วตั้งอยู่.
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีความ
เพียรอันปรารภแล้ว เพื่อผลสมาบัติ และเพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม โดยเริ่ม
บำเพ็ญวิปัสสนา แต่มิใช่เพื่อจะละกิเลส เพราะไม่มีกิเลสที่จะต้องละนั่นเอง.
พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ดูก่อนฝน ท่านอันข้าพเจ้าเชิญชวนให้ตก เพราะ
ไม่มีอันตรายในภายนอกฉันใด แม้อันตรายภายในก็ไม่มีฉันนั้น จึงกล่าวคำว่า
วสฺส เทว (ดูก่อนฝนท่านจงตกเถิด) ดังนี้ไว้อีก.
นัยอื่น บทว่า ฉนฺนา ได้แก่ ปิดแล้ว บังแล้ว. บทว่า กุฏิกา
ได้แก่ อัตภาพ. ก็อัตภาพนั่นมาแล้ว โดยความหมายว่า กาย ดังในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้เองของบุคคลซึ่งเป็นที่รวมแห่งอวัยวะ
มิใช่น้อย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ประกอบแล้วด้วยตัณหา ประชุมกันแล้ว
และมีนามรูปในภายนอก. มาแล้วในความหมายว่า เรือ ดังในประโยคมี
อาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือลำนี้ เรืออันเธอวิดแล้วจักถึงฝั่งได้เร็ว.
มาแล้วในความหมายว่า เรือน ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนนายช่างผู้ทำ
เรือน ยอดของเรือนเราหักแล้ว. มาโดยความหมายว่า ถ้ำ ดังในประโยคมี
อาทิว่า นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้แล้ว ดำรง
อยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงในกามคุณ เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง.
มาแล้วโดยความหมายว่า รถ ดังในประโยคมีอาทิว่า รถคืออัตภาพ มีศีล
อันหาโทษมิได้ มีหลังคาคือบริขารขาว มีกรรมคือสติอันเดียว แล่นไปอยู่.
มาแล้วในคำว่า ที่อยู่อาศัย ดังในประโยคว่า ท่านจักทำเรือน (ที่อยู่อาศัย) ไม่ได้
อีกแล้ว. มาแล้ว โดยความหมายว่า กุฎี ดังในประโยคมีอาทิว่า กุฎีคืออัตภาพ
มีหลังคาอันเปิดแล้ว ไฟดับสนิทแล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในคาถานี้ ท่านจึง
เรียกอัตภาพนั้นว่า " กุฏิกา" (กระท่อม). อธิบายว่า อัตภาพ จะมีได้

50
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 51 (เล่ม 50)

เพราะอาศัยปฐวีธาตุเป็นต้น และผัสสะเป็นต้น ที่หมายรู้กันว่า ได้แก่กระดูก
เป็นต้น เหมือนกระท่อมที่ได้นามว่า เรือน จะมีได้ เพราะอาศัยทัพสัมภาระ
มีไม้เป็นต้น ท่านจึงเรียกว่า กุฏิกา " กระท่อม" เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของ
ลิง คือ จิต. และสมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า
กระท่อมคือร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของลิง
คือจิต เพราะฉะนั้น ลิงคือจิต จึงกระเสือกกระสนจะ
ออกจากกระท่อม ที่มีประตู ๕ พยายามวิ่งวนไปมา
ทางประตูบ่อย ๆ ดังนี้.
ก็และกระท่อม คือ อัตภาพนี้นั้น ท่านกล่าวว่า อันพระเถระปิดบัง
แล้ว เพราะจิตที่กิเลสรั่วรด ชุ่มไปด้วยราคะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง
อสังวรทวาร ทั้ง ๓ ช่อง ๖ ช่อง และ ๘ ช่อง อันพระเถระสำรวม
แล้วด้วยปัญญา คือ ปิดกั้นแล้วโดยชอบนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราตถาคต กล่าวการสำรวมระวังกระแสทั้งหลาย กระแส
เหล่านั้น ย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้. ชื่อว่ามีความสุข คือถึงแล้วซึ่ง
ความสุข เพราะปิดบังได้ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล และเพราะความเป็นผู้
พร้อมเพรียงด้วยความสุขที่ปราศจากอามิส โดยไม่มีทุกข์ คือ กิเลส. ก็เพราะ
เหตุที่ถึงความสุขแล้วนั้นเอง จึงชื่อว่า สงัดจากลม ได้แก่ มีความประพฤติ
อ่อนน้อม เพราะมีความเมา คือ มานะ ความดื้อดัน และความแข่งดี อัน
ขจัดได้แล้ว. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็แนวทางอันนี้ สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเหตุเพียงระวังสังกิเลสธรรม (อย่างเดียว) ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว สำเร็จ
เพราะความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยสมาธิอันสัมปยุตแล้วด้วยมรรคอันเลิศ
และเพราะความเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว จากสังโยชน์ทั้งปวง ด้วยปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยมรรคอันเลิศ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ วิมุตฺตํ

