No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 485 (เล่ม 49)

มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้จะให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม
ที่นอน ที่นั่ง ข้าว และน้ำแก่สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ข้าพระองค์
มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ปล่อย
กาย มีความเป็นผู้ฝืดเคือง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มตฺถิ กมฺมานิ สยํกตานิ ความว่า
เพราะเหตุที่บุญกรรมอันตนเองกระทำไว้ในกาลก่อน อันเป็นเหตุ
ให้ได้รับเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นในบัดนี้ ไม่ได้มีปรากฏแก่ข้าพระองค์.
บทว่า ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย ความว่า ผู้ใดพึงให้ทานแก่
สมณพราหมณ์แล้วพึงอุทิศส่วนบุญแก่ข้าพระองค์ว่า ขอบุญนี้จง
ถึงแก่เปรตโน้น ผู้นั้นย่อมไม่มี. บทว่า เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ
วุตฺติ ความว่า เพราะเหตุทั้งสองนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือยกาย
ไม่มีผ้าในบัดนี้ ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อหวังจะให้เปรตนั้นได้
เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ดูก่อนยักษ์ เหตุอะไร ๆ ที่จะให้ท่านได้
เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุที่ควรเชื่อ พอ
จะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้น
แก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ความว่า เหตุอะไร ๆ อัน
เป็นเหตุให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่ม พึงมีอยู่หรือหนอแล. บทว่า ยทตฺถิ

485
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 486 (เล่ม 49)

ตัดเป็น ยทิ อตฺถิ แปลว่า ถ้ามีอยู่.
ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะทูลบอกเหตุนั้นแก่พระราชา จึงได้
กล่าวคาถาว่า :-
ในนครเวสาลีนี้ ยังมีภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า
กัปปิตกะ เป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระ-
อรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
สำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอัน
สูงสุด มีวาจาน่าคบเป็นสหาย รู้ความประสงค์
ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี
พูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติ
อยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดา
และมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตก ไม่มีทุกข์
ไม่มีตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่
ถือเราถือเขา ไม่คดกาย วาจา ใจ ไม่มีอุปธิ
สิ้นกิเลสเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา ๓
มีความรุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะเป็น
ผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆ เห็นก็ไม่รู้
ว่าเป็นคนดี ในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียก
ท่านว่า มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ นัก
แน่นไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปใน
โลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่

486
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 487 (เล่ม 49)

แก่ภิกษุนั้น แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และท่านรับผ้านั้น
แล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์ผู้นุ่งห่ม
เรียบร้อย.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กปฺปิตโก นาม เปรตกล่าว
หมายเอาพระอุปัชฌายะของท่านพระอุบาลีเถระภายในชฏิล ๑,๐๐๐
องค์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่ใกล้นครเวสาลีนี้. บทว่า ฌายี ได้แก่
ผู้ได้ฌาน ด้วยฌานอันสัมปยุตต์ด้วยอรหัตตผล. บทว่า สีติภูโต ได้แก่
ผู้ถึงความเยือกเย็น ด้วยการเข้าไปสงบความกระวนกระวาย
และความเร่าร้อนแห่งกิเลสทั้งปวง. บทว่า อุตฺตมทิฏฺฐิปตฺโต
ได้แก่ ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิอันเป็นผลสูงสุด คือ อรหัตตผล.
บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาอ่อนหวาน. บทว่า สุวโจ
แปลว่า ผู้ว่าง่าย. บทว่า สฺวาคโม แปลว่า ผู้มาดีไป . บทว่า
สุปฺปฏิมุตฺตโก แปลว่า ผู้มีวาจาหลุดพ้นด้วยดี อธิบายว่า ผู้มีปกติ
กล่าวหลุดพ้น. บทว่า อรณวิหารี แปลว่า ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา-
วิหารธรรม.
บทว่า สนฺโต แปลว่า ผู้สงบกิเลส บทว่า วิธูโม ได้แก่
ปราศจากควัน คือ มิจฉาวิตก. บทว่า อนีโฆ แปลว่า ผู้ไม่มีทุกข์.
บทว่า นิราโส แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า มุตฺโต แปลว่า
ผู้หลุดพ้นจากภพทั้งปวง. บทว่า วิสลฺโล แปลว่า ผู้ปราศจาก
ลูกศรมีราคะเป็นต้น. บทว่า อมโม แปลว่า ผู้ปราศจากการถือ

487
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 488 (เล่ม 49)

