No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 555 (เล่ม 49)

อันงาม ได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็น
ปานนี้ และเปรตผู้เป็นพระราชโอรสเสวยทุกข์
เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นหลายปี จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจความมัวเมาในความเป็นใหญ่
อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่
เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อน
น้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระ-
ธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญ
ในปัจจุบัน เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้า
ถึงสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตานํ กมฺมานํ วิปาโก
มถเย มนํ ความว่า ผลแห่งอกุศลกรรมที่พระราชโอรสกระทำไว้
ในชาติก่อน เกิดเป็นผลอันยิ่ง ย่ำยี ครอบงำ จิตของคนอันธพาล อธิบายว่า
พึงยังประโยชน์ของตนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งจะทำความพินาศให้แก่
คนเหล่าอื่น.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงผลแห่งอกุศลกรรมนั้น อันเป็นเครื่องย่ำยี
จิตพร้อมด้วยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ได้แก่ เพราะเหตุแห่งรูป อธิบาย
ว่า เพราะได้รูปารมณ์ตามที่ปรารถนา ที่น่าชอบใจเป็นนิมิตร.
แม้ในบทว่า สทฺเท ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

555
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 556 (เล่ม 49)

เมื่อจะทรงแสดงกำหนดความที่กล่าวแล้วโดยทั่วไป โดย
เป็นความไม่ทั่วไปอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า การฟ้อน การขับ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ซึ่งความยินดีในกาม.
บทว่า ขิฑฺฑํ ได้แก่ การเล่นด้วยสหายเป็นต้น. บทว่า คิริพฺพชํ
ได้แก่ กรุงราชคฤห์.
บทว่า อิสึ ความว่า ชื่อว่า ฤๅษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นจ้น อันเป็นของพระอเสกขะ. บทว่า
สุเนตฺตํ ได้แก่ อตฺตทนฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตอันฝึกแล้วด้วยการฝึกอย่างสูง.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วย
พระอรหัตตผล. บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตคเต รตํ ได้แก่ ผู้ยินดี คือ สันโดษ
ในอาหารที่อยู่ในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร อันได้มาด้วยการ
แสวงหา คือ ด้วยการภิกษาจาร.
บทว่า ลทฺธา ภนฺเตติ จาพฺรวิ ความว่า ตรัสเพื่อให้เกิด
ความคุ้นเคยว่า ท่านขอรับ ท่านภิกษาบ้างไหม. บทว่า อุจฺจํ
ปคฺคยฺห ได้แก่ ยกบาตรขึ้นให้สูง.
บทว่า ถณฺฑิเล ปตฺตํ ภินฺทิตฺวา ได้แก่ ทำลายบาตร
ให้แตกโยนไปในภูมิประเทศอันแข็ง. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ หลีกไป
หน่อยหนึ่ง. ก็พระราชโอรสเมื่อจะหลีกไปหน่อยหนึ่ง. ก็พระ-
ราชโอรสเมื่อจะหลีกไปจึงกล่าวว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ
ดูก่อนภิกษุ ท่านจักทำอะไรเราดังนี้ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แลดู

556
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 557 (เล่ม 49)

ด้วยความกรุณาว่า คนอันธพาลได้ทำความพินาศอันใหญ่หลวง
ให้แก่ตน โดยเหตุอันไม่สมควรเลย.
บทว่า ผรุสสฺส แปลว่า หยาบช้า. บทว่า กฏโก แปลว่า
ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ยํ โยควิปากํ แปลว่า วิบากใด. บทว่า
สมปฺปิโต ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.
บทว่า ฉเฬว จตุรสีติ วสฺสานิ นหุตานิ จ ความว่า นอนหงาย
นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นบนหัวห้อยลง
และยืนอยู่ตามเดิม อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ปี รวมเป็น ๖ ครั้ง ๆ ละ
๘๔,๐๐๐ ปี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระราชโอรสผู้เป็นอันธพาล หมกไหม้
ในนรก คือนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย
นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นข้างบนหัวลงล่าง
และยืนอยู่ตามปกติ สิ้นกาลนาน.
ก็เพราะเหตุที่มีหลายหมื่นปี ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นหุตานิ
หลายหมื่นปี. บทว่า ภุสํ ทุกฺขํ นิคจฺฉิตฺโถ ความว่า ประสบทุกข์
อย่างยิ่ง.
บทว่า ปูคานิ ได้แก่ ในการประชุมแห่งปี แต่ในคาถานี้
และในคาถาต้น พึงเห็นว่า เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถแห่งอัจจันต-
สังโยคแปลว่า ตลอด.
บทว่า เอตาทิส คือเห็นปานนั้น. บทว่า กฏกํ ได้แก่ ทุกข์
หนักนี้ เป็นการแสดงออกแห่ง นปุํสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า

