No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 605 (เล่ม 49)

ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ เมื่อจะทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว จึงทรงประกาศคุณานุภาพแห่งพระปัจเจก-
พุทธเจ้า และความไม่ดูหมิ่นกรรม มหาชนเกิดความสังเวชละ
บาปกรรมแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสัฏฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททนิกาย เปตวัตถุ
มหาวรรคที่ ๔ ประดับด้วยเรื่อง ๑๖ เรื่อง
ด้วยประการฉะนี้
รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ ๒. เสริสกเปตวัตถุ ๓. นันทกเปต-
วัตถุ ๔. เรวดีเปติวัตถุ ๕. อุจฉุเปตวัตถุ ๖. กุมารเปตวัตถุ
๗. ราชปุตตเปตวัตถุ ๘. คูถขาทกเปตวัถุที่ ๑ ๙. คูถขาทก-
เปติวัตถุที่ ๒ ๑๐. คณเปตวัตถุ ๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ ๑๒. อัม-
พวนเปตวัตถุ ๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ ๑๔. โภคสังหรณเปตวัตถุ
๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ ๑๖. สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุ.
จบ มหาวรรคที่ ๔
จบ เปตวัตถุบริบูรณ์

605
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 606 (เล่ม 49)

กถาสรุปท้าย
ก็ด้วยลำดับคำมีประมาณเท่านี้
อรรถสังวรรณนาอันประกาศผลอันเผ็ด
ร้อนลามกของธรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้กระทำ
ชั่ว บังเกิดเป็นเปรตโดยประจักษ์ โดยการปุจฉา
วิสัชนา และโดยนิยามแห่งเทศนา ทำความสลด
ใจให้เกิดแก่สัตบุรุษทั้งหลาย ข้าพเจ้าอาศัยนัย
แห่งอรรถกถาเก่า ริเริ่มไว้ เพื่อจะประกาศเนื้อ
ความของเรื่องที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้ฉลาดในเรื่องถ้อยคำ กำหนดรู้เรื่องได้อย่างดี
ร้อยกรองไว้ โดยชื่อว่า เปตวัตถุ อันประกาศ
อรรถอย่างดีไว้ในเปตวัตถุนั้น ตามสมควรใน
เรื่องนั้น ๆ โดยชื่อ ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี มีวินิจ-
ฉัยไม่สับสน จบบริบูรณ์แล้ว โดยพระบาลี
ประมาณ ๑๕ ภาณวาร ดังนั้น บุญนั้นโดยที่
ข้าพเจ้าผู้แต่งปรมัตถทีปนีนั้น ได้ประสบแล้ว
ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง
จงหยั่งลงสู่ศาสนาของพระโลกนาถ แล้วเป็นผู้
มีส่วนแห่งวิมุติรส ด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น

606
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 607 (เล่ม 49)

อันบริสุทธิ์ ขอศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จงดำรงอยู่ในโลกตลอดกาลนาน ขอให้สัตว์ทุก
หมู่เหล่า จงมีความเคารพในศาสนาของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นนิตย์นิรันดร์
แม้ฝนก็จงหยั่งลงยังพื้นปฐพีดล โดยถูกต้องตาม
ฤดูกาล ขอท่านผู้ยินดีในพระสัทธรรมจงปกครอง
ชาวโลกโดยธรรม เทอญ.
จบ สังวรรณนาเปตวัตถุ
อันท่านพระภัททันตาจาริยธรรมปาละ
ผู้เป็นนักบวชผู้ประเสริฐในหมู่มุนี
ผู้อยู่ในพทรติตถวิหาร รจนา
จบ บริบูรณ์

607
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 1 (เล่ม 50)

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรคาถา
เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๓
ตอนที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เถรคาถา
[๑๓๗] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถาอันน้อมเข้าไป
สู่ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรม
แล้วบันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งทลาย ซึ่ง
เป็นสัตว์ประเสริฐ ว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่
ใกล้ถ้ำภูเขา ฉะนั้น ก็พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ มีโคตร
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีจิตน้อมไปแล้วในธรรมตามที่
ปรากฏแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน อยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด มีป่า คนไม้ และภูเขาเป็นต้นนั้น ๆ
ได้เห็นธรรมแจ่มแจ้ง และได้บรรลุนิพพาน อันเป็น
ธรรมไม่แปรผัน เมื่อพิจารณาเห็นผล อันเป็นที่สุดกิจ
ซึ่งตนทำเสร็จแล้ว จึงได้ภาษิตเนื้อความนี้.

