No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 525 (เล่ม 49)

จงทรงสดับคำของข้าพระองค์
พระพุทธเจ้าอันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ
แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอพระองค์พร้อมด้วย
พระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อม
บรรลุอมตะ ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ขอพระองค์
พร้อมด้วยพระโอรส และพระอัครมเหสี จงถึง
มรรคมีองค์ ๘ และอมตะบท ว่าเป็นสรณะเถิด
พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรค ๔ จำพวก
ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นี้เป็นพระสงฆ์ผู้
ปฏิบัติ ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอ
พระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและพระอัคร-
มเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอ
พระองค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ได้ตรัส
คำเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.
พระราชาตรัสว่า :-
ดูก่อนเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความ
เจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา
เราจักเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

525
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 526 (เล่ม 49)

อันยอดเยี่ยม กว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นสรณะ
เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และ
ยินดีด้วยพระมเหสีของตน จะไม่พูดเท็จ จะไม่
ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือน
โปรยแกลบอันลอยไปตามลนอันแรง เหมือน
ทั้งหญ้าและใบไม้ ลอยไปในแม่น้ำ มีกระแสอัน
เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า-
สุรัฐ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความ
เห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่าย
พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กลับคืนสู่
พระนคร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม สุรฏฺฐานํ
อธิปติ อหุ ความว่า ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง เป็นอิสระแห่ง
สุรัฐประเทศ ปรากฏพระนามว่า ปิงคละ เพราะมีจักษุเหลือง.
ด้วยบทว่า โมริยานํ ท่านกล่าวหมายถึงพระเจ้าโมริยธรรมาโศก.
บทว่า สุรฎฺฐํ ปุนราคมา ความว่า ได้เสด็จกลับมาตามทางเป็นที่
ไปยังสุรัฐประเทศ มุ่งที่อยู่แห่งสุรัฐประเทศ. บทว่า ปงฺกํ
ได้แก่ ภูมิภาคอันอ่อนนุ่ม. บทว่า วณฺณุปถํ ได้แก่ หนทางมีทราย
ที่เปรตนิรมิตรไว้.

526
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 527 (เล่ม 49)

บทว่า เขโม แปลว่า ปลอดภัย. บทว่า โสวตฺถิโก แปลว่า
นำมาซึ่งความสวัสดี. บทว่า สิโว แปลว่า ไม่มีอุปัทวันตราย
บทว่า สุรฏฺฐานํ สนฺติเก อิโต ได้แก่ พวกเราเมื่อไปตามหนทาง
เส้นนี้ จักถึงที่ใกล้เมืองสุรัฐที่เดียว.
บทว่า สุรฏฺโฐ ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในสุรัฐประเทศ. บทว่า
อุพฺพิคฺครูโป ได้แก่ ผู้มีความสะดุ้งเป็นสภาวะ. บทว่า ภึสนํ ได้แก่
เกิดความกลัวขึ้น. บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ เกิดขนพองสยองเกล้า
เพราะเป็นหนทางน่ากลัว.
บทว่า ยมปุริสาน สนฺติเก ได้แก่ อยู่ในที่ใกล้พวกเปรต.
บทว่า อมานุโส วายติ คนฺโธ ความว่า กลิ่นตัวของพวกเปรต
ย่อมฟุ้งไป. บทว่า โฆโส สุยฺยติ ทารุโณ ความว่า ข้าพระองค์
ได้ยินเสียงอันพิลึกน่าสะพึงกลัวของเหล่าสัตว์ ผู้กระทำเหตุใน
นรกโดยเฉพาะ.
บทว่า ปาทปํ ได้แก่ ต้นไม้อันมีชื่อว่า ปาทปะ เพราะเป็น
ที่ดื่มน้ำทางลำต้นเช่นกับราก. บทว่า ฉายาสมฺปนฺนํ แปลว่า
มีร่มเงาสนิทดี. บทว่า นีลพฺภวณฺณสทิสํ ได้แก่. มีสีเขียวชอุ่ม ดัง
สีเมฆ. บทว่า เมฆวณฺณสิรีนิภํ ได้แก่ ปรากฏมีสีและสัณฐาน
คล้ายเมฆ.
บทว่า ปูรํ ปานียสรกํ ได้แก่ ภาชนะน้ำดื่มอันเต็มด้วยน้ำดื่ม.
บทว่า ปูเว ได้แก่ ของเคี้ยว. บทว่า วิตฺเต ความว่า นายสารถี

