No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 55 (เล่ม 49)

ดิรัจฉานนั้น ตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของ
สัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนพราหมณ์. นี้แล ก็จัด
เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทานแก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.
ก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติปาต ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ ฯลฯ ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเทวโลก
นั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์
แม้นี้ก็เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน แก่ผู้สถิตย์
อยู่เลย.
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา
ย่อมเข้าถึงเปตวิสัย เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตวิสัยนั้น
ย่อมตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ ผู้เกิดในเปต-
วิสัยนั้น ก็หรือว่าย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป ในเปตวิสัยนั้น ย่อม
ตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัย ที่พวกมิตร อำมาตย์ หรือ
พวกญาติสาโลหิตของเขา เพิ่มให้จากมนุษยโลกนี้, ดูก่อนพราหมณ์
นี้แล เป็นฐานะอันสมควร อันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน แก่ผู้
สถิตย์อยู่แล.
ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วนั้น ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ใครเล่าจะ

55
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 56 (เล่ม 49)

บริโภคฐานะอันสมควรนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ พวกญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วแม้เหล่าอื่น ของเขาย่อมเข้าถึงฐานะอันสมควรนั้น
ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วเหล่านั้น ย่อมบริโภคฐานะอันควรนั้น.
ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญก็ถ้าญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วนั้นนั่นแล ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ทั้ง
ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว แม้เหล่าอื่นของเขาก็ย่อมไม่เข้าถึงฐานะ
อันควรนั้น ใครเล่า จะบริโภคฐานะอันควรนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
โอกาสแล ที่จะพึงว่าจากญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว โดยกาลนาน
เช่นนี้. ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ถึงทายกก็ย่อมเป็นผู้ไม่ไร้ผลแล.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง ความไม่มีเหตุที่พวกผู้เกิดในเปรต-
วิสัย จะได้รับสมบัติ มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น อย่างอื่น
ในเปตวิสัยนั้น และการยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่พวกญาติ
ให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า น หิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ ความว่า
ในเปตวิสัยนั้น กสิกรรมที่พวกเปรตจะอาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบาย
ไม่มีเลย. บทว่า โครกฺเขตฺถ น วิชฺชติ ความว่า ในเปตวิสัยนั้น
ไม่ใช่จะไม่มีแต่กสิกรรมอย่างเดียวเท่านั้น ถึงโครักขกรรม ที่
พวกเปรตเหล่านั้น อาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบายก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า
วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ ความว่า ถึงพาณิชยกรรมอันเป็นเหตุให้

56
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 57 (เล่ม 49)

เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติ ก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า หิรญฺเญน กยากยํ
ความว่า ในเปตวิสัยนั้น แม้การซื้อขายด้วยเงินตรา อันจะเป็นเหตุ
ให้เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า อิโต ทินฺเนน
ยาเปนฺติ เปตา กาลคตา ตหึ ความว่า อนึ่ง เปรตเหล่านั้น ย่อม
เลียงชีพคือ ยังอัตตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่ญาติหรือมิตร อำมาตย์
ให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้อย่างเดียว. บทว่า เปตา ได้แก่ เหล่าสัตว์
ผู้เกิดในเปตวิสัย. บทว่า กาลคตา ได้แก่ ผู้จะไปตามเวลาตาย
ของตน. ปาฐะว่า กาลกตา ดังนี้ก็มี. ความว่า ผู้ทำกาละแล้ว คือ
ผู้ตายไปแล้ว ได้แก่ ผู้ถึงมรณะ. บทว่า ตหึ ได้แก่ ในเปตวิสัยนั้น.
บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความตามที่กล่าวแล้ว โดยอุปมา
จึงตรัส ๒ คาถาว่า อุนฺนเม อุทกํ จุฏฺฐํ ดังนี้เป็นต้น. ความ ๒ คาถา
นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ฝนตกลงในที่ดอน คือ ในประเทศที่ดอน
ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม คือ ย่อมไหลไปตามภูมิภาคที่ลุ่ม ฉันใด
ทานที่พวกญาติให้จากมนุษยโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมสำเร็จ
แก่พวกเปรต คือ ย่อมไม่พรากพ้นไปจากการเกิดผล. จริงอยู่
เปตโลก เป็นฐานะอันสมควร เพื่อการสำเร็จแห่งทานเหมือนที่ตุ่ม
เป็นฐานะอันสมควรแก่การไหลไปแห่งน้ำ. สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า ก่อนพราหมณ์ นี้แหละ เป็นฐานะอันสมควร ซึ่งเป็นที่
สำเร็จแห่งทานของผู้สถิตอยู่. อนึ่งทานที่พวกมนุษย์ให้แล้วแต่
มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่พวกเปรต โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน
เหมือนห้วงน้ำ คือแม่น้ำใหญ่ เต็มด้วยน้ำที่ไหลมาจากซอกเขา

