No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 182 (เล่ม 48)

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดม ผู้มีพระ-
เกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประ-
คองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่อง
แสงสว่างในโลกมืดดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺชลึ  ิตํ นมสฺสมานํ สมฺพุทฺธํ
ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จไปแล้ว นางก็ยังมีจิตเป็นสมาธิ
ด้วยปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ยืนประคองอัญชลีเหมือนอยู่เฉพาะพระ-
พักตร์.
บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในโลกอันมืดด้วยความมืดคืออวิชชา
และมืดด้วยกิเลสทั้งสิ้น. บทว่า ปภงฺกรํ คือ ผู้ทำแสงสว่างคือญาณ.
ก็นางจุติจากนั้นไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. นางมีอัปสรแสนหนึ่ง
เป็นบริวาร. ก็แลในทันใดนั่นเอง นางมาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน
แล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคัลลานะถวายนมัสการ. เพื่อแสดงความ
ข้อนั้น นางเทพธิดา ได้กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันบรรลุ
เทวฤทธิ์แล้ว เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศกิเลสธุลี
เห็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า ขอไหว้
ท่านเจ้าค่ะ.
พระเถระได้ถามเทพธิดานั้นว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้สง่างาม ท่านเป็นใคร มีรัศมี
ดังทองงามรุ่งโรจน์ มีเกียรติยศมาก งานตระการ
* อรรถกถาว่า นางมีอัปสรแสนหนึ่ง บาลีว่า มีอัปสรพันหนึ่ง

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 183 (เล่ม 48)

มิใช่น้อย แวดล้อมด้วยหมู่เทพอัปสรพากันลงมาจาก
วิมาน จึงมาไหว้อาตมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลิตา ได้แก่ รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วย
รัศมีแห่งสรีระผ้าและอาภรณ์เป็นต้นของตน. บทว่า มหาสยา ได้แก่
มีบริวารมาก. บทว่า วิมานโมรุยฺห แปลว่า ลงจากวิมาน. บทว่า
อเนกจิตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยความงามหลากหลาย. บทว่า สุเภ แปลว่า
ผู้มีคุณอันงาม. บทว่า มมํ แปลว่า อาตมา.
เทพธิดานั้น ได้ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๔ คาถา
อีกว่า
ท่านเจ้าขา ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้
เป็นวีรบุรุษส่งไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระ-
โคดม ผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศ ครั้นได้
ถวายบังคมพระยุคลบาทแล้ว จุติจากกำเนิดหญิง
จัณฑาลไปเข้าถึงวิมาน อันเพรียบพร้อมด้วยสมบัติ
ทั้งปวง ในอุทยานนันทนวัน เทพอัปสรพันหนึ่งพากัน
มายืนห้อมล้อม ดีฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพ-
อัปสรเหล่านั้น โดยวรรณะ เกียรติยศ และอายุ ดีฉัน
ได้กระทำกรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ
ท่านเจ้าขา ดิฉันมามนุษยโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวาย
นมัสการพระมุนีผู้มีกรุณา เจ้าค่ะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปสิตา ความว่า หญิงจัณฑาลถูก

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 184 (เล่ม 48)

ท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายนมัสการด้วยคำเป็นต้นว่า ดูก่อนแม่-
จัณฑาล ท่านจงถวายพระยุคลบาทเถิด. บุญที่สำเร็จด้วยการถวายบังคมนั้น
ถึงจะน้อยโดยชั่วขณะประเดี๋ยวก็จริง ถึงกระนั้น ก็ชื่อว่ามากเกินที่จะ
เปรียบได้ เพราะมีเขต [เขตตสัมปทา] ใหญ่ และมีผลใหญ่ เพราะเหตุ
นั้น นางจึงได้กล่าวว่า ปหูตกตกลฺยาณา ดังนี้ อนึ่ง นางหมายถึงความ
บริสุทธิ์ของปัญญาและสติ ในขณะความเป็นไปแห่งปีติมีพระพุทธคุณเป็น
อารมณ์ จึงได้กล่าวว่า สมฺปชานา ปติสฺสตา ดังนี้. ท่านพระสังคีติ-
กาจารย์ ตั้งคาถาไว้อีกว่า
เทพธิดาจัณฑาลี ผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกล่าว
ถ้อยคำนี้แล้ว ไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระมหาโมค-
คัลลานเถระ องค์พระอรหันต์แล้ว ก็อันตรธานไป
ณ ที่นั้นนั่นเองแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลี ท่านกล่าวว่า เคยเป็นหญิง
จัณฑาล. คำใด เป็นการกล่าวเรียกกันติดปากในมนุษยโลก คำนี้ก็
ปฏิบัติติดมาในเทวโลกเช่นกัน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว.
ส่วนท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ กราบทูลเรื่องถวายพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำข้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ
เกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้
เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแล.
จบอรรถกถาจัณฑาลิวิมาน

