No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 232 (เล่ม 48)

จากกายตน พากันมาชื่นชมยินดีกับดีฉันผู้มีอายุยืน
มาสู่เทพวิมาน.
จบปัลลังกวิมาน
อรรถกถาปัลลังกวิมาน
ปัลลังกวิมาน มีคาถาว่า ปลฺลงฺกเสฏฺเฐ มณิโสวณฺณจิตฺเต
ดังนี้ เป็นต้น. ปัลลังกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ธิดาของอุบาสิกาคนหนึ่ง
ในกรุงสาวัตถี มารดาบิดายกให้กุลบุตรคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีนั้นเอง
เสมอกันทางตระกูลและประเทศเป็นต้น. ธิดานั้นเป็นหญิงไม่โกรธ ถึง
พร้อมด้วยศีลและมารยาท นับถือสามีดุจเทวดา สมาทานศีล ๕ และ
ในวันอุโบสถรักษาศีลอุโบสถโดยเคร่งครัด. ต่อมานางถึงแก่กรรมเกิดใน
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระไปเหมือนอย่างที่กล่าว
มาแล้วในหนหลัง ถามเทพธิดานั้นว่า
ดูก่อนเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านแผลงฤทธิ์ได้
ต่าง ๆ อยู่บนที่นอนอันโอฬาร เป็นบัลลังก์ประเสริฐ
วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ ลาดด้วยดอกไม้.
นางอัปสรเหล่านี้ ฟ้อนรำขับร้อง ให้ความบันเทิง
แก่ท่านโดยรอบ. เทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านเป็นผู้

232
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 233 (เล่ม 48)

สำเร็จฤทธิ์ เมื่อเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้
ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ผิวพรรณของท่าน
สว่างไปทั่วทิศด้วยธรรมอะไร ดังนี้.
แม้เทพธิดานั้นก็ได้ตอบด้วยคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า
ดีฉันเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นสะใภ้ใน
ตระกูลมั่งคั่ง. ดีฉันไม่โกรธ อยู่ในอำนาจของสามี
ในวันอุโบสถก็มิได้ประมาท. ดีฉันเป็นมนุษย์วัยสาว
มิได้เหลวไหล มีฐิตเลื่อมรสให้สามีโปรดปรานเป็น
ที่ยิ่ง เมื่อก่อนดีฉันได้เป็นหญิงมีศีล มีความประพฤติ
เป็นที่พอใจ. ดีฉันเว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ มีกาย
บริสุทธิ์ เป็นพรหมจารีนีที่สะอาด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่
พูดเท็จ ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาบททั้งหลาย. ดีฉัน
มีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม มีใจปลาบปลื้ม
เข้ารักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ในวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด
ปาฏิหาริยปักษ์ ครั้นดีฉันสมาทานกุศลอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เป็นอริยะนี้ มีความสุขเป็นกำไรแล้ว
ชาติก่อนดีฉันได้เป็นสาวิกาของพระสุคต ได้อยู่ใน
อำนาจของสามีเป็นอย่างดี ครั้นดีฉัน ทำกุศลกรรม
เช่นนี้ในขณะที่ยังมีชาติอยู่ เป็นผู้มีส่วนแห่งภพอัน
วิเศษ เมื่อถึงแก่กรรมลง ดีฉันได้เป็นเทพธิดาผู้มี

233
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 234 (เล่ม 48)

