No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 18 (เล่ม 50)

โพธิสมภาร ตลอดเวลา ๘ อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างสูง
ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลาถึง ๑๖ อสงไขย (กำไร)
แสนมหากัป. และข้อแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งบารมีของ
พระโพธิสัตว์ ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ.
อธิบายว่า ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ ย่อมมีศรัทธาอ่อน แต่มีปัญญากล้าแข็ง
และต่อจากนั้นไปไม่นาน บารมีก็จะถึงความบริบูรณ์ เพราะความเป็นผู้ฉลาด
ในอุบาย เป็นภาวะผ่องใส และละเอียดอ่อน.
ผู้ที่เป็นสัทธาธิกะ ย่อมมีปัญญาปานกลาง เพราะฉะนั้น บารมีของ
พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัทธาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ไม่เร็วเกินไป และ
ไม่ช้าเกินไป.
ส่วนผู้ที่เป็นวิริยาธิกะ ย่อมมีปัญญาน้อย เพราะฉะนั้น บารมีของ
พระโพธิสัตว์ ผู้วิริยาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ โดยการเนิ่นนาน
ทีเดียว.
สำหรับพระปัจเจกโพธิสัตว์ไม่อย่างนั้น อธิบายว่า ท่านเหล่านั้น
แม้ถึงจะมีบารมีเป็นปัญญาธิกะ ก็ยังต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภาร
ตลอดเวลา ๒ อสงไขย (กำไร) แสนกัป (แต่) ไม่ต่ำกว่านั้น. แม้ท่านผู้เป็น
สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ ล่วงเลยกัปอื่นจากกำหนดที่กล่าวแล้ว ไปเล็กน้อย
เท่านั้น ก็ย่อมบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ แต่ไม่ถึงอสงไขยที่ ๓.
สำหรับพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสาวก บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็น
อรรคสาวก ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภาร สิ้นเวลา ๑ อสงไขย
(กำไร) แสนกัป.
สำหรับผู้ที่เป็นมหาสาวก (บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็นมหาสาวก)
ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสัมภาร สิ้นเวลาแสนกัปเท่านั้น. ถึงพระพุทธ-

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 19 (เล่ม 50)

มารดา พระพุทธบิดา พุทธอุปัฏฐากและพระพุทธชิโนรส ก็เหมือนกัน (คือ
ใช้เวลาเพิ่มพูนโพธิสมภารแสนกัป). ในอธิการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งปณิธานโดยรวบรวมธรรม ๘
ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
เพราะประชุมแต่งธรรม ๘ ประการ คือ ความ-
เป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การพบ
พระศาสดา ๑ บรรพชา ๑ คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑
ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ อภินิหารจึงสำเร็จได้ ดังนี้.
จำเดิมแต่บำเพ็ญมหาภินิหาร ขวนขวายแล้ว ๆเล่า ๆ ในทานเป็นต้นเป็น
พิเศษถวายมหาทานเช่นกับทานของพระเวสสันดร ทุกๆวัน แม้สั่งสมอยู่ซึ่งบารมี
ธรรมทุกอย่าง มีศีลอันสมควรแก่มหาทานนั้นเป็นต้น ขึ้นชื่อว่าการบังเกิดขึ้น
แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีในระหว่างได้เลย เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาตามที่
กล่าวแล้ว. เพราะเหตุไร ? เพราะพระญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า พระญาณ
ของพระพุทธเจ้า ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ตั้งท้อง ย่อมถึงความ
สุกงอม ดุจข้าวกล้าที่ให้สำเร็จแล้วในเวลาที่กำหนด ฉันใด ดังนั้น การบรรลุ
ปัจเจกสัมโพธิญาณและสาวกสัมโพธิญาณ ในระหว่างนั้น แหละโดยยังไม่ถึง
กำหนดเวลาตามที่กล่าวแล้วในที่นั้นๆ ย่อมไม่มีแก่พระปัจเจกโพธิสัตว์ ผู้กระทำ
อภินิหาร ประมวลธรรม ๕ ประการเหล่านั้น คือ
ความเป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑
การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความ
เป็นผู้มีฉันทะ ๑ เหล่านี้ รวมเป็นเหตุแต่งอภินิหาร.

