No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 162 (เล่ม 48)

ตรง สัตบุรุษประกาศแล้ว โปรดดูผลแห่งความ
พากเพียรออกจากกิเลส คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรค
ตามอุบายที่ต้องการ.
ในข้อนั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ มรรคใด ชื่อว่าต่อเนื่อง
สิกขาบททั้ง ๕ เพราะได้มาโดยเป็นอุปนิสัยแห่งสิกขาบท คือส่วนแห่ง
สิกขาทั้ง ๕ ที่สมาทานเป็นนิจศีล และสิกขาบททั้ง ๕ นั้นบริบูรณ์ เกิดขึ้น
ในสันดานใด มรรคนั้น ชื่อโสวัตถิกะคือสวัสดี เพราะทำสันดานนั้นให้
สำเร็จผลเป็นความสวัสดี และมีประโยชน์ดี โดยอาการทุกอย่าง ชื่อว่า
สิวะ เพราะไม่ถูกสังกิเลสธรรมเบียดเบียน และเพราะเหตุถึงความเกษม
ชื่อว่าอกัณฏกะ เพราะไม่มีหนามคือราคะเป็นต้น ชื่อว่าอคหนะ เพราะ
ตัดรกชัฏ คือกิเลส ทิฏฐิ และทุจริตได้เด็ดขาด ชื่อว่า อุชุ เพราะเป็น
เหตุปราศจากคดงอโกงทุกอย่าง อริยมรรค ชื่อสัมภิปเวทิตะ เพราะ
สัปบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ประกาศไว้แล้ว ดีฉัน แม้มีปัญหาแค่
สององคุลี ต้องการด้วยความพากเพียรออกจากกิเลสอันใดที่เป็นอุบาย
บรรลุอริยมรรคนั้นโดยประการใด ขอโปรดดูผลนี้ของความพากเพียร
ออกจากกิเลส คือความเพียรตามที่กล่าวแล้วนั้นเถิด โดยประการนั้น.
ท่านเรียกท้าวสักกะ ดังกล่าวมานี้.
เทวดากล่าวว่า ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราช ผู้มีอำนาจเชิญมา ก็
เพราะตนเองอยู่ในอำนาจท้าวสักกะ. อีกนัยหนึ่ง ท้าวสักกะ ชื่อวสวัตตี
เพราะใช้อำนาจความเป็นใหญ่ของตนในเทวโลกทั้งสอง [คือชั้นจาตุม-
มหาราชและชั้นดาวดึงส์]

162
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 163 (เล่ม 48)

ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจนั้นเชิญมา หรือท้าวเธอพึงเชื้อ
เชิญในเวลาเล่นกีฬาพลางสนทนาปราศรัยไปพลาง. ประกอบความว่า
ท่านจงดูผลแห่งความเพียรเป็นเหตุก้าวไปสู่คุณเบื้องหน้า. ดนตรีมีองค์ ๕
มีประเภทอาตตะกลองหน้าเดียว และวิตตะกลองสองหน้าเป็นต้นบรรเลง
พร้อมกันกับ ๑๒ มือ [ ๑๒x๕ ] จึงรวมเป็น ๖๐ ก็เทพธิดาหมายเอา
ดนตรีเครื่อง ๕ เหล่านั้นประมาณพันหนึ่งปรากฏแล้ว ด้วยนั่งอยู่ใกล้ ๆ
จึงกล่าวว่า สฏฺฐิ ตุริยสหสฺสานิ ปฏิโพธํ กโรนฺติ เม ดังนี้. ในบท
นั้น บทว่า ปฏิโพธํ ได้แก่ ปลุกปีติโสมนัส.
คำเป็นต้น ว่า อาลมฺโพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ระบุชื่อของ
เทพบุตรผู้ขับร้องประกอบเครื่องดนตรี โดยเอกเทศส่วนหนึ่ง แต่นั่นเป็น
ชื่อของเครื่องดนตรี. นางเทพธิดามีวีณาและโมกขาเป็นต้น. บทว่า
สุจิมฺหิตา คือ สุทธมิหิตา อนึ่ง นั่นเป็นชื่อเหมือนกัน. บทว่า มุทุกาวที
ได้แก่ การขับร้องนุ่มนวลยิ่งนัก หรือเป็นเพียงชื่อ. บทว่า เสยฺยาเส
คือประเสริฐกว่า. บทว่า อจฺฉรานํ คือน่าสรรเสริญกว่าในการขับร้อง
หมู่ในเหล่าเทพอัปสร. บทว่า ปโพธิกา คือทำการปลุกให้ตื่น.
บทว่า กาเลน คือตามกาลอันควร. บทว่า อภิภาสนฺติ ได้แก่
กล่าวต่อหน้า หรือน่ายินดียิ่ง เทพอัปสรกล่าวโดยประการใด เพื่อแสดง
ประการนั้น จึงกล่าวว่า หนฺท นจฺจาม คายาม หนฺท ตํ รมยามเส
ดังนี้.
บทว่า อิทํ ความว่า สถานที่อันเราได้แล้วนี้ หาความโศกมิได้
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าไม่มีความโศก เพราะมีพร้อมแห่งรูปเป็นต้นอันน่า
ใคร่ น่าปรารถนา น่ารักและน่าพอใจ ชื่อว่าน่าเพลิดเพลินเพราะเพิ่มพูน

163
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 164 (เล่ม 48)

ความยินดีตลอดกาลทุกเมื่อ นั่นแล. บทว่า ติทสานํ มหาวนํ ได้แก่
อุทยานทั้งใหญ่ ทั้งน่าบูชาของทวยเทพชั้นดาวดึงส์.
นางกล่าวโดยนัยเจาะจงว่า ชื่อว่าทิพยสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมได้
ด้วยอำนาจแห่งบุญกรรมเท่านั้น เมื่อแสดงโดยนัยไม่เจาะจงอีก ได้กล่าว
คาถาว่า สุขํ อกตปุญฺญานํ ดังนี้.
เมื่อกล่าวธรรมโดยทิพยสถานอันตนได้แล้ว เป็นที่น่าใคร่ทั่วไป
กับคนเหล่าอื่นอีก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า เตสํ สหพฺยกามานํ ดังนี้.
บทว่า เตสํ คือ ทวยเทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า สหพฺยกามานํ คือ
ปรารถนาอยู่ร่วมกัน. ก็คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถกัตตุ [ผู้นำ]. ชื่อว่า
สหวะเพราะไปคือเป็นไปร่วมกัน . ภาวะแห่งผู้ไปร่วมกันนั้น ชื่อว่า สหพฺยํ
เหมือนภาวะแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยํ. พระเถระแสดงธรรมแก่เทวดา
นั้นพร้อมกับบริวาร เมื่อเทวดาทำบุญกรรมของตนให้แจ่มแจ้งแล้ว
อย่างนี้ กลับมาจากเทวโลกแล้วก็กราบทูลเรื่องนั้น ถวายพระผู้มีพระภาค
เจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง
ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็น
ประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.
จบอรