No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 585 (เล่ม 49)

๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ
ภุมมเทวดาตนหนึ่งได้กล่าวเตือนอุบาสกคนหนึ่งว่า
[๑๓๓] บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล
อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะฉะนั้น
ท่านจงให้ทาน แล้วท่านจักพ้นจากทุกข์และความ
ฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไปในปัจจุบัน
และสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอท่านจงตื่น
เถิดอย่าได้ประมาท.
จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓
อรรถกถาอักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓
เรื่องอักขทายกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ททาติ น ตํ โหติ
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสก
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เอาเกวียนหลายเล่มบรรทุกสินค้าไปขาย
ต่างประเทศ ขายสินค้าของตนในประเทศนั้นแล้ว ก็ซื้อเอาสินค้า
ต่างประเทศกลับมา เดินทางมุ่งไปกรุงสาวัตถี. เมื่ออุบาสกนั้น
กำลังเดินทางเพลาเกวียนเล่มหนึ่งหักในดง. ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่ง
ได้เอาผึ่งและขวาน เพื่อจะตัดไม้ ออกจากบ้านตน เที่ยวไปในป่า
ถึงที่นั้น พบอุบาสกนั้น ผู้ถึงความโทมนัส เพราะเพลาเกวียนหัก

585
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 586 (เล่ม 49)

จึงคิดว่า พ่อค้านี้มาลำบากในดง เพราะเพลาเกวียนหัก อาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงตัดท่อนไม้มาดามเพลาเกวียนให้มั่นคงแล้ว
ประกอบเกวียน ให้ไป.
สมัยต่อมา บุรุษนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นภุมมเทวดา
อยู่ในดงนั้นนั่นแหละ พิจารณาถึงกรรมของตน ในเวลาราตรี
จึงไปเรือนของอุบาสกนั้น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนกล่าวคาถาว่า :-
บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล
อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงให้ทานแล้ว ท่านจักพ้นจากทุกข์
และความฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไป
ในปัจจุบันและสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอ
ท่านจงตื่นเถิด อย่าประมาทเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ททาติ น ตํ โหติ ความว่า
ทายกย่อมให้ไทยธรรมใด ไทยธรรมนั้นแหละ ย่อมไม่มีโดยความ
เป็นผลแห่งทานนั้น ในปรโลก, โดยที่แท้ นามอย่างอื่น ที่มีผล
น่าปรารถนา น่าใคร่ ก็มีอยู่มากทีเดียว เพราะฉะนั้น พวกท่าน
จงให้ทานนั่นแหละ คือ จงให้ทานโดยประการใดประการหนึ่ง
ทีเดียว. ภุมมเทวดา กล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ครั้นให้แล้ว ย่อมพ้น
จากทุกข์และความฉิบหายทั้งสอง, อธิบายว่า ครั้นให้ทานแล้ว
ย่อมพ้นทุกข์และความพินาศ ทั้งปัจจุบัน ทั้งสัมปรายภพ. ในข้อว่า
อุภยํ เตน ทาเนน คจฺฉติ นี้ พึงประกอบความดังนี้ว่า เพราะการ

586
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 587 (เล่ม 49)

ให้นั้น เขาย่อมเข้าถึง คือ ย่อมประสบสุขทั้ง ๒ คือ สุขในปัจจุบัน
และสุขในสัมปรายภพ ทั้งย่อมประกอบด้วยอำนาจหิตสุขทั้งแก่ตน
และสังคม. บทว่า ชาครถ มา ปมชฺชถ ความว่า จงตื่นเพื่อยัง
อันห้ามอนัตถะทั้งสอง ยังประโยชน์ทั้งสองให้สำเร็จอย่างนี้ และ
จงจัดเตรียมอุปกรณ์ แล้วจงอย่าประมาทในทานนั้น. ก็ในที่นี้
เพื่อจะแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ ท่านจึงกล่าวซ้ำ.
พ่อค้าพิจารณาถึงกิจของตนแล้ว กลับถึงกรุงสาวัตถี โดย
ลำดับ ในวันที่ ๒ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควรข้างหนึ่ง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์
แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓

587
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 588 (เล่ม 49)