527
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 528 (เล่ม 49)

ได้เห็นขนมที่วางไว้เต็มขันนั้น ๆ อันให้เกิดความปลื้มใจ มีรส
อร่อย เป็นที่ฟูใจ.
ศัพท์ อโถ ในบทว่า อโถ เต อทุราคตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต
หรือว่า บทว่า อโถ ใช้ในอรรถแห่งอวธารณะ, อธิบายว่า พวก
เรารับด้วยความประสงค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดี
มิใช่เสด็จมาร้าย โดยที่แท้ พระองค์เสด็จมาดีทีเดียว. บทว่า
อรินฺทม ได้แก่ ผู้มักกำจัดข้าศึก.
บทว่า อนจฺจา ปาริสชฺชา มีวาจาประกอบความว่า พวก
อำมาตย์และปุโรหิตจงฟังคำ และพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของท่าน
จงฟังคำนั้นเถิด
บทว่า สุรฎฺฐสฺมึ อหํ แก้เป็น สุรฎฺฐเทเส อหํ เรา...ใน
สุรัฐประเทศ. นายสารถี เรียกพระราชาว่า เทวะ. บทว่า
มิจฺฉาทิฎฐ แปลว่า ผู้เห็นผิดแปลกด้วยนัตถิกทิฏฐิ. บทว่า
ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า กทริโย แปลว่า ผู้มีความตระหนี่
เหนียวแน่น. บทว่า ปริภาสโก ได้แก่ ผู้ด่าสมณพราหมณ์.
บทว่า วารยิสฺสํ แปลว่า ได้ห้ามแล้ว. บทว่า อนฺตรายกโร อหํ
มีวาจาประกอบความว่าเรา เป็นผู้กระทำอันตราย ต่อชนผู้กำลัง
ให้ทาน ผู้ทำอุปการะ และเราห้ามปรามชนเป็นอันมาก จากบุญ
อันสำเร็จด้วยทานของชนเหล่าอื่น ผู้กำลังให้ทาน.
บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการ
ที่เราห้ามแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส

528
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 529 (เล่ม 49)

พระองค์ทรงห้ามวิบากว่า เมื่อบุคคลนั้นให้ทานอยู่ วิบาก คือผล
ที่จะพึงได้รับต่อไป ย่อมไม่มี. บทว่า สํยมสฺส กุโต ผลํ ความว่า
ก็ผลแห่งศีล จักมีแต่ที่ไหน, อธิบายว่า ผลแห่งศีลนั้นย่อมไม่มี
โดยประการทั้งปวง. บทว่า นตฺถิ อาจริโย นาม ความว่า ใคร ๆ
ผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ผู้ให้ศึกษาอาจารและสมาจาระ ย่อมไม่มี,
อธิบายว่า ก็ว่าโดยภาวะทีเดียว สัตว์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนแล้ว หรือ
ยังไม่ได้ฝึกตน ย่อมมีได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ใคร จักฝึก
ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึก ดังนี้
บทว่า สมตุลฺยานิ ภูตานิ ความว่า สัตว์เหล่านี้ ทั้งหมด
เป็นผู้เสมอกันและกัน, อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ผู้ใหญ่ จักมีแต่ที่ไหน คือ ขึ้นชื่อว่า บุญอันเป็นเหตุให้ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ย่อมไม่มี. บทว่า นตฺถิ ผลํ ความว่า สัตว์
ทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในกำลังของตนอันใดกระทำความเพียร ย่อม
บรรลุสมบัติทั้งหลาย ตั้งต้นแต่ความเป็นผู้เลิศด้วยความสวยงาม
ในหมู่มนุษย์ จนถึงความเป็นพระอรหัตต์ พระองค์ย่อมห้ามกำลัง
แห่งความเพียรนั้น. บทว่า วีริยํ วา นตฺถิ กุโต อุฎฺฐานโปริสํ นี้
ท่านกล่าวได้ด้วยอำนาจการปฏิเสธวาทะที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า
นี้เป็นไปด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
หามิได้. บทว่า นตฺถิ ทานผลํ นาม ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งทาน
อะไร ย่อมไม่มี อธิบายว่า การบริจาคไทยธรรมย่อมไร้ผล.
ทีเดียว เหมือนเถ้าที่เขาวางไว้. บทว่า เวรินํ ในบทว่า
ฆน วิโสเธติ เวรินํ ความว่า ย่อมไม่ทำบุคคลผู้