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 20 (เล่ม 50)

และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวก ผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนา
อันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น.
เพราะเหตุใด ? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า ปัญญาบารมี ที่ส่งเสริม
เพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย
แม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับ
ฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติม ด้วยบารมีทั้งหลาย มีทานบารมีเป็นต้น
(ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
ตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณ และสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์
ตามสมควรโดยลำดับ.
แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้ จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่
ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้น ๆ
โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกาย
วาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบ
ความเพียรของท่านเหล่านั้น นี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำ
ไว้แล้ว.
ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็น
อธิฏฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ ได้โดยไม่ยาก
ทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัส-
สนานั้นทีเดียว.
ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจก-
โพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ ชื่อว่า วิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธ

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 21 (เล่ม 50)

นั้นใด นี้ชื่อว่า ขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าว
ให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ ชื่อว่าสัจจะ. การอธิฎฐาน
ใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่า
อธิฏฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่ง
ทานและศีลเป็นต้น นี้ ชื่อว่า เมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสม
ที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่า อุเบกขา. ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนา
และศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลาย มีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่า
สำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.
ปฏิปทามีทานเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อ
ประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละ ชื่อว่า ภาวนา เพราะอบรม คือ
บ่มสันดาน ของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.
ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดาน
อันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้ว โดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
สมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้
ย่อมมีในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไร
บ้าง ? ดูก่อนอานนท์ คือ ผู้บำเพียรเบื้องต้นใน
พระธรรมวินัยนี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตผล ในปัจจุบัน
นี้แหละ พลันทีเดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตผล

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 22 (เล่ม 50)

ในทิฏฐธรรม โดยพลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชม
พระอรหัตผล ๑ ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชม
พระอรหัตผล ๑ ต่อไป จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลัน
ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ใน
กาลภายหลัง จะได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้.
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรม
ธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัส-
สนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนากล่าวคือการตรัสรู้ อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา
ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว. ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ก็ด้วยบทว่า สีหานํ ว นี้ ในคาถานี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์
แสดงถึงความที่พระเถระทั้งหลาย อันปรปักษ์ของตนครอบงำไม่ได้ และ
พฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงพฤติกรรมที่เสมอด้วยสีหะ.
ด้วยบาทคาถาว่า สีหานํว นทนฺ ตานํ ฯเปฯ คาถา นี้ ท่านแสดงถึง
ความที่พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น อันข้าศึกทั้งหลาย ย่ำยีไม่ได้ โดยปรวาท
และพฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงว่าเถรคาถาทั้งหลาย เป็น
เช่นเดียวกับสีหนาท. ด้วยบทว่า ภาวิตตฺตานํ นี้ ท่านแสดงถึงเหตุแห่งการ
บันลือสีหนาท ของพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น. ในคาถานี้ พระเถระทั้งหลาย
ท่านเรียกว่า เป็นเช่นกับ สีหะ เพราะมีอัตภาพอันอบรมแล้ว และคาถาของ
พระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่าเป็นเช่นกับด้วยสีหนาท.

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 23 (เล่ม 50)

ด้วยบทว่า อติถูปนายิกา นี้ ท่านแสดงถึงประโยชน์ในการข่มขี่.
ในบรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น สังกิเลสธรรม ชื่อว่า เป็นปรปักษ์ของพระเถระ
ทั้งหลาย. สมุจเฉทปหาน กับตทังควิกขัมภนปหาน ชื่อว่า การข่มขี่สังกิเลส-
ธรรมนั้น.
พระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว เพราะเมื่อ
สมุจเฉทปหาน พร้อมด้วยตทังควิกขัมภนปหานมีอยู่ ปฏิปัสสัทธิปหาน และ
นิสสรณปหาน ย่อมชื่อว่า สำเร็จแล้วโดยแท้.
ท่านกล่าวอธิบายความไว้ดังนี้ ก็ในมรรคขณะ พระอริยะทั้งหลาย
ชื่อว่า ย่อมเจริญอัปปมาทภาวนา จำเดิมแต่ผลอันเลิศ (อรหัตผล) ไป ชื่อว่า
ผู้มีตนอันอบรมแล้ว.
ในบรรดาปหาตัพพธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงความสมบูรณ์ด้วยศีล
ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยตทังคปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ด้วย
วิกขัมภนปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน แสดงผล
ของสัมปทาเหล่านั้น ด้วยบทนอกนี้.
ก็ท่านแสดง ความที่ข้อปฏิบัติของพระเถระเหล่านั้น งามในเบื้องต้น
ด้วยศีล. และศีลชื่อว่า งามในเบื้องต้น ด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า โก
จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ สีลญฺจ สุวิสุทฺธํ (ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ
กุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว) บ้าง สีเล ปติฏฺฐาย
(นระตั้งอยู่แล้วในศีล) บ้าง สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง)
บ้าง เพราะความเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณธรรม มีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้น.
ท่านแสดงความงามในท่ามกลางด้วยสมาธิ สมาธิชื่อว่า งามในท่าม-
กลางด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า จิตฺตํ ภาวยํ (ยังจิตให้เจริญอยู่) บ้าง

23
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 24 (เล่ม 50)

