No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 38 (เล่ม 50)

บังเกิดในภพดาวดึงส์ ในเทวโลก ชั้นกามาพจร. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อ นิสภะ
เราได้สร้างอาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้น อย่างสวยงาม
สร้างบรรณศาลาไว้ ในกาลนั้น เราเป็นชฎิล มีนาม
ว่าโกลิยะ มีเดชรุ่งเรือง ผู้เดียวไม่มีเพื่อน อยู่ที่
ภูเขาชื่อนิสกะ เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามัน
และใบไม้ ในกาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเอง
และหล่นเอง เลี้ยงชีวิต เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ
แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิตของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา
จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแล้วแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้น
เราบอกตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น ท่านกำหนัด
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคืองใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจาก
ป่า ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ
ท่านอย่าประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่า
เถิด ท่านจักเป็นเจ้าของเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด
ท่านอย่ายินดี แม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเลย จงออกไปจาก-
ป่าเถิด เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ใช้ทำกิจอะไร ๆ
ที่ไหนไม่ได้ ไม้นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้าน
หรือในป่า ฉันใด ท่านก็เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ
ฉันนั้น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ใช่ จะเป็นสมณะก็ไม่ใช่

38
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 39 (เล่ม 50)

วันนี้ ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกไปจากป่าเสียเถิด
ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน
ใครจะนำธุระของท่านไปได้โดยเร็ว เพราะท่านมาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน วิญญูชนจักเกลียดท่าน
เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่สะอาดฉะนั้น ฤาษี
ทั้งหลายจักคร่าท่านมา ประท้วงทุกเมื่อ วิญญูชนจัก
ประกาศท่านว่า มีศาสนาอันก้าวล่วงแล้ว ก็เมื่อไม่ได้
การอยู่ร่วม ท่านจักเป็นอยู่อย่างไรได้ ช้างมีกำลัง
เข้าไปหาช้างกุญชรตกมัน ๓ ครั้ง เกิดในตระกูลช้าง
มาตังคะ มีอายุ ๖๐ ด้อยกำลังแล้ว ถูกนำออกจากโขลง
มันถูกขับออกจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ
เป็นสัตว์มีทุกข์ โศกเศร้า ซบเซาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด
ชฏิลทั้งหลายจักขับแม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก ท่าน
ถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ
ฉันนั้น ท่านเพรียบพร้อมแล้ว ด้วยลูกศร คือความ-
โศก ทั้งกลางวันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อน
แผดเผา เหมือนช้างลูกขับออกจากโขลง ฉะนั้น
เบ้าทองย่อมไม่ถูกเผาไหม้ที่ไหน ๆ ฉันใด ท่านมีศีล
วิบัติแล้ว ก็ฉันนั้น จักไม่ทำกิเลสให้ไหม้ได้ ในที่
ไหน ๆ แม้ท่านจะอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร
ได้ แม้ทรัพย์อันเป็นของมารดาบิดา ที่เก็บไว้แล้วของ
ท่านก็ไม่มี ท่านต้องทำงานเอง ชนิดอาบเหงื่อต่างน้ำ
จักมีชีวิตอยู่ในเรือนอย่างนี้ ท่านไม่ชอบใจกรรมที่ดี

39
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 40 (เล่ม 50)

เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น
เรากล่าวธรรมกถานานาชนิด ห้ามจิตจากบาปธรรม
เมื่อเรามีปิติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓
หมื่นปี ล่วงเลยเราผู้อยู่ในป่าใหญ่ไปแล้ว พระสัมมา
สัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงเห็นเรา
ผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์
อันอุดม จึงเสด็จมายังสำนักของเรา. พระพุทธเจ้าผู้มี
พระรัศมี ดังสีทองชมพูนุท ประมาณมิได้ ไม่มีใคร
เปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูปพระโฉม เสด็จ
จงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มี
ใครเสมอด้วยพระญาณ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศใน
เวลานั้น ดังพญารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้า
(แลบ) ในกลุ่มเมฆ พระองค์เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศ
ในเวลานั้น ดุจพญาราชสีห์ตัวไม่เกรงใคร ดุจพญาช้าง
ตัวองอาจ ดุจพญาเสื่อโคร่งตัวไม่ครั่นคร้าม พระพุทธเจ้า
ผู้มีพระรัศมีดังสิงคี ส่องสว่างดังถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จจงกรมอยู่บน
อากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดัง
เขาไกรลาสอันบริสุทธิ์ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศใน
เวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ดุจพระอาทิตย์ใน
เวลาเที่ยง เวลานั้น เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่
บนอากาศ จึงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้นี้เป็นเทวดาหรือว่า
เป็นมนุษย์ นระเช่นนี้ เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือ

40
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 41 (เล่ม 50)

ได้พบเห็นบนแผ่นดิน ชะรอยจะเป็นอำนาจเวทมนตร์
ผู้นี้คงจักเป็นพระศาสดา ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรารวบรวมเอาดอกไม้และ
ของหอมต่างๆ ไว้ในเวลานั้น ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้
อันวิจิตรดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้วได้ทูลคำนี้กะ
พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถี ว่า ข้าแต่พระ
วีระ อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้าพระองค์
ปูถวายไว้แล้ว ขอได้ทรงโปรดยังจิตของข้าพระองค์
ให้ร่าเริง ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมเถิด พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงหวาดหวั่น ดังพญาไกรสร
ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น เป็น
เวลา ๗ คืน ๗ วัน. พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรงพยากรณ์ธรรมของ
เรา ได้ตรัสพระพุทธพจน์ ดังนี้ว่า ท่านจงเจริญพุทธา-
นุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญ
พุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้สมบูรณ์ จักรื่นรมย์
ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมเทวดา
เสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศ-
ราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัติ
นั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ เมื่อ
ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็น
อันมาก จักไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง

41
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 42 (เล่ม 50)

(การเจริญ) พุทธานุสติ แม้ (สิ้นเวลา) แสนกัป
พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ผู้
ทรงสมภพในองค์ของพระเจ้าโอกากราช จักเสด็จ
อุบัติในโลก. ท่านสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ข้าทาสและ
กรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม จักยังพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าโคดม ศายบุตร ผู้ประเสริฐให้โปรดปราน
จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า "สุภูติ"
พระศาสดา พระนามว่าโคดม ประทับนั่งท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นเลิศใน ๒
ตำแหน่ง คือ ในคุณคือความเป็นพระทักขิไณยบุคคล ๑
ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระนามสูงสุดกว่าสัตว์ผู้เกิดในน้ำ (และบนบก)
[ผู้เป็นมหาวีระ) ครั้นตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่
อากาศ ดุจพญาหงส์ในทิฆัมพร เราอันพระโลกนาถ
พร่ำสอนแล้ว ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า มีจิตเบิกบาน
เจริญพุทธานุสติอันสูงสุดทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่
เราทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกาย
มนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทพ เสวย
ทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย
คณานับมิได้ ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อย

42
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 43 (เล่ม 50)

ภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติมาก เราไม่มีความ
บกพร่องด้วยโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสติ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้
ในกาลนั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสติ คุณพิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๙ และอภิญญา ๖
เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้กระทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า พระสุภูติเถระเจ้า ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล
ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติ ด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับ
กันไปในดาวดึงส์พิภพ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษยโลก นับ ๑,๐๐๐ ครั้ง เสวยมนุษยสมบัติอัน
โอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เกิดเป็น
น้องชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรือนของสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี
ได้มีนามว่า "สุภูติ"
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
ทรงประกาศธรรมจักร เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรงกระทำการ
อนุเคราะห์สัตวโลก โดยการรัมมอบพระวิหารเวฬุวันเป็นต้น ในกรุงราชคฤห์
นั้น อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในป่าสีตวัน. ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ถือเอาเครื่องมือของผู้หมั่นขยันในพระนครสาวัตถี สร้างเรือนของ
เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ สดับข่าวการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล
โดยการเข้าเฝ้าครั้งแรกทีเดียว แล้วทูลขอให้พระศาสดาเสด็จมากรุงสาวัตถีอีก