51
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 52 (เล่ม 50)

(จิตของเราตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว) ดังนี้. พึงเห็นความในคาถานี้ อย่างนี้
ว่า ก็ข้าพเจ้าผู้เป็นอย่างนี้แล้ว จะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ด้วยคิดว่า
บัดนี้เราทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ดังนี้ ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว เราเป็นผู้มี
ความเพียรอยู่ คือเป็นผู้มีความอุตสาหะเกิดแล้ว ในการบำเพ็ญประโยชน์สุข
แก่สัตวโลก พร้อมทั้งเทวดา แม้ในเวลาเที่ยวภิกษาจาร ก็ยับยั้งอยู่ ด้วยพรหม-
วิหารธรรมอย่างเดียว ตามลำดับเรือน. เพราะฉะนั้น แม้ท่าน ก็จงยังฝน
ให้ตก คือ ยังสายฝนให้หลั่งไหลไปโดยชอบ เพื่อกระทำความน่ารัก สำหรับ
เรา อีกทั้งเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้เข้าไปอาศัยน้ำฝนเป็นอยู่.
ก็ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา สุขา นิวาตา นี้ ในคาถานี้
พระเถระแสดงถึงอธิศีลสิกขาของตนโดยประเภทที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.
ด้วยบทว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ นี้ แสดงถึงอธิจิตตสิกขา. ด้วยบทว่า
วิมุตฺตํ นี้ แสดงถึงอธิปัญญาสิกขา. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้
แสดงถึงการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา
สุขา นิวาตา นี้ แสดงถึงอนิมิตวิหาร เพราะแสดงการเพิกนิมิต มีนิมิต
ว่าเที่ยงเป็นต้น โดยมุขคือการปกปิดไว้ซึ่งฝนคือกิเลส. ด้วยบทว่า จิตฺตํ เม
สฺสมาหิตํ นี้ แสดงถึงอัปปณิหิตวิหาร. ด้วยบทว่า วิมุตฺตํ นี้ แสดงถึง
สุญญตวิหาร. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึงอุบายเป็นเครื่อง
บรรลุวิหารธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อแรก
แสดงถึงการละราคะ ๓ ด้วยวิหารธรรมข้อที่สอง แสดงถึงการละราคะ ด้วย
วิหารธรรมข้อที่ ๓ แสดงถึงการละโมหะ. อนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๒
หรือข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ แสดงถึงธรรมวิหารสมบัติ. ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๓

52
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 53 (เล่ม 50)