529
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 530 (เล่ม 49)

มีเวร คือ ผู้ทำบาปไว้ ด้วยอำนาจเวรและด้วยอำนาจอกุศลธรรม
มีปาณาติบาตเป็นต้น ให้หมดจดจากวัตรมีทานและศีลเป็นต้น, คือ
แม้ในบางคราว ก็ไม่ทำให้หมดจดได้. บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส
เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการที่ตนห้ามคนเหล่าอื่น จากทานเป็นต้น
ในกาลก่อน แต่บทว่า ชื่อว่า ผลแห่งทานย่อมไม่มีเป็นต้น พึงเห็นว่า
เป็นบทแสดงการยึดมั่นผิด ๆ แห่งตน. บทว่า สทฺเธยฺยํ แปลว่า
พึงได้. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็พึงได้อย่างไร ? ท่านจึงตอบว่า
อันเกิดแต่สิ่งที่น้อมมาเอง อย่างแน่นอน. อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อ
ได้รับความสุขหรือความทุกข์ ย่อมได้ด้วยอำนาจความแปรปรวน
ไปอย่างแน่นอนทีเดียว ไม่ใช่เพราะกรรมที่ตนทำไว้เลย และ
ไม่ใช่เพราะ พระอิศวร นิรมิตรขึ้นเลย. ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา ปิตา
ภาตา ท่านกล่าวหมายถึงความไม่มีผลแห่งการปฏิบัติชอบ และการ
ปฏิบัติผิดในมารดาเป็นต้น. บทว่า โลโก นตฺถิ อิโต ปรํ ความว่า
ชื่อว่า ปรโลกไร ๆ จากอิธโลกนี้ ย่อมไม่มี, อธิบายว่า สัตว์ย่อม
ขาดสูญไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง. บทว่า นินฺนํ ได้แก่ มหาทาน. บทว่า
หุตํ ได้แก่ สักการะเพื่อแขก, ท่านหมายถึงความไม่มีผลทั้งสองนั้น
จึงห้ามว่า นตฺถิ. บทว่า สุนิหิตํ แปลว่า ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า
น วิชฺชติ ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวการให้ทานแก่สมณ-
พราหมณ์ว่าเป็นขุมทรัพย์ อันเป็นเครื่องติดตามนั้น ย่อมไม่มี,
อธิบายว่า ทานที่ให้แก่สมณพราหมณ์นั้น เป็นเพียงวัตถุแห่งคำพูด
เท่านั้น.

530
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 531 (เล่ม 49)

