No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 495 (เล่ม 49)

๘ คู่ แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้า
เหล่านั้นแล้ว พระราชาทรงเห็นเปรต นุ่งห่มผ้า
เรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์แดง มีผิวพรรณ
เปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย
มีบริวารห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา
ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระหฤทัย
เกิดปีติปราโมทย์ มีพระหฤทัยร่าเริง เบิกบาน
พระเจ้าลิจฉวีได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่ง
กรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึง
เสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจัก
ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทาน
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูก่อนเปรต ท่านมี
อุปการะแก่เรามาก.
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-
ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระ-
ราชทานแก่ข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระ-
ราชทานนั้น มิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา
จักทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.
พระราชาตรัสว่า :-
ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว
เป็นมิตรและเป็นเทวดาของเรา ดูก่อนเปรต

495
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 496 (เล่ม 49)

เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่าน
แม้อีก.
เปรตกราบทูลว่า :-
ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความ
ตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็นข้า-
พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็น ไม่ได้
เจรจากับพระองค์อีก ถ้าพระองค์จักทรงเคารพ
ธรรม ทรงยินดีในการบริจาคทาน ทรงสงเคราะห์
ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ พระองค์ก็จักได้ทรงเห็น
ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ จักได้เห็น ได้เจรจา
กับพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้
จากหลาวโดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้
เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจ
ว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะ
เหตุแห่งบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษผู้ถูกหลาว
เสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบปล่อยแล้ว ถึงเป็นผู้
ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้น
แน่นอน พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
พระองค์เสด็จข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
จำแนกทานกะท่าน ในเวลาที่สมควร จงเสด็จ

496
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 497 (เล่ม 49)

เข้าไปหาแล้ว ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่าน
จงกราบทูลเนื้อความนั้น แก่พระองค์ ก็พระองค์
ทรงพระประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้าย ก็เชิญ
เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรม
ทั้งปวง ที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ
แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟัง
ธรรมนั้นแล้ว จักทรงเห็นสุคติ.
พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหาย
กับเทวดานั้นแล้ว เสด็จไป ส่วนเปรตนั้น ได้
กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อม
กับบุตรของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่งของเรา
เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่จักเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง
ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ
๒๐ ราตรีเท่านั้น เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตาม
ความชอบใจของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จง
รีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง
ให้ลงอาชญา โดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่าน ผู้
ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น
หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวี

497
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 498 (เล่ม 49)

เสด็จเข้าไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่
ถูกเสียบด้วยหลาว โดยเร็ว และได้ตรัสกะบุรุษ
นั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อน และรับสั่งให้หมอ
พยาบาล แล้วเสด็จไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
ถวายทานกับท่านในเวลาอันสมควร มีพระ
ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้
แล้วตรัสถามด้วยพระองค์เองว่า บุรุษผู้ถูกเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง
ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อย จักตายหรือไม่ตาย ประ-
มาณ ๒๐ ราตรีเท่านั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้
ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุ
อะไร ๆ ที่จะไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ
ถ้ามีขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟังเหตุ
ที่ควรเชื่อถือจากท่าน.
กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้น ย่อมไม่มี
ความพินาศในโลกนี้ เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้แจ้ง
ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรม
ทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้น
จากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผล
พึงมี.

498
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 499 (เล่ม 49)

พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง
ประโยชน์ของบุรุษนี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้
ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าว
ตักเตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉัน จะไม่พึง
ไปสู่นรกด้วยเถิด.
กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
วันนี้ ขอมหาบพิตร จงมีพระหทัยเลื่อมใส
ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็น
สรณะ จงทรงสิกขาบท อย่าให้ขาดและด่าง-
พร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรง
พูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทาน
อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอัน
ประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระ-
ราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอนและที่นั่ง คิลาน-
ปัจจัย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของกิน ผ้า เสนาสนะ
ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญทุก
เมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว
และน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคลเป็นผู้

499
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 500 (เล่ม 49)

ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ ตลอดคืน
และวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้น
จากการให้ผลพึงมี.
พระราชาตรัสว่า :-
วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระ-
พุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอสมาทานสิกขาบท ๕ ประการ ไม่ให้ขาด
ไม่ให้ด่างพร้อย ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก-
ทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวคำเท็จ
ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐเป็น
กุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต
ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าวน้ำ ของเคี้ยว
ของกิน ผ้าและเสนาสนะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต
จักไม่กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนา ของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเจ้าลิจฉวี ทรงพระนาม
ว่า อัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่ง ในเมือง
เวสาลี ทรงมีศรัทธา มีพระหทัยอ่อนโยน ทรง
ทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์ โดยความ
เคารพ ในกาลนั้น บุรุษผู้ถูกเสียบด้วยหลาว