ฤทธิ์ ในอภิสัมปรายภพ มาสู่สวรรค์ หมู่เทพซึ่งมี
รัศมีซ่านออกจากกายตน ห้อมล้อมด้วยหมู่นางอัปสร
ในวิมานมีปราสาทอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ พากัน
ชื่นชมดีฉันผู้มีอายุยืนมาสู่เทพวิมาน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกเสฏฺเฐ ได้แก่ บัลลังก์อันประเสริฐ
คือบัลลังก์อันสูงสุด เพื่อแสดงความที่ที่นอนนั้นประเสริฐที่สุดจึงกล่าวว่า
มณิโสวณฺณจิตฺเต วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ. บนที่นอนเป็นบัลลังก์
อันประเสริฐ ที่ท่านกล่าวว่า ตตฺถ ในที่นั้น และ สยเน บนที่
นอนอันวิจิตรด้วยแก้วมณีรุ่งเรืองด้วยตาข่ายรัศมีแก้วหลายอย่าง. ชื่อว่า
บัลลังก์ประเสริฐที่สุดเป็นที่ที่ควรนอน. บทว่า เต คือ โดยรอบตัวท่าน.
ควรเปลี่ยนวิภัตติเป็น ตํ เพราะเพ่งถึงบทว่า ปโมทยนฺติ. อีกอย่าง
หนึ่ง บทว่า ปโมทยนฺติ ได้แก่ ทำความบันเทิง อธิบายว่า ยังความ
บันเทิงให้เกิดแก่ท่าน.
บทว่า ทหรา อปาปิกา ได้แก่ แม้เป็นสาวก็ไม่เป็นคนเหลวไหล
ปาฐะว่า ทหรา สุปาปิกา ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียวกัน คือไม่นอกใจ
ในสามีหนุ่ม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทหรสฺสา ปาปิกา ดังนี้บ้าง
ได้แก่ ไม่นอกใจสามีหนุ่ม. อธิบายว่า เป็นหญิงดีด้วยการปรนนิบัติ
โดยเคารพและด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปสนฺนจิตฺตา มีจิตเลื่อมใสแล้ว. บทว่า อภิราธยึ คือ ให้ยินดี. บทว่า
รตฺโต คือ ในกลางคืน.
บทว่า อโจริกา คือ เว้นจากการลักทรัพย์. อธิบายว่า เว้นจาก

234
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 235 (เล่ม 48)

การถือเอาของที่เขาไม่ให้. ปาฐะว่า วิรตา จ โจริยา ดังนี้บ้าง
อธิบายว่า เว้นจากความเป็นขโมย. บทว่า สํสุทฺธกายา ได้แก่ มีกาย
บริสุทธิ์ด้วยดี เพราะทำการงานทางกายบริสุทธิ์. จากนั้นเป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์อย่างสะอาด เพราะไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในผู้อื่นนอกจาก
สามี. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พวกเราไม่นอกใจภรรยา แม้ภรรยาก็ไม่นอก
ใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ ยกเว้น
ภรรยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล พวกเราจึงไม่ตาย
ตอนยังเป็นหนุ่มสาว ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุพฺรหฺมจารินี ได้แก่ เป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์สะอาด ด้วยสามารถแห่งมรรคพรหมจรรย์ คือ อุโบสถศีล
อันสะอาดบริสุทธิ์ประเสริฐ ประเสริฐที่สุด หรือพรหมจรรย์อันเป็นส่วน
เบื้องต้นความสมควร.
บทว่า อนุธมฺมจารินี ได้แก่ มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ของพระอริยะทั้งหลาย. โยชนาแก้ไว้ว่า ข้าพเจ้าเข้ารักษาอุโบสถประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นอริยะ เพราะไม่มีโทษดังที่ท่านกล่าวแล้ว
ตามลำดับนี้ หรือเพราะเป็นอริยะด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นอริยะดัง
ที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าเป็นกุศลธรรม เพราะอรรถว่าไม่เศร้าหมอง และเพราะ
อรรถว่าไม่มีโทษ ชื่อว่ามีสุขเป็นกำไร เพราะมีสุขเป็นวิบาก และเพราะ
มีสุขเป็นอานิสงส์.
บทว่า วิเสสภาคินี ได้แก่ เป็นผู้มีส่วนแห่งสมบัติภพอันวิเศษ คือ

235
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 236 (เล่ม 48)