557
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 558 (เล่ม 49)

นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า บุคคล
ผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย คือ รุกรานฤๅษี ผู้ไม่
ประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย คือ ผู้มีวัตรดี ย่อมประสบทุกข์
เห็นปานนี้ อันเผ็ดร้อนยิ่งนัก.
บท โส ได้แก่ เปรตราชบุตรนั้น. บทว่า ตตฺถ คือ ในนรก.
บทว่า เวทยิตฺวา แปลว่า เสวย. บทว่า นาม ได้แก่ โดยความเป็น
ผู้ปรากฏโดยแจ้งชัด. บทว่า ตโต จุโต ได้แก่ จุติจากนรก. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้มหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น
เกิดความสังเวช ด้วยกถาว่าด้วยราชบุตรเปรตอย่างนี้แล้ว จึง
ประกาศสัจจะยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมาก
บรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

558
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 559 (เล่ม 49)

๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑
ว่าด้วยด่าพระตกนรกกินของไม่สะอาด
พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-
[๑๒๘] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่.
เปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา
ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ
ทุกข์เช่นนี้.
เปรตนั้นตอบว่า :-
ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ ได้
ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า

559
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 560 (เล่ม 49)

ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า
จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-
ภิกษุที่เข้าไปสู่ตระกูลของท่าน ไม่ใช้
มิตรแท้เป็นมิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม
ทำลายขันธ์ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.
เปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรม
อันลามกนั้น กุลุปกภิกษุไปเกิดเป็นเปรตบริวาร
ของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่าย
มูตรคูถลงในเว็จนี้ มูตรคูถนั้นเป็นอาหารของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้นแล้ว ถ่ายมูตร
คูถสิ่งใดลงไป กุลุปกเปรตนั้นก็เลี้ยงชีพด้วย
มูตรคูถนั้น.
จบ ปฐมคูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๘
อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคูถขาทกเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.

560
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 561 (เล่ม 49)

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก
ยังมีกฏุมพีผู้หนึ่ง สร้างวิหาร อุทิศถวายภิกษุผู้เป็นชีต้นของตน,
ภิกษุทั้งหลาย มาจากชนบทต่าง ๆ อยู่อาศัยในวิหารหลังนั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส อุปัฏฐากด้วย
ปัจจัยอันประณีต. ภิกษุชีต้น อดทนปัจจัยนั้นไม่ได้ เป็นผู้ถูกความ
ริษยา ครอบงำ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงยกโทษกะ
กฏุมพี. กฏุมพี ข่มขี่บริภาษภิกษุเหล่านั้น และภิกษุเป็นชีต้น.
ลำดับนั้น ภิกษุผู้เป็นชีต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตในเวจจกุฏี
ในวัดนั่นเอง. ฝ่ายกฏุมพี ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตอยู่ข้างบน
ของพระเปรตนั้นนั่นแล. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
พอเห็นเปรตนั้นแล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเป็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามก โดยไม่ต้อง
สงสัย.
เปรตได้ดังดังนั้นแล้ว จึงแสดงตนด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ลำดับนั้นพระเถระจึงถามกรรมที่เปรตนั้นกระทำกะเปรต
นั้น ด้วยคาถาว่า :-

561
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 562 (เล่ม 49)