1
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 2 (เล่ม 50)

ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
คันถารัมภกถา
ข้าพเจ้าขอไหว้พระโลกนาถเจ้า ผู้มีพระทัย
เปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จถึงฝั่งแห่ง
สาครคือไญยธรรมได้แล้ว ทรงแสดงธรรมอันละเอียด
ลึกล้ำ มีนัยอันวิจิตร.
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันสูงสุด ที่สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องนำผู้
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะออกไปจากโลก.
ข้าพเจ้าขอไหว้พระอริยสงฆ์ ผู้สมบูรณ์ด้วย
คุณมีศีลเป็นต้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล เป็น
เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม.
ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญ ที่เกิดจากการไหว้-
พระรัตนตรัย ดังได้พรรณนามานี้ ขอข้าพเจ้าจงปลอด
จากอันตรายในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ. คาถา
เหล่านั้นใด ที่ปราศจากอามิส อันพระเถระทั้งหลาย
ผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้คงที่ มีพระสุภูติเถระเป็นต้น และ
พระเถรีทั้งหลายภาษิตแล้ว และคาถาเหล่าใด ที่ลึกล้ำ
ละเอียดอ่อน สดับแล้วโดยวิธี มีอุทานเป็นต้น ปฏิ-
สังยุตด้วยสุญญตธรรม ประกาศธรรมของพระอริยเจ้า

2
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 3 (เล่ม 50)

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ รวบรวมคาถาเหล่านั้นไว้ ในคัมภีร์
ขุททกนิกาย โดยเรียกชื่อว่า เถรคาถา และ เถรคาถา.
อันที่จริงการแต่งอรรถกถา พรรณนาความลำดับบทที่
มีอรรถอันลึกซึ้ง ที่ข้าพเจ้าทำ มิใช่ของที่ทำได้ง่ายเลย
เพราะเป็นอรรถที่จะพึงหยั่งถึงได้ ก็ด้วยคัมภีรญาณ
แต่เพราะอรรถกถาจะช่วยทรงศาสนาของพระศาสดา
ไว้ได้ ทั้งวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์ ผู้เปรียบปาน
ด้วยราชสีห์ ก็จะยังคงดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น ข้าพเจ้า
จึงจักขอแต่งอรรถกถา "เถรคาถา" และ "เถรีคาถา"
เต็มกำลังความสามารถ โดยจะยึดวินิจฉัยของบรรดา
บุรพาจารย์นั้นเป็นหลัก ถือนิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิง
อาศัยนัยจากโบราณอรรถกถา แม้จะเป็นเพียงคำบอก
กล่าว ที่ได้อาศัยอ้างอิงกันมา แต่บริสุทธิ์ก็ถูกต้อง
ไม่คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยที่ละเอียด ของบรรดา
บุรพาจารย์คณะมหาวิหาร และข้อความของคาถา
เหล่าใด เว้นอนุปุพพิกถาเสียแล้วรู้ได้ยาก ข้าพเจ้า
จะนำอนุปุพพิกถานั้น ของคาถาเหล่านั้น มาแสดงให้
แจ่มแจ้ง ทั้งจะแสดงข้อวินิจฉัยอีกด้วย.
สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายได้โปรด
ตั้งใจสดับ การพรรณนาความแห่งอรรถกถา เถรคาถา
และเถรีคาถานั้น ซึ่งจะจำแนกต่อไป ของข้าพเจ้าผู้
หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน ต่อไปเทอญ.

3
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 4 (เล่ม 50)

อารัมภกถาวรรณนา
ก็เถรคาถา และเถรีคาถา แต่ละคาถาเป็นอย่างไร ? และมีประวัติ
เป็นมาอย่างไร ? ถึงความข้อนี้ ท่านจะกล่าวไว้ในคาถาทั้งหลายแล้วก็จริง
แต่เถรคาถาที่พระสุภูติเถระเป็นต้น กล่าวแล้วในคาถานั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวซ้ำ
อีก เพื่อทำข้อความให้ปรากฏ. ก็พระเถระเหล่านั้นพิจารณาเห็นสุขอันเกิดแต่
มรรคผล ตามที่ตนบรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทาน ได้กล่าวคาถาบางอย่างด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมเป็นเครื่องอยู่
คือสมาบัติของตน ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถแห่งคำถาม ได้กล่าว
คาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถ (ชี้ให้เห็น) ข้อที่คำสอนเป็นนิยยานิกธรรม. ใน
เวลาทำสังคายนา พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ร้อยกรองคาถาทั้งหมด
เหล่านั้นไว้ เป็นหมวดเดียวกัน (โดยให้ชื่อ) ว่า " เถรคาถา ". ส่วนเถรีคาถา
ท่านแสดงไว้เฉพาะพระเถรีทั้งหลาย.
ก็ในบรรดาปิฎกทั้ง ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก. ในบรรดานิกายทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย คาถาเหล่านั้น
นับเนื่องในขุททกนิกาย. ในบรรดาสัตถุศาสน์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ สงเคราะห์เข้าเป็น
" คาถา ". ก็ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระ
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ปฏิญาณไว้อย่างนี้ว่า