57
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 58 (เล่ม 49)

ห้วงระแหง หนอง และบึงแล้ว ไหลบ่าไปเต็มสาครฉะนั้น.
เพราะเหตุที่เปรตทั้งหลายจกความหวังครอบงำว่า พวกเรา
จะได้อะไรอย่างจากที่นี้ แม้มายังเรือนของญาติก็ไม่อาจขอร้องว่า
ท่านทั้งหลายจงให้สิ่งชื่อนี้แก่พวกเรา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า
กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงวัตถุที่ระลึกเหล่านี้ของญาติเหล่านั้น
จึงพึงให้ทักขิณา จึงตรัสคาถาว่า อทามิ เม ดังนี้เป็นต้น
คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงสิ่งนี้
ทั้งหมดว่า คนโน้นให้ทรัพย์หรือธัญญาหารชื่อนี้แก่เรา คนโน้น
ถึงความพยายามด้วยตนเอง ได้กระทำกิจชื่อนี้แก่เรา คนโน้นชื่อว่า
เป็นญาติเพราะเกี่ยวพันทางฝ่ายมารดาหรือบิดาของเรา คนโน้น
ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะสามารถรักษาด้วยอำนาจความสิเนหา
คนโน้นชื่อว่าเป็นสหายเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันของเรา จึงพึงให้
ทักษิณา คือพึงมอบให้ทานแก่เปรตทั้งหลาย. บาลีว่า ทกฺขิณา
ทชฺชา ดังนี้ก็มี. แปลว่า พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย. ด้วย
บทว่า ทกฺขิณา ทชฺชา นั้น ท่านกล่าวอธิบายว่า กุลบุตรเมื่ออนุสรณ์
คือ หวนระลึกถึงอุปการะที่ญาติกระทำไว้ในกาลก่อน โดยนัย
มีอาทิว่า คนโน้นได้ให้เรา. จริงอยู่ บทว่า อนุสฺสรํ นี้ เป็นปฐมาวิภัติ
ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ.
เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีทุกขธรรม มี
ความร้องไห้และความเศร้าโศกเป็นต้น เป็นเบื้องหน้า เพราะ

58
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 59 (เล่ม 49)

ความตายของญาตินั่นเอง คงดำรงอยู่ ไม่ให้อะไร ๆ แก่ญาติผู้
ล่วงลับไปแล้วนั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้และความเศร้าโศก
เป็นต้น นั้นของสัตว์เหล่านั้น เป็นเพียงทำตนให้เดือดร้อนอย่างเดียว
เท่านั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้สละความเศร้าโศกเป็นต้นนั้น
ย่อมไม่ยังประโยชน์อะไร ๆ ให้สำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย จึงตรัส
คาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงย้ำถึงทักษิณาที่
พระเจ้ามคธถวายว่ามีประโยชน์ จึงตรัสความของคำเหล่านั้นมี
อาทิว่า อยญฺจ โข ดังนี้ในภายหลัง.
เพราะเหตุที่พระราชาเมื่อทรงถวายทักษิณานี้ ชื่อว่าแสดง
ออกถึงญาติธรรม โดยกระทำกิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ
ให้ปรากฏแก่ชนเป็นอันมาก คือทรงกระทำการแสดงออกให้ปรากฏ
ว่า แม้ท่านทั้งหลายก็พึงบำเพ็ญญาติธรรมในญาติทั้งหลายให้
บริบูรณ์ ด้วยอาการอย่างนี้แหละ. อนึ่ง เมื่อพระองค์ทำให้พวกเปรต
เหล่านั้นได้รับทิพยสมบัติ ชื่อว่าทำการบูชาแก่เปรตทั้งหลายให้ยิ่ง,
เมื่อให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้สำราญด้วยข้าว
และน้ำเป็นต้น ชื่อว่าตามเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อทำ
จาคเจตนาอันมีคุณมีการอนุเคราะห์เป็นต้น เป็นเครื่องประกอบ
ให้เกิด ชื่อว่าทรงขวนขวายปัญหาประมาณมิได้ ฉะนั้น บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำพระราชาให้ร่าเริงด้วยคุณ
ตามที่เป็นจริงเหล่านี้ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า โส ญาติธมฺโม
ดังนี้เป็นต้น

