No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 28 (เล่ม 50)

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถานามา นี้ แสดงถึงชื่ออันมารดาบิดาทั้งหลาย
ตั้งแล้ว แก่พระเถระเหล่านั้น เพราะระบุเพียงชื่อ. บทว่า ยถาโคตฺตา นี้
แสดงถึงความเป็นกุลบุตร เพราะระบุส่วนของตระกูล. แสดงถึงความที่พระ-
เถระเหล่านั้น บวชด้วยศรัทธา ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นั้น. บทว่า
ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ แสดงถึงจรณสมบัติ เพราะแสดงถึงความพร้อมเพรียง
ด้วยคุณมีศีลสังวรเป็นต้น. บทว่า ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺญา นี้ แสดงถึงวิชชา
สมบัติของพระเถระเหล่านั้น เพราะแสดงชัดถึงการบรรลุ ด้วยญาณสมบัติ
อันเป็นที่สุดของการสิ้นไปแห่งอาสวะ. บทว่า อตนฺทิตา นี้ แสดงถึงอุบาย
เป็นเครื่องบรรลุวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงเหตุเพียงการประกาศชื่อของพระเถระเหล่านั้น
ด้วยบทว่า ยถานามา นี้. ส่วนด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงสมบัติ
คือจักร ๒ ข้างท้าย. เพราะการประชุมแห่งโคตรสมบัติ ของพระอริยบุคคล
ผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ผู้ไม่ได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้
กระทำบุญไว้ในปางก่อน จะมีไม่ได้เลย.
แสดงถึงสมบัติ คือจักร ๒ ข้างต้น ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยบทว่า
ยถาธมฺมวิหาริโน นี้. เพราะเมื่ออยู่ในประเทศที่ไม่สมควรก็ดี เว้นจากการ
คบหากับสัตบุรุษก็ดี คุณพิเศษเหล่านั้นจะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงการประกอบ
ด้วยสมบัติ คือการฟังพระสัทธรรม ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้. เพราะ
เว้นจากการประกาศของผู้อื่น (การฟังพระสัทธรรม) เสียแล้ว การแทงตลอด
ซึ่งสัจจธรรมของพระสาวกทั้งหลาย จะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงเหตุแห่งการ
ประพฤติโดยขมีขมัน เพื่อคุณพิเศษตามที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า สปฺปญฺญา
อตนฺทิตา นี้ เพราะแสดงถึงการเริ่มต้น ของญายธรรม.

28
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 29 (เล่ม 50)

อีกนัยหนึ่ง ในบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อม
ด้วยโยนิโสมนสิการ ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยการระบุถึงโคตร เพราะผู้ที่
สมบูรณ์ด้วยโคตรตามที่กล่าวแล้ว จึงจะเกิดโยนิโสมนสิการ.
ด้วยศัพท์ว่า ธัมมวิหาระ ในบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ ท่าน
แสดงถึงการถึงพร้อมด้วยการฟังพระสัทธรรม เพราะเว้นจากการฟังธรรม
เสียแล้ว จะไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นได้เลย. แสดงถึงการปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรมถึงที่สุด ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้ แสดงถึงความเป็นผู้มี
สัมปชัญญะในที่ทั้งปวง ด้วยบทว่า สปฺปญฺญา นี้ แสดงถึงผู้ที่บำเพ็ญ
อัตหิตสมบัติให้บริบูรณ์ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ดำรงอยู่ จะเป็นผู้ไม่ลำบากใน
การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้.
อนึ่ง แสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยสรณคมน์ ของพระเถระเหล่านั้น
ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ เพราะระบุถึงเหล่าพระอริยเจ้า ผู้สัทธานุสารี.
แสดงสมาธิขันธ์ อันเป็นประธานของสีลขันธ์ ด้วยบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้.
ก็คุณของพระสาวกทั้งหลาย มีสรณคมน์ เป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็น
ท่ามกลาง มีปัญญาเป็นปริโยสาน เพราะฉะนั้น คุณของพระสาวกแม้ทั้งหมด
จึงเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยการแสดงคุณในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน.
ก็สมบัติแห่งคุณ เช่นนี้ อันพระเถระเหล่านั้นบรรลุแล้วด้วยสัมมา-
ปฏิบัติใด เพื่อจะแสดงสัมมาปฏิบัตินั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตตฺถ ตตฺถ-
วิปสฺสิตฺวา ดังนี้.
บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเสนาสนะอันสงัดแล้วมีป่า โคนไม้
และภูเขาเป็นต้นนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเวลา
แห่งอุทาน เป็นต้นนั้น ๆ.

29
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 30 (เล่ม 50)

บทว่า วิปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแจ้งแล้ว. คือ ยังทิฏฐิวิสุทธิ
และกังขาวิตรณวิสุทธิ อันกำหนดนามรูป และกำหนดปัจจัยให้ถึงพร้อม
บรรลุวิสุทธิที่ ๕ ตามลำดับแห่งการพิจารณากลาปะเป็นต้น ยังวิปัสสนาให้
เขยิบสูงขึ้น ด้วยสามารถแห่งการบรรลุถึงยอด แห่งปฏิปทาญาณ และทัสสน-
วิสุทธิ.
บทว่า ผุสิตฺวา แปลว่า ถึงแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว.
บทว่า อจฺจุตํ ปทํ ได้แก่ พระนิพพาน อธิบายว่า พระนิพพาน
นั้นท่านเรียกว่า อัจจุตะ เพราะเป็นที่ ๆ ไม่มีจุติ โดยที่พระนิพพานนั้นมีการ
ไม่ต้องจุติเองเป็นธรรมดา และโดยที่ผู้บรรลุพระนิพพานแล้ว ไม่มีเหตุอัน
ทำให้ต้องจุติ. และเรียกว่า ปทะ เพราะความที่พระนิพพานนั้นไม่เจือด้วย
สังขตธรรมทั้งหลาย และเพราะเป็นแดนอันผู้มุ่งพระนิพพานนั้น พึงดำเนินไป.
บทว่า กตนฺตํ ได้แก่ ที่สุดแห่งกิจที่ตนทำเสร็จแล้ว อธิบายว่า
อริยมรรคที่พระโยคาวจรเหล่านั้น บรรลุแล้ว ชื่อว่า พระโยคาวจรการทำแล้ว
เพราะมรรคอันปัจจัยของตนให้เกิดแล้ว ส่วนผลอันเป็นที่สุดของพระอริยมรรค
นั้น ท่านประสงค์เอาว่า กตันตะ ( ที่สุดแห่งกิจอันตนทำแล้ว) อีกอย่างหนึ่ง
สังขตธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า กระทำแล้ว เพราะอันปัจจัยทั้งหลายกระทำแล้ว
คือ ให้สำเร็จแล้ว. ที่สุดแห่งสังขตธรรมอันปัจจัยกระทำแล้ว ชื่อว่า พระ-
นิพพาน เพราะเป็นแดนสลัดออกซึ่งสังขตธรรมนั้น. ซึ่งที่สุดแห่งกิจอันตน
ทำสำเร็จเสร็จแล้วนั้น.
บทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา ความว่า พิจารณาข้อปฏิบัติเฉพาะอริยผล
และนิพพาน ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะว่า อริยผลนี้ อันเราบรรลุแล้วหนอ ด้วย
การบรรลุอริยมรรค อสังขตธาตุ อันเราบรรลุแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง
กิจ ๑๖ อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้นอันใด ที่พระอริยเจ้าควรการทำ ชื่อว่า

30
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 31 (เล่ม 50)