บทว่า น โกจิ กญฺจิ หนติ ความว่า บุรุษใด พึงฆ่าบุรุษอื่น
คือ พึงตัดศีรษะของบุรุษอื่น ในข้อนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ใคร ๆ
ย่อมไม่ฆ่าใคร ๆ ได้ คือ ย่อมเป็นเสมือนผู้ฆ่า เพราะตัดกายของ
สัตว์ทั้งหลาย. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า การประหารด้วยศัสตรา
เป็นอย่างไร ท่านจึงตอบว่า ใช้ศัสตราเข้าไปในระหว่าง อันเป็น
ช่องกาย ๗ ช่อง, อธิบายว่า สอดสัตราเข้าไป ในระหว่างคือ ในช่อง
อันเป็นช่องของกาย ๗ ช่อง มีปฐวีเป็นต้น เพราะฉะนั้น สัตว์
ทั้งหลาย จึงเป็นเหมือนถูกศัสตรา มีดาบเป็นต้น. สับฟัน แต่แม้กาย
ที่เหลือ ย่อมไม่ขาดไป เพราะมีสภาวะเที่ยง เหมือนมีชีวะ ฉะนั้น.
บทว่า อจฺเฉชฺชาเภชฺโช หิ ชีโว ความว่า ชีพของเหล่าสัตว์นี้
ไม่พึงถูกตัด ไม่พึงถูกทำลายด้วยศัสตราเป็นต้น เพราะมีสภาวะเที่ยง.
บทว่า อฏฺฐํโส คุฬปริมณฺฑโล ความว่า ก็ชีพนั้น บางคราวมี
๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย. บทว่า โยชนานํ สตํ ปญฺจ
ความว่า ชีพนั้นถึงภาวะล้วน สูงประมาณได้ ๕๐๐ โยชน์. ด้วย
บทว่า โก ชีวํ เฉตฺตุมรหติ นี้ ท่านกล่าวว่า ใครเล่าควรเพื่อจะ
ตัดชีพอันเที่ยงแท้ คือไม่มีพิการ ด้วยศัสตราเป็นต้น. คือ ชีพนั้น
ใคร ๆ ไม่ควรให้กำเริบ.
บทว่า สุตฺตคุเฬ ได้แก่ หลอดด้าย ที่เขาม้วนทำไว้. บทว่า
ขิตฺเต ได้แก่ ซัดไป ด้วยอำนาจไม่ได้คลายออก. บทว่า นิพฺเพเฐนฺตํ
ปลายติ ความว่า หลอดด้ายอันด้ายคลี่อยู่ ที่เขาซัดไปบนภูเขา
หรือบนต้นไม้ ย่อมกลิ้งไปได้ คือ แต่เมื่อด้ายหมด ก็ไปไม่ได้.

531
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 532 (เล่ม 49)

บทว่า เอวเมวํ ความว่า หลอดด้ายนั้น อันด้ายคลี่คลายอยู่ จึง
กลิ้งไปได้ เมื่อสิ้นด้ายย่อมไปไม่ได้ ฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อคลี่คลายหลอดคือภาวะของสัตว์ ย่อมหนีไปได้ คือ ย่อมเป็น
ไปได้ ตลอดเวลาที่กล่าวได้ว่าสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป
พ้นจากนั้นหาเป็นไปได้ไม่.
บทว่า เอวเมว จ โส ชีโว ความว่า คนบางคนออกจากบ้าน
อันเป็นที่อยู่ของตนแล้วเข้าไปยังบ้านอื่น จากบ้านนั้น ด้วยกรณียะ
บางอย่างฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากร่างนี้แล้ว ก็
เข้าไปสู่ร่างอื่นอีก ด้วยอำนาจกำหนดกาล. บทว่า โพนฺทึ ได้แก่
ร่างกาย.
บทว่า จุลฺลาสีติ แปลว่า ๘๔. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่
มหากัป. ในมหากัปป์นั้น อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อเทวดา
ผู้วิเศษ นำหยาดน้ำด้วยปลายหญ้าคา ครั้ง ละหยาดทุก ๆ ร้อยปี
จากสระใหญ่ มีสระอโนดาดเป็นต้น ออกไป ด้วยความบากบั่นอันนี้
เมื่อสระนั้นแห้งไปถึง ๗ ครั้ง ชื่อว่า เป็นมหากัปอันหนึ่ง จึง
กล่าวว่า ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัปนี้ เป็นประมาณแห่งสงสาร.
บทว่า เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็น
อันธพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิตทั้งหมดนั้น. บทว่า สํสารํ เขปยิตฺวาน
ความว่า ยังสงสาร อันกำหนดด้วยกาล ตามที่กล่าวแล้วให้สิ้นไป
ด้วยอำนาจการเกิดร่ำไป. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสเร ความว่า
จักกระทำความสิ้นสุดแห่งวัฏฏทุกข์. สงสารนั้น มีการกำหนดว่า

532
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 533 (เล่ม 49)

