จะให้พระราชานั้นดำรงอยู่ในสรณะและศีล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ข้าแต่มหารา ขอพระองค์โปรดทรงสดับ. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สีเลสุโปสเถ รตา ได้แก่ ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล.
บทว่า อทา แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ มรรคมี
องค์ ๘ เละอมตบทนั้น.
พระราชาอันเปรตชักชวนให้สมาทานศีลและสรณะอย่างนี้
แล้ว มีพระทัยเลื่อมใส เบื้องต้นจึงระบุถึงอุปการะที่เปรตนั้น
กระทำแก่พระองค์ เมื่อจะตั้งอยู่ในสรณะเป็นต้น จึงกล่าวคาถา
๓ คาถามีอาทิว่า ผู้ปรารถนาความเจริญ ดังนี้ เมื่อจะทรงประกาศ
ถึงความที่ทรงละทิฏฐิชั่วที่พระองค์ยึดถือในกาลก่อน จึงตรัส
คาถาว่า เราโปรย(แกลบในที่ลมแรง) เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอผุณามิ มหาวาเต ความว่า
ดูก่อนเทวดา เราจะโปรยคือขจัดทิฏฐิชั่วนั้น ณ ที่ลมคือธรรมเทศนา
ของท่าน เหมือนโปรยแกลบไปที่ลมแรงซึ่งกำลังพัดอยู่. บทว่า
นทิยา วา สีฆคามิยา อธิบายว่า หรือว่าเราจะลอยทิฏฐิชั่วเหมือน
ลอยหญ้า ไม้ ใบไม้ และสะเก็ด ลงในแม่น้ำใหญ่ที่มีกระแสอันเชี่ยว.
บทว่า วมามิ ปาปิกํ ทิฏฺฐึ ความว่า เราจะละทิ้งทิฏฐิชั่วที่อยู่ในใจ
ของเรา. พระราชากล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ยินดีแล้วในพระศาสนา
ดังนี้. มีวาจาประกอบความว่า เพราะเหตุที่เรายินดี คือ ยินดียิ่ง
ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย อันนำอมตะ
มาโดยส่วนเดียว ฉะนั้น เราจะคายพิษคือทิฏฐินั้น.