อันท่านทำแล้ว เพราะอันพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ ให้สำเร็จแล้ว
คือ ให้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจธรรม พิจารณา
อยู่ซึ่งโสฬสกิจนั้น อันท่านทำแล้วอย่างนี้. ด้วยบทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา นี้
ท่านแสดงถึงการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว. ส่วนการพิจารณา ๑๙ อย่าง มี
อิตรปัจจเวกขณะเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นอันท่านแสดงแล้ว โดยนัยก่อน.
คำว่า อิมํ ในบทว่า อิมมตฺถํ นี้ ท่านกล่าวไว้โดยประสงค์ว่า
เนื้อความแห่งเถรคาถา และเถรีคาถาทั้งสิ้น ใกล้เคียง และปรากฏชัดเจน
ทั้งแก่ตน และแก่พระมหาเถระผู้เป็นธรรมสังคาหกาจารย์ ที่มาประชุมกันแล้ว
ในที่นั้น เหล่าอื่น. บทว่า อตฺถํ ได้แก่ เนื้อความอันปฏิสังยุตด้วยโลกิยะ
และโลกุตระ ทั้งที่น้อมเข้าไปสู่ตน น้อมเข้าไปสู่ผู้อื่น อันข้าพเจ้าจะกล่าว
ด้วยคาถาทั้งหลาย มีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้.
บทว่า อภาสึสุ ความว่า กล่าวแล้วโดยผูกเป็นคาถา. ประกอบ
ความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคาถาทั้งหลาย อันน้อมเข้าไปในตนของพระเถระ
เหล่านั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้ว อันข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป ณ บัดนี้. ท่าน
พระอานนท์ ผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก แสดงความนี้ไว้ว่า ก็พระมหาเถระ
เหล่านั้น เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า น้อมเข้าไปโดยส่วนเดียว ซึ่งศาสนธรรม
(คำสอน) ด้วยคาถาทั้งหลาย อันประกาศความปฏิบัติชอบของตน (และ)
ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติชอบนั้น ด้วยการทำให้เป็นแจ้ง (แสดงธรรม)
และพึงทราบว่า เมื่อแสดงอย่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงการยกย่องเชิดชูพระ-
เถระเหล่านั้น ด้วยคาถาเหล่านั้น และยกถ้อยคำของพระเถรีและพระเถระเหล่านั้น
ขึ้นตั้งโดยเป็นนิทาน ให้เป็นหลักฐานสืบไป.
จบนิทานกถาวรรณนา

31
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 32 (เล่ม 50)

เอกนิบาต
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑
๑. เสภูติเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ
[๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ ว่า
ดูก่อนฝน กุฎีเรามุ่งดีแล้ว มีเครื่องป้องกัน
อันสบาย มิดชิดดี ท่านจงตกลงมาตามสะดวกเถิด
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราเป็นผู้มี
ความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.
เอกนิบาตอรรถวรรณนา
วรรควรรณนาที่๑
อรรถกถาสุภูติเถรคาถา
บัดนี้ (ข้าพเจ้า จะเริ่ม) พรรณนาความแห่งเถรคาถาทั้งหลาย อัน
เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่
เมื่อข้าพเจ้า กล่าวประกาศความเป็นไปแห่งเรื่องราวของคาถาเหล่านั้น ๆ การ
พรรณนาความนี้ จึงจะปรากฏและรู้ได้ง่าย ฉะนั้น ข้าพเจ้า จักประกาศ
เหตุเกิดแห่งเรื่องไว้ในคาถานั้น ๆ แล้วทำการพรรณนาความ.

32
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 33 (เล่ม 50)

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา เป็นต้น
มีเรื่องราวเป็นอย่างไร ? ข้าพเจ้าจะกล่าว (พรรณนา) ดังต่อไปนี้ ดังได้
สดับมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ บุตรคนหนึ่งเกิดแล้ว
แก่พราหมณ์ผู้มหาศาลคนหนึ่งในนครชื่อหังสวดี พราหมณ์ได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า
"นันทมาณพ" นันทมาณพเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็นสิ่งที่เป็น
สาระในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤษี (อยู่) ที่เชิงเขา พร้อมด้วยมาณพ
๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของตน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว.
ทั้งยังบอกกัมมัฏฐานแก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิกเหล่านั้น
ต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จ
อุบัติแล้วในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ทรงตรวจดูหมู่สัตว์
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก
ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วยองค์
สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าทีเดียว ทรงถือ
บาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุอื่นไร ๆ เป็นดุจสีหะ เสด็จไปเพียงผู้เดียว
เมื่ออันเตวาสิกของนันทดาบส ไปหาผลาผล เมื่อนันทดาบส มองเห็นอยู่
นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่พื้นดิน โดยทรงพระดำริว่า
ขอนันทดาบสจงรู้ความเป็นพระพุทธเจ้าของเรา ดังนี้.
นันทดาบส เห็นพุทธานุภาพ และความบริบูรณ์แห่งพระลักษณะ
พิจารณาดูมนต์สำหรับทำนายลักษณะ แล้วรู้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย
ลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครอบครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อบวช
จะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ตัดวัฏฏะในโลกได้ขาด. บุรุษอาชาไนยผู้นี้