43
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 44 (เล่ม 50)

ให้สร้างพระวิหาร โดยการบริจาคทรัพย์ ๑ แสน ไว้ในที่ห่างกันโยชน์หนึ่ง ๆ
ในระยะทาง ๔๕ โยชน์ ถัดจากกรุงสาวัตถีนั้น ซื้อที่สวนของพระราชกุมาร
ทรงพระนามว่า เชตะ ประมาณ ๘ กรีส โดยมาตราวัดหลวง ด้วยการเอาทรัพย์
ปูลาดไปเป็นโกฎิ ๆ. ในวันที่พระศาสดาทรงรับพระวิหาร สุภูติกุฎุมพีนี้ได้ไป
พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศนาแล้ว ได้มีศรัทธา (ปสาทะ)
บรรพชาแล้ว.
ท่านอุปสมบทแล้ว ทำมาติกา ๒ ให้คล่องแคล่ว ให้อาจารย์บอก
กัมมัฏฐาน บำเพ็ญสมณธรรมในป่า เจริญวิปัสสนา มีเมตตาฌานเป็นบาท
บรรลุพระอรหัตแล้ว. ก็เพราะเมื่อท่านแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมไม่เจาะจง
ตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้นามว่า เป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีข้าศึก. เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็เข้าฌานแผ่เมตตาไปทุกๆ
บ้าน ออกจากฌานแล้วจึงรับภิกษา ด้วยคิดว่า. โดยวิธีนี้ ทายกทั้งหลาย จักมี
ผลมาก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นผู้เลิศกว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระสุภูติเลิศกว่าภิกษุ
สาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส พระสุภูติเลิศกว่าพวกภิกษุสาวก
ของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ดังนี้.
พระมหาเถระนี้ ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว ถึงที่สุดแห่งผลของ
บารมีที่ตนได้บำเพ็ญแล้ว เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องในโลก เที่ยวจาริกไป
ตามชนบท เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จไปหา
ไหว้แล้ว ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ทรงพระดำริว่า
เราจักสร้างที่อยู่ถวาย ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไปแล้วก็ทรงลืมเสีย. พระเถระ

44
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 45 (เล่ม 50)

เมื่อไม่ได้เสนาสนะ ก็ยังเวลาให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง) ด้วยอานุภาพ
ของพระเถระ ฝนไม่ตกเลย.
มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้ง บีบคั้น คุกคาม จึงพากันไปทำการ
ร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา พระราชาทรงใคร่ครวญดูว่า ด้วยเหตุไร
หนอแล ฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่กลางแจ้ง
ฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฎีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระ แล้วรับสั่งว่า
" ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฎี นี้แหละ" ไหว้แล้ว เสด็จหลีกไป.
พระเถระ เข้าไปสู่กุฎี แล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูลาดด้วยหญ้า.
ก็ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดลงมาเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ยังสายธารให้ชุ่มชื่นทั่วถึง.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้ง แก่ชาวโลก
จึงประกาศความไม่มีอันตราย ที่เป็นวัตถุภายในและภายนอกของตน จึงกล่าว
คาถาว่า
กระท่อของเรามุงแล้ว สะดวกสบายปราศจาก
ลม ดูก่อนฝน ท่านจงตกตามสบายเถิด จิตของเรา
ตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เรามีความเพียรเครื่องเผา-
กิเลสอยู่ ดูก่อนฝน ท่านจงตกเถิด ดังนี้.
ฉนฺน ศัพท์ในคาถานั้น มาแล้วในความเหมาะสม ดังในประโยค
มีอาทิว่า เด็กหญิงคนนั้น เหมาะสมกับเด็กชายคนนี้ และดังประโยคมีอาทิว่า
ไม่เหมาะสม (คือ) ไม่สมควร. มาแล้วในสังขยาพิเศษ ที่ทำถ้อยคำให้
สละสลวย ดังในประโยคมีอาทิว่า ฉนฺนํ เตฺวว ผคฺคุณผสฺสายตนานํ.
มาแล้วในความว่ายึดถือ ดังในประโยคมีอาทิว่า ฝน คือ กิเสสย่อมรั่วรดผู้ที่
ยึดถือ ย่อมไม่รั่วรด ผู้ปราศจากกิเลส. มาในความว่า นุ่งห่มดังในประโยค

