No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 45 (เล่ม 49)

ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น. พระราชาตรัสถามว่า เมื่อหม่อมฉันถวาย
ทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า ? พระ-
ศาสดาตรัสว่า ได้ มหาบพิตร. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดรับทานของ
ข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้, ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรต
เหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับนิมนต์ด้วยดุษฎีภาพ.
พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทาน
แล้ว ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับนั่งบน
อาสนะที่บรรจงจัดไว้. เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเรา
จะพึงได้อะไรเป็นแน่ ดังนี้ จึงได้พากันยืนอยู่ในที่ต่าง ๆ มีภายนอก
ฝาเรือนเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงการทำโดยที่พวกเปรต
เหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา. พระราชาเมื่อจะทรงหลั่ง
น้ำทักษิโณทก จึงอุทิศว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติ
เถิด. ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดาระดาษด้วยกลุ่มดอกกมล
ได้บังเกิดแก่พวกเปรต. เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระ
โบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลำบาก และ
ความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคำ. พระราชา ถวายข้าวยาคู
ของเคี้ยว และของบริโภคแล้วทิศให้. ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู
ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรต เหล่านั้น. เปรต
เหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้นแล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์

45
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 46 (เล่ม 49)

กระปรี้กระเปร่า. ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้า, ที่นอน, และที่นั่ง
แล้วอุทิศให้. เครื่องประดับมีชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาด
และที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น. และ
สมบัติของเปรตเหล่านั้นทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏแก่พระราชา โดย
ประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานไว้. พระราชาทรง
ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก. ลำดับนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เสวยพระกระยาหารแล้ว ทรงห้ามภัตรแล้ว เพื่อจะ
ทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้ตรัสติโรกุฑฑเปตวัตถุว่า
เปรตทั้งหลายพากันมาเรือนของตน
แล้วยืนอยู่ภายนอกฝาเรือน ที่ตรอก กำแพง และ
ทางสามแพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อ
ข้าว น้ำ ของกิน ของบริโภคเพียงพอ เขาเข้าไป
ตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึก
ไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เป็นปัจจัย เหล่าชน
ผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด
ประณีต สมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทาน
ที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า
ขอทานนี้แล จงสำเร็จผล แก่ญาติทั้งหลายของ
เรา ขอญาติทั้งหลายของเรา จงเป็นสุขเถิด ส่วน
เปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมนุมในที่นั้น
เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่เพียงพอ ย่อมอนุโมทนาโดย

46
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 47 (เล่ม 49)

เคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด
ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีอายุยืนนาน การ
บูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้ว แก่เราทั้งหลาย
และญาติทั้งหลาย ผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปต
วิสัยนั้น กสิกรรมและโครักขกรรมไม่มี การ
ค้าขายเช่นนั้นก็ไม่มี การซื้อการขายด้วยเงินตรา
ก็ไม่มี สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกาละละไปแล้วในเปรต
วิสัยนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยทานที่
ทายกให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ น้ำฝนอันตกลง
ในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติ
หรือมิตรให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล
แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่
เต็มแล้วย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอัน
ญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จ
ผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตร
เมื่อหวนระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทำแล้วในกาล
ก่อนว่า คนโน้นได้ให้สิ่งของแก่เราแล้ว คนโน้น
ได้ทำอุปการคุณแก่เราแล้ว ญาติมิตรและสหาย
ได้ให้สิ่งของแก่เราและได้ช่วยทำกิจของเรา ดังนี้
พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ด้วยว่า การ
ร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การพิไรร่ำไรก็ดี

47
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 48 (เล่ม 49)

ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่
เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่เปรตทั้งหลาย ญาติ
ทั้งหลายก็คงดำรงอยู่อย่างนั้น อันทักษิณานี้แล
ที่ให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จเพื่อ
ประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน.
ญาติธรรม มหาบพิตร ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว
การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาบพิตรก็
ทรงกระทำแล้ว และพลังกายมหาบพิตรก็ได้เพิ่ม
ให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมีประมาณไม่น้อย
มหาบพิตรก็ได้ทรงขวนขวายแล้วแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ได้แก่ ที่ส่วนอื่น
ของฝา (เรือน). คำว่า ติฏฺฐนฺติ นี้ เป็นคำกำหนดการยืน โดย
ปฏิเสธการนั่งเป็นต้น, อธิบายว่า ยืนอยู่ภายนอกประตูบ้าน กำแพง
และฝาเรือน. บทว่า สนธิสงฺฆาฏเกสุ จ ได้แก่ ที่ตรอก ๔ แพร่ง
และที่ทาง ๓ แพร่ง. บทว่า สนฺธิ ได้แก่ ตรอก ๔ แพร่ง. เรียก
ที่ต่อเรือน ที่ต่อฝา และที่ต่อหน้าต่างก็มี. บทว่า สิงฺฆาฏกา ได้แก่
ตรอก ๓ แพร่ง. บทว่า ทฺวารพาหาสุ ติฏฺฐนฺติ ได้แก่ ยืนพิงฝา
ประตูเมืองและประเรือน. บทว่า อาคนฺตฺวาม สกํ ฆรํ ความว่า
เรือนของญาติในครั้งก่อนก็ดี เรือนที่ตนครอบครอง โดยความเป็น
เจ้าของก็ดี ชื่อว่าเรือนของตน เพราะเหตุที่พวกเปรตเหล่านั้น

48
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 49 (เล่ม 49)

มายังเรือนแม้ทั้งสองชนิดนั้น ด้วยความเข้าใจว่าเรือนของตน ฉะนั้น
จึงตรัสว่า มายังเรือนของตน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแก่พระราชาถึงพวกเปรต
เป็นอันมาก ผู้มีรูปแปลกไม่น่าดู ทั้งดูน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ผู้เสวย
ผลของความริษยาและความตระหนี่ ผู้มายังพระราชนิเวศน์ของ
พระเจ้าพิมพิสาร แม้ตนจะไม่เคยครอบครองอยู่ในกาลก่อน ด้วย
สำคัญว่าเป็นเรือนของตน เพราะเป็นเรือนของญาติในกาลก่อน
แล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยประการอย่างนี้ จึงตรัส
คาถาว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เมื่อจะทรงแสดงซ้ำว่า กรรมที่
พวกเปรตเหล่านั้นทำเป็นของโหดร้าย จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า ปหูเต
อนฺนปานมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูเต แปลว่า ไม่น้อย คือ มาก,
อธิบายว่า เพียงพอแก่ความต้องการ. จริงอยู่ แปลง พ อักษร เป็น
ป อักษรก็ได้ เหมือนในประโยคทีมีอาทิว่า ปหุ สนฺโต น ภราติ
สัปบุรุษเป็นจำนวนมาก ย่อมไม่เต็ม (ด้วยความรู้). ส่วนอาจารย์
บางพวกกล่าวว่า พหุเก ดังนี้. ก็นั่น เป็นการกล่าวด้วยความเลินเล่อ.
บทว่า อนฺนปานมฺหิ แปลว่า เมื่อข้าวและน้ำ. บทว่า ขชฺชโภชฺเช
แปลว่า เมื่อของเคี้ยวและของบริโภค. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงอาหาร
ทั้ง ๔ ชนิดคือ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว และของลิ้ม. บทว่า
อุปฏฺฐิเต แปลว่า เข้าไปตั้งไว้ คือ ตระเตรียมไว้, อธิบายว่า
จัดแจงไว้. บทว่า น เตสํ โกจิ สรติ สตฺตานํ ความว่า ใคร ๆ

49
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 50 (เล่ม 49)

จะเป็นมารดา บิดา บุตร หรือหลานก็ตาม ของสัตว์เหล่านั้น คือ
ผู้เกิดในเปตวิสัยระลึกไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า
เพราะกรรมเป็นปัจจัย, อธิบายว่า เพราะกรรมคือความตระหนี่
อันต่างโดยการไม่ให้และการปฏิเสธการให้เป็นต้น ที่ตนทำไว้
เป็นเหตุ. กรรมนั้นแหละ ทำให้พวกญาติเหล่านั้น ระลึกไม่ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความไม่มีแม้แต่การ
หวนระลึก ของพวกญาติเพราะผลกรรมของพวกเปรต ผู้หวังเฉพาะ
ต่อพวกญาติ ในเมื่อข้าวและน้ำเป็นต้น แม้มีประมาณไม่น้อย ก็มีอยู่
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญทานที่พระราชาถวาย
อุทิศพวกญาติผู้เกิดในเปตวิสัย จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า เอวํ ททนฺติ
ญาตีนํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นคำอุปมา. บทว่า เอวํ นั้น
เชื่อมความได้ ๒ ประการ คือ บรรดาญาติบางพวก แม้ที่ระลึกไม่ได้
เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย ญาติบางพวกผู้อนุเคราะห์
อย่างนั้น ก็ย่อมให้แก่พวกญาติ และคือพวกญาติผู้อนุเคราะห์ ย่อม
ให้น้ำและข้าวอันสะอาด ประณีต อันสมควรตามกาลแก่ญาติทั้งหลาย
เหมือนทานที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ททนฺติ แปลว่า ย่อมให้ คือ อุทิศให้ มอบให้. บทว่า ญาตีนํ ได้แก่
ชนผู้เกี่ยวเนื่องกัน ทางมารดาและบิดา. บทว่า เย ได้แก่ ชนเหล่าใด
เหล่าหนึ่งมีบุตรเป็นต้น. บทว่า โหนฺติ แปลว่า ย่อมเป็น. บทว่า
อนุกมฺปกา ได้แก่ ผู้ต้องการประโยชน์ คือ ผู้แสวงหาประโยชน์

50
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 51 (เล่ม 49)

เกื้อกูล. บทว่า สุจึ ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่นใจ และประกอบด้วยธรรม.
บทว่า ปณีตํ ได้แก่ โอฬาร. บทว่า. กาเลน ได้แก่ โดยกาลอัน
เหมาะสมแก่การบริโภคของพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย หรือโดย
กาลที่เปรตผู้เป็นญาติมายืนอยู่ที่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น. บทว่า
กปฺปิยํ ได้แก่ ควร คือเหมาะสม ได้แก่ สมควรเพื่อการบริโภค.
ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ปานโภชนํ แปลว่า น้ำ และข้าว.
ก็ในที่นี้โดยการแสดงอ้างถึงบทว่า ปานโภชนะ นั้น พระองค์ตรัส
ถึงไทยธรรมทุกอย่าง.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงประการอันเป็นเหตุ ชื่อว่าเป็นอันญาติ
ให้แล้วแก่เปรตเหล่านั้น จึงตรัสกึ่งคาถาเบื้องต้น ด้วยคาถาที่ ๔ ว่า
อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ดังนี้เป็นต้น. กึ่งเบื้องต้น
แห่งคาถาที่ ๔ นั้น พึงเชื่อมกับกึ่งเบื้องต้นแห่งคาถาที่ ๓ ว่า :-
ญาติผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้แก่พวกญาติ
ด้วยเจตนาอุทิศอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จ
แก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงได้รับ
ความสุขเถิด.
ด้วย เอวํ ศัพท์นั้น อันมีอาการเป็นอรรถว่า ญาติทั้งหลาย
ย่อมให้โดยประการอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
ไม่ให้โดยประการอื่น เป็นอันชื่อว่า กระทำการแสดงออกถึงอาการ
ที่จะพึงให้.

51
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 52 (เล่ม 49)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ เป็นบทแสดงออกถึงไทยธรรม.
บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต, เหมือน โว อักษร ในประโยคมีอาทิว่า
เยหิ โว อริยา. บทว่า ญาตีนํ โหตุ แปลว่า จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
ผู้เกิดในเปตวิสัย. แต่บางอาจารย์กล่าวว่า โน ญาตีนํ, อธิบายว่า
แก่ญาติทั้งหลาย ของพวกเรา. บทว่า สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ความว่า
พวกญาติผู้เข้าถึงเปตวิสัยเหล่านั้น เมื่อเสวยผลนี้ คือ จงมีความสุข
ได้แก่ ได้รับความสุข.
เพราะเหตุที่กรรมอันบุคคลอื่นกระทำ แม้ในเมื่อพวกญาติ
กล่าวว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่ให้ผล
แก่คนอื่น ก็สิ่งนั้นที่เขาให้อุทิศอย่างนั้น ล้วนเป็นปัจจัยแก่กุศลกรรม
แก่พวกเปรตผู้เป็นญาติ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงประการที่กุศลกรรม
อันบังเกิดผลแก่เปรตเหล่านั้นในที่นั้น คือ ในขณะนั้นนั่นเอง จึงตรัส
คำมีอาทิว่า เต จ ตตฺถ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ เปรตผู้เป็นญาติ.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่ที่พวกญาติให้ทาน. บทว่า สมาคนฺตฺวา
ได้แก่ เป็นผู้ประชุมกันในที่นั้น เพื่ออนุโมทนาว่า พวกญาติเหล่านี้
ของพวกเรา อุทิศทานเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา. บทว่า ปหูเต
อนฺนปานมฺหิ ได้แก่ เมื่อสิ่งของนั้น ที่พวกญาติให้อุทิศตน. บทว่า
สกฺกจฺจํ อนุโมทเร ความว่า เชื่อกรรมและผลของกรรม ไม่ละ
ความยำเกรง เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมบันเทิงใจ ย่อมเบิกบานใจ

52
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 53 (เล่ม 49)

เกิดปีติโสมนัสขึ้นว่า ขอทานของพวกเรานี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์
สุขเถิด.
บทว่า จิรํ ชีวนฺตุ ได้แก่ ขอจงมีชีวิตยืนนาน คือมีอายุยืนนาน.
บทว่า โน ญาตี ได้แก่ ญาติทั้งหลายของพวกเรา. บทว่า เยสํ เหตุ
ได้แก่ เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด คือ เพราะอาศัยญาติเหล่าใด.
บทว่า ลภามเส ความว่า ย่อมได้สมบัติเช่นนี้. จริงอยู่ บทนี้ เป็นบท
แสดงอาการที่พวกเปรตผู้เสวยสมบัติที่ได้ด้วยการอุทิศชมเชยพวก
ญาติของตน. จริงอยู่ ทักษิณาย่อมบังเกิดผลแก่พวกเปรตในขณะนั้น
ด้วยองค์ ๓ ประการคือ ด้วยตนอนุโมทนา ๑ ด้วยทายกอุทิศให้
ด้วยการถึงพร้อมด้วยพระทักขิไทยบุคคล ๑. ในองค์ทั้ง ๓ นั้น
ทายกเป็นเหตุพิเศษ. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เยสํ เหตุ ลภามเส
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ความว่า การบูชา เป็นอันทายก
ผู้อุทิศให้อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด
กระทำแก่พวกเรา และทายกเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ผล เพราะ
ให้ผลในสันดานเป็นที่บังเกิดแห่งกรรมอันสำเร็จด้วยการบริจาค
นั้นนั่นแล.
ก็ในข้อนี้มีผู้ท้วงถามว่า ก็เฉพาะพวกญาติผู้เข้าถึงเปตวิสัย
ย่อมได้เหตุสมบัติเท่านั้นหรือ หรือว่า คนอื่นก็ได้. ก็ในข้อนี้ พวกเรา
ไม่จำต้องกล่าว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว.

53
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 54 (เล่ม 49)

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน (ทสกนิบาต
อังคุตรนิกาย) ว่า :-
ชานุสโสณีพราหมณ์ ทูลถามว่า "ท่านพระโคดมผู้เจริญ
พวกข้าพเจ้า ได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำบุญด้วย-
เชื่อว่า ทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติ-
สาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงบริโภคทานนี้. ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้น
ย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วละหรือ ญาติสาโลหิต
ผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้บริโภคทานนั้นละหรือ ? พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จใน
ฐานะอันควรแล ย่อมไม่สำเร็จในฐานะที่ไม่ควร.
ชานุสโสณี. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ฐานะที่ควรเป็นไฉน ฐานะ
ที่ไม่ควรเป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในนรก
นั้น เขาตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของพวกสัตว์นรก ดูก่อน
พราหมณ์ นี้แลเป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน
แก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.
ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ. เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์

54