33
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 34 (เล่ม 50)

จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย แล้วการทำการต้อนรับ ไหว้โดยเบญ-
จางคประดิษฐ์ แล้วปูอาสนะถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับนั่ง บนอาสนะที่ดาบสปูลาดไว้แล้ว.
ฝ่ายนันทดาบส เลือกอาสนะที่สมควรแก่ตน แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
สมัยนั้น ชฎิล ๔๔,๐๐๐ คน ถือเอาผลาผลมีรสโอชะ ล้วนแต่ประณีต
มาถึงสำนักของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้า และอาจารย์นั่งแล้ว พูดว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย วิจารณ์กันว่า ในโลกนี้ ไม่มีใคร
ใหญ่กว่าท่าน แต่ชะรอยบุรุษผู้นี้ จักใหญ่กว่าท่าน.
นันทดาบสกล่าวว่า พ่อคุณ พวกท่านพูดอะไร (อย่างนั้น ) พวกท่าน
ประสงค์จะเปรียบ เขาสิเนรุราช ซึ่งสูง ๖๘๐,๐๐๐ โยชน์ กับเมล็ดพันธุ์
ผักกาด พวกท่านอย่าเอาเราเข้าไปเปรียบ กับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย.
ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้น คิดว่า ถ้าท่านผู้นี้ จักเป็นคนต่ำต้อย
อาจารย์ของพวกเราคงไม่หาซึ่งข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ บุรุษอาชาไนยผู้นี้ ใหญ่
ขนาดไหนหนอ ดังนี้แล้ว พากันหมอบลงแทบเท้า แล้วนมัสการด้วย
เศียรเกล้า.
ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย ไทยธรรม
อันสมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จ
มาในเวลาภิกษาจาร เพราะฉะนั้น พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลังความ-
สามารถ พวกท่านจงนำเอาผลาผลอันประณีต บรรดามีที่ท่านทั้งหลายนำมาแล้ว
มาเถิด ดังนี้แล้ว ให้นำผลาผลมา ล้างมือแล้วใส่ลงในบาตรของพระตถาคต-
เจ้า ด้วยตนเอง.
เพียงเมื่อพระศาสดา ทรงรับผลาผลเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ใส่โอชะ
อันเป็นทิพย์ลงไป. ดาบสกรองน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.

34
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 35 (เล่ม 50)

ลำดับนั้นเมื่อพระศาสดา เสวยเสร็จแล้ว ดาบสผู้เป็นอาจารย์จึงเรียก
อันเตวาสิกทั้งหมดมา กล่าวสาราณียกถาในสำนักของพระศาสดา นั่งแล้ว.
พระศาสดาดำริว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมา. ภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นพระ
ขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป รู้ความดำริของพระศาสดาแล้ว พากันมา
ถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
นันทดาบส เรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว พูดว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย
แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว ก็ต่ำ อีกทั้งอาสนะ ของพระสมณะ
๑๐๐,๐๐๐ รูปก็ไม่มี วันนี้ ท่านทั้งหลายควรกระทำสักการะ แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ให้โอฬาร ท่านทั้งหลาย จงนำดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วย
สีและกลิ่นมาจากเชิงเขา. ดาบสทั้งหลายนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมา
โดยครู่เดียวเท่านั้น ปูอาสนะดอกไม้ ประมาณ ๑ โยชน์ ถวายพระพุทธเจ้า
แล้ว. เพราะเหตุที่วิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นอจินไตย. สำหรับพระอรรคสาวก
มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต. สำหรับภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณ
กึ่งโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท สำหรับสงฆนวกะ ได้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ อุสภะ.
เมื่อดาบสทั้งหลาย ปูอาสนะเสร็จแล้วอย่างนี้ นันทดาบส ยืนประคอง
อัญชลีอยู่เบื้องหน้าพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์จงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้ นี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่
ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว.
เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายรู้อาการของพระศาสดา
แล้วจึงนั่ง บนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ.
นันทดาบส ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นถวายบนพระเศียร ของ
พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงดำริว่า สักการะนี้ของดาบสทั้งหลายจงมีผล
มาก แล้วเข้านิโรธสมาบัติ แม้ภิกษุทั้งหลายรู้ว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว

35
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 36 (เล่ม 50)

จึงพากันเข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตเจ้า ประทับนั่ง เข้านิโรธสมาบัติตลอด
๗ วัน เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร อันเตวาสิกทั้งหลาย ต่างบริโภคมูลผลาผลในป่า
ในเวลาที่เหลือ ก็ยืนประคองอัญชลี แด่พระพุทธเจ้า.
ส่วนนันทดาบส ไม่ยอมไปภิกษาจาร ทรงฉัตรดอกไม้ (ถวายพระ-
ศาสดา) ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยปีติสุขอย่างเดียว ตลอด ๗ วัน. พระศาสดา
ตรัสสั่งพระสาวกรูปหนึ่ง ผู้ประกอบไปด้วยองค์ ๒ คือ องค์แห่ง
ภิกษุผู้อยู่โดยไม่กิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ว่า เธอจง
กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่สำเร็จด้วยดอกไม้ แก่หมู่ฤาษี. ภิกษุรูปนั้น มีใจ
ยินดีแล้ว ดุจทหารผู้ใหญ่ ได้รับพระราชทานลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้า
จักรพรรดิ (เลือกสรร) เฉพาะพุทธวจนะ. คือ พระไตรปิฏก มาทำอนุโมทนา.
ในที่สุดแห่งเทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง.
ในเวลาจบเทศนา ดาบส ๔๔,๐๐๐ ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด
ผมและหนวดของดาบสเหล่านั้น อันตธานไปในทันใดนั้นเอง. บริขาร ๘
สวมใส่อยู่แล้วในกาย (ของดาบสเหล่านั้น ) ครบถ้วน. ดาบสเหล่านั้นเป็นดุจ
พระเถระผู้มีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดาแล้ว. ส่วนนันทดาบส ไม่
ได้บรรลุคุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า นันทดาบสนั้น จำเดิม
แต่เริ่มฟังธรรม ในสำนักของพระเถระ ผู้อยู่อย่างปราศจากกิเลส ได้เกิดจิต-
ตุปบาทขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้ธุระ อันพระสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของ
ของพระพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคตกาล.
ด้วยปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรค
และผลได้. แต่ท่านได้ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ทำด้วย

36
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 37 (เล่ม 50)

ดอกไม้ ต่อหมู่ฤาษี นี้ มีชื่ออย่างไร ในศาสนาของพระองค์. พระศาสดา
ตรัสตอบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงแล้วซึ่งเอตทัคคะ ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่าง
ไม่มีกิเลส และในองค์แห่งภิกษุผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคล. ท่านได้ทำความ
ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะนี้ใดที่ข้าพระองค์ ผู้เข้าไปทรง
ไว้ ซึ่งฉัตร คือ ดอกไม้ ตลอด ๗ วัน กระทำแล้วด้วยอธิการนั้น ข้าพระ
องค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้
ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจพระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่งเถิด. พระศาสดา ทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปรารถนา
ของดาบสนี้ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความปรารถนา
ของดาบสจะสำเร็จ โดยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า ความปรารถนาของ
ท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาล ผ่านแสนกัปไปแล้ว พระพุทธเจ้า
พระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น ความปรารถนาของท่านจักสำเร็จในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะนั้น แล้วตรัสธรรมกถา ทรงแวดล้อมไป
ด้วยภิกษุสงฆ์แล้วแล่นไปสู่อากาศ (เหาะไปแล้ว).
นันทดาบส ได้ยืนประคองอัญชลี อุทิศเฉพาะพระศาสดา และภิกษุ
สงฆ์ จนกระทั่งลับคลองจักษุ. ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม
ตามกาลเวลา. มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลก.
และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว บวชอีก ๕๐๐ ชาติ ได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็น
วัตร. แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ก็ได้
บวช เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว.
ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่า จะบรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่
ได้เลย ท่านบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อยู่ถึง ๑๒๐ ปี ทำกาละแล้ว

37