500
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 501 (เล่ม 49)

หายโรค เป็นสุขสบายดี เข้าถึงบรรพชา แม้ชน
ทั้งสองอาศัยกัปปิตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุ
สามัญญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ ย่อมมีผล
มากตั้งร้อย แก่วิญญูชนผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบ
ด้วยหลาว ได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุโสดาปัตติผล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสูปคจฺฉิตฺถ แปลว่า เข้าไปยัง
ที่ประทับ. บทว่า คิหิกิจฺจานิ ได้แก่ กิจแห่งขุมทรัพย์ที่ผู้ครองเรือน
พึงกระทำ. บทว่า วิเจยฺย ได้แก่ พึงเลือกถือเอาผ้าดี ๆ. บทว่า
ปฏิกฺกนฺตํ แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
กลับจากโคจร. บทว่า อโวจ ความว่า ได้ตรัสคำมีอาทิว่า ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเจ้าลิจฉวีในเมืองเวสาลี.
บทว่า วิทาลยนฺติ แปลว่า ย่อมฉีกทำลาย. บทว่า
ปาทกุฐาริกาหิ ได้แก่ จากเขียง คือเท้า. บทว่า ปาตยนฺติ แปลว่า
ย่อมตกลง.
บทว่า ติเณน แปลว่า แม้ด้วยปลายหญ้า. บทว่า มูฬฺหสฺส
มคฺคมฺปิ น ปาวทาสิ ความว่า พระองค์ไม่ได้บอกแม้ทางแก่คน
หลงทางว่า ด้วยคิดว่า บุรุษนี้จงวนเวียนไปทางโน้นทางนี้ ด้วยอาการ
อย่างนี้. จริงอยู่ พระราชานี้เป็นผู้มักล้อเล่น. บทว่า สยมาทิยาสิ
ความว่า ตนเองชิงเอาไม้เท้าจากมือของคนตาบอด. บทว่า สํวิภาคํ
กโรสิ ความว่า ทรงแบ่งส่วนหนึ่งจากวัตถุที่ตนบริโภคให้ไป.

501
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 502 (เล่ม 49)

ด้วยบทว่า ปจฺเจมิ ภนฺเต ยํ ตฺวํ วเทสิ นี้ พระราชาทรง
แสดงว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เฉพาะคำที่ท่านกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า
บาตรแตก สิ่งนั้นทั้งหมดนั่นแหละ ดิฉันทำและให้ผู้อื่นทำ. บทว่า
เอตมฺปิ ได้แก่ สิ่งนี้ดิฉันแม้ทำก็โดยประสงค์จะล้อเล่น.
บทว่า ขิฑฺฑา แปลว่า ด้วยการล้อเล่น. บทว่า ปสวิตฺวา
แปลว่า ก่อแล้ว. บทว่า เวเทติ แปลว่า ย่อมเสวย. บทว่า
อสมตฺตโภคี แปลว่า ผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์. เพื่อจะแสดงว่า เปรต
เป็นผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์นั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า เด็กหนุ่ม เป็นต้น.
บทว่า นคฺคนิยสฺส แปลว่า เป็นคนเปลือย. บทว่า กึ สุ ตโต
ทุกฺขตรสฺส โหติ ความว่า ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์กว่าความ
เป็นคนเปลือยของเปรตนั้น. บทว่า ยกฺขสฺสิมา คจฺฉนฺตุ ทกฺขิณาโย
ความว่า ขอทักษิณา คือผ้าที่ดิฉันให้นี้ จงสำเร็จแก่เปรต.
บทว่า พหุธา ปสตฺถํ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น พรรณนาไว้โดยประการมากมาย. บทว่า
อกฺขยธมฺมมตฺถุ แปลว่า ขอทานวัตถุนี้ จงอย่าสิ้นไปเป็นธรรม.
บทว่า อาจมยิตฺวา ได้แก่ บ้วนปากก่อนล้างมือและล้างเท้า.
บทว่า จนฺทนสารลิตฺตํ แปลว่า ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์. บทว่า
อุฬารวณฺณํ แปลว่า มีรูปอันประเสริฐ. บทว่า ปวาริตํ แปลว่า
แวดล้อมด้วยบริพารผู้มีความประพฤติคล้อยตาม. บทว่า ยกฺข-
มหิทฺธิปตฺตํ ได้แก่ ผู้มียักขฤทธิ คือเทพฤทธิ์ใหญ่. บทว่า ตเมนนโวจ
ตัดเป็น ตเมนํ อโวจ ได้ตรัสคำนี้นั้น.