59
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 60 (เล่ม 49)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ญาติธมฺโม ได้แก่ การกระทำ
กิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ. บทว่า อุฬารา แปลว่า
ให้แพร่หลาย กว้างขวาง. บทว่า พลํ ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า
ปสุตํ แปลว่า สั่งสมแล้ว. ก็ในคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า โส ญาติธมฺโม
จ อยํ นิทสฺสิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอ้างธรรมิกถา
กะพระราชา. จริงอยู่ การแสดงอ้างในที่นี้ หมายถึงการแสดง
ญาติธรรม. พระองค์ทรงชักชวนด้วยคำนี้ว่า และทรงกระทำ
การบูชาแก่พวกเปรตให้ยิ่ง. ก็การสรรเสริญในคำว่า ยิ่ง นี้ เป็น
การชักชวนให้ทำการบูชาบ่อย ๆ. ทรงให้อาจหาญด้วยคำนี้ว่า
และทรงเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย. จริงอยู่ ในที่นี้ การเพิ่ม
ให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการให้อาจหาญโดยการเพิ่มอุตสาหะ
ในการเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้. ทรง
ให้ร่าเริงด้วยคำนี้ว่า พระองค์ชื่อว่าทรงขวนขวายบุญหาประมาณ
มิได้. ในที่นี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในที่นี้ การระบุถึงการ
ประสพบุญ ก็คือการทำให้ร่าเริง โดยการสรรเสริญคุณตาม
ความเป็นจริงของบุญนั้น.
ก็ในเวลาจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐
ผู้มีใจสลดด้วยการพรรณนาโทษของการเกิดในเปตวิสัย ผู้เริ่ม
โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ในวันที่ ๒ ก็ทรงแสดงติโรกุฑฑเทศนา
กัณฑ์นี้แหละ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมาภิสมัย เช่นนั้น
นั่นแหละได้มีด้วยอาการอย่างนี้ ถึง ๗ วันแล.
จบ อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

60
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 61 (เล่ม 49)

๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ
ว่าด้วยความหิวของนางเปรต
พระสังฆเถระถามว่า :-
[๙๑] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณเลวทราม มี
กลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลงวันพากันตอม
เกลื่อนกล่น ท่านเป็นใครหนอมายืนอยู่ในที่นี้.
หญิงเปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติ
เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมอันลามกจึงต้อง
จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เวลาเช้าคลอดบุตร ๕ คน
เวลาเย็นอีก ๕ คน แล้วกินลูกเหล่านั้นหมด ถึง
บุตร ๑๐ คนเหล่านั้นก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิว
ของดิฉัน หัวใจของดิฉันเร่าร้อนอยู่เป็นนิจเพราะ
ความหิว ดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ขอท่านจงดู
ดิฉันผู้ถึงความพินาศเช่นนี้เถิด.
พระเถระถามว่า :-
เมื่อก่อน ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย
กาย วาจา ใจ หรือท่านกินเนื้อบุตรทั้งหลาย
เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร.
หญิงเปรตนั้นตอบว่า :-

61
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 62 (เล่ม 49)

เมื่อก่อน หญิงร่วมสามีของดิฉันคนหนึ่ง
มีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีใจประทุษร้าย ได้ทำ
ให้ครรภ์ตกไป เขามีครรภ์ ๒ เดือนเท่านั้น ไหล
ออกเป็นโลหิต ครั้งนั้น มารดาของเขาโกรธดิฉัน
เชิญพวกญาติมาประชุมซักถาม ให้ดิฉันทำการ
สบถและขู่เข็ญให้กลัว ดิฉันได้กล่าวคำสบถและ
มุสาวาทอย่างแรงว่า ถ้าดิฉันทำชั่วอย่างนี้ ขอให้
ดิฉันกินเนื้อบุตรเถิด ฉันมีกายอันเปื้อนด้วยหนอง
และโลหิต กินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่ง
กรรม คือ การทำให้ครรภ์ตกและการพูดมุสา
ทั้งสองนั้น.
จบ ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุที่ ๖
อรรถกถาปัญจปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๖
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
ถึงนางเปรตผู้เคี้ยวกินบุตร ๕ คน จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า มีภรรยาของกฏุมพีคนหนึ่ง ในหมู่บ้านไม่ไกล
แต่กรุงสาวัตถี เป็นหญิงหมัน. พวกญาติของกฏุมพีคนนั้น ได้พากัน
กล่าวดังนี้ว่า ภรรยาของเจ้าเป็นหมัน พวกเราจะนำหญิงสาวคนอื่น
มาให้เจ้า. เพราะความสิเนหาในภรรยานั้น เขาจึงไม่ปรารถนา

62
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 63 (เล่ม 49)

(ภรรยาอื่น). ลำดับนั้น ภรรยาของกฏุมพีนั้น ทราบเรื่องนั้นแล้ว
จึงกล่าวกะสามีอย่างนี้ว่า นาย ฉันเป็นหมัน ควรจะนำหญิงอื่นมา
(เป็นภรรยา) วงศ์ตระกูลของท่านจะได้ไม่ขาดสูญ เธอเมื่อถูก
ภรรยารบเร้าจะแต่งงานกะหญิงอื่น. ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์.
หญิงหมันมีความริษยาเป็นปกติ คิดว่า หญิงนี้ได้บุตรแล้ว จักเป็น
ใหญ่แก่เรือนนี้ จึงหาอุบายให้ครรภ์ของนางตกไป จึงเกลี่ยกล่อม
ปริพาชิกาคนหนึ่งด้วยข้าวและน้ำเป็นต้น ให้ทำครรภ์ของนาง
ให้ตกไป นางเมื่อครรภ์ตกไปก็ไห้แจ้งให้มารดาของตนทราบ
มารดาให้ประชุมพวกญาติของตนแล้วแจ้งความนั้นให้ทราบ. ญาติ
เหล่านั้นได้กล่าวกะหญิงหมันดังนี้ว่า เจ้าทำครรภ์ของหญิงนี้
ให้ตก หญิงหมันตอบว่า ฉันไม่ได้ทำให้ตก ก็จงสบถ. หญิงหมัน
กล่าวเท็จทำการสบถว่า ถ้าฉันทำครรภให้ตก ฉันก็จะพึงมีทุคติ
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ถูกความหิวกระหายครอบงำ ขอให้คลอดบุตร
ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ครั้งละ ๕ คน แล้วกินเสีย ก็ยังไม่อิ่ม ขอให้
ฉันมีกลิ่นเหม็นเป็นนิจ และถูกแมลงวันไต่ตอม. ไม่นานนักนาง
ก็ทำกาละบังเกิดเป็นนางเปรต มีรูปร่างขี้เหร่อยู่ไม่ไกลบ้านนั้น
นั่นเอง.
ในกาลนั้น พระเถระ ๘ รูป ออกพรรษาในชนบท มายังกรุง
สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระศาสดา จึงเข้าไปพักในราวป่าอันสมบูรณ์
ด้วยร่มเงาและน้ำ ไม่ไกลแต่บ้านนั้น. ลำดับนั้น นางเปรตนั้นได้

63
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 64 (เล่ม 49)

แสดงตนแก่พระเถระทั้งหลาย. ในพระเถระเหล่านั้น พระสังฆเถระ
ได้ซักถามนางเปรตนั้นด้วยคาถาว่า
เจ้าเปลือยกาย มีรูปพรรณขี้เหร่ ส่งกลิ่น
เหม็นเน่าฟุ้ง แมลงวันจับเป็นกลุ่ม เจ้าเป็นใคร
มายืนอยู่ในที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคฺคา แปลว่า ผู้ไม่มีผ้า. บทว่า
ทุพฺพณฺณรูปาสิ ความว่า เจ้าเป็นผู้มีรูปขี้เหร่ คือประกอบด้วย
รูปน่าเกลียดพิลึก. บทว่า ทุคฺคนฺธา คือ มีกลิ่นไม่น่าปรารถนา.
บทว่า ปูติ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นเหมือนซากศพ เหม็นคลุ้งออกจากกาย.
บทว่า มกฺขิกาหิ ปริกิณฺณา ได้แก่ พวกแมลงวันหัวเขียวจับกลุ่มอยู่
โดยรอบ. บทว่า กา นุ ตฺวํ ติฎฺฐติ ความว่า เจ้าเป็นใคร มีรูปเห็น
ปานนี้ มายืนอยู่ที่นี้, อธิบายว่า เที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้
ลำดับนั้น นางเปรตนั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนั้น เมื่อ
จะประกาศตน จะให้เหล่าสัตว์เกิดความสลด จึงได้กล่าว ๓ คาถานี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติเกิดใน
ยมโลก เพราะกระทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลก
นี้ไปสู่เปตโลก. เวลาเช้าดิฉันคลอดบุตร ๕ คน
เวลาเย็นอีก ๕ คน แล้วกินลูกเหล่านั้นทั้งหมด
ถึงลูก ๑๐ คนเหล่านั้น ก็ไม่อาจบันเทาความหิว
ของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันเร่าร้อนหมกหมุ่น

64