No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 545 (เล่ม 49)

๖. กุมารเปตวัตถุ
ว่าด้วยเปรตมีแต่ความหิวเพราะกรรมอะไร
[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร
สององค์เป็นพระราชโอรสอยู่ในพระนครสาวัตถี
ข้างประเทศหิมพานต์ พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์
นั้นเป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแต่งความ
กำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความยินดี
ในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรง
เห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์
ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต ไม่
แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของ
ตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทัก-
ขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรมอัน
เขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอัน
นำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำตน
ให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากาม
นั้น พวกเราจุติการราชสกุลแล้วไปบังเกิดใน
เปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและกระหาย
เมื่อก่อน ในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของในที่ใด ย่อม
ไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นี้อีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญ

545
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 546 (เล่ม 49)

ขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อมตายเพราะความหิวและ
ความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจ
ความถือตัวว่า เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความเมา
ในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสู่สวรรค์ นรชน
ผู้มีปัญญาเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๖
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรต ๒ ตน จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาวตฺถิ
นาม นครํ ดังนี้
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลมีพระโอรส ๒ พระองค์
น่าเลื่อมใส กำลังอยู่ในปฐมวัย มัวเมาในความเป็นหนุ่ม กระทำ
กรรมคือคบหาภรรยาของคนอื่น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ที่หลังคู. ในเวลากลางคืน เปรตเหล่านั้นพากันรำพันด้วยเสียง
อันน่าสะพึงกลัว พวกมนุษย์ได้ฟังเสียงนั้น พากันสะดุ้งกลัว คิดว่า
เมื่อพวกเราทำอย่างนี้ อวมงคลนี้ย่อมสงบ จึงพากันถวายมหาทาน
แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
และอุบาสิกาทั้งหลาย เพราะได้ยินเสียงนั้น อันตรายอะไร ๆ ย่อม

546
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 547 (เล่ม 49)

ไม่มีแก่พวกท่าน เพื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งเสียงนั้นแล้วแสดงธรรม
แก่มนุษย์เหล่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า :-
ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร
สองพระองค์ เป็นพระราชโอรสอยู่ในกรุงสาวัตถี
ข้างหิมวันตประเทศ พระราชกุมารทั้งสองพระ-
องค์นั้น เป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความ
ยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่
ทรงเห็นสุขในอนาคต คั้นจุติจากความเป็น
มนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต
ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศธรรมชั่ว
ของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระ-
ทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม
อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญ
อันนำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำ
อันให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่า
กามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิด
ในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและความ
กระหาย เมื่อก่อนในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของใน
ที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์
ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วกลับเสื่อมลง ย่อมตาย

547
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 548 (เล่ม 49)

เพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษ
อันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่าง
นี้แล้ว ละความมัวเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว
พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้เห็น
ด้วยญาณของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ เราได้ฟัง
มาอย่างนี้ โดยที่ปรากฏในโลก.
บทว่า กามสฺสาทาภินนฺทิโน ได้แก่ มีปกติเพลิดเพลินด้วย
อำนาจความยินดีในกามคุณ. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนสุเข คิทฺธา ได้แก่
เป็นต้น คือข้องในอารมณ์รักว่าความสุขที่เป็นปัจจุบัน. บทว่า
น เต ปสฺสึสุนาคตํ ความว่า พระราชกุมารทั้งสองนั้นละทุจริต
ประพฤติสุจริต ไม่คิดถึงสุขที่จะพึงได้ในเทวดาและมนุษย์ในอนาคต
คือในกาลต่อไป.
บทว่า เตธ โฆเสนฺตุทิสฺสนฺตา ความว่า เปรตเหล่านั้น
เมื่อก่อนเป็นราชโอรส มีรูปไม่ปรากฏร้องคร่ำครวญอยู่ในที่
ใกล้กรุงสาวัตถีนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า คร่ำครวญว่าอย่างไร ?
ท่านจึงกล่าวว่า ตนได้ทำกรรมชั่วไว้ในกาลก่อน.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกเหตุแห่งการคร่ำครวญของเปรต
เหล่านั้น โดยเหตุและผล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคล
มีอยู่มาก ดังนี้เป็นต้น.

