No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 565 (เล่ม 49)

๙. คูถขาทิกเปติวัตถุที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-
[๑๒๙] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านมาร้องครวญครางอื้ออึง
ไปทำไมเล่า ท่านมีกรรมอันลามกเป็นแน่.
นางเปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นนางเปรตได้
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลกเพราะได้ทำกรรมชั่วไว้
จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ ๘)
จบ ทุติยคูถขาทิกาเปติวัตถุที่ ๙
อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตผู้กินคูถคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.
เรื่องของนางเปรตนั้น เช่นกับเรื่องที่ติดต่อกันนั้น. ในเรื่อง
นั้น มาโดยอำนาจอุบาสกว่า อุบาสกได้สร้างวิหาร แต่ในเรื่องนี้
มีความแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาได้สร้างวิหาร. คำที่เหลือ ใน
ท้องเรื่อง และในคาถา ไม่เคยมี.
จบ อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

565
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 566 (เล่ม 49)

๑๐. คณเปตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องเปรตหิวน้ำแล้วกินไม่ได้
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตทั้งหลายว่า :-
[๑๓๐] ท่านทั้งหลายเปลือยกาย มีรูปร่างผิว
พรรณน่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วย
เส้นเอ็น ผอมจนแลเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะ
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายเป็นอะไรหนอ.
เปรตทั้งหลายตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงจากมนุษยโลกไปสู่เปตโลก.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-
ท่านทั้งหลายทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย
วาจา ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านทั้งหลาย
จึงจากมนุษยโลกไปสู่เปตโลก.
เปรตเหล่านั้นตอบว่า :-
เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่ง
อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้ก่อสร้าง

566
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 567 (เล่ม 49)

กุศลไว้แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็
ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ จึงเข้า
ไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่าไป
เมื่อเวลาร้อน ข้าพเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมี
ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้าฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้
เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่จะเสวยทุกข์อันมี
ความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่นอัน
ชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
ความหิวแผดเผาแล้วอยากอาหาร พากันไป
สิ้นทางหลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย
จึงพากันกลับมา ข้าพเจ้าทั้งหลายนี้หาบุญมิได้
หนอ เมื่อมีความหิวโอยอิดโรยมากขึ้น ก็พากัน
ล้มสลบลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย
บางคราวก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้น
สลบอยู่ที่พื้นดินตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะ
ชนหน้าอกกันและกัน ข้าพเจ้าเหล่านี้หาบุญมิได้
หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่
จะเสวยทุกข์ อันมีความกระหายเป็นต้นนี้ และ
ทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อ
ไทยธรรมมีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ไม่ได้ทำที่พึ่ง

567
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 568 (เล่ม 49)

แก่ตน ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิด
เป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล กระทำกุศลให้มากเป็นแน่.
จบ คณเปตวัตถุที่ ๑๐
อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตเป็นอันมาก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มนุษย์เป็นอันมาก เป็นคณะ ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส มีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม
เป็นผู้เบือนหน้าต่อสุจริต มีทานเป็นต้น มีชีวิตอยู่นาน เพราะกาย
แตกตายไป จึงบังเกิดในกำเนิดเปรต ใกล้พระนคร. ภายหลัง
วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังเดินบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี เห็นพวกเปรตในระหว่างทาง จึงถามด้วยคาถาว่า :-
พวกท่านเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณ
น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
ผอมจนเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่านผูนิรทุกข์
พวกท่านเป็นใคร หนอ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ความว่า ท่าน
เป็นผู้มีร่างกายผิวพรรณน่าเกลียด. บทว่า เก นุ ตุมเหตฺถ ความว่า

568
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 569 (เล่ม 49)

พวกท่านเป็นใครหนอ. พระมหาโมคคัลลานะ เรียกเปรตเหล่านั้น
โดยสมควรแก่ตนว่า มาริสา.
เปรตได้ฟังดังนั้น จึงพากันประกาศความที่ตนเป็นเปรต
ด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะการทำกรรมชั่ว
ไว้ จึงจากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก ดังนี้
ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่เขาทำไว้อีก ด้วยคาถาว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร พวกท่านจึง
จากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก.
จึงได้กล่าวกรรมที่ตนทำด้วยคาถาว่า :-
เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่ง
อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้ก่อ
สร้างกุศลไว้ แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม
มีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ
จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่า
ไป เมื่อเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปสู่ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมี
ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้า ฟุ้งไป ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์ อันมีความ

569
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 570 (เล่ม 49)

กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่น อันชั่วช้า
กว่าทุกข์นั้น อนึ่งพวกข้าพเจ้า เป็นผู้ถูกความ
หิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทาง
หลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย จึงพา
กันกลับมา พวกข้าพเจ้านี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อ
มีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบ
ลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราว
ก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็พวกข้าพเจ้านั้นสลบ
อยู่ที่พื้นดิน ตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะชน
หน้าอกกันและกัน พวกข้าพเจ้านี้ ทาบุญมิได้
หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรที่จะ
เสวยทุกข์ มีความกระหายเช่นต้นนี้ และทุกข์
อย่างอื่น อันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทย
ธรรมมีอยู่ พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
ก็พวกข้าพเจ้านั้น ไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์
จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล จักทำกุศลให้มากแน่ ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ โยชนานิ คจฺฉาม ความว่า
ข้าพเจ้าไปได้หลายโยชน์. อย่างไร ? คือเป็นผู้หิวอยากกินอาหาร.
อธิบายว่า พวกข้าพเจ้า ถูกความหิวครอบงำมานาน อยากกิน คือ
อยากลิ้มอาหาร แม้ครั้นไปอย่างนี้ ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย ก็พา

570
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 571 (เล่ม 49)

กันกลับมา. บทว่า อปฺปปุญฺญตา ได้แก่ พวกข้าพเจ้า ไม่มีบุญ
คือ ไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้.
บทว่า อุตฺตานา ปฏิกิราม ความว่า บางคราวเป็นผู้นอนหงาย
เป็นไปเหมือนอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจายไป. บทว่า อวกุชฺชา
ปตามเส ความว่า บางคราวก็นอนควํ ่าตกลงไป.
บทว่า เต จ ได้แก่ พวกข้าพเจ้านั้น. บทว่า อุรํ สีลญฺจ ฆฏฺเฏม
ความว่า นอนคว่ำตกลงไป เมื่อไม่อาจจะลุกขึ้นได้ สั่นงันงกอยู่
ประสบเวทนา เอาอกและศีรษะเสียดสีกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลัง นั้นแล.
พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทิน คือ
ความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดีสุจริต มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐

571
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 572 (เล่ม 49)

๑๑. ปาฏลีปุตตเปตวัตถุ
เวมานิกเปรตตนหนึ่งได้กล่าวกะหญิงมนุษย์คนหนึ่งว่า :-
[๑๓๑] สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์
เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือเทวดาบาง
พวกท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่านก็เห็น
ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจักน้ำท่านไปส่งยัง
เมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว
จงทำกรรมอันเป็นกุศลให้มาก.
เมื่อหญิงนั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความปลื้มใจ จึงกล่าวตอบ
ว่า :-
ข้าแต่เทพเจ้าผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน
ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน
เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉัน
ก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์
หรือเทวดาบางพวกดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของ
ตนดิฉันก็ได้เห็นเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญให้มาก.
จบ ปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

572
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 573 (เล่ม 49)

อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภวิมานเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺฐา
ตยา นิรยา ติรจฺฉานโยนิ ดังนี้
ได้ยินว่าพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็น
อันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้า
คนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำ
กาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมาน
เปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นมีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.
ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. ลำดับนั้น
เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป. ลำดับนั้น
พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่
แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละ
ถึง ๓ ครั้ง โดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่
เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้น
ลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไป
ยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว. อมนุษย์ยกหญิงนั้นขึ้นยังวิมานของตน
อภิรมย์กับหญิงนั้น.
ครั้นล่วงไป ๑ ปี หญิงนั้นเกิดเบื่อหน่าย เมื่อจะขอร้องเปรต
นั้น จึงกล่าวว่า ดิฉันอยู่ในที่นี้ก็ไม่ได้เพื่อสร้างประโยชน์ใน

573
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 574 (เล่ม 49)

สัมปรายภพ ดีละท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปเมือง
ปาฏลีบุตร. เปรตนั้นถูกหญิงนั้นอ้อนวอน จึงกล่าวคาถา :-
สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์
เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์ หรือเทวดา
บางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่าน
เป็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจะนำท่านไป
ส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตร
แล้ว จงทำกุศลธรรมให้มากเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐา ตยา นิรยา ได้แก่ แม้เฉพาะ
สัตว์นรกบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า ติรจฺฉานโยนิ มีวาจา
ประกอบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉานมี นาคและครุฑเป็นต้น ผู้มี
หิวกระหายเป็นต้น. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูร ชนิดกาลกัญชิกาสูร
เป็นต้น. บทว่า เทวา ได้แก่ เทพชั้นจาตุมมหาราชบางพวก. ได้
ยินว่าเปรตนั้น พาหญิงนั้น เที่ยวแสดงปัจเจกนรกเป็นต้น ใน
ระหว่าง ๆ ด้วยอานุภาพของตน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า สยมทฺทส กมฺมวิปากมตฺตโน ความว่า หญิงนั้น ไปเห็น
สัตว์นรกเป็นต้นโดยพิเศษ ก็ได้เห็นประจักษ์ซึ่งวิบากกรรมที่ตน
ทำไว้ ด้วยตนเอง. บทว่า เนสฺสามิ ตํ ปาฏลิปุตฺตมกฺขตํ ความว่า
บัดนี้ เราจักนำท่านอันใครป้องกันไม่ได้ ไปยังเมืองปาฏลีบุตร
โดยร่างของมนุษย์นั่นแล. แต่ท่านครั้นไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว

574