บำเพ็ญสุจริตต่อ ๆ มา ผลบุญ คือ บุญย่อมเจริญ คือ เต็มเปี่ยม
ยิ่ง ๆ ขึ้น.
เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้ พระราชามีพระหทัยสะดุ้งจาก
ทุกข์ ในอบาย มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และบุญธรรม
เจริญยิ่ง ต่อแต่นั้น จึงสมาทาน สรณะและศีล จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ดิฉัน ขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะในวันนี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ได้แก่ มีรูปตามที่กล่าว
แล้วนี้. บทว่า เวสาลิยํ อญฺญตโร อุปาสโก ความว่า เป็นอุบาสก
คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสกหลายพันคนในเมืองเวสาลี. บทว่า สทฺโธ
เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็น
โดยประการอื่นจากภาวะที่มีในก่อน เพราะอาศัยกัลยาณมิตร. จริงอยู่
ในกาลก่อน พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคน
หยาบช้า ด่าภิกษุทั้งหลาย และไม่ใช่เป็นอุปัฏฐากของสงฆ์ แต่บัดนี้
เป็นผู้มีศรัทธาอ่อนโยน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ในกาลนั้น โดย
เคารพ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การกโร ได้แก่ผู้กระทำอุปการะ.
บทว่า อุโภปิ ได้แก่ ชนทั้ง ๒ คน คือ บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ
และพระราชา. บทว่า สามญฺญผลานิ อชฺฌคุํ ได้แก่ ผู้บรรลุ
สามัญญผลตามสมควร. เพื่อจะแสดงตามสมควร. ท่านจึงกล่าวคำนี้
ไว้ว่า บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุผลน้อยกว่า. ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย