No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 172 (เล่ม 48)

จากการตกนรก ให้นางสำเร็จสวรรค์สมบัติ ดังนี้ ในเวลาเช้า นุ่งแล้ว
ถือเอาบาตรและจีวรไป เดินมุ่งหน้าไปยังที่อยู่ของนาง. ครั้งนั้น ท้าว
สักกะ จอมทวยเทพจำแลงเพศ [ปลอมตัว] น้อมอาหารทิพย์หลายรสมี
แกงและกับหลายอย่างเข้าไปถวาย. พระเถระรู้ข้อนั้น ได้ห้ามว่า ท่านท้าว
โกสิยะ พระองค์ได้ทรงทำกุศลไว้แล้ว เหตุอะไร จึงทรงทำอย่างนี้
ขอพระองค์โปรดอย่าได้แย่งสมบัติของคนเข็ญใจยากไร้เลย จึงยืนอยู่ข้าง
หน้าของหญิงนั้น.
นางเห็นพระเถระแล้ว คิดว่า พระเถระนี้เป็นผู้มีอานุภาพใหญ่
ในที่นี้ก็ไม่มีของกิน หรือของเคี้ยว ซึ่งควรถวายแก่พระเถระนี้ เพียง
น้ำข้าวข้าวดังอันจืดเย็นไม่มีรสเกลื่อนไปด้วยหญ้าและผงธุลี ซึ่งอยู่ใน
ภาชนะสกปรกนี้ เราไม่อาจจะถวายแก่พระเถระเช่นนี้ได้ จึงกล่าวว่าขอ
ท่านจงโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด. พระเถระยืนนิ่งไม่ขยับเท้าแม้แต่ข้างเดียว
ผู้คนอยู่ในเรือนนำภิกขาเข้าไปถวาย. พระเถระก็ไม่รับ. หญิงเข็ญใจนั้น
รู้ว่าพระเถระประสงค์จะรับเฉพาะของเรา จึงมาในที่นี้ก็เพื่ออนุเคราะห์เรา
เท่านั้น มีใจเลื่อมใส เกิดความเอื้อเฟื้อ ก็เกลี่ยข้าวตังนั้นลงในบาตรของ
พระเถระ พระเถระแสดงอาการว่าจะฉันเพื่อให้ความเลื่อมใสของนาง
เจริญเพิ่มขึ้น. ผู้คนปูอาสนะแล้ว พระเถระก็นั่งบนอาสนะนั้นฉันข้าวตัง
นั้น ดื่มน้ำแล้วชักมือออกจากบาตร ทำอนุโมทนากล่าวกะหญิงเข็ญใจ
นั้นว่า ท่านได้เป็นมารดาของอาตมาในอัตภาพที่สามจากนี้ดังนี้แล้วก็ไป.
นางยังความเลื่อมใสให้เกิดในพระเถระยิ่งนัก ทำกาละตายไปในยามต้น
แห่งราตรีนั้นแล้ว ก็เข้าไปอยู่ร่วมกับเหล่าเทพนิมมานรดี. ครั้งนั้น
ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่านางทำกาละแล้ว ทรงรำพึงอยู่ว่า นางเถิด

172
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 173 (เล่ม 48)

ที่ไหนหนอดังนี้ ไม่ทรงเห็นในดาวดึงส์ จึงเข้าไปหาท่านมหากัสสปะใน
ยามกลาง [ เที่ยงคืน ] แห่งราตรี เมื่อถามถึงสถานที่เกิดของหญิงนั้น
ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
เมื่อพระคุณเจ้า เที่ยวไปบิณฑบาตยืนนิ่งอยู่
หญิงผู้ใด เข็ญใจยากไร้ อาศัยชายคาเรือนคนอื่น
เลื่อมใสแล้วถวายข้าวตังด้วยมือตนเองแก่พระคุณเจ้า
หญิงผู้นั้นละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไรหนอ
เจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑาย คือเพื่อบิณฑบาต. คำว่า
ตุณฺหีภูตสิส ติฏฺฐโต นี้แสดงอาการเที่ยวบิณฑบาต. อธิบายว่า เจาะจง
ยืน. บทว่า ทลิทฺทา แปลว่า เข็ญใจ. บทว่า กปณา แปลว่า ยากไร้.
ด้วยบทว่า ทลิทฺทา นี้ ท่านแสดงความเสื่อมโภคทรัพย์ของหญิงนั้น.
ด้วยบทว่า กปณา นี้ แสดงความเสื่อมญาติ. บทว่า ปราคารํ อวิสฺสิตา
ความว่า อาศัยเรือนคนอื่น คืออาศัยชายคาเรือนของคนเหล่าอื่น.
บทคาถาว่า กํ นุ สาทิสตํ คตา ความว่า ได้ไปทิศอะไร โดย
เกิดในเทวโลกกามาวจร ๖ ชั้น ดังนั้น ท้าวสักกะ ทรงดำริว่าหญิงที่
พระเถระทำอนุเคราะห์อยู่อย่างนั้น มีส่วนแห่งทิพยสมบัติอันโอฬาร แต่
ก็มิได้เห็นเลย เมื่อไม่ทรงเห็นในเทวโลกชั้นต่ำสองชั้น ทรงนึกสงสัยจึง
ตรัสถาม. ลำดับนั้น พระเถระเมื่อทูลคำตอบโดยทำนองที่ท้าวเธอทูลถาม
แล้วนั่นแล ได้ทูลบอกสถานที่บังเกิดของหญิงนั้นแก่ท้าวสักกะนั้นว่า

173
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 174 (เล่ม 48)

เมื่ออาตมาเที่ยวไปบิณฑบาตยืนนิ่งอยู่ หญิงผู้
ใดเข็ญใจยากไร้ อาศัยชายคาเรือนคนอื่น เลื่อมใส
แล้วถวายข้าวตังด้วยมือตนเองแก่อาตมา หญิงผู้นั้น
ละกายมนุษย์แล้ว เคลื่อนพ้นจากความลำเค็ญนี้แล้ว
ทวยเทพมีฤทธิ์มาก ชื่อชั้นนิมมานรดีมอยู่ หญิงผู้
ถวายเพียงข้าวตังนั้น ก็บันเทิงสุขอยู่ในสวรรค์ชั้น
นิมมานรดีนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปมุตฺตา ได้แก่ หลุดพ้นไปจาก
ความมีโชคร้ายของมนุษย์ จากความเป็นอยู่ที่น่ากรุณาเป็นอย่างยิ่งนั้น.
บทว่า โมทิตา จามทายิกา ความว่า ก็หญิงชื่อนั้นถวายทาน
เพียงข้าวตัง ยังบันเทิงอยู่ด้วยทิพยสมบัติในกามาวจรสวรรค์ชั้นที่ ๕
ท่านแสดงว่า ขอท่านจงดูผลของทานซึ่งพรั่งพร้อมด้วยเขตสัมปทา [ คือ
พระทักษิไณยบุคคลผู้เป็นปฏิคาหก]
ท้าวสักกะ สดับว่าทานของหญิงนั้นมีผลใหญ่ และมีอานิสงส์ผล
ใหญ่แล้ว เมื่อทรงสรรเสริญทานนั้นอีก จึงตรัสว่า
น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานที่หญิงผู้ยากไร้ตั้งไว้
ดีแล้ว ในพระคุณเจ้ากัสสปะ ด้วยไทยทานที่นาง
นำมาแต่ผู้อื่น ทักษิณายังสำเร็จผลได้จริงหนอ ข้อที่
นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ได้รับอภิเษก
เป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่า
เสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ [ถวายข้าวตัง]

174
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 175 (เล่ม 48)