45
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 46 (เล่ม 50)

มีอาทิว่า แม้เรา ก็ยังไม่ได้นุ่งห่ม จักทำอะไรให้ท่านได้. มาในต้นบัญญัติ ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ท่านฉันนะ ได้ประพฤติอนาจาร. มาในความว่า มุงบังด้วย
หญ้าเป็นต้น ดังในประโยคว่า เรามุงบังไว้หมดแล้ว เรามุงบังไว้เรียบร้อยแล้ว
และดังในประโยคว่า เรามุงบังกระท่อมไว้แล้ว ก่อไฟไว้แล้ว. แม้ในคาถานี้
พึงทราบว่า มาในความหมายว่า มุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น
จึงมีอธิบายว่า กุฎีที่มุงบังแล้วด้วยหญ้า หรือใบไม้ ชื่อว่า มุงบังไว้ดีแล้ว
ทีเดียว โดยประการที่ฝนจะไม่รั่ว คือฝนจะไม่หยดลงมา ได้แก่ รั่วรดไม่ได้เลย.
เม ศัพท์มาแล้วใน กรณะ (ตติยาวิภัตติ) ดังในประโยคมีอาทิว่า
บัดนี้ ไม่ควรเลย ที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก อธิบายว่า
มีความหมายเท่ากับ มยา (อันเรา).
มาแล้ว ในความว่า มอบให้ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์นั้น โดย
ย่อ อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มยฺหํ (แก่ข้าพระองค์). มาแล้วในอรรถ
แห่งฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่กาลตรัสรู้
เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ดังนี้ แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่า
ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างเดียว อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มม.
ขึ้นชื่อว่า สิ่งไร ๆ ที่จะพึงยึดถือว่า เป็นของเรา ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ
ทั้งหลาย เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น อันโลกธรรมทั้งหลายเข้าไปแปดเปื้อน
ไม่ได้ก็จริง แต่โดยสมบัติของโลก แม้พระขีณาสพเหล่านั้น ก็ยังมีเพียงการ
กล่าวเรียกกันว่า เรา ว่าของเรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
สาวกทั้งหลายของเรา พึงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลยด้วย
เหตุดังฤา. ก็ท้องมารดาก็ดี กรชกายก็ดี แม้ที่อาศัยซึ่งมุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นก็ดี

46
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 47 (เล่ม 50)

ท่านเรียกว่า " กระท่อม". สมจริงตามนั้น ท้องมารดาท่านเรียกว่า กระท่อม
ดังในประโยคมีอาทิว่า
ท่านกล่าวมารดา ว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าว
ภรรยา ว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตร ว่าเป็นเครื่องสืบ
ต่อไป ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องผูกแก่เรา ดังนี้.
กรชกายอันเป็นที่ประชุมแห่งอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น ท่านเรียกว่า
กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า
เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่าง อันสำเร็จด้วย
โครงกระดูก อันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด
ที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่น และเป็นของตน
ดังนี้.
ที่อาศัยที่มุงบังด้วยหญ้า ท่านเรียกว่า กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนน้องหญิง กระท่อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฝน
รั่วรดได้ ดังนี้ และดังในประโยคมีอาทิว่า ขึ้นชื่อว่า กระท่อม ฉาบแล้วก็มี
ยังไม่ได้ฉาบก็มี ดังนี้. แม้ในคาถานี้พึงทราบว่าได้แก่ ที่อาศัยอันมุงด้วยหญ้า
นั่นแหละ เพราะหมายถึงบรรณศาลา. เพราะว่า กระท่อม ก็คือกุฎีนั่นเอง.
อธิบายว่า กุฎี ที่ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า กระท่อม.
ส่วนสุขศัพท์ มาในสุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า บุคคลละสุข
และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้ ดังนี้. มาในความว่าเป็นมูลของ
ความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นำมาซึ่งความสุข การฟังพระธรรมเทศนานำมาซึ่งความสุข ดังนี้. มาใน

47