เป็นทิพย์. บทว่า สุคติมฺหิ อาคตา ได้แก่ มา คือเข้าถึงสวรรค์ หรือ
มาในสุคติสวรรค์ คือทิพยสมบัติ. ปาฐะว่า สุคตึ หิ อาคตา มาสู่
สวรรค์ดังนี้บ้าง. บทว่า หิ ในบทนั้นเป็นเพียงนิบาต หรือมีความ
เป็นเหตุ. โยชนาแก้ว่า เพราะมาสู่สุคติ ฉะนั้น จึงเป็นผู้มีส่วนแห่งภพ
วิเศษ.
บทว่า วิมานปาสาทวเร ได้แก่ ในปราสาทอันสูงสุดในวิมาน
ทั้งหลาย หรือในปราสาทอันเลิศกล่าวคือวิมาน หรือดีฉัน อันหมู่นาง
อัปสรแวดล้อมแล้วในวิมาน อันเป็นปราสาทประเสริฐใหญ่หาประมาณ
มิได้ คำนวณไม่ได้ มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองบันเทิงอยู่. อีกอย่าง
หนึ่ง ควรนำบทว่า อมฺหิ มาประกอบด้วย. บทว่า ทีฆายุกึ โยชนาแก้
ว่า หมู่เทพพากันยินดีกับข้าพเจ้าผู้มีอายุยืน เพราะมีอายุยืนกว่าพวกเทพ
ชั้นต่ำ และเพราะมีอายุไม่น้อยกว่าพวกเทพที่เกิดในวิมานนั้น ผู้มาคือ
เข้าถึงเทพวิมานตามที่กล่าวแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปัลลังกวิมาน
๔. ลตาวิมาน
ว่าด้วยลตาวิมาน
[๓๒] นางเทพนารี ๕ องค์ มีความรุ่งเรือง มีปัญญา
งดงามด้วยคุณธรรม เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหา-
ราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑ นางสัชชาเทพธิดา ๑
นางปวราเทพธิดา ๑ นางอัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นาง

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 237 (เล่ม 48)

สุดาเทพธิดา ๑ ต่างเป็นนางบำเรอของท้าวสักกเทว-
ราชผู้ประเสริฐ มีสิริ ได้พากันไปยังแม่น้ำอันไหล
มาจากสระอโนดาต มีน้ำเยือกเย็น มีดอกอุบลน่า
รื่นรมย์ ในป่าหิมพานต์ เพื่อสรงสนาน ครั้นสรง
สนาน ฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริงสำราญใจในแม่น้ำแล้ว
จึงนางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพธิดาผู้พี่องค์-
ใหญ่ว่า เจ้าพี่จ๋า ผู้มีดวงตาเหลืองปนแดง มีร่าง
ประดับด้วยพวงมาลัยอุบล มีพวงมาลัยประดับเศียร
ผิวพรรณก็งดงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีอวัยวะทุก
ส่วนงดงามผ่องใส เหมือนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆ
หมอก มีอายุยืน ดีฉันขอถามเจ้าพี่ เพราะทำบุญ
อะไรไว้ เจ้าพี่จึงได้มียศมาก ทั้งเป็นที่รักและ
โปรดปรานของพระภัสดา มีรูปงานสะสวยยิ่งนัก
ทั้งฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และบรรเลงเป็นเยี่ยม
จนพวกเทพบุตรและเทพธิดาไต่ถามถึงเสมอ ๆ ขอ
โปรดได้บอกแก่หม่อมฉันด้วยเถิด.
นางเทพธิดาจึงตอบว่า
ครั้งพี่ยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นบุตร
สะใภ้ในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง พี่มิได้เป็นคนมัก
โกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชาของสามี ไม่
ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อพี่ยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้
ภักดีด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม พี่เป็นที่

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 238 (เล่ม 48)

โปรดปรานของสามีเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะพี่มีน้ำใจ
ผ่องใส ได้ทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของสามีพร้อม
ทั้งญาติชั้นผู้ใหญ่ และบิดามารดาของสามี ตลอดจน
คนใช้ชายหญิง พี่จึงได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมา
ให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึงได้เป็นผู้พิเศษ
กว่านางฟ้าพวกอื่น ในที่ ๔ สถาน คือ อายุ วรรณะ
สุขะ พละ ได้เสวยความยินดีมิใช่น้อย.
เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนี้แล้ว จึงได้พูดกับพี่สาวทั้งสามว่า
ข้าแต่เจ้าพี่ทั้งสาม เจ้าพี่ลดาได้แถลงถ้อยคำ
น่าฟังมากมิใช่หรือจ้ะ หม่อมฉันทูลถามถึงเรื่องที่
พวกเราชอบสงสัยกันมาก ก็กล่าวแก้ได้อย่างไม่ผิด
พลาด เจ้าพี่ลดาควรเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมสำหรับ
เราทั้งสี่และนารีทั้งหลาย มาเราทั้งปวงพึงประพฤติ
ธรรมในสามีทั้งหลาย เราทั้งปวงพึงประพฤติในสามี
เหมือนอย่างสตรีที่ดี ประพฤติยำเกรงสามี ฉะนั้น
ครั้นเราทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือ การอนุเคราะห์
ต่อสามีด้วยสภาพทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็จะได้สมบัติอย่าง
ที่เจ้าพี่ลดาพูดถึงอยู่ประเดี๋ยวนี้ พญาราชสีห์ตัว
สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนบรรพ
เขาหลวง แล้วก็เที่ยวตะครุบจับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่
น้อยทุก ๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหารได้ ฉันใด สตรี

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 239 (เล่ม 48)

ที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ ก็ฉันนั้น เมื่อ
ยังอาศัยภัสดาอยู่ ควรประพฤติยำเกรงสามี ฆ่าความ
โกรธเสีย กำจัดความตระหนี่เสียได้แล้ว เขาผู้
ประพฤติธรรมโดยชอบ จึงรื่นเริงบันเทิงใจอยู่บน
สวรรค์.
จบลตาวิมาน
อรรถกถาลตาวิมาน
ลตาวิมาน มีคาถาว่า ลตา จ สชฺชา ปวรา จ เทวตา ดังนี้
เป็นต้น. ลตาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ธิดาของอุบาสกคนหนึ่ง
ชาวเมืองสาวัตถี ชื่อว่า ลดา เป็นบัณฑิตฉลาด มีปัญญา ไปตระกูลสามี
ประพฤติตนเป็นที่ชอบใจของสามีและแม่ผัวพ่อผัว พูดจาน่ารัก ฉลาดใน
การสงเคราะห์บริวารชน สามารถจัดทรัพย์สมบัติในเรือนได้เรียบร้อย
ไม่มักโกรธ ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท ยินดีในการแจกจ่ายทาน ถือ
ศีล ๕ ไม่ขาด ได้เป็นหญิงไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถ.
ครั้นต่อมา นางถึงแก่กรรม เกิดเป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช
มีชื่อว่านางลดาเทพธิดาเหมือนกัน. นางลดาเทพธิดาได้มีน้องสาวอื่นอีก
๔ นาง คือ นางสัชชาเทพธิดา นางปวราเทพธิดา นางอัจฉิมุตีเทพธิดา
และนางสุดาเทพธิดา ท้าวสักกเทวราชนำนางทั้ง ๕ นั้นมาตั้งไว้ในฐานะ

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 240 (เล่ม 48)