กุสลสฺส อุปสมฺปทา (ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม) บ้าง เพราะเป็นเหตุ
นำมาซึ่งคุณมีอิทธิวิธะเป็นต้น.
ท่านแสดงความงามในที่สุดด้วยปัญญา ปัญญาชื่อว่าเป็นที่สุดของข้อ
ปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า สจิตฺตปริโยทปนํ (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว)
บ้าง ปญฺญํ ภาวยํ (ยังปัญญาให้เจริญ) บ้าง ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่า
งาม โดยเหตุที่ปัญญาเหนือกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้
คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย สมดังที่ตรัสไว้ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและ
สรรเสริญทั้งหลาย เหมือนเขาหิน เป็นแท่งทึบ ไม่
สะท้านสะเทือน ด้วยลมฉะนั้น ดังนี้.
อนึ่ง ท่านแสดงความเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยสีลสัมปทา เพราะจะ
บรรลุวิชชา ๓ ได้ ต้องอาศัยสีลสมบัติ.
แสดงความเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ด้วยสมาธิสัมปทา เพราะจะบรรลุ
อภิญญา ๖ ได้ ต้องอาศัยสมาธิสมบัติ.
แสดงความเป็นผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน ด้วยปัญญาสัมปทา เพราะจะ
บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้ ต้องอาศัยปัญญาสมบัติ.
ด้วยบทว่า อตฺถูปนายิกา นี้ พึงทราบว่า ท่านแสดงความนี้ไว้ว่า
บรรดาพระเถระเหล่านั้น บางท่านได้วิชชา ๓ บางท่านได้อภิญญา ๖ บางท่าน
ถึงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
อนึ่ง ท่านแสดงการงดเว้น ส่วนสุดกล่าวคือกามสุขัลลิกานุโยค ของ
พระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา. แสดงการงดเว้น ส่วนสุด กล่าวคืออัต-
กิลมถานุโยค ด้วยสมาธิสัมปทา. แสดงการเสพมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยปัญญา

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 25 (เล่ม 50)

อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านแสดงการละ โดยการก้าวล่วงกิเลสทั้งหลาย
ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา.
แสดงการละความกลุ้มรุมของกิเลสทั้งหลาย ด้วยสมาธิสัมปทา.
แสดงการละอนุสัยของกิเลสทั้งหลาย ด้วยปัญญาสัมปทา.
อีกอย่างหนึ่ง แสดงการชำระสังกิเลสคือทุจริต ด้วยสีลสัมปทา.
แสดงการชำระสังกิเลสคือตัณหา ด้วยสมาธิสัมปทา.
แสดงการชำระสังกิเลสคือทิฏฐิ ด้วยปัญญาสัมปทา.
อีกอย่างหนึ่ง แสดงการก้าวล่วงอบาย ของพระเถระเหล่านั้นด้วย
ตทังคปหาน.
แสดงการก้าวล่วงกามธาตุ ด้วยวิกขัมภนปหาน.
แสดงการก้าวล่วงภพทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทปหาน.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภาวิตตฺตานํ นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ภาวนา
๓ คือ สีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา เพราะกายภาวนา หยั่งลงสู่
ภายในแห่งภาวนา ๓ นั้น.
คำที่ว่า สีลภาวนา จ ปฏิปตฺติยา อาทิดังนี้ทั้งหมด เช่นกับคำ
ที่กล่าวแล้วในก่อน. ก็หมู่มฤคเหล่าอื่น ย่อมอดทนการบันลือของสีหะไม่ได้
ที่ไหนจะอดทนการข่มขู่คุกคามได้ การบันลือของสีหะนั่นแหละ จะข่มขู่คุกคาม
หมู่มฤคเหล่านั้น โดยแท้ฉันใด วาทะของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จะทนวาทะของพระเถระทั้งหลายไม่ได้ ที่ไหนจะทนการครอบงำได้
ที่แท้วาทะของพระเถระนั่นแหละ จะครอบงำวาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ? เพราะเถรวาท เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ และหลักธรรมว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตาบ้าง ว่านิพพานธาตุบ้าง เพราะโดยธรรมดาแล้ว ใคร ๆ ไม่สามารถ

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 26 (เล่ม 50)