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 185 (เล่ม 48)

๕. ภัททิตถิกาวิมาน
ว่าด้วยภัททิตถิกาวิมาน
[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงบุรพกรรมที่ ภัททาเทพธิดา
นั้นได้กระทำไว้ว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านสวมไว้เหนือ
ศีรษะ ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ ซึ่งมีสีต่าง ๆ คือ
คำ แดงเข้ม และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรจาก
ต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในหมู่เทพเหล่าอื่น
เพราะบุญอะไร ท่านผู้มียศจึงเข้าถึงหมู่เทวดาชั้น
ดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว
โปรดบอกสิว่านี้เป็นผิของบุญกรรมอะไร.
เทพธิดาถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลพยากรณ์
ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัตทิตถิกา
ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร เป็นผู้สม-
บูรณ์ด้วยศรัทธา และศีล ยินดีในการจำแนกทาน
ทุกเมื่อ มีจิตอันเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่อง
ประทีป ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการตลอดดิถีที่ ๑๔-๑๕ และดิถีที่ ๘
ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 186 (เล่ม 48)

แล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ งดเว้นจากปาณาติบาต เป็น
ผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จาก
การประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ
จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และ
เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ มีปกติเป็นอยู่ด้วยความไม่
ประมาท เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-
สมันตจักษุ ข้าพระองค์บำเพ็ญสุจริตกุศลธรรมสำเร็จ
แล้ว จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นนางเทพธิดาผู้มี
รัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบ ๆ สวนนันทนวัน
อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดูซึ่งท่านภิกษุผู้เป็นอัครสาวก
ทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วยประโยชน์เกื้อกูล
อย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้บำเพ็ญสุจริตกุศล-
ธรรมไว้มาก ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้
บังเกิดเป็นเทพธิดา ผู้มีรัศมีในกายของตนเอง เที่ยว
ชมอยู่รอบ ๆ สวนนันทนวัน ข้าพระองค์ได้เข้ารักษา
อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นำมา
ซึ่งความสุขอันกำหนดมิได้เนืองนิตย์ และได้สร้าง
สุจริตกุศลธรรมความชอบไว้บริบูรณ์แล้ว ครั้นจุติจาก
มนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นนางเทวดาผู้มี
รัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบ ๆ นันทนวัน.
จบภัททิตถิกาวิมาน

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 187 (เล่ม 48)

อรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน
ภัททิตถิกาวิมานมีคาถาว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ดังนี้เป็นต้น.
ภัททิตถิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกะ กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในกิมิลนคร มีคหบดีบุตรผู้หนึ่งชื่อ
โรหกะ มีศรัทธาปสาทะ ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ ในนครนั้นแล
มีทาริกาเด็กหญิงคนหนึ่ง ในตระกูลที่มีโภคทรัพย์มาก ทัดเทียมกับนาย
โรหกะนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส มีนามว่า ภัททา เพราะเจริญแม้
ตามปกติ ครั้นต่อมา มารดาบิดาของโรหกะ ได้เลือกกุมารีนั้น นำนาง
มาในเวลานั้น ได้ทำอาวาหวิวามงคลกัน. สองสามีภริยานั้น ก็อยู่ร่วม
กันด้วยสามัคคี ก็เพราะอาจารสมบัติของตน นางจึงได้เป็นคนเด่น รู้จัก
กันไปทั่วพระนครนั้นว่า ภัททิตถี แม่หญิงภัทรา.
ก็สมัยนั้น พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีภิกษุเป็นบริวาร รูปละ ๕๐๐
จาริกเที่ยวไปในชนบท ถึงกิมิลนคร. นายโรหกะ รู้ว่าพระอัครสาวกนั้น
ไปที่กิมิลนครนั้น เกิดโสมนัสเข้าไปหาพระเถระทั้งสองรูป ไหว้แล้วนิมนต์
ฉันในวันพรุ่งนี้ อังคาสท่านพร้อมด้วยบริวารให้อิ่มหนำสำราญด้วยของ
เคี้ยวของฉันอันประณีตในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยบุตรและภรรยา ได้ฟัง
พระธรรมเทศนาที่ท่าแสดงแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน รับสรณะ
สมาทานเบญจศีล. ส่วนภรรยาของเขา ก็เข้ารักษาอุโบสถศีลเป็นวัน ๘ ค่ำ
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันปาฏิหาริยปักษ์. เฉพาะอย่างยิ่งนางได้เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลและอาจาระ และเทวดาทั้งหลาย อนุเคราะห์แล้ว ก็ด้วย