ทั้งบัณฑิต ก็ไม่สามารถจะชำระตนให้หมดจดในระหว่างได้ ถัด
จากนั้นถึงพวกชนพาล ก็เป็นไปไม่ได้เลย.
บทว่า มิตานิ สุขทุกฺขานิ โทเณหิ ปิฏเกหิ จ ความว่า ชื่อว่า
สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเหมือนนับด้วยทะนาน ด้วยตะกร้า
ได้แก่ ด้วยภาชนะเป็นเครื่องนับ และสุขทุกข์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
เกิดแต่การน้อมไปอย่างแน่นอน เป็นอันปริมาณได้โดยเฉพาะ เพราะ
ปริมาณได้โดยกำหนดตามกาลที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พระชินเจ้า
ย่อมทราบเรื่องนี้นั้นทั้งหมด คือ ท่านดำรงอยู่ชินภูมิย่อมรู้ชัด
อย่างเดียว เพราะก้าวล่วงสงสารได้ ส่วนหมู่สัตว์นอกนั้น ผู้ลุ่มหลง
ย่อมวนเวียนอยู่ในสงสาร.
บทว่า เอวํทิฏฺฐิ ปุเร อาสึ ความว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์
ได้เป็นนัตถิกทิฏฐิบุคคล ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า สมฺมูฬฺโห
โมหปารุโต ได้แก่ เป็นคนหลงเพราะสัมโมหะ อันเป็นเหตุแห่ง
ทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว อธิบายว่า ก็คนถูกโมหะอันเกิดพร้อมด้วย
ทิฏฐินั้นครอบงำ คือเป็นดุจพืชแห่งหญ้าคาที่ปิดบังไว้.
นันทกเปรตครั้นแสดงบาปกรรมที่ตนทำด้วยอำนาจความ
เห็นชั่วอันเกิดขึ้นแก่ตนในกาลก่อนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
แสดงผลแห่งบาปกรรมนั้นที่ตนจะต้องเสวยในอนาคต จึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า ภายใน ๖ เดือนเราจักตาย ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ ได้แก่
แสนปี, บาลีที่เหลือว่า อติกฺกมิตฺวา แปลว่า ล่วง บัณฑิตพึงนำมา

533
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 534 (เล่ม 49)

เชื่อมเข้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ นี้ เป็น
ปฐมาวิภัติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัติ, อธิบายว่า เมื่อแสนปีล่วงไปแล้ว.
บทว่า โฆโส สุยฺยติ ตาวเท ความว่า ในขณะที่เวลามีประมาณ
เท่านี้ล่วงไปนั่นแหละ เราได้ยินเสียงในนรกนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อน
ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาของพวกท่านผู้ไหม้อยู่ในนรกนี้ ล่วง
ไปประมาณหนึ่งแสนปี. บทว่า ลกฺโข เอโส มหาราช สตภาค-
วสฺสโกฎิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช ๑๐๐ ส่วนโกฏิปี จัดเป็น
กำหนด คือเป็นเขตกำหนดอายุของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไหม้อยู่ในนรก.
ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ๑๐ ทสกะ เป็น ๑๐๐, ๑๐ ร้อย เป็น
๑,๐๐๐ สิบพัน ๑๐ หน เป็น ๑๐๐,๐๐๐, ร้อยแสน เป็น ๑ โกฏิ,
แสนโกฏิปีด้วยอำนาจโกฏิเหล่านั้น จัดเป็นหนึ่งร้อยโกฏิปี. ก็ร้อย
โกฏิปีนั้นแล พึงทราบด้วยการคำนวณปีเฉพาะสัตว์นรก ไม่ใช่
สำหรับมนุษย์หรือเทวดา. แสนโกฏิปีเป็นอันมากเช่นนี้ เป็นอายุ
ของสัตว์นรกด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชนผู้ไหม้อยู่ในนรก
สิ้นแสนโกฏิปี ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายผู้ไหม้อยู่ในนรกเช่นนี้ เพราะ
กรรมเช่นใด เพื่อจะแสดงบาปกรรมเช่นนั้นโดยคำลงท้าย ท่าน
จึงกล่าวว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล และเป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ
ดังนี้. บทว่า เวทิสฺสํ แปลว่า จักได้เสวยแล้ว.
นันทกเปรตครั้นแสดงผลแห่งความชั่วที่ตนจะพึงเสวย
ในอนาคตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะทูลเรื่องที่พระราชาตรัส
ถามว่า ท่านมีอานุภาพอย่างนี้เพราะพรหมจรรย์อะไร ดังนี้แล้ว

534