No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 202 (เล่ม 48)

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิ-
หาริยปักษ์ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีลเสมอ เป็น
ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน
จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ
จากการดื่มน้ำเมา ดีฉันเป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕
มีปัญญาเฉลียวฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของ
พระโคดมผู้มีพระจักษุ และพระเกียรติยศ เพราะ
บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงเป็นผู้มีรัศมีเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ
รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น เมื่อจะแสดงโทษอย่างหนึ่งของตน จึงได้กล่าวคาถา
๗ คาถาอีกว่า
ฉันทะความพอใจเกิดขึ้นแก่ดีฉัน เพราะได้ฟัง
เรื่องสวนนันทนวันอยู่เนือง ๆ ดีฉันจึงตั้งจิตไปในสวน
นันทนวันนั้น ก็เข้าถึงสวนนันทนวันได้จริง ๆ ดีฉัน
มิได้ทำตามพระวาจาของพระศาสดาพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ ดีฉันนั้นตั้งจิตใจไว้ในภพอันเลว
จึงร้อนใจในภายหลัง.
ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า อุโปสถาติ มํ อญฺญึสุ ความว่า
คนทั้งหลายรู้จักดีฉันโดยชื่อนี้ว่า อุโบสถา. บทว่า สาเกตายํ แปลว่า
ในเมืองสาเกต.

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 203 (เล่ม 48)

บทว่า อภิกฺขณํ แปลว่าเนือง ๆ. บทว่า นนฺทนํ สุตฺวา ความว่า
เพราะได้ทราบทิพยสมบัติมีอย่างต่าง ๆ ในภพดาวดึงส์นั้นว่า ชื่อว่า
นันทนวัน ในภพดาวดึงส์เป็นเช่นนี้ และเป็นเช่นนี้. บทว่า ฉนฺโท
ได้แก่ ความพอใจในกุศลเป็นเหตุแห่งบุญกรรมที่จะให้บังเกิดในภพดาว-
ดึงส์นั้น หรือความพอใจด้วยอำนาจตัณหา อันเป็นความปรารถนาที่จะ
เกิดในภพดาวดึงส์นั้น. บทว่า อุปปชฺชถ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า
ตตฺถ ได้แก่ ในภพดาวดึงส์. จริงอยู่ เทพธิดากล่าวถึงเทวโลกนั้น แม้ด้วย
การอ้างถึงสวนนันทนวัน. บทว่า อุปปนฺนามฺหิ ความว่า ดีฉันเกิดแล้ว
คือได้บังเกิดแล้ว.
บาทคาถาว่า นากาสึ สตฺถุ วจนํ ความว่า ดีฉันไม่ได้ทำตาม
พระดำรัสที่พระศาสดาได้ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราสรรเสริญภพแม้มีประมาณน้อย ก็หามิได้. อธิบายว่า ไม่ละฉันทราคะ
ในภพทั้งหลาย. พระอาทิตย์เป็นโคดมโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็น
โคดมโคตร เพราะเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า พุทฺธสฺสาทิจฺจพนฺธุโน
เพราะทรงมีพระโคตร. อีกอย่างหนึ่ง เผ่าพันธุ์ของพระอาทิตย์ ชื่อว่า
อาทิจฺจพนฺธุ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง เผ่าพันธุ์ชื่อว่าพระ-
อาทิตย์ เพราะทรงอาศัยพระอาทิตย์นั้นแล้วเกิดในอริยชาติ หรือชื่อว่า
อาทิจจพันธุ์ เพราะทรงเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระอาทิตย์นั้น คือพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า
พระอาทิตย์ใดส่องแสงสว่าง กำจัดความมืด
ในยามมืด รุ่งโรจน์เป็นมณฑลดวงกลม มีอำนาจ

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 204 (เล่ม 48)

