No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 242 (เล่ม 48)

ตามอำนาจของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อ
พี่ยังเป็นสาว พี่ไม่นอกใจสามี มีจิตเลื่อมใส เป็น
ที่โปรดปรานของสามี พร้อมทั้งพี่น้อง บิดามารดา
ของสามี ตลอดคนใช้ชายหญิง พี่จึงได้ยศอันบุญ
กรรมจัดมาให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึง
ได้วิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่นในฐานะ ๔ คือ อายุ
วรรณะ สุขะ พละ ได้เสวยความดีมิใช่น้อย.
เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้พูดกับ
เจ้าพี่ทั้ง ๓ ว่า ข้าแต่เจ้าพี่ทั้ง ๓ เจ้าพี่ลดาได้บอก
ถ้อยคำน่าฟังมากมิใช่หรือ น้องถามถึงเรื่องที่พวกเรา
สงสัยกันมาก ก็บอกได้อย่างไม่ผิดพลาด เจ้าพี่ลดา
ควรเป็นตัวอย่างอันดี สำหรับพวกเราทั้ง ๔ และนารี
ทั้งหลาย พวกเราทั้งหมดพึงประพฤติในสามี เหมือน
อย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามีฉะนั้น ครั้นเรา
ทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือการอนุเคราะห์ต่อสามีด้วย
ฐานะทั้ง ๕ อย่างแล้ว ก็จะได้สมบัติอย่างที่เจ้าพี่
ลดาพูดถึงอยู่เดี๋ยวนี้ พญาราชสีห์ตัวสัญจรไปตามราว
ป่าใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนภูเขา แล้วก็เที่ยวตะครุบ
จับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่น้อยทุก ๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหาร
ได้ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้
ก็ฉันนั้น เมื่อยังอาศัยสามีอยู่ ควรประพฤติยำเกรง
สามี ฆ่าความโกรธเสีย กำจัดความตระหนี่เสียได้

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 243 (เล่ม 48)

แล้ว เขาผู้ประพฤติธรรมโดยชอบจึงรื่นเริงบันเทิง
ใจอยู่บนสวรรค์.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ลตา จ สชฺชา ปวรา อจฺฉิมุตี สุตา
เป็นชื่อของเทพธิดาเหล่านั้น. บทว่า ราชวรสฺส ได้แก่ ท้าวเทวราช ผู้
ประเสริฐ คือประเสริฐที่สุดกว่ามหาราช ๔. อธิบายว่า เป็นบริจาริกา
ของท้าวสักกะ บทว่า รญฺโญ ได้แก่ มหาราช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เวสฺสวณสฺส ธีตา ธิดาของท้าวเวสสวัณ. บทนี้ประกอบเป็น
เอกพจน์ เป็นคำคลาดเคลื่อน ที่ถูกควรเป็น ธีตโร ธิดาทั้งหลาย.
ชื่อว่า ราชี เพราะรุ่งเรืองคือรุ่งโรจน์. บทว่า ราชี ได้แก่ มีความรู้
มีปัญญา มีความรุ่งเรือง บทนี้เป็นวิเสสนะของเทพนารีทั้งหมดเหล่านั้น.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทนี้ เป็นชื่อของเทพธิดานี้. ตามมติของ
อาจารย์บางพวกเหล่านั้น บทว่า ปวรา เป็นวิเสสนะของเทพนารีเหล่านั้น.
บทว่า ธมฺมคุเณหิ ได้แก่ ด้วยคุณอันประกอบด้วยธรรม คือ ไม่ปราศ-
จากธรรม อธิบายว่า ด้วยคุณตามความเป็นจริง. บทว่า โสภิตา
ได้แก่ รุ่งเรือง.
บทว่า ปญฺเจตฺถ นาริโย ได้แก่ เทพธิดามีชื่อตามที่กล่าวแล้ว
๕ องค์ ในหิมวันตประเทศนี้. บทว่า สีโตทกํ อุปฺปลินึ สิวํ นทึ
ท่านกล่าวหมายถึงปากน้ำอันไหลนาจากสระอโนดาต. บทว่า นจฺจิตฺวา
คายิตฺวา ท่านกล่าวด้วยสามารถการฟ้อนรำขับร้องที่เทพธิดาเหล่านั้น
กระทำแล้วในเทวสมาคมตามคำสั่งของท้าวเวสสวัณผู้เป็นพระบิดา. บทว่า
สุตา ลตํ พฺรวิ ได้แก่ นางสุดาเทพธิดาบอกกับนางลดาเทพธิดาพี่สาว

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 244 (เล่ม 48)

ของตน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุตา ลตํ พฺรวุํ ดังนี้ก็มี ความว่า
นางสุดาเทพธิดา ธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราชบอกกับนางลดาเพพธิดา.
บทว่า ติมิรตมฺพกฺขิ ได้แก่ มีดวงตาประกอบด้วยสีแดงคล้ายเกสร
ดอกจิก. บทว่า นเภว สโภเณ ได้แก่ งานเหมือนท้องฟ้า อธิบายว่า
สดใสเพราะอวัยวะน้อยใหญ่บริสุทธิ์ดุจท้องฟ้าพ้นจากส่วนเล็กน้อย ที่เกิด
ขึ้นมีหมอกเมฆเป็นต้นในสรทสมัยงดงามอยู่ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
นเภว ตัดบทเป็น นเภ เอว บนท้องฟ้านั่นเอง. เอวศัพท์เป็น
สมุจจยัตถะ ( ความรวม). อธิบายว่า งามในทุกแห่งคือในวิมานอันตั้ง
อยู่บนอากาศ และในที่อันเนื่องกับพื้นดินมีภูเขาหิมวันต์ และเขายุคนธร
เป็นต้น. บทว่า เกน กโต ได้แก่เกิดขึ้นด้วยบุ อะไร คือเช่นไร. บทว่า
ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ และชื่อเสียง. อนึ่ง คุณทั้งหลายอันเป็นเหตุให้
มีชื่อเสียงท่านใช้ด้วยศัพท์ว่า กิตฺติสทฺท.
บทว่า ปติโน ปิยตรา ได้แก่ เป็นที่รักของสามี คือเป็นที่โปรด-
ปรานของสามี. ท่านแสดงถึงความงามของนางลดาเทพธิดานั้นด้วยบทว่า
ปติโน ปิยตรา นั้น. บทว่า วิสิฏฺฐกลฺยาณิตรสฺสุ รูปโต ได้แก่
วิเศษสุด งามยิ่ง ดียิ่ง ด้วยรูปสมบัติ. บทว่า อสฺสุ เป็นเพียงนิบาต.
อนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิสิฏฺฐกลฺยาณิตราสิ รูปโต มีรูปร่าง
สะสวยยิ่งนัก. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ ฉลาดทุกอย่างและวิเศษด้วย.
บทว่า นจฺจน ในบทว่า นจฺจนคีตวาทิเต นี้ ได้ลบวิภัตติทิ้ง. ควรเป็น
นจฺเจ จ คีเต จ วาทิเต จ ในการฟ้อนรำ ในการขับร้อง และใน
การบรรเลง. บทว่า นรนาริปุจฺฉิตา ได้แก่ เทพบุตรเทพธิดาถามว่า
นางลดาเทพธิดาไปไหน นางทำอะไร ดังนี้ เพื่อเห็นรูปและเพื่อดูศิลปะ.

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 245 (เล่ม 48)

ชื่อเทวร เพราะยินดีดุจเทวดาเพราะไม่คลุกคลีทางกายเป็นนิจ หรือ
เพราะเป็นญาติผู้ใหญ่. ชื่อว่า สเทวร เพราะพี่น้องของสามีพร้อมด้วย
ญาติผู้ใหญ่. แม่ผัวพ่อผัวชื่อว่า สสุระ พร้อมด้วยพ่อผัวแม่ผัวจึงชื่อว่า
สัสสสุระ. พร้อมด้วยทาสชายและหญิงชื่อว่า สทาสก เชื่อมด้วยบทว่า
ปติมาภิราธยึ เป็นที่โปรดปรานของสามี. บทว่า ตมฺหิ กโต คือใน
ตระกูลนั้น. อธิบายว่า ได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมาให้ในขณะเป็น
สะใภ้ ด้วยการเกิดแห่งบุญที่ได้ทำไว้ในขณะที่เกิดนั้น. บทว่า มม นี้
เปลี่ยนเป็น มยา ไม่เพ่งถึงบทว่า กโต.
บทว่า จตุพฺภิ ฐาเนหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง หรือเป็น
นิมิตในฐานะ ๔ อย่าง. บทว่า วิเสสมชฺฌคา ได้แก่ ถึงความเป็นผู้
วิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่น. แสดงโดยสรุปของคำที่กล่าวว่า ด้วยฐานะ
๔ อย่างคือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า อายุเป็นต้น
ของนางลดาเทพธิดานั้นชื่อว่า วิเศษ เพราะมีสภาพวิเศษที่สุดกว่าเทพธิดา
เหล่าอื่น อนึ่ง ชื่อว่าเป็นฐานะ เพราะความเป็นเหตุ ที่นางลดาเทพธิดา
นั้นควรถือเป็นแบบอย่างด้วยการยกย่อง คือ ได้ถึงความเป็นผู้วิเศษ.
โยชนาว่า อายุ วรรณะ สุขะ และพละ เป็นเช่นไร.
บทว่า สุตํ นุ ตํ ภาสติ ยํ อยํ ลตา ความว่า นางสุดาเทพธิดา
ถามเจ้าพี่ทั้ง ๓ นอกนี้ว่า เจ้าพี่ลดานี้เป็นพี่สาวของพวกเรากล่าวคำใดไว้
พวกพี่ก็ได้ยินคำนั้นแล้วมิใช่หรือ หรือไม่ได้ยิน. บทว่า ยํ โน ได้แก่ คำ
ใดที่พวกเราสงสัย. บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โน อีกคำหนึ่ง
คือ ของพวกเรา. หรือลงในอวธารณะดุจในประโยคมีอาทิว่า น โน
สมํ อตฺถิ ความว่า ไม่เหมือนพวกเรา. ด้วยเหตุนั้น เจ้าพี่พยากรณ์ไม่

245
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 246 (เล่ม 48)

ผิดพลาด. อธิบายว่า พยากรณ์ไม่วิปริต.
บทว่า ปติโน กิรมฺหากํ วิสิฏฺฐา นารีนํ คติ จ ตาสํ ปวรา จ
เทวตา ความว่า เจ้าพี่เป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมของพวกเราและของนารี
ทั้งหลาย และเป็นที่พึ่งของนารีเหล่านั้น ธรรมดาสามีชื่อว่าเป็นเจ้าของ
เพราะคุ้มครองจากความพินาศ และเป็นเทวดาผู้ประเสริฐสงสุด เพราะ
เป็นที่พึ่งของแม่บ้านทั้งหลายเหล่านั้น ทำให้เกิดความยินดีโดยชอบ เป็น
ผู้นำประโยชน์สุขมาให้ทั้งเดี๋ยวนี้และต่อไป.
บทว่า ปตีสุ ธมฺมํ ปริจราม สพฺพา ความว่า พวกเราทั้งหมด
จงประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติมีการตื่นก่อนเป็นต้น ในสามีของตน ๆ.
บทว่า ยตฺถ ได้แก่ นิมิตใด. หรือเมื่อประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติในสามี
ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นหญิงยำเกรงสามี. บทว่า ลจฺฉามเส ภาสติ ยํ อยํ
ลตา ความว่า พวกเราประพฤติธรรมในสามีทั้งหลาย จักได้สมบัติ
อย่างที่เจ้าพี่ลดาพูดว่าจะได้ในบัดนี้.
บทว่า ปพฺพตสานุโคจโร ได้แก่ พญาราชสีห์ตัวเที่ยวไปตามราวป่า
ใกล้ภูเขา. บทว่า มหินฺธรํ ปพฺพตมาวสิตฺวา ความว่า อาศัยอยู่บนภูเขา
ชื่อว่ามหินธร เพราะทรงแผ่นดินไว้ ไม่หวั่นไหว. ในบทนั้นความว่า
อาศัยอยู่. ก็บทว่า มหินฺธรํ ปพฺพตมาวสิตฺวา นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลง
ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติเพราะไม่เพ่งถึงบทว่า อาวสิตฺวา. บทว่า ปสยฺห
แปลว่า ข่มขู่. บทว่า ขุทฺเท ความว่า พญาราชสีห์นั้นฆ่าสัตว์มีช้าง
เป็นต้น น้อยใหญ่โดยประมาณด้วยกำลัง.
บทว่า ตเถว ความว่า นี้เป็นการอธิบายความพร้อมด้วยข้อ
เปรียบเทียบเชิงอุปมาด้วยคาถา เหมือนอย่างว่า สีหะอาศัยอยู่บนภูเขาอัน