ทองคำร้อยนิกขะ ม้าร้อยตัว รถเทียมม้าอัสดรร้อย
คัน หญิงสาวผู้สวมกุณฑลมณีจำนวนแสนนางก็ยัง
ไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามหานนี้ พระยาช้าง
ตระกูลเหมวตะ มีงางอน มีกำลังและว่องไว มี
สายรัดทองคำ มีตัวใหญ่ มีเครื่องประดับเป็นทอง
ร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้
ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงครองความเป็นเจ้า
ทวีปใหญ่ทั้งสี่ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม-
ทานนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า
อัศจรรย์. บทว่า วรากิยา แปลว่า หญิงยากไร้. บทว่า ปราภเตน
ได้แก่ ไทยทานที่เขานำนาแต่คนอื่น. อธิบายว่า ที่ได้มาด้วยการเที่ยวขอ
จากเรือนของคนอื่น. บทว่า ทาเนน ได้แก่ ด้วยไทยธรรม เพียง
ข้าวตังที่พึงถวาย. บทว่า อิชฺฌิตฺถ วต ทกฺขิณา ความว่า น่า
อัศจรรย์จริงหนอ ทักษิณาทานสำเร็จผลแล้ว คือได้มีผลมาก รุ่งเรือง
มาก กว้างใหญ่มากจริงหนอ.
บัดนี้ ท้าวสักกะตรัสคำเป็นต้นว่า ยา มเหสิตฺตํ กาเรยฺย ดังนี้
ก็เพื่อแสดงว่า ถึงนางแก้วเป็นต้น ก็ไม่ถึงทั้งส่วนร้อย ทั้งส่วนพันของ
ทานนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคกลฺยาณี ความว่า สวยงาม
ดีด้วยส่วนคือเหตุทั้งหมด หรืออวัยวะทุกส่วนที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ไม่
สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำไม่ขาวนัก เกิน

175
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 176 (เล่ม 48)

วรรณมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์.
บาทคาถาว่า ภตฺตุ จาโนมทสฺสิกา ได้แก่ สามีดูไม่จืดจาง
คือ น่าดู น่าเลื่อมใสอย่างดียิ่ง. บทว่า เอตสฺสา จามทานสฺส กลํ
นาคฺฆติ โสฬสึ ความว่า แม้ความเป็นนางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ
ก็มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ กล่าวคือส่วนที่เขาแบ่งผลของอาจามทาน ที่นาง
ถวายแล้วนั้นให้เป็น ๑๖ ส่วน จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งให้เป็น
อีก ๑๖ ส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทองคำ ๑๕ ธรณะ เป็นนิกขะ
อีกพวกกล่าวว่าร้อยธรณะ [ เป็นนิกขะ ].
บทว่า เหมวตา ได้แก่ พระยาช้างเกิดในป่าหิมพานต์ หรือมี
กำเนิดในตระกูลช้างเหมวตะ. ก็พระยาช้างเหล่านั้นตัวใหญ่ถึงพร้อมด้วย
กำลังและความเร็ว. บทว่า อีสา ทนฺตา ได้แก่ มีงาดุจงอนรถ. อธิบายว่า
มีงาคดแต่น้อยหนึ่ง [งอน] เพราะงางอนนั้น จึงกันงาขยายกว้างออก
ไปได้. บทว่า อุรูฬฺหวา ได้แก่ เพิ่มพูนด้วยกำลังความเร็ว และความ
บากบั่น อธิบายว่า สามารถนำรบใหญ่ได้. บทว่า สุวณฺณกจฺฉา ได้แก่
สวมเครื่องประดับคอทองคำ. ก็ท่านกล่าวส่วนประกอบช้างทั้งหมดด้วย
สายรัดกลางตัวช้างเป็นสำคัญ. บทว่า เหมกปฺปนิวาสสา ได้แก่ พรั่ง
พร้อมด้วยเครื่องประดับช้างมีเครื่องลาดและปลอกช้างขลิบทองเป็นต้น.
หลายบทว่า จตุนฺนํ มหาทีปานํ อิสฺสริยํ ความว่า เป็นเจ้ามหา-
ทวีปทั้งสี่มีชมพูทวีปเป็นต้น ซึ่งมีทวีปน้อยเป็นบริวารทวีปละสองพัน.
ด้วยบทนั้นท่านกล่าวเอาสิริของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งสิ้น นี้รุ่งเรืองด้วย
รัตนะ ๗ ประการ. ก็คำซึ่งข้าพเจ้าไม่กล่าวไว้ในที่นี้ ก็มีนัยอย่างที่กล่าวมา
แล้วในหนหลัง. ท่านมหากัสสปเถระ กราบทูลคำทั้งหมดที่ท้าวสักกเทวราช

176
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 177 (เล่ม 48)