๑๔. โภคสังหรณเปติวัตถุ
ในเวลาราตรี หญิงเปรต ๔ ตน ถูกทุกข์ครอบงำ จึงพากัน
ร้องรำพันด้วยเสียงดังอย่างน่ากลัวว่า :-
[๑๓๔] พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้โดยชอบ
ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่น ๆ
พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น ส่วนพวกเรา
กลับมีส่วนแห่งทุกข์.
จบ โภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔
อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔
เรื่องนางโภคสังหรณเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า มยํ โภเค สํหริมฺหา
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
มหาวิหาร หญิง ๔ คน ในกรุงราชคฤห์ ทำการค้าขายด้วยเนยใส
น้ำผึ้ง น้ำมัน และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยเครื่องนับโกงเป็นต้น
รวบรวมโภคะเลี้ยงชีพโดยไม่แยบคาย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก หญิงเหล่านั้นไปบังเกิดเป็นนางเปรต อยู่ที่หลังคูนอกเมือง
ในเวลากลางคืน นางเปรตเหล่านั้น ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ
ร้องบ่นเพ้อด้วยเสียงขรมน่าสะพึงกลัว ด้วยคาถาว่า :-

588
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 589 (เล่ม 49)

พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ
ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่น ๆ
พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรา
กลับมีส่วนแห่งทุกข์.
มนุษย์ทั้งหลาย ฟังเสียงนั้นแล้ว กลัวสะดุ้งตกใจ เมื่อราตรี
สว่าง ตระเตรียมมหาทาน เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
นิมนต์พระศาสดา และภิกษุสงฆ์ อังคาส ด้วยขาทนียะและโภชนียะ
อันประณีต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว นำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงกราบทูลให้ทรงทราบ
ถึงเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า อุบาสกและอุบาสิกา
ทั้งหลาย เสียงนั้นไม่มีอันตรายอะไร ๆ แก่ท่านทั้งหลาย ส่วนเปรต
ทั้ง ๔ ตนนั้น ถูกความทุกข์ครอบงำ กล่าวถึงกรรมที่ตนทำชั่ว
ร้องไห้เสียงร่ำไร พลางกล่าวคาถานี้ว่า :-
พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ
ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง คนอื่น ๆ พากัน
ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรากลับเป็น
ผู้มีส่วนแห่งทุกข์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภเค ได้แก่ อุปกรณ์พิเศษแห่ง
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้ชื่อว่า โภคะ
เพราะอรรถว่าเป็นบุคคลพึงใช้สอย. บทว่า สํหริมฺหา ความว่า
ผู้มีจิตอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ รวบรวมไว้ ไม่ให้อะไร ๆ

589
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 590 (เล่ม 49)

แก่ใคร ๆ. บทว่า สเมน วิสเมน จ ได้แก่ โดยชอบธรรม และ
ไม่ชอบธรรม อีกอย่างหนึ่ง ความว่า บัดนี้ คนอื่น ๆ ใช้สอยโภคะ
เหล่านั้น ที่เรารวบรวม โดยไม่ชอบธรรม อันเป็นของเทียมกับ
ความชอบธรรม. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคินี ความว่า ฝ่ายพวกเรา
บัดนี้ เป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ อันนับเนื่องในกำเนิดเปรต คือ
เสวยทุกข์ใหญ่ เพราะตนไม่ได้ทำสุจริตอะไร ๆ ไว้ และทำแต่
ทุจจริต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาที่นางเปรตนั้น กล่าวแล้ว
อย่างนี้ จึงตรัสประวัติของนางเปรตเหล่านั้น แล้วทรงกระทำเรื่อง
นั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อม
แล้ว ทรงประกาศสัจจะสูง ๆ ขึ้นไป ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็น
อันมาก บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล
จบ อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔

590
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 591 (เล่ม 49)

๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยที่สุดไม่มี
พระศาสดาได้ตรัสพระคาถาที่เปรต ๔ ตน ปรารภจะกล่าว
คนละคาถาให้บริบูรณ์ว่า :-
[๑๓๕] เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้อยู่ในนรก
๖ หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไร
ที่สุดจักมี.
ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อม
ไม่ปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่าน
ได้ทำบาปกรรมไว้.
พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเรา
เหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่
พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.
เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็น
มนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.
จบ เสฏฐิตปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕

591
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 592 (เล่ม 49)

อรรถกถาเสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕
เรื่องเปรตผู้เป็นบุตรเศรษฐีนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สฏฺฐิวสฺสสหสฺ-
สานิ ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันกรุงสาวัตถี
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงประดับตกแต่งแล้ว
เสด็จขึ้นคอช้างเผือกประเสริฐ เสด็จเลียบพระนครด้วยราชฤทธิ์
อันใหญ่ ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงทอดพระเนตรเห็นแล้ว หญิง
คนหนึ่ง มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสรเพราะสมบูรณ์ด้วยรูป
เปิดหน้าต่างชั้นบนปราสาท ในเรือนหลังหนึ่งแลดูการตบแต่ง
องค์พระราชานั้น มีจิตกลุ้มรุมด้วยความฟุ้งแห่งกิเลสที่เกิดขึ้น
โดยฉับพลันในอารมณ์ที่ไม่เคยเห็น แม้จะมีชนในพระราชวังผู้
สมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ มีตระกูล รูป และอาจาระเป็นต้น ก็มีจิต
ปฏิพัทธ์ในหญิงนั้น ด้วยอำนาจจิตที่ข่มได้ยาก เกิดเร็วดับเร็วเป็น
สภาวะ จึงได้ให้สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังพระอาศน์ว่า เธอจง
ตรวจดูปราสาทนี้และหญิงนี้ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์.
เรื่องอื่นทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่มาแล้วในเรื่องอัมพสักขรเปรต
นั้นแล.
ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- ในเรื่องนี้ บุรุษมาใน
เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต เมื่อเขาปิดประตูเมือง จึงวางดินสีอรุณ
และดอกอุบลที่ตนนำมา ไว้ที่บานประตูเมือง แล้วไปยังพระเชตวัน-

592
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 593 (เล่ม 49)

มหาวิหารเพื่อจะนอน. ฝ่ายพระราชาเสด็จเข้าที่ประทับบนที่บรรทม
อันเป็นศิริ ในเวลามัชฌิมยาม ได้ทรงสดับอักขระ ๔ ตัว เหล่านี้
คือ ส น ทุ โส ด้วยเสียงขรม เหมือนเปล่งออกด้วยลำคอใหญ่
ได้ยินว่า ในอดีตกาล เศรษฐีบุตร ๔ คน ชาวเมืองสาวัตถี มัวเมา
ด้วยความเมาในโภคทรัพย์ ได้ประสบอกุศลเป็นอันมาก ด้วยอำนาจ
กรรมที่ส้องเสพภรรยาคนอื่น . ในเวลาเป็นหนุ่ม ภายหลังทำกาละ
แล้ว บังเกิดในโลหกุมภี ใกล้นครนั้นนั่นเอง ไหม้อยู่ถึงขอบปาก
โลหกุมภีประสงค์จะกล่าวคาถาคนละคาถา จึงได้กล่าวเพียงอักขระ
ต้นแห่งคาถาเหล่านั้นที่ตนเปล่งขึ้น ได้รับเวทนาก็กลับลงสู่โลหกุมภี.
ฝ่ายพระราชาทรงสดับเสียงนั้น สดุ้งตกพระทัย ทรงสลด
เกิดขนพองสยองเกล้า ทรงให้ราตรีที่เหลือนั้นล่วงไปโดยลำบาก
พอราตรีสว่าง จึงรับสั่งให้เรียกปุโรหิตมาแล้วตรัสเล่าเรื่องนั้น.
ปุโรหิตเป็นคนติดลาภ ว่าพระราชาสดุ้งตกพระทัย จึงคิดว่า
อุบายอันเป็นเหตุให้เกิดลาภแก่เราและแก่พวกพราหมณ์ เกิดขึ้น
แล้วทูล จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช อุปัทวันตรายอย่างใหญ่หลวงนี้
เกิดขึ้นแล้วหนอ ขอพระองค์จงบูชายัญอันประกอบด้วยหมวด ๔
แห่งวัตถุทั้งปวง พระราชาทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงสั่ง
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เออ พวกเธอจงตระเตรียมอุปกรณ์ยัญ ๔ หมวด
แห่งวัตถุทั้งมวล. พระนางมัลลิกาเทวี ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทูล
พระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุไร พระองค์
ทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงมีพระประสงค์จะกระทำกิจ คือ

593
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 594 (เล่ม 49)

การฆ่าและเบียดเบียนสัตว์เป็นอันมาก พระองค์ควรทูลถามพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระญาณอันเที่ยวไปไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง มิใช่
หรือ. และพระองค์ควรปฏิบัติอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์
แก่พระองค์. พระราชาทรงสดับคำของพระเทวีแล้ว เสด็จไปเฝ้า
พระศาสดากราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เหตุจากเสียงนั้นที่จะเป็นอันตราย
อะไร ๆ แก่พระองค์หามีไม่ ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสประวัติของสัตว์
เกิดในโลหกุมภีเหล่านั้น ตั้งแต่ต้นจึงได้ตรัสคาถาที่เปรตเหล่านั้น
เริ่มเปล่งแต่ละตน ให้บริบูรณ์ว่า :-
เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้ในนรก หก-
หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไร
ที่สุดจักมี.
ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อม
ไปปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่าน
ได้ทำบาปกรรมไว้.
พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเรา
เหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่
พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.
เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็น
มนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.

594