จะคัดค้านให้เป็นอย่างอื่นไปได้. ก็คำใดที่จะพึงกล่าวในข้อนี้ คำนั้นจักแจ่มแจ้ง
ข้างหน้า ( คือในคัมภีร์ทั้งหลายเป็นอันมาก) ในอธิการนี้ พึงทราบการขยาย
ความของคาถาแรก โดยสังเขปเท่านี้ก่อน.
ส่วนในคาถาที่ ๒ พึงทราบการขยายความ โดยมุขคือการแสดงการ
สัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ผู้ประสงค์จะสวดคาถาของพระเถระเหล่าใด ในบรรดา
พระเถระเหล่านั้น เพื่อจะระบุพระเถระเหล่านั้น โดยชื่อ โดยโคตร และโดย
คุณธรรม ด้วยสามารถแห่งสาธารณนาม ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถานามา
ดังนี้. แต่ว่าโดยอสาธารณนามแล้ว เนื้อความจักแจ่มแจ้งในคาถานั้น ๆ ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถานามา ความว่า มีชื่ออย่างไร.
อธิบายว่า ปรากฏโดยชื่อ โดยนัยมีอาทิว่า สุภูติ มหาโกฏฐิกะ ดังนี้.
บทว่า ยถาโคตฺตา ความว่า มีโคตรอย่างไร อธิบายว่า ปรากฏแล้ว
โดยกำเนิดใด ๆ โดยส่วนแห่งตระกูล โดยนัยมีอาทิว่า โคตมโคตร กัสสป-
โคตร ดังนี้.
บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า มีปกติอยู่ด้วยธรรมเช่นใด
อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ยิ่งด้วยประยัติ (ไม่สนใจคันถธุระ) แต่
มีปกติอยู่ด้วยสมาบัติตามสมควรอยู่. (สนใจวิปัสสนาธุระ ).
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า ผู้มีปกติอยู่ตาม
ธรรม และในบรรดาทิพวิหารธรรมเป็นต้น อยู่เนือง ๆ กับธรรมมีศีล
เป็นต้น เช่นใด คืออยู่กับธรรมประเภทใด.
บทว่า ยถาธิมุตฺตา ความว่า มีอธิมุตติเช่นใด คือในบรรดาสัทธา-
ธิมุตติ และปัญญาธิมุตติทั้งหลาย มีอธิมุตติอย่างใด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ยถาธีมุตฺตา เพราะน้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยประการใด ๆ ในมุขทั้งหลาย
มีสุญญตมุขเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาสวะของท่าน

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 27 (เล่ม 50)

ผู้มีจิตน้อมไปสู่พระนิพพาน ย่อมถึงความดับสูญ. ก็คำทั้งสองนี้ พึงทราบ
ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นบุพภาค. เพราะว่า การน้อมไปตามที่กล่าวแล้ว
จะมีได้ในขณะก่อนได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น ต่อไปก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า นระใดไม่มีศรัทธา เป็นคนอกตัญญู
และตัดที่ต่อเป็นต้น ดังนี้. ปาฐะว่า ยถาวิมุตฺตา ดังนี้บ้าง. ความก็ว่า
พ้นแล้วด้วยประการใด ๆในบรรดาปัญญาวิมุตติ และอุภโตภาควิมุตติทั้งหลาย.
บทว่า สปฺปญฺญา ความว่า มีปัญญา ด้วยปัญญาแม้ ๓ อย่างคือ
ติเหตุกปฏิสนธิปัญญา (ปัญญาที่ประกอบด้วยไตรเหตุ ) ๑ ปาริหาริกปัญญา
( ปัญญาสำหรับบริหารตน) ๑ ภาวนาปัญญา ( ปัญญาที่สำเร็จด้วยการภาวนา) ๑.
บทว่า วิหรึสุ ความว่า อยู่แล้วด้วยผาสุวิหาร ตามที่ได้แล้วนั่นแหละ เพราะ
ความเป็นผู้มีปัญญานั้นเอง.
บทว่า อตนฺทิตา แปลว่า ผู้ไม่เกียจคร้าน. อธิบายว่า มีความ
หมั่นขยัน ในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ตน และในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์
ผู้อื่นตามกำลัง. ก็ในพระคาถานี้ ท่านแสดงความที่พระเถระเหล่านั้น ปรากฏ
แล้วโดยการประกาศ ด้วยศัพท์ว่า นาม และโคตร. แสดงสีลสัมปทา และ
สมาธิสัมปทา ด้วยศัพท์ว่า พรหมวิหาร. แสดงปัญญาสัมปทา ด้วยบทว่า
ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺญา นี้. แสดงวิริยสัมปทา อันเป็นเหตุแห่งสีลสัมปทา
เป็นต้น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้. แสดงความที่พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ
โดยการประกาศ ด้วยบทว่า ยถานามา นี้. แสดงถึงการประชุม
แห่งสมบัติคือเหล่ากอพระอริยบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ด้วย
บทว่า ยถาโคตฺตา นี้. แสดงการประกอบด้วยสมบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยบทมีอาทิว่า ยถาธมฺมวิหาริโน. แสดงถึง
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ของผู้ที่ดำรงอยู่ในอัตหิตสมบัติแล้ว ด้วยบทว่า
อตนฺทิตา นี้.

27