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา
เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ
ทุกข์เช่นนี้.
เปรตนั้น ได้บอกกรรมที่ตนทำด้วยคาถา ๒ คาถาว่า :-
เมื่อก่อน มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ในตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ
ได้ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย ที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า
ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า
จากโลกนี้แล้ว ไปสู่เปตโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อาวาสิโก มยฺหํ ได้แก่ ภิกษุ
รูปหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่ประจำ ในอาวาสของข้าพเจ้า คือ
ในวัดที่ข้าพเจ้าได้สร้างไว้. บทว่า อชฺฌาสิโต มยฺหํ ฆเร ความว่า
ท่านได้อยู่อาศัยในเรือนของข้าพเจ้า โดยความเป็นชีต้น ด้วย
อำนาจการอยู่ด้วยตัณหา.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ภิกษุผู้เป็นชีต้นนั้น. บทว่า ภิกฺขโว
แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ปริภาสิสํ แปลว่า ด่าแล้ว บทว่า
เปตโลกํ อิโต คโต ความว่า เข้าถึงกำเนิดเปรต คือเป็นเปรตด้วย
อาการอย่างนี้.

562
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 563 (เล่ม 49)

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามถึงคติของเปรตนอกนี้
จึงกล่าวคาถาว่า :-
ภิกษุผู้ชีต้นของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
แต่มิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม ทำลายขันธ์
ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวณฺเณน ได้แก่ ด้วยมิตรเทียม
คือ โดยความเทียมมิตร.
เปรตเมื่อจะบอกเรื่องนั้น แก่พระเถระอีก จึงกล่าวคาถา
๒ คาถาว่า :-
ข้าพเจ้า ยืนอยู่บนศีรษะ ของภิกษุผู้มี
กรรมอันลามกนั้น ภิกษุผู้ชีต้น ไปเกิดเป็นเปรต
บริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่า
อื่น ถ่ายมูตรคูถลงในเวจกุฏีนี้ มูตรคูถนั้น เป็น
อาหารของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้น
แล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป เปรตผู้เป็นชีต้น
นั้น ก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรและคูถนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ได้แก่ เปรตผู้เป็นภิกษุ
ชีต้น ในกาลก่อน ของข้าพเจ้านั้นนั่นแล. บทว่า ปาปกมฺมสฺส ได้แก่
มีความประพฤติลามก. บทว่า สีเส ติฏฺฐามิ มตฺถเก ความว่า
ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะ และเมื่อยืน ยืนอยู่บนกระหม่อมนั้นเอง
อธิบายว่า ไม่ได้ยืนอยู่บนอากาศประมาณศีรษะ. บทว่า ปรวิสยํ

563
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 564 (เล่ม 49)

ปตฺโต ได้แก่ อาศัยมนุษยโลกแล้วถึงเปตวิสัยอันเป็นแดนอื่น. บทว่า
ิมเมว ความว่า บาลีที่เหลือ บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า
ได้เป็นบริวารของข้าพเจ้าเอง.
บทว่า ยํ ภทนฺเต หทนฺตญฺเญ ความว่า ข้าแต่พระมหา-
โมคคัลลานะผู้เจริญ ชนเหล่าอื่น ย่อมถ่ายอุจจาระลงในเวจจกุฏีนั้น.
บทว่า เอตํ เม โหติ โภชนํ ความว่า อุจจาระนั้น เป็นอาหารของ
ข้าพเจ้าทุก ๆ วัน. บทว่า ยํ หทามิ ความว่า ก็ข้าพเจ้าถ่ายอุจจาระ
ที่ข้าพเจ้ากินเข้าไป. บทว่า เอตํ โส อุปชีวติ ความว่า เปรตผู้เป็น
ชีต้นนั้น เลี้ยงชีพ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการกินอุจจาระของ
ข้าพเจ้านั้น ทุก ๆ วัน.
ในคนเหล่านั้น กฏุมพี ด่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักว่า การกิน
คูถของพวกท่าน ยังประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารอย่างนี้. ส่วน
ภิกษุเป็นชีต้น ชักชวนกฏุมพีในการ เช่นนี้นั้น ตนเองก็ได้ด่า
เหมือนเช่นนั้น, ด้วยเหตุนั้น เปรตนั้นจึงมีการเลี้ยงชีพ อันน่าติเตียน
แม้กว่ากฏุมพีนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรงแสดงโทษในการว่าร้ายแล้ว ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่
มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘

564