548
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 549 (เล่ม 49)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูสุ วต สนฺเตสุ ได้แก่ เมื่อ
พระทักขิไณยเป็นอันมากมีอยู่. บทว่า เทยฺยธมฺเม อุปฏฺฐิเต ความว่า
แม้เมื่อไทยธรรมที่ควรให้อันเป็นของตนอันไว้แล้วในที่ใกล้ อธิบาย
ว่า อันจะได้อยู่. บทว่า ปริตฺตํ สุขาวหํ มีวาจาประกอบความว่า
เราไม่อาจทำบุญอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขในอนาคตแม้มี
ประมาณน้อย แล้วทำตนให้มีความสวัสดี คือ ให้ปราศจากอุปัท-
วันตราย.
บทว่า กึ ตโต ปาปกํ อสฺส ความว่า ชื่อว่ากรรมอันเป็นบาป
คือลามกกว่านั้น จะพึงกลายเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร. บทว่า
ยํ โน ราชกุลา จุตา ความว่า เพราะบาปกรรมอันใด พวกเรา
จึงจุติจากราชสกุล เกิดในเปตวิสัยนี้ คือ บังเกิดในหมู่เปรต
เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหายเที่ยวไปอยู่.
บทว่า สามิโน อิธ หุตฺวาน ความว่า เมื่อก่อน ราชบุตร
เป็นเจ้าของเที่ยวไปในที่ใดในโลกนี้ แต่ไม่เป็นเจ้าของในที่นั้นนั่นเอง
ด้วยบทว่า มนุสฺสา อุนฺนโตนตา ท่านแสดงว่า ในเวลาเป็นมนุษย์
ราชกุมารเหล่านั้นเป็นเจ้าของ ทำกาละแล้วเสื่อมลงด้วยอำนาจ
กรรม เพราะความหิวกระหาย ท่านจงเห็นปกติของสงสาร.
บทว่า เอตมาทีนวํ ญตฺว อิสฺสรมทสมฺภวํ ความว่า
นรชนรู้โทษ กล่าวคือการเกิดในอบายอันเกิดด้วยด้วยความเมา ใน
ความเป็นใหญ่นี้ แล้วละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย ขวนขวาย

549
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 550 (เล่ม 49)

เอาแต่บุญ. บทว่า ภเว สคฺคคโต นโร ความว่า พึงไปสวรรค์ คือ
เทวโลกเท่านั้น
พระศาสดาครั้นตรัสประวัติของเปรตเหล่านั้นด้วยประการ
ดังนี้แล้ว ทรงให้อุทิศทานที่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกระทำแก่
พวกเปรตเหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรม อันเหมาะแก่อัธยาศัยของ
บริษัทผู้ประชุมกัน เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

550
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 551 (เล่ม 49)

๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
ว่าด้วยประทุษร้ายต่อฤๅษีตกนรกแล้วมาเป็นเปรต
[๑๒๗] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรส
ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน
สวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอัน
ฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วยหิริ
ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จลง
จากคอช้างแล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้างพระผู้-
เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ยกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระ
สรวล หลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะพระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณาว่า เรา
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)
อยู่ในนรกเสวยผลอันเผ็ดร้อนของกรรมอัน
หยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาป

551
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 552 (เล่ม 49)

หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ใน
นรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำบ้าง
นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้า
ชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้ายฤๅษี
ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย มีวัตรอันงาม
ย่อมได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่ง เห็นปานนี้
และเปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์เป็นอัน
มากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความเป็น
ใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็น
ใหญ่เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควร
อ่อนน้อม ผู้ใดความเคารพในพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรร-
เสริญในปัจจุบัน ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา เมื่อตาย
ไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

552
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 553 (เล่ม 49)

อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ
กตานํ กมฺมานํ ดังนี้
ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง
วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์
เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย
พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่
ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน
พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์
อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น
ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-
ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส
ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน

553
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 554 (เล่ม 49)

สวนแล้วเสด็จเข้าไปยังเมืองราชคฤห์ ได้ทรง
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสุเนตตะ ผู้มีตน
อันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วย
หิริ ยินดีในอาหาร เฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จ
ลงจากคอช้าง แล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง
พระผู้เป็นเจ้า แล้วจับบาตรของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ยกขึ้นสูงแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก
ทรงพระศรวลหลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความ
กรุณาว่าเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)
อยู่ในนรก ได้เสวยผลอันเผ็ดร้อน ของกรรม
อันหยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาล ทำบาป
หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่
ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำ
บ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง
เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ท่านบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรก หลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย
ฤๅษี ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย ผู้มีวัตร

554