ว่าเราว่าเขา. บทว่า อวงฺโ ก ได้แก่ ผู้ปราศจากการคด มีคดกาย
เป็นต้น. บทว่า นิรูปธี แปลว่า ผู้ละอุปธิมีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง
เป็นต้น. บทว่า สพฺพปปญฺจขีโณ แปลว่า ผู้สิ้นธรรมเครื่องเนิ่นช้า
มีตัณหาเป็นต้น. บทว่า ชุติมา ได้แก่รุ่งเรืองด้วยญาณอัน
ยอดเยี่ยม. บทว่า อปฺปญฺญาโต ได้แก่ ชื่อว่าผู้ไม่ปรากฏเพราะ
เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้ปกปิดคุณ.
บทว่า ทิสฺวาปิ น จ สุชาโน ความว่า แม้เห็นโดยความ
ลึกซึ้ง ก็ไม่เข้าใจได้ดีว่า มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา
อย่างนี้. บทว่า ชานนฺติ ตํ ยกฺขภูตา อเนชํ ความว่า ก็ท่านผู้
ประเสริฐ ย่อมรู้จักท่านผู้หนักแน่น คือผู้ปราศจากตัณหาว่า
เป็นพระอรหันต์. บทว่า กลฺยาณธมฺมํ ได้แก่ ผู้มีคุณมีศีลดีงาม
เป็นต้น.
บทว่า ตสฺส โยคว่า แก่ท่านพระกัปปิตกมหาเถระนั้น.
บทว่า เอกยุคํ ได้แก่ คู่ผ้าคู่หนึ่ง. บทว่า ทุเว วา ได้แก่ หรือว่า
คู่ผ้าสองคู่. บทว่า มมุทฺทิสิตฺวาน ได้แก่ อุทิศข้าพระองค์. บทว่า
ปฏิคฺคหีตานิ จ ตานิ อสฺสุ ความว่า และคู่ผ้าเหล่านั้นพึงเป็นของ
อันพระเถระนั้นรับแล้ว. บทว่า สนฺนทฺธทุสฺสํ ได้แก่ ผู้ทำการ
นุ่งห่มผ้า อธิบายว่า ได้ผ้าแล้ว คือนุ่งห่มผ้าแล้ว.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามถึงที่อยู่ของพระเถระว่า :-
บัดนี้ พระสมณะนั้นอยู่ประเทศไหน เรา
จักไปพบท่านได้ที่ไหน ใครจักพึงแก้ไขความ

488
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 489 (เล่ม 49)

สงสัยสนเท่ห์อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็น
ของเราได้ในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺมึ ปเทเส แปลว่า ในประเทศ
ไหน. บทว่า โย มชฺช ตัดเป็น โย อชฺช, ม อักษรทำการเชื่อมบท.
ลำดับนั้น เปรตจึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านอยู่ที่เมือง กปินัจจนา มีหมู่เทวดา
เป็นอันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนามจริงแท้ และเป็น
ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปินจฺจนายํ ได้แก่ ในประเทศ
อันได้โวหารว่า กปินัจจนา เพราะเป็นที่ฟ้อนรำของพวกลิง. บทว่า
สจฺจนาโม ได้แก่ ผู้มีนามตามเป็นจริง คือผู้มีนามไม่ผิดแผกด้วย
คุณนามมีอาทิว่า ผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้
หลุดพ้น.
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนั้น พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไป
ยังสำนักของพระเถระในขณะนั้นทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจักไปทำตานที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จัก
ให้พระสมณะนั้นครองผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้า
เหล่านั้นอันพระสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และ
เราจักคอยดูท่านนุ่งห่มผู้เป็นอันดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสามิ แปลว่า จักกระทำ.

489
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 490 (เล่ม 49)

ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะแสดงว่า พระเถระย่อมแสดงธรรม
แก่เทพยดาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหา
จึงกล่าวคาถาว่า :-
ข้าแต่พระเจ้าลิจฉวี ข้าพระองค์ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้า
หาบรรพชิตในเวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหา
บรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรมเนียม
ที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์
เสด็จเข้าไปหาในเวลาอันสมควร ก็จักทรงเห็น
ภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัด ในที่นั้นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า
ทูลขอร้อง. บทว่า โว ลิจฺฉวิ เนส ธมฺโม ความว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาอันไม่สมควรนี้ ไม่เป็น
ธรรมเนียมของพระองค์ผู้เป็นพระราชา. บทว่า ตตฺเถว คือใน
ที่นั้นนั่นเอง.
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนี้ พระราชาทรงรับคำแล้ว เสด็จไป
พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ให้คนถือคู่ผ้า ๘ คู่ ในเวลาอันสมควร
อีก แล้วเข้าไปหาพระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับคู่ผ้า
๘ คู่นี้. พระเถระได้ฟังดังนั้น เพื่อจะสั่งสนทนาด้วย จึงทูลว่า ข้าแต่
มหาบพิตร เมื่อก่อนพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญทาน มีแต่จะเบียดเบียน

490
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 491 (เล่ม 49)