เป็นนางบำเรอโดยให้เป็นหญิงฟ้อนรำ. แต่นางลดาเทพธิดาได้เป็นที่
โปรดปรานของท้าวสักกะมากเพราะนางฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง.
เมื่อนางเหล่านั้นมานั่งประชุมร่วมกันอย่างมีความสุข จึงเกิดถก
เถียงกันเกี่ยวกับความสามารถในการสังคีต. นางทั้งหมดจึงไปเฝ้าท้าว
เวสสวัณมหาราชถามว่า พ่อจ๋า บรรดาลูก ๆ คนไหนฉลาดในการฟ้อน
เป็นต้นจ้ะพ่อ ท้าวเวสสวัณมหาราชตรัสอย่างนี้ว่า ลูก ๆ จงไปที่ฝั่งสระ
อโนดาต ลูก ๆ เล่นสังคีต ในเทวสมาคมเถิด ณ ที่นั้น จักปรากฏ
ความวิเศษของพวกลูก. นางเหล่านั้นได้ทำตาม ณ เทวสมาคมนั้น เมื่อ
นางลดาฟ้อน พวกเทพบุตรไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยสภาพของตนได้. พวก
เทพบุตรพากันชื่นชมยินดี ไม่เคยมีความอัศจรรย์ใจมาก่อนเลย ต่างให้
สาธุการไม่ขาดสาย โห่ร้องด้วยความยินดี ยกผืนผ้าโบกไปมา ได้เกิด
โกลาหลยกใหญ่ดุจทำป่าหิมพานต์ให้สะท้านหวั่นไหว. ก็เมื่อนางนอกนั้น
ฟ้อน พวกเทพบุตรต่างนั่งนิ่งดุจนกดุเหว่าอยู่ในโพรง. ความวิเศษได้
ปรากฏแก่นางลดาเทพธิดา ในการขับกล่อมนั้นด้วยประการฉะนี้.
จึงบรรดาเทพธิดาเหล่านั้น ความสงสัยได้เกิดแก่นางสุดาเทพธิดา
ว่า พี่ลดานี้ทำกรรมอะไรไว้หนอจึงครอบงำพวกเราไว้ได้ทั้งวรรณะและ
ยศ ถ้ากระไรเราจะต้องถามกรรมที่พี่ลดาทำไว้. นางสุดาเทพธิดาจึงได้
ถามนางลดาเทพธิดา. แม้นางลดาเทพธิดาก็ได้ตอบให้นางสุดาเทพธิดา
ทราบ.
ท้าวเวสสวัณมหาราช ได้บอกความทั้งหมดนี้แก่ท่านมหาโมคคัล-
ลานเถระผู้จาริกไปยังเทวโลก พระเถระเมื่อจะกราบทูลความนั้น แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่มูลเหตุของคำถาม จึงกราบทูลว่า

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 241 (เล่ม 48)

คำถามของนางสุดาเทพธิดาว่าเทพนารี ๕ องค์
มีความรุ่งเรือง มีปัญญางามด้วยคุณธรรม เป็นธิดา
ของท้าวเวสสวัณมหาราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑
นางสัชชาเทพธิดา ๑ นางปวราเทพธิดา ๑ นาง
อัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นางสุดาเทพธิดา ๑ ต่างเป็น
นางบำเรอของท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐ ผู้มีสิริ
ได้พากันไปยังแม่น้ำอันไหลมาจากสระอโนดาต มี
น้ำเย็น มีดอกบัวน่ารื่นรมย์ ในป่าหิมพานต์ เพื่อ
สรงสนาน ครั้นสรงสนานฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริงใน
แม่น้ำนั้นแล้ว นางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพ-
ธิดาว่า พี่จ๋า ผู้ทรงพวงมาลัยดอกบัว มีพวงมาลัย
ประดับเศียร มีผิวงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีดวงตา
เหลืองปนแดง มีอวัยวะทุกส่วนงามผ่องใสดุจท้องฟ้า
ปราศจากเมฆหมอก มีอายุยืน น้องขอถามเจ้าพี่
เจ้าพี่ทำบุญอะไรไว้จึงมียศ ทั้งเป็นที่รักของพระสวามี
มีรูปงามสะสวยยิ่งนัก ทั้งฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
และบรรเลงเป็นเยี่ยม จนเทพบุตรเทพธิดาไต่ถาม
ถึงเสมอ ๆ ขอเจ้าพี่โปรดบอกแก่น้องด้วยเถิด.
นางลดาเทพธิดาตอบว่า
พี่เป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นสะใภ้ใน
ตระกูลมีสมบัติมาก พี่เป็นผู้ไม่โกรธ พี่ประพฤติ

241