แสดงถึงวิมุตติสมบัติ. พึงทราบว่า ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึง
ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้านในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เก่ผู้อื่น.
ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อิตฺถํ สุทํ ไว้เพื่อจะแสดงถึงชื่อ ในบรรดา
ชื่อและโคตรที่ยังไม่ได้แสดงไว้แล้วในคาถานั้น เพราะพระเถระผู้มีธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นต้น กล่าวไว้แล้วด้วยคาถาว่า ยถานามา นี้ ดังพรรณนามานี้.
ก็พระเถระเหล่าใด ปรากฏเพียงชื่อ ท่านแสดงพระเถระเหล่านั้น โดยชื่อ
พระเถระเหล่าใด ปรากฏแล้วโดยโคตร ก็แสดงพระเถระเหล่านั้นโดยโคตร
พระเถระเหล่าใด ปรากฏทั้งสองอย่าง ก็แสดงพระเถระเหล่านั้น แม้ทั้งสอง
อย่าง (คือทั้งโดยชื่อและโคตร) ก็พระเถระนี้ ท่านกำหนดไว้แล้วโดยชื่อ
ไม่ได้กำหนดไว้โดยโคตรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า
" อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา สุภูติ " ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถํ
เท่ากับ อิทํ ปการํ ความก็ว่า โดยอาการนี้. บทว่า สุทํ ตัดบทเป็น
สุ อิทํ ลมอิออกเสียด้วยอำนาจสนธิ. และบทว่า สุ เป็นเพียงนิบาต.
ประกอบความว่า ซึ่งคาถานี้. บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวที่น่ารัก
คือคำนี้ เป็นคำกล่าว ของผู้ที่มีความเคารพยำเกรงในฐานะครู. บทว่า สุภูติ
เป็นคำระบุถึงชื่อ. ก็ท่านพระสุภูตินั้น แม้โดยสรีรสมบัติ ก็น่าชม แม้โดยคุณ-
สมบัติ ก็น่าเลื่อมใส. ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงปรากฏนามว่า สุภูติ เพราะ
ประกอบไปด้วย สรีระร่างกายงดงาม เป็นที่เจริญตา และคุณสมบัติมีศีลเป็นต้น
เป็นที่เจริญใจ. ปรากฏชื่อว่า เถระ เพราะประกอบไปด้วยคุณธรรมอันมั่นคง
มีสาระ คือ ศีลเป็นต้น. บทว่า อภาสิตฺถ แปลว่า กล่าวแล้ว. ถามว่า
ก็เพราะเหตุไร พระมหาเถระเหล่านี้ จึงประกาศคุณทั้งหลายของตน ?
ตอบว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง ประกาศคุณของตน ด้วย
สามารถแห่งการพิจารณาถึงโลกุตรธรรม อันตนไม่เคยได้บรรลุ โดยกาล

53
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 54 (เล่ม 50)

ยาวนานนี้ ล้ำลึกอย่างยิ่ง สงบ ประณีต เหลือประมาณ อันตนได้บรรลุแล้ว
เปล่งอุทาน โดยที่กำลังปีติ กระตุ้นเตือนแล้ว และด้วยสามารถแห่งการยกย่อง
คำสอนว่าเป็นนิยยานิกธรรม (นำสัตว์ออกจากภพ). พระโลกนาถ ประกาศ
คุณของพระองค์ ด้วยคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ผู้ประกอบ
ด้วยพลญาณ ๑๐ เป็นผู้แกล้วกล้า เพราะเวสารัชชธรรม ๔ ดังนี้ ด้วย
สามารถแห่งพระอัธยาศัยที่เป็นไปเพื่อให้สัตว์ได้บรรลุ (มรรคผล) ฉันใด คาถา
พยากรณ์อรหัตผล ของพระเถระ นี้ ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา สุภูติเถรคาถา
๒. มหาโกฏฐิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๓๙] ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่ว พูดด้วย
ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลาย
เหมือนลมพัดใบไม่ไม่ให้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น.

54
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 55 (เล่ม 50)

อรรถกถามหาโกฏฐิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหาโกฏฐิตเถระ เริ่มต้นว่า อุปสนฺโต. ท่านมี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้
พระเถระนี้ ก็บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมาก ในพระนครชื่อว่าหงสาวดี
เจริญวัยเติบใหญ่แล้ว สืบทอดสมบัติ โดยที่มารดาบิดาล่วงลับไป อยู่ครอบ-
ครองเรือน วันหนึ่งเห็นชาวเมืองหงสาวดี ถือของหอมและระเบียบเป็นต้น
มีจิตน้อมโน้ม โอนไปหาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เดินไปในเวลา
เป็นที่แสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็เดิน
เข้าไปพร้อมกับมหาชน เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเอตทัคคะ
เลิศกว่าภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายคิดว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้ เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลายผู้ถึงปฏิสัมภิทาในพระศาสนานี้ ไฉนหนอ แม้เราก็พึงถึงความเป็นผู้เลิศ
ด้วยปฏิสัมภิทาญาณ เหมือนภิกษุนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ดังนี้ ในเวลาที่พระศาสดาจบพระธรรมเทศนาลง ก็ตรงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับ
ภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้ พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว.
เขาถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทำประทักษิณไปยังเรือน
ของตน ประดับตกแต่งที่สำหรับนั่งของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ จัดแจง
ขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ครั้นรัตติกาลนั้นผ่านไป
ก็อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุหนึ่งแสนรูปเป็นบริวาร ให้เสวยโภชนะ
แห่งข้าวสาลี อันหอมละมุน มีสูปะและพยัญชนะหลากรส มีข้าวยาคูและของ

55
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 56 (เล่ม 50)

เคี้ยวหลายอย่างเป็นบริวาร ในเวลาเสร็จภัตกิจแล้ว คิดว่า เราปรารถนา
ตำแหน่งใหญ่มากหนอ ก็การถวายทานเพียงวันเดียว แล้วปรารถนาตำแหน่ง
นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายทานตลอด ๗ วัน โดยลำดับ แล้วจึง
ปรารถนา ดังนี้.
เขาถวายมหาทานอยู่ตลอด ๗ วัน โดยทำนองนั้นแหละ ในเวลาเสร็จ
ภัตกิจแล้ว สั่งให้คนเปิดคลังผ้า วางผ้าเนื้อละเอียด พอทำจีวรอันมีราคาสูงสุด
ไว้ที่บาทมูลของพระพุทธเจ้า และถวายไตรจีวรแด่ภิกษุแสนรูป เข้าไปเฝ้า
พระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับย้อนหลังจากนี้ไป
๗ วัน พระองค์ทรงตั้งภิกษุรูปใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ แม้ข้าพระองค์
ก็พึงบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคตกาล แล้วพึง
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเถิด ดังนี้ แล้วหมอบลง
แทบบาทมูลของพระศาสดา ทำความปรารถนาแล้ว.
พระศาสดา ทรงเห็นความสำเร็จแห่งความปรารถนาของเขาแล้ว ทรง
พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก. ความปรารถนาของท่าน จัก
สำเร็จในศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคดม นั้น. แม้ในอปทาน-
ท่านก็กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิต-
มาร ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง
เป็นมุนี มีจักษุได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ตรัสสอน
ทรงแสดงให้สัตว์รู้ชัดได้ ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้าม
วัฏสงสาร ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรง
ช่วยให้ประชาชนข้ามพ้นได้เป็นอันมาก พระองค์เป็น

56
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 57 (เล่ม 50)

ผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา แสวงหา
ประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ทรงยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้า ให้
ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระ-
ศาสนาจึงไม่มีความอากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตร
ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหา
มุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณ
งดงาม คล้ายทองคำล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ
๓๒ ประการ ครั้งนั้น อายุของสัตว์ยืนประมาณแสนปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาล
ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชาชนเป็นอันมาก ให้
ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้ ครั้งนั้นเราเป็นพราหมณ์
ผู้เรียนจบไตรเพท ในพระนครหงสาวดี ได้เข้า
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง แล้วสดับ
พระธรรมเทศนา ครั้งนั้นพระธีระเจ้าพระองค์นั้น
ทรงตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ฉลาดในอรรถ
ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณในตำแหน่งเอตทัคคะ เรา
ได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้นิมนต์พระชินวรเจ้า
พร้อมด้วยพระสาวกให้เสวยและฉัน ถึง ๗ วัน ใน
กาลนั้น เรายังพระพุทธเจ้าผู้เปรียบด้วยสาคร พร้อม
ทั้งพระสาวกให้ครองผ้า แล้วหมอบลงแทบบาทมูล
ปรารถนาฐานันดรนั้น ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ว่าโลก ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์ผู้สูงสุด ที่หมอบอยู่

57