502
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 503 (เล่ม 49)

ด้วยบทว่า เอกเทสํ อทาสิ ท่านกล่าวหมายถึงการให้ผ้า
อันเป็นส่วนหนึ่งในบรรดาปัจจัย ๔. บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความ
เป็นพยาน.
บทว่า มมาสิ ตัดเป็น เม อาสิ. บทว่า เทวตา เม มีวาจา
ประกอบความว่า ท่านได้เป็นเทวดาของเรา.
บทว่า วิปฺปฎิปนฺนจิตฺโต ได้แก่ มีจิตดำเนินตามมิจฉาทิฏฐิ
อธิบายว่า ผู้ละปฏิปทาอันชอบธรรม แล้วดำเนินปฏิปทาอันไม่
ชอบธรรม. บทว่า ยโตนิทานํ ได้แก่ มีสิ่งใดเป็นนิมิต คือ มายัง
สำนักของผู้ใดเป็นเหตุ.
บทว่า สํวิภชิตฺวา แปลว่า ทำการจำแนกทาน. บทว่า
สยํ มุเขนูปนิสชฺช ปุจฺฉ ความว่า ท่านจงอย่าส่งคนอื่นไป จงเข้า
ไปนั่งถามเฉพาะหน้าเลย.
บทว่า สนฺนิสินฺนํ แปลว่า นั่งประชุมกัน. บทว่า ลภิสฺสามิ
อตฺถํ ความว่า เราจักได้ประโยชน์แม้ที่เราปรารถนา. บทว่า
ปณิหิตทณฺโฑ แปลว่า ได้ตั้งอาญาในตัวไว้. บทว่า อนุสตฺตรูโป
ได้แก่ มีสภาวะเกี่ยวข้องในราชา. บทว่า วีสติรตฺติมตฺตา ความว่า
ล่วงไปประมาณ ๒๐ ราตรี. บทว่า ตาหํ ตัดเป็น ตํ อหํ. บทว่า
ยถามตึ แปลว่า ตามความชอบใจของเรา.
บทว่า เอตญฺจ อญฺญญฺจ ความว่า บุรุษนี้ที่ถูกเสียบหลาว
และบุรุษอื่นที่ถูกลงราชอาชญา. บทว่า ลหุํ ปมุญฺจ แปลว่า ปล่อย
โดยเร็ว. บทว่า โก ตํ วเทถ ตถา กโรนฺตํ ความว่า ใครใน

503
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 504 (เล่ม 49)

แคว้นวัชชีนี้พึงบอกผู้ทำกรรมอันชอบธรรมนั้นว่า จงอย่าปล่อย
อธิบายว่า ถึงใคร ๆ ก็ไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ติกิจฺฉกานญฺจ ได้แก่ ผู้เยียวยา.
บทว่า ยกฺขสฺส วโจ ได้แก่ คำของเปรต, ท่านแสดงว่า
ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้กระทำอย่างนั้น ตามคำของเปรตนั้น.
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรมคือบุญอันสามารถครอบงำ
กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน บทว่า กมฺมํ สิยา อญฺญตฺร
เวทนียํ ได้แก่ กรรมที่อำนวยผลให้เกิดในกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า เป็น
อโหสิกรรม ส่วนกรรมที่อำนวยผลให้เกิดในภพต่อ ๆ ไป ย่อม
เป็นผลที่จะพึงเสวยในภพอื่น คือ ภพต่อ ๆ ไป ในเมื่อยังเป็นไป
ในสังสารวัฏ.
บทว่า อิมญฺจ พระเถระกล่าวเพราะกระทำอธิบายว่า คำ
ที่ตนกล่าว ใกล้หรือประจักษ์แก่สิกขานั้น. บทว่า อริยํ อฏฺฐงฺคว-
เรนุเปตํ ความว่า อุโบสถศีลอันสูงสุดอันเข้าถึง คือประกอบด้วย
องค์ ๘ มีเจตนาอันงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ
เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์. บทว่า กุสลํ ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า
สุขุทฺริยํ แปลว่า มีสุขเป็นผล.
บทว่า สทา ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อบุคคลทำบุญ
คราวเดียวแล้วไม่อิ่มใจว่า พอละด้วยบุญเพียงเท่านี้ แล้วจึงบำเพ็ญ
สุจริตต่อ ๆ ไป บุญของเขา ย่อมเจริญยิ่งตลอดกาล หรือเมื่อเขา

504