บิดาผู้แก่เฒ่าตาบอด. คนธรรพ์ ชื่อมุสิละ ชาวอุชเชนี ได้ทราบถึงความ
สำเร็จทางศิลปะของอาจารย์คุตติละนั้น จึงเข้าไปหาทำความเคารพแล้วยืน
ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่ออาจารย์คุตติการละกามว่า ท่านมีธุระอะไรหรือ จึงบอกว่า
ประสงค์จะเรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์. อาจารย์คุตติละมองดูมุสิละ
คนธรรพ์นั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการดูลักษณะ คิดว่า เจ้านี้มีอัธยาศัย
ไม่เรียบร้อยหยาบคาย จักเป็นคนไม่รู้จักคุณคน ไม่ควรสงเคราะห์ ดังนี้
จึงไม่ให้โอกาสที่จะเรียนศิลปะ มุสิละจึงเข้าไปหามารดาบิดาของอาจารย์
คุตติละ ขอร้องให้มารดาบิดาช่วย. อาจารย์คุตติละ เมื่อถูกมารดาบิดา
แค่นได้ จึงคิดว่า ถ้อยคำของครู ควรแก่ค่า ดังนี้ จึงเริ่มบอกศิลปะแก่
มุสิละ เพราะอาจารย์คุตติละปราศจากความตระหนี่ และเพราะมีความ
กรุณาจึงไม่ทำอาจริยมุฏฐิ (หวงความรู้) ให้มุสิละศึกษาศิลปะโดยสิ้นเชิง.
แม้มุสิละนั้น เพราะเป็นคนฉลาด เพราะสะสมบุญมาก่อนและ
เพราะไม่เกียจคร้าน ไม่ช้าก็เรียนจบศิลปะจึงคิดว่า กรุงพาราณสีนี้ เป็น
นครเลิศในชมพูทวีป ถ้ากระไร เราควรแสดงศิลปะแก่บริษัทหน้าพระที่นั่ง
ในนครนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยิ่งกว่าอาจารย์
ในชมพูทวีป ดังนี้. มุสิละ จึงบอกแก่อาจารย์ว่า กระผมประสงค์จะ
แสดงศิลปะหน้าพระที่นั่ง ขอท่านอาจารย์ได้โปรดนำกระผมเข้าเฝ้าด้วยเถิด.
พระมหาสัตว์ มีความกรุณาว่า มุสิละนี้ เรียนศิลปะในสำนักของเราจงได้
รับอุปถัมภ์ ดังนี้ จึงนำเขาเข้าเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตรดูความชำนิ
ชำนาญในการดีดพิณของลูกศิษย์ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้นี้เถิด พระเจ้าข้า
พระราชาตรัสสั่งว่า ดีแล้ว ทรงสดับการดีดพิณของมุสิละนั้น พอพระทัย