กับตนกล่าวแล้วในที่นี้ ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำคำนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว จึงทรงแสดงธรรมโดย
พิสดารโปรดบริษัทที่ประชุมกัน. พระธรรมเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่
มหาชนแล.
จบอรรถกถาอาจามทายิกาวิมาน
๔. จัณฑาลิวิมาน
ว่าด้วยจัณฑาลิวิมาน
[๒๑] พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
ดูก่อนนางจัณฑาลี ท่านจงถวายอภิวาทพระ-
บาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ พระผู้เป็น
พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยืนอยู่เพื่อทรง
อนุเคราะห์ท่านคนเดียว ท่านจงทำใจให้เลื่อมใสยิ่ง
ในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ คงที่ แล้วจง
ประคองอัญชลีถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่าน
ยังน้อยเต็มที.
เพื่อจะแสดงประวัติของนางจัณฑาลีนั้นโดยตลอด พระสังคีติกาจารย์
จึงกล่าวคาถาสองคาถานี้ว่า
หญิงจัณฑาลีผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอัน
อบรมแล้ว ดำรงไว้ซึ่งสรีระอันที่สุด ตักเตือนแล้ว

177
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 178 (เล่ม 48)

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดม ผู้มีพระ-
เกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประ-
คองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่อง
แสงสว่างในโลกมืด.
เพื่อประกาศเรื่องไปของตน เทพธิดาจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันถึงแล้ว
ซึ่งเทวฤทธิ์ เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศจาก
กิเลสธุลี เป็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า
ขอไหว้ท่านผู้นั้นเจ้าค่ะ.
พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวกะนางนั้นว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้สวยงาม ท่านเป็นใคร มีรัศมี
ดังทองงามรุ่งโรจน์ มีเกียรติยศมาก งามตระการ
มิใช่น้อย แวดล้อมด้วยหมู่อัปสรพากันลงมาจาก
วิมาน จึงไหว้อาตมา.
เทพธิดานั้น ถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ท่านเจ้าขา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก
ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อ
ถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้า ดีฉันได้ถวาย
บังคมพระบาทยุคล ของพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต์
มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาท
ยุคลแล้ว จุติจากกำเนิดหญิงจัณฑาลก็เข้าถึงวิมาน
อันจำเริญโดยประการทั้งปวง ในเทวอุทยานมีนามว่า

178
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 179 (เล่ม 48)

นันทนวัน เทพอัปสรประมาณพันหนึ่งพากันมายืนห้อม
ล้อมดีฉัน ดีฉันเห็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรนั้น
โดยรัศมี เกียรติยศ และอายุ ดีฉันได้กระทำ
กัลยาณธรรมไว้มาก มีสติสัมปชัญญะ ท่านเจ้าข้า
ดีฉันมาในโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวายนมัสการท่านปราชญ์
ผู้ประกอบด้วยความกรุณาเจ้าค่ะ เทพธิดานั้น ครั้น
กล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความกตัญญู
กตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระ
องค์อรหันต์แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.
จบจัณฑาลิวิมาน
อรรถกถาจัณฑาลิวิมาน
จัณฑาลิวิมานมีคาถาว่า จณฺฑาลิ วนฺท ปาทานิ ดังนี้เป็นต้น.
จัณฑาลิวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ในเวลาใกล้รุ่ง
ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติกันมาแล้ว เมื่อทรงออก
แล้วตรวจดูโลกอยู่ ได้ทรงเห็นหญิงจัณฑาลแก่คนหนึ่ง ซึ่งอยู่ใน
จัณฑาลิคาม ในนครนั้นนั่นเองสิ้นอายุ ก็กรรมของนางที่นำไปนรก
ปรากฏชัดแล้ว. พระองค์ทรงมีพระทัยอันพระมหากรุณาให้ขะมักเขม้นแล้ว
ทรงดำริว่า เราให้นางทำกรรมอันนำไปสู่สวรรค์ จักห้ามการเกิดใน
นรกของนางด้วยกรรมนั้น ให้ดำรงอยู่บนสวรรค์ จึงเสด็จเข้าไป

179
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 180 (เล่ม 48)

บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้น หญิงจัณฑาลี
นั้น ถือไม้ออกจากนคร พบพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาได้ยืน
ประจันหน้ากันแล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนตรงหน้า
เหมือนห้ามมิให้นางไป. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ รู้พระทัยของ
พระศาสดา และความหมดอายุของหญิงนั้นแล้ว เมื่อจะให้นางถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ดูก่อนแม่จัณฑาล ท่านจงถวายบังคมพระบาท
ยุคลของพระโคดม ผู้มีพระเกียรติยศเถิด พระโคดม
ผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยื่นเพื่ออนุเคราะห์
ท่านคนเดียว ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่ง ในพระองค์
ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้คงที่ แล้วจงรีบประคองอัญชลี
ถวายบังคมเถิด ชีวิตของท่านน้อยเต็มที่.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า จณฺฑาลิ พระเถระเรียกนางที่มี
ชื่อมาแต่กำเนิด. บทว่า วนฺท ได้แก่ จงถวายบังคม. บทว่า ปาทานิ
ได้แก่ จรณะคือพระบาทอันเป็นสรณะของโลก พร้อมด้วยเทวโลก. บาท
คาถาว่า ตเมว อนุกมฺปาย ได้แก่ เพื่ออนุเคราะห์ท่านเท่านั้น. อธิบายว่า
เพื่อป้องกันการเกิดในอบายมาให้บังเกิดในสวรรค์. บทว่า อฏฺฐาสิ ได้แก่
ประทับยืนไม่เสด็จเข้าไปสู่พระนคร. บทว่า อิสิสตฺตโม ความว่า
พระองค์เป็นผู้สูงสุด คือ อุกฤษฏ์ กว่าฤษีชาวโลก พระเสขะ พระอเสขะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิสิสตฺตโม เพราะบรรดา
พุทธฤษีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็นฤษี [พระพุทธเจ้า] พระองค์
ที่ ๗.

180
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 181 (เล่ม 48)

บาทคาถาว่า อภิปฺปสาเทหิ มนํ ความว่า จงทำจิตของท่านให้
เลื่อมใสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ. บทว่า
อรหนฺตมฺหิ ตาทิเน ความว่า ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะกิเลสทั้งหลาย
ห่างไกล เพราะกำจัดกิเลสเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้าศึก เพราะกำจัดกำแห่ง
สังสารจักร เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย และเพราะไม่มีความลับ
ในการทำบาป ชื่อว่า ตาทิ เพราะถึงความคงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์
เป็นต้น. บาทคาถาว่า ขิปฺปํ ปญฺชลิกา วนฺท ความว่า ท่านจงประคอง
อัญชลีแล้วจงถวายบังคมเร็ว ๆ เถิด. หากถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า
เพราะชีวิตของท่านน้อยเต็มที่ เพราะชีวิตของท่านจะต้องแตกเป็นสภาพ
ในที่นี้ จึงยังเหลือน้อย คือนิดหน่อย.
พระเถระ เมื่อระบุพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๒ คาถา
อย่างนี้ อยู่ในอานุภาพของตน ทำนางให้สลดใจด้วยการชี้ชัดว่า นาง
หมดอายุ ประกอบนางไว้ในการถวายบังคมพระศาสดา. ก็นางได้ฟังคำ
นั้นแล้ว เกิดสลดใจ มีใจเลื่อมใสในพระศาสดา ถวายบังคมด้วย
เบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ได้ยืนมีจิตเป็นสมาธิ
ด้วยปีติอันซ่านไปในพระพุทธคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไป
พระนครพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ด้วยทรงดำริว่า เท่านี้ก็พอจะให้นางเกิดใน
สวรรค์ได้ดังนี้. ต่อมา แม่โคลูกอ่อนตัวหนึ่ง หันวิ่งตรงไปจากที่นั้น
เอาเขาขวิดนางจนเสียชีวิต. ท่านพระสังคีติกาจารย์ เพื่อแสดงเรื่องนั้น
ทั้งหมด ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
หญิงจัณฑาลผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอัน
อบรมแล้ว ธำรงไว้ซึ่งสรีระอันสุดท้าย ตักเตือนแล้ว

181