No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 192 (เล่ม 48)

อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป ในพระอริย-
เจ้าผู้ปฏิบัติตรง ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ อัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔-๑๕
และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ข้าพระองค์เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ มี
สัญญมะ และแจกทาน จึงครอบครองวิมาน. ดีฉัน
งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของ
ของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม
สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มนำเมา เป็นผู้
ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันตจักษุ มี
ปกติเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท.
ข้าพระองค์ได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม จุติจาก
มนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นเทพธิดา มีรัศมีของตนเอง
เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่ อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดู
ท่านภิกษุอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วย
ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้
โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้น
แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยว
ชมสวนนันทนวันอยู่ ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันนำความสุขมา
หาประมาณมิได้อยู่เนืองนิตย์ และได้โอถาสร้าง

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 193 (เล่ม 48)

กุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิด
เป็นนางเทพธิดา ผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยวชมสวน
นันทนวันอยู่.
ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทิตฺถิกาติ มํ อญฺญึสุ กิมฺพิลายํ
อุปาสิกา ความว่า หญิงนี้เจริญดี เกิดการตัดสินใจไว้ว่า เป็นผู้มีศีล
ไม่ขาด เพราะกลับกระแสน้ำใหญ่ที่กำลังเบียดเบียน ด้วยอาจารสมบัติ
ด้วยการการทำสัจ เพราะฉะนั้น ชาวกิมพิลนครจึงรู้จักข้าพระองค์ว่า
อุบาสิกาชื่อว่า ภัททิตถิกา. บาทคาถาเป็นต้นว่า สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
อีกอย่างหนึ่ง เทพธิดาแสดงทรัพย์คือศรัทธาด้วยบทนี้ว่า สทฺธา.
ทรัพย์คือจาคะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์ยินดีในการจำแนกของเป็นทาน
มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีปใน
พระอริยะ ผู้ปฏิบัติตรง. ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ และทรัพย์คือ
โอตตัปปะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์สมบูรณ์ด้วยศีล ตลอดดิถี ๑๔-๑๕ ค่ำ
ฯ ล ฯ มีสิกขาบท ๕ ประการ แสดงทรัพย์คือสุตะ และทรัพย์คือปัญญา
ด้วยบทนี้ว่า อริยสจฺจาน โกวิทา. เทพธิดานั้นแสดงการได้อริยทรัพย์
๗ ประการของตนดังกล่าวมาฉะนี้. เทพธิดาชี้แจงอานิสงส์ของอริยทรัพย์
๗ นั้น ทั้งที่เป็นปัจจุบัน ทั้งที่เป็นภายหน้า ด้วยบาทคาถานี้ว่า
อุปาสิกา จกฺขุมโต ฯ เป ฯ อนุวิจรามิ นนฺทนํ. ในบทเหล่านั้น
บทว่า กตาวาสา ได้แก่ ได้บำเพ็ญสุจริตกรรมเครื่องอยู่สำเร็จแล้ว.
จริงอยู่ สุจริตกรรมเรียกว่าอาวาสที่อยู่แห่งสุขวิหารธรรม เพราะเหตุอยู่

193
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 194 (เล่ม 48)

เป็นสุขในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า กตกุสลา
ดังนี้.
เทพธิดากล่าวบุญสำเร็จด้วยทานของตนอันเป็นเขตพิเศษที่มิได้แตะ
ต้องมาก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่เขตพิเศษเป็นบ่อเกิดแห่งบุญ
นั้น จึงกล่าวคำว่า ภิกฺขู จ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ว่า ภิกฺขู
ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสมิให้เหลือ. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปเก
ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันเป็นต้น เป็นอย่างยิ่งคือ
เหลือเกิน. บทว่า อโภชยึ ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ให้ท่านฉันโภชนะอัน
ประณีต. บทว่า ตปสฺสิยุคํ ความว่าคู่ [สองอัครสาวก] ผู้มีตบะ
เพราะเผาผลาญตัดกิเลสมลทินทั้งหมดได้เด็ดขาดด้วยตบะอันสูงสุด. บทว่า
มหามุนึ ความว่า เป็นผู้แสวงคุณใหญ่เพราะตบธรรมนั้นนั่นแล หรือ
ชื่อว่ามหาปราชญ์เพราะรู้คือกำหนดวิสัยของตนได้ด้วยญาณอย่างใหญ่นั่น
เที่ยว. คำนั้นทั้งหมด เทพธิดากล่าวหมายเอาพระอัครสาวกทั้งสอง.
บทว่า อปริมิตํ สุขาวหํ ท่านกล่าวมิได้ลบนิคหิต ได้แก่อัน
ให้เกิดหิตสุขมีปริมาณเกินพระดำรัสแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ
พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ผู้บอกจะทำให้บรรลุ ตลอดถึง
สุขบนสวรรค์ไม่ง่ายนัก หรือนำสุขมาหาประมาณมิได้ คือนำสุขมาด้วย
อานุภาพของตน. บทว่า สตตํ แปลว่า ทุกเวลา. ประกอบความว่า
ไม่ลดวันรักษาอุโบสถนั้น ๆ หรือทำวันรักษาอุโบสถนั้นไม่ให้ขาด ทำ
ให้บริบูรณ์นำความสุขมาให้เนืองนิตย์ หรือทุกเวลา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่
กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

194
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 195 (เล่ม 48)