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 188 (เล่ม 48)

ความอนุเคราะห์ของเทวดานั้นแล นางก็ปลดเปลื้องคำว่าร้ายผิด ๆ ที่
ตกมาเหนือตนหายไปได้ กลายเป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปทั่วโลกอย่างยิ่ง
เพราะนางมีศีลและอาจาระหมดจดด้วยดีแล.
ก็ภรรยานั้น อยู่ในกิมิลนครนั้นเอง ส่วนสามีของนางอยู่ค้าขายใน
ตักกศิลานคร ในวันมหรสพรื่นเริงกัน เมื่อถูกพวกเพื่อนรบเร้าก็เกิดคิด
อยากเล่นงานมหรสพตามเทศกาล เทวดาผู้ประจำเรือนก็ช่วยนำนางไปใน
ตักกศิลานครนั้นด้วยอานุภาพทิพย์ของตนแล้ว ส่งไปร่วมกับสามี เพราะ
อยู่ร่วมกันนั่นแล ก็ตั้งครรภ์ เทวดาช่วยนำกลับกิมิลนคร เมื่อครรภ์
ปรากฏชัดขึ้นโดยลำดับ ถูกแม่ผัวเป็นต้น รังเกียจว่านางประพฤตินอกใจ
สามี เมื่อกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาถูกเทวดานั้นแล บันดาลให้เป็นเหมือน
หลงมาท่วมกิมิลนคร ด้วยอานุภาพของตน ประสบความยุ่งยาก ซึ่งตก
ลงมาเหนือตนดังกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาที่มีเกลียวคลื่นเกิดเพราะแรงลม
ด้วยการสมถะมีสัจจาธิษฐานเป็นเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์ว่าตนเป็นหญิงจงรัก
สามี ถึงจะกลับมาอยู่ร่วมกับสามี สามีนั้นก็รังเกียจ เหมือนแม่ผัวเป็นต้น
รังเกียจมาก่อน และต้องอ้างสัญญาณเครื่องหมาย ซึ่งสามีนั้นประทับชื่อ
ให้ไว้ในตักกศิลานคร จึงแก้ความรังเกียจนั้นได้ กลายเป็นผู้ที่ญาติฝ่าย
สามีและมหาชนยกย่อง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า สุวิสุทฺธสีลา-
จารตาย อติวิย โลเก ปตฺถฏยสา อโหสิ ได้เป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไป
ในโลกอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีศีลและอาจาระหมดจดดี.
สมัยต่อมา นางทำกาละตาย ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีไปยังภพดาวดึงส์ ประทับนั่ง
บนบัณฑุกัมพลศิลา ณ โคนต้นปาริฉัตร และเมื่อเทพบริษัทเข้าไปเฝ้า

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 189 (เล่ม 48)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้
ภัททิตถีเทพธิดาก็ได้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงถามบุญกรรมที่
เทพธิดานั้นทำไว้ ณ ท่ามกลางเทวดาบริษัทและพระพรหมบริษัทที่ประชุม
พร้อมกันในหมื่นโลกธาตุ ได้ตรัสว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านทัดทรงไว้
เหนือศีรษะ ซึ่งพวงมาลัยดอกมณฑารพ อันมีสี
ต่าง ๆ กัน คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม และแดง
ที่ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสร จากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้
เหล่านี้ ไม่มีในเทพหมู่อื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้
เลอยศจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา
ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกมาสิว่านี้เป็นผลของบุญ
อะไร.
ในคาถานั้น จ ศัพท์ในบาทคาถานี้ว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ
มญฺชิฏฺฐา อถ โลหิตา เป็นการกล่าวควบบท จ ศัพท์นั้น พึงประกอบ
แต่ละบทโดยเป็นต้นว่า นีลา จ ปีตา จ. ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้
ในอรรถอื่น. ด้วย อถ ศัพท์นั้น ท่านรวมวรรณะที่ไม่ได้กล่าวมีสีขาวเป็นต้น
ไว้ด้วย. พึงทราบว่าอิติศัพท์ท่านลบเสียแล้วแสดงไว้ [ไม่มีอิติศัพท์]
อีกอย่างหนึ่ง จ ศัพท์ ควบข้อความที่ไม่ได้กล่าวไว้ อิติ ศัพท์ เป็น
นิบาต. บทว่า อุจฺจาวจานํ. ในบาทคาถาว่า อุจฺจารจานํ วณฺณานํ นี้
พึงเห็นว่าไม่ลบวิภัตติ อธิบายว่า มีสีสูงและตำคือมีสีต่าง ๆ กัน. อนึ่ง

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 190 (เล่ม 48)

บทว่า วณฺณานํ แปลว่า ซึ่งมีรัศมีคือสี. บาทคาถาว่า กิญฺชกฺขปริวาริตา
ได้แก่ แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้. ที่จริงบทนั้นเป็นปฐมาวิภัตติแต่
ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนเทพธิดา ท่านทัดทรง
ประดับไว้เหนือเศียร ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ คือพวงมาลัยที่ทำด้วยดอก
มณฑารพเหล่านั้น เพราะดอกมณฑารพเหล่านั้น ซึ่งสีสรรต่างๆ คือ เขียว
เหลือง ดำ แดงเข้ม แดงและสีอื่น ๆ มีสีขาวเป็นต้น อันห้อมล้อมด้วยกลีบ
เกสรคือละออง ตามที่เป็นอยู่มีสัณฐานทรวดทรงงามเป็นต้น หรือเพราะ
สีแห่งวรรณะตามที่กล่าวแล้วต่าง ๆ กัน เกิดจากต้นมณฑารพ.
เพื่อแสดงว่าต้นไม้ที่มีดอกเหล่านั้นไม่ทั่วไปแก่สวรรค์ชั้นอื่น เพราะ
ดอกไม้เหล่านั้น มีสีพิเศษแปลกออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นยิเม อญฺเญสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น
บทว่า อิเม ประกอบความว่า ต้นไม้มีดอกประกอบด้วยสีและสัณฐาน
เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไม่มี. บทว่า กาเยสุ แปลว่า ในหมู่เทพทั้งหลาย.
บทว่า สุเมธเส แปลว่า ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลา ได้แก่ มีสีเขียว โดยมณีรัตนะ
มีอินทนิลและมหานิลเป็นต้น. บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลือง โดย
มณีรัตนะ มีบุษราคัมกักเกตนะและปุลกะเป็นต้น และทองสิงคี. ว่า
กาฬา ได้แก่ มีสีดำ โดยมณีรัตนะมีแก้วหินอัสมกะ แก้วหินอุปลกะ
เป็นต้น. บทว่า มญฺชิฏฺฐา ได้แก่ มีสีแดงเข้ม โดยมณีรัตนะมีแก้วโชติรส
แก้วโคปุตตาและแก้วโคเมทกะเป็นต้น. บทว่า โลหิตา ได้แก่ มีสีแดง
โดยมณีรัตนะมีแก้วทับทิม แก้วแดง แก้วประพาฬเป็นต้น ส่วนอาจารย์
บางพวก เอาบทมีนีละ เป็นต้นกับบทนี้ว่า รุกฺขา ประกอบกันกล่าวว่า

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 191 (เล่ม 48)

นีลารุกฺขา เป็นต้น. ที่จริง แม้ต้นไม้ย่อมได้โวหารว่าเขียวเป็นต้น
เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น เหตุปกคลุมด้วยดอกไม้มีสีเขียวเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น ด้วยบทเหล่านั้นว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ฯ ป ฯ
นยิเม อญฺเญสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้ พึงประกอบ
ความว่า ท่านทัดทรงพวงดอกมณฑารพ ซึ่งมีสีสรรต่าง ๆ ฯลฯ ห้อม
ล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้ใด การแสดงต้นไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการ
ระบุดอกไม้อันประกอบด้วยสีแปลกออกไปตามที่เห็นแล้ว ด้วยการแสดง
ถึงภาวะที่ดอกไม้เหล่านั้นเป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นปฐมนัย. การแสดง
ดอกไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการแสดงภาวะที่ต้นไม้เป็นของไม่ทั่วไป จัด
เป็นทุติยนัย. สีเป็นต้น ในปฐมนัยท่านถือเอาโดยสภาพ. ในทุติยนัย
ท่านถือเอาโดยมุข คือต้นไม้อันเป็นที่อาศัย [ ของสี ] ในข้อนั้นสีและ
ต้นไม้เหล่านั้น แปลกกันดังกล่าวมานี้.
บทว่า เกน ประกอบความว่า เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงเข้า
ถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า ปุจฺฉิตาจิกฺข ความว่า ท่านถูกเราถาม
แล้ว จงบอกจงกล่าวมาเถิด.
เทพธิดานั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงได้ทูล
พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัททิตถิกา แม่
หญิงภัทรา ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจำแนก
ของเป็นทานทุกเมื่อ มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม

191