ความร้อนสูง ดูก่อนราหุ ท่านอย่ากลืนพระอาทิตย์นั้น
ซึ่งกำลังโคจรอยู่ในอากาศเลย ดูก่อนราหู ท่านจง
ปล่อยพระอาทิตย์ประชา [ บุตร ] ของเราเถิด.
บทว่า หีเน คือต่ำทราม เทพธิดากล่าวถึงความยินดีในภพของตน.
บทว่า สามฺหิ ตัดบทเป็น สา อมฺหิ แปลว่าดีฉันนั้น.
เมื่อเทพธิดานั้นประกาศความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นอันความยินดีในภพ
สร้างไว้อย่างนี้แล้ว พระเถระเพื่อจะปลอบใจด้วยมุข คือชี้แจงอายุของ
ภพที่กำหนดไว้ว่า การตั้งอยู่ในอัตภาพมนุษย์ต่อไปแล้วก้าวล่วงทุกข์ใน
วัฏฏะเสีย จะทำก็ทำได้ง่าย และว่าความเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกประการ มี
อานิสงส์มาก จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านจะอยู่ในวิมานนี้
นานเท่าไร ท่านถูกอาตมาถามแล้วโปรดบอกด้วย ถ้า
ท่านทราบอายุ.
นางเทพธิดานั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านมหาปราชญ์ ดีฉันดำรงอยู่ในวิมาน
นี้ ประมาณสามโกฏิหกหมื่นปี จุติจากที่นี้แล้ว จัก
ไปบังเกิดเป็นมนุษย์.
พระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านางเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถา
นี้อีกว่า
ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านอย่ากลัวเลย พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพยากรณ์ไว้แล้วว่า ท่าน

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 205 (เล่ม 48)

บรรลุคุณพิเศษเป็นโสดาบัน ทุคติ ท่านก็ละได้
แล้วนี่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กีวจิรํ แปลว่านานเท่าไร. บทว่า
อิธ คือในเทวโลกนี้ หรือในวิมานนี้. บทว่า อายุโน แปลว่า อายุ.
บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. หรือรู้ว่าอายุนานหรือไม่นาน. อนึ่ง
อธิบายว่า ถ้าทราบอายุ. ด้วยบทว่า มหามุนิ เทพธิดาเรียกพระเถระ.
บาทคาถาว่า มา ตฺวํ อุโปสเถ ภายิ ความว่า ดูก่อนอุโบสถา
ผู้เจริญ ท่านอย่ากลัวเลย เพราะอะไร ? เพราะท่านถูกพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว. พยากรณ์ว่าอย่างไร. พยากรณ์ว่าบรรลุ
คุณวิเศษเป็นโสดาบัน. ท่านถึงคือบรรลุคุณวิเศษที่เข้าใจว่าเป็นมรรคผล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิเสสยิ เพราะถึงคุณวิเศษแม้นี้ว่า ทุคติแม้ทั้งปวง
ท่านละได้แล้ว. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว.
จบอรรถกถาอุโบสถาวิมาน
๘. สุนิททาวิมาน
ว่าด้วยสุนิททาวิมาน
[๒๕] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของ
เทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี
ส่องสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

205
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 206 (เล่ม 48)

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯลฯ และรัศมีของ
ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ประชาชนเรียกดีฉันว่า สุนิททา ดีฉันเป็น
อุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
และศีล. . . เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ
สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี
วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไป
ทุกทิศ.
จบสุทิทาวิมาน
อรรถกถาสุนิททาวิมาน
อัฏฐมวิมาน วิมานที่ ๘ ราชคหนิทาน เรื่องเกิดในกรุงราชคฤห์
ในอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องที่พึงกล่าวตามลำดับว่า อุบาสิกา ชื่อสุนิททา
ฯลฯ ของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีผิวพรรณ
เช่นนี้ ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่อสุนิททา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว
แม้ในคาถาก็เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น จริงอย่างนั้น ในบางคัมภีร์ ท่านก็
ตั้งบาลีไว้ โดยใช้เปยยาลแล. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าว
ไว้ว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

206
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 207 (เล่ม 48)

ท่านผู้มีวรรณะงาม ฯ ล ฯ และรัศมีของท่าน
จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว ดีใจ ก็พยากรณ์
ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ได้รู้จักดิฉันว่า
สุนิททา ดีฉันเป็นอุบาสิกาผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและ
ศีล ยินดีแล้วในการจำแนกทานเสมอ มีจิตผ่องใส
ในอริยเจ้าผู้ตรง ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ
และเครื่องประทีป ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จาก
การประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ
จากการดื่มน้ำเมา ดีฉันเป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕
มีปัญญาเฉลียวฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของ
พระโคดมผู้มีพระจักษุ และพระเกียรติยศ เพราะ
บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ อิฐผลนี้ย่อม
สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารัก จึง
เกิดขึ้นแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงเป็นผู้มีอานุภาพ

207
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 208 (เล่ม 48)

รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไป
ทุกทิศ.
จบอรรถกถาสุนิททวิมาน
๙. สุทินนาวิมาน
ว่าด้วยสุทินนาวิมาน
[๒๖] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของ
เทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี
ส่องสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ
บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี
ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ประชาชนเรียกดีฉันว่า แม่สุทินนา ดีฉันเป็น
อุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
และศีล . . . เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ
สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี
วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไป
ทุกทิศ.
จบสุทินนาวิมาน

208
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 209 (เล่ม 48)

อรรถกถาสุทินนาวิมาน
นวมวิมาน วิมานที่ ๙ ราชคหนิทาน เรื่องเกิดในกรุงราชคฤห์ ใน
อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องที่พึงกล่าวตามลำดับว่า อุบาสิกาชื่อสุทินนา ฯ ล ฯ
ของพระโคดม ผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้
ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่อสุทินนา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว แม้ใน
คาถาก็ได้กล่าวมาแล้วทั้งนั้น จริงอย่างนั้น บางคัมภีร์ท่านก็ตั้งบาลีไว้
โดยใช้เปยยาลแล. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
ท่านผู้มีวรรณะงาน ฯ ล ฯ และรัศมีของท่านจึง
สว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว ดีใจ ก็พยากรณ์
ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ได้รู้จักดีฉันว่า
สุทินนา ดีฉันเป็นอุบาสิกา ฯ ล ฯ เป็นอุบาสิกาของ
พระโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญ
นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯ ล ฯ
และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบอรรถกถาสุทินนาวิมาน

209
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 210 (เล่ม 48)

๑๐. ปฐมภิกษาทายิกาวิมาน
ว่าด้วยภิกษุทายิกาวิมาน
[๒๗] พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี
ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก
เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ
และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ในชาติก่อนครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันอยู่ในหมู่
มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก
กิเลสธุลีผ่องใสไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาแด่
พระองค์ด้วยมือของดีฉันเอง เพราะบุญอันนั้น ดิฉัน
จึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่าง
ไสวไปทุกทิศ.
จบปฐมภิกษาทายิกาวิมาน
อรรถกถาปฐมภิกษาทายิกาวิมาน
ปฐมภิกษาทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้
เป็นต้น. ปฐมภิกษาทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

210
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 211 (เล่ม 48)

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น
หญิงคนหนึ่ง อยู่ในอุตตรนธุรานคร จะสิ้นอายุ ควรเกิดในอบายภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติเวลาใกล้รุ่ง ทรง
ตรวจดูโลก ทรงเห็นหญิงนั้นควรเกิดในอบายภูมิ มีพระทัยอันพระ-
มหากรุณาเตือนแล้ว มีพุทธประสงค์จะให้นางดำรงอยู่ในสุคติภูมิ จึง
เสด็จไปมธุรานครพระองค์เดียวหามีเพื่อนไม่ ครั้นเสด็จถึงแล้ว ในเวลา
เช้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปบิณฑบาตนอกพระนคร. สมัยนั้น
หญิงนั้นจัดแจงอาหารไว้ในเรือนเสร็จแล้ว เก็บงำไว้ในที่ส่วนหนึ่ง ถือ
หม้อน้ำไปท่าน้ำ ก็เอาหม้อน้ำตักน้ำ กำลังไปเรือนของตน ก็พบพระ-
ศาสดาระหว่างทาง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทรงได้บิณฑบาตแล้ว
หรือเจ้าค่ะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็คงจักได้ ก็ทราบว่าพระองค์
ยังไม่ได้บิณฑบาต วางหม้อน้ำเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักถวายบิณฑบาต
โปรดทรงรับเถิดเจ้าค่ะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ. หญิงนั้น
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว เดินล่วงหน้าไปก่อน ปูลาด
อาสนะเหนือที่แห้งและเกลี้ยงเกลา ยืนคอยดูพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังเรือนประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย. ดังนั้น
นางได้อาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสวยเสร็จแล้ว ทรงชักพระหัตถ์ออกจากบาตร ทรงทำอนุโมทนาแก่นาง
แล้วก็เสด็จหลีกไป. นางฟังอนุโมทนา รู้สึกปีติและโสมนัสมิใช่น้อย ไม่
ย่อมละปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ยืนนมัสการอยู่จนพระพุทธเจ้าเสด็จ
ลับสายตาไป.

211