4
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 5 (เล่ม 50)

ธรรมเหล่าใด ที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม
เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรือนเอาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐
จากภิกษุรูปอื่น ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์
ดังนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย.
ในบรรดาเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านั้น เถรคาถาจะว่าโดยนิบาต
ก่อน เอกนิบาตจนถึงจุททสนิบาต โดยนับเกิน ๑ คาถาขึ้นไป รวมเป็น
จุททสนิบาต และนิบาต ๗ เหล่านี้ คือ โสฬสนิบาต วีสตินิบาต ติงสนิบาต
จัตตาฬีสนิบาต ปัญญาสนิบาต สัฏฐินิบาต ( และ) สัตตตินิบาต รวมเป็น ๒๑
นิบาต. ชื่อว่า นิบาต เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ วางไว้. ชื่อว่า เอกนิบาต เพราะ
เป็นที่ตั้งไว้วางไว้ ซึ่งคาถานิบาตละหนึ่งคาถา. แม้ในนิบาตที่เหลือก็พึงทราบ
ความโดยนัยนี้.
ในบรรดานิบาตเหล่านั้น เอกนิบาตมี ๑๒ วรรค. ในวรรคหนึ่ง ๆ
แบ่งออกเป็นวรรคละ ๑๐ จึงมีพระเถระ ๑๒๐ รูป คาถาก็มีเท่านั้นเหมือนกัน
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในแต่ละนิบาต พระเถระ ๑๒๐ รูป ผู้เสร็จกิจ
แล้ว หาอาสวะมิได้พร้อมด้วยพระธรรมสังคาหกาจารย์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ร้อยกรองไว้ดีแล้ว
ดังนี้.
ในทุกนิบาต มีพระเถระ ๔๙ รูป มีคาถา ๙๘ คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถระ ๑๖ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถระ ๑๓ รูป มีคาถา ๕๒ คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถระ ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถระ ๑๔ รูป มีคาถา ๘๔ คาถา.

5
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 6 (เล่ม 50)

ในสัตตกนิบาต มีพระเถระ ๕ รูป มีคาถา ๓๕ คาถา.
ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในนวกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๙ คาถา.
ในทสกนิบาต มีพระเถระ ๗ รูป มีคาถา ๗๐ คาถา.
ในเอกาทสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๑ คาถา.
ในทวาทสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในเตรสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๓ คาถา.
ในจุททสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๘ คาถา.
ปัณณรสกนิบาต ไม่มี.
ในโสฬสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๓๒ คาถา.
ในวีสตินิบาต มีพระเถระ ๑๐ รูป มีคาถา ๒๔๕ คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๑๐๕ คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๔๒ คาถา.
ในปัญญาสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๕๕ คาถา.
ในสัฏฐิกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๖๘ คาถา.
แม้ในสัตตตินิบาต* มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๗๑ คาถา.
ก็เมื่อประมวลแล้ว มีพระเถระ ๒๖๔ รูป มีคาถา ๑,๓๖๐ คาถา
ฉะนี้แล และแม้ข้อนี้ ก็มีวจนะประพันธ์คาถา ที่ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า
พระธรรมสังคาหกาจารย์ ประกาศไว้ว่า มีคาถา
๑,๓๖๐ คาถา มีพระเถระ ๒๖๔ รูป ดังนี้.
ส่วนเถรีคาถา สงเคราะห์เข้าในโสฬสนิบาต คือ นิบาต ๙ นิบาต
ได้แก่ เอกนิบาตจนถึงนวกนิบาต โดยเพิ่มขึ้นนิบาตละ ๑ คาถา และเอกาทสก-
* มหานิบาต

6
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 7 (เล่ม 50)

นิบาต ทวาทสกนิบาต โสฬสกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต จัตตาลีสนิบาต
มหานิบาต.
ในเอกนิบาต มีพระเถรี ๑๘ รูป มีคาถา ๑๘ คาถาเท่ากัน.
ในทุกนิบาต มีพระเถรี ๑๐ รูป มีคาถา ๒๐ คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔ คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถรี ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
ในสัตตกนิบาต มีพระเถรี ๓ รูป มีคาถา ๒๑ คาถา.
ตั้งแต่อัฏฐกนิบาตไป จนถึงโสฬสกนิบาต มีพระเถรีนิบาตละ ๑ รูป
คาถาก็มีจำนวนเท่ากับนิบาตนั้น ๆ.
ในวีสตินิบาต มีพระเถรี ๕ รูป มีคาถา ๑๑๘ คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๓๔ คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา
แม้ในมหานิบาต ก็มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๗๕ คาถา.
ในเถรคาถา และเถรีคาถานี้ พึงทราบจำนวนแห่งนิบาต คาถาวรรค
และคาถาทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้.
จบอารัมภกถาวรรณนา

7