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอดสาม
เดือนโปรดหมู่เทวดาและพรหม ผู้อยู่ในหมื่นโลกธาตุ มีพระมารดาเทพ-
บุตรเป็นประธาน เสด็จกลับมายังมนุษยโลกแล้ว ทรงแสดงภัททิตถิกา-
วิมานโปรดแก่ภิกษุทั้งหลาย. พระธรรมเทศนานั้น ได้เป็นประโยชน์แก่
บริษัทผู้ประชุมกันแล.
จบอรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน
๖. โสณทินนาวิมาน
ว่าด้วยโสณทินนาวิมาน
[๒๓] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สอบถามนางเทพธิดาด้วย
คาถาว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่าง
ไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญ
อะไร ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะบุญอะไร
อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติทุกอย่างที่
น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.
ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ
ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้กระทำบุญอะไร
ไว้ และเพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
อย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

195
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 196 (เล่ม 48)

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ชนชาวนาลันทานครรู้จักดิฉันว่า โสณทินนา
ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานบริจาคเสมอ มี
จิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และ
เครื่องประทีป เครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยะผู้ปฏิบัติ
ตรง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์
๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม
ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ คือเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดใน
กาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา ดีฉัน
เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาด
ในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ
และพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีรัศมีเช่นนี้
ฯลฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบโสณทินนาวิมาน

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 197 (เล่ม 48)

อรรถกถาโสณทินนาวิมาน
โสณทินนาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.
โสณทินนาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. ก็สมัย
นั้น อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อโสณทินนาในเมืองนาลันทามีศรัทธาเลื่อมใส บำรุง
ภิกษุทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ มีนิจศีลอันบริสุทธิ์ดี เข้ารักษา
แม้อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ. นางโสณทินนานั้น ได้ความ
สบายในการฟังธรรม เมื่อเพิ่มพูนกัมมัฏฐานในสัจจะ ก็ได้เป็นโสดาบัน
เพราะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ต่อมา นางเป็นโรคชนิดหนึ่งแล้วก็ตายไป
เกิดในชั้นดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้สอบถามเทพธิดานั้น
ด้วยคาถาสามคาถาเหล่านั้นว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมี
ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก
เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ
อะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติ
ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.
ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ
ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้
และเพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

197
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 198 (เล่ม 48)

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ชนชาวเมืองนาลันทา รู้จักดิฉันว่าโสณทินนา
ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศรัทธาและศีลยินดีแล้ว ในทานบริจาคเสมอ มีจิต
ผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและ
เครื่องประทีปเครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง
ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘
ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม
ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ. เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดใน
กาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา ดีฉัน
เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาดใน
อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ และ
พระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้
อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคสมบัติทุกอย่าง
ที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก
แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ดีฉันได้กระทำบุญใดไว้

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 199 (เล่ม 48)

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
คำนั้นทั้งหมด เหมือนนัยที่กล่าวมาในหนหลัง.
จบอรรถกถาโสณทินนาวิมาน
๗. อุโบสถาวิมาน
ว่าด้วยอุโบสถาวิมาน
[๒๔] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามถึงบุรพกรรมของ
เทพธิดานั้นว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมีส่อง
สว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ
บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี
ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
นางเทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถาม
แล้ว ดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผล
อย่างนี้ว่า
ประชาชนรู้จักดิฉันว่าแม่อุโบสถา ดีฉันเป็น
อุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
และศีล... ได้เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ
สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึง

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 200 (เล่ม 48)

มีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสว
ไปทุกทิศ.
เมื่อจะแสดงโทษอย่างหนึ่งของตน เทพธิดานั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒
คาถาอีกว่า
ฉันทะความพอใจเกิดแก่ดีฉัน เพราะฟังเรื่อง
นันทนวันอยู่เนื่อง ๆ เพราะเหตุที่ตั้งใจไปในนันทนวัน
นั้น ดีฉันจึงเข้าถึงนันทนวันชั้นดาวดึงสพิภพ ดีฉัน
มิได้ทำตามพระวาจาของพระศาสดาพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ ตั้งจิตไว้ในภพอันเลว จึงมีความ
ร้อนใจในภายหลัง.
เพื่อจะปลุกใจนางเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าว
คาถานี้ว่า
ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านจะอยู่ในวิมานนี้
นานเท่าไร ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกเถิด
ถ้าท่านรู้อายุ.
เทพธิดานั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านมหาปราชญ์ ดีฉันจักดำรงอยู่ใน
วิมานนี้ สามโกฏิหกหมื่นปี จุติจากที่นี้แล้ว จึงจักไป
บังเกิดเป็นมนุษย์.
พระมหาโมคคัลลานเถระ ปลุกเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถา
นี้ว่า

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 201 (เล่ม 48)

ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านอย่ากลับไปเลย
ท่านเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้
แล้วว่า ท่านจักถึงคุณวิเศษ เป็นพระโสดาบัน
ทุคติท่านก็ละได้แล้วนี่.
จบอุโบสถาวิมาน
อรรถกถาอุโบสถาวิมาน
อุโบสถาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.
อุโบสถาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องในข้อนี้มีแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาคนหนึ่ง
ชื่ออุโบสถาในเมืองสาเกต. คำที่เหลือเช่นเดียวกับวิมานติด ๆ กัน. ด้วย
เหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ รัศมี
ของท่านจึงส่องสว่างไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต ประชาชน
รู้จักดิฉันว่า อุโบสถา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและ
ศีล ยินดีแล้วในจำแนกทานเสมอ มีจิตผ่องใส ได้
ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป
ในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีล

201