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 247 (เล่ม 48)

เป็นที่อยู่ และที่หาอาหารของตนย่อมสำเร็จประโยชน์ตามที่ตนต้องการ
ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอริยสาวิกา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัย
อยู่กับสามีผู้เป็นใหญ่เป็นภัสดา เพราะหาเลี้ยงหาใช้ด้วยของกินและเครื่อง
นุ่งห่มเป็นต้น ประพฤติยำเกรงสามีด้วยปฏิบัติเกื้อกูลสามีในทุก ๆ อย่าง
ฆ่าคือละความโกรธ อันเกิดขึ้นในเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง กำจัดคือ
ครอบงำไม่ให้เกิดความตระหนี่อันเกิดขึ้น ในของที่ครอบครองไว้ ชื่อว่า
เป็นหญิงประพฤติธรรม เพราะพระพฤติธรรมคือความยำเกรงสามีและ
ธรรมของอุบาสิกาโดยชอบ สตรีนั้นย่อมรื่นเริงคือย่อมถึงความบันเทิงใน
สวรรค์ คือเทวโลก. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาลดาวิมาน
๕. คุตติลวิมาน
ว่าด้วยคุตติลวิมาน
[๓๓] พระมหาสัตว์นามว่าคุตติลบัณฑิต อันสมเด็จอมรินทราธิราช
ทรงจำแลงองค์เป็นพราหมณ์โกสิยโคตร เสด็จเข้าไปหาทรงซักถามแล้ว
ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนให้ท้าวเธอทรงทราบด้วยคาถา ความ
ว่า
ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ
๗ สาย อันมีเสียงไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ ให้แก่
มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้า-

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 248 (เล่ม 48)

พระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของ
ข้าพระองค์ด้วย.
สมเด็จอมรินทราธิราช ทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรง
ปลอบยาจารย์ จึงตรัสปลุกใจด้วยคาถา ความว่า
จะกลัวไปทำไมนะ ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็น
ที่พึ่งของท่านอาจารย์ เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่าน
อาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ท่าน
อาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละ
ผู้เป็นศิษย์แน่นอน.
เมื่อสมเด็จอมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่ง
ใจคลายทุกข์ พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ใน
ที่สุด คุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้
ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จอมรินทรา-
ธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทว-
สถาน ครั้นกาลต่อมา สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพ
สารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับคุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณ-
ถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อ
ไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการ
ดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงได้ถามถึงบุรพกรรมของ
เทพธิดาเหล่านั้นว่า

248
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 249 (เล่ม 48)

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี
รัศมีส่องแสงสว่างไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เพราะบุญกรรมอะไร.
นางเทพธิดานั้น อันคุตติลบัณฑิตถามเหมือน
ท่านพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดี ได้
พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระ และนารี
ทั้งหลาย ได้ถวายผ้าอย่างดีผืนหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ดีฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน
อันน่าปลิมใจถึงเช่นนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด
ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณ
น่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีก
ด้วย เชิญดูผลแห่งบุญ คือการถวายผ้าอย่างดี
ทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เพราะบุญกรรมนั้น.
วิมานทั้ง ๔ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดาร
เหมือนวัตถทายิกวิมาน.
(๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

249
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 250 (เล่ม 48)

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก
ฯ ลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
กรรมอะไร.
นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม
แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง
ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-
หลาย ได้ถวายดอกมะลิอย่างดีแก่ภิกษุหนึ่ง ดีฉัน
ได้ถวายดอกมะลิอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน
น่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของ
ดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง
และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้ง
พันอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือการ
ถวายดอกมะลิอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญ
กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
(๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี
รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เพราะบุญกรรมอะไร.

250
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 251 (เล่ม 48)

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม
แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง
ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-
หลาย ได้ถวายจุรณของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ดีฉันได้ถวายอุรณของหอมอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้
ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดู
วิมานของดีฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้า
ที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่า
นางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล
แห่งบุญ คือ การถวายอุรณของหอมอย่างดีทั้งหลาย
นั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงาม
เช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะ
บุญกรรมนั้น.
(๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี
รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เพราะบุญกรรมอะไร.
นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

251