สมณพราหมณ์เท่านั้น มีพระประสงค์จะถวายผ้าอันประณีต
อย่างไรได้. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกเหตุ
แก่ท่าน จึงได้ตรัสบอกถึงการที่เปรตมา และเรื่องที่เปรตกับ
พระองค์กล่าว แก่พระเถระ จึงได้ถวายผ้าแล้วอุทิศเปรต. ด้วย
เหตุนั้น เปรตจึงนุ่งห่มผ้าอันเป็นทิพย์ ประดับตกแต่ง ขึ้นม้า
ได้ปรากฏข้างหน้าพระเถระและพระราชา. พระราชาครั้นทรงเห็น
ดังนั้นแล้ว ทรงพอพระทัย เบิกบานพระหฤทัย เกิดปีติโสมนัส
ตรัสว่า เราเห็นผลแห่งกรรมโดยประจักษ์หนอ บัดนี้ เราจักไม่
กระทำความชั่ว จักกระทำแต่บุญเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้ทรงการทำ
สักขีพยานกับเปรตนั้น. และเปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี ตั้งแต่วันนี้ ถ้าพระองค์ละอธรรม ประพฤติธรรมไซร้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จักเป็นสักขีพยานแก่พระองค์ และ
ข้าพระองค์จักมายังสำนักของพระองค์ และขอพระองค์จงให้บุรุษ
ผู้ที่ถูกหลาวเสียบ หลุดจากหลาวโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น
ก็จักรอดชีวิต ประพฤติธรรมพ้นจากทุกข์ และพระองค์จงเข้าไป
หาพระเถระตามกาลอันควร ฟังธรรม บำเพ็ญบุญดังนี้แล้วก็ไป.
ลำดับนั้นพระราชาไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปยังพระนคร
รีบให้ประชุมบริษัทลิจฉวี ให้คนเหล่านั้นอนุญาต ให้บุรุษนั้น
พ้นจากหลาว รับสั่งพวกพยาบาลว่า จงทำบุรุษนี้ ให้หายโรค.
ก็แล ครั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว จึงตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ผู้ที่ทำกรรมอันเป็นเหตุไปสู่นรกแล้ว ดำรงอยู่ จะพึงพ้นจากนรก

491
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 492 (เล่ม 49)

หรือไม่หนอ. พระเถระทูลว่า พึงพ้นได้ มหาบพิตร ถ้าผู้นั้นทำบุญ
ให้มากก็พ้นได้ จึงให้พระราชาตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พระราชา
ตั้งอยู่ในสรณะและศีลนั้นแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ. ได้
เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบเป็นผู้หายโรค เกิด
ความสังเวช บวชในหมู่ภิกษุ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตต์.
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงได้กล่าวคาถา
ทั้งหลายว่า :-
พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวด
ล้อมไปด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จไปใน
พระนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังพระนครนั้นแล้ว
จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ในนิเวศน์ของ
พระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ทรงสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว ได้เวลาอัน
สมควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ รับสั่งให้
หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้า
ไปในประเทศนั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น
สมณะรูปหนึ่ง ผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่
โคจร เป็นผู้เยือกเย็น นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้น
ได้ตรัสถามสมณะนั้น ถึงความเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย การอยู่สำราญ และตรัสบอกนามของ
พระองค์ให้ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน

492
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 493 (เล่ม 49)

เป็นกษัตริย์ลิจฉวี อยู่ในเมืองเวสาลี ชาวลิจฉวี
เรียกดิฉันว่า อัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่
นี้ ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉันมาในที่นี้
ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมีความ
ปลาบปลื้มใจนัก.
พระเถระทูลถามว่า :-
สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น
พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร แต่ที่ไกลทีเดียว
เพราะพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตรย่อม
แตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีกทำลาย เมื่อก่อน
สมณะทั้งหลาย มีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจาก
เขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิต
เช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตร ทำการ
เบียดเบียนแล้ว มหาบพิตร ไม่เคยพระราชทาน
แม้แต่น้ำมัน สักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทาง
ให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้าจากมือคนตาบอด
เสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวม
เช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตร ทรง
เป็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจกจ่ายกับอาตมภาพ
ทั้งหลายเล่า.

493
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 494 (เล่ม 49)

พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันขอรับผิด ดิฉัน
ได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำที่ท่านพูด
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน มีความประสงค์จะล้อเล่น
ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านี้
ดิฉันทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะน้อย
ได้สั่งสมบาป เพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์
ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์แก่ความเปลือยกาย
ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเห็น
เหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงให้
ทาน เพราะเหตุนั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า
๘ คู่นี้ ทักษิณาที่ดิฉันถวายนี้ จงสำเร็จผลแก่
เปรตนั้น.
พระเถระทูลว่า :-
เพราะการให้ทาน นักปราชญ์ทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญไว้โดยมากแท้
และเมื่อพระองค์ถวายทานวัตถุ จงอย่ามีความ
หมดเปลืองไปเป็นธรรม อาตมภาพรับผ้า ๘ คู่
ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ
ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวี ทรง
ชำระพระหัตถ์ และพระบาทแล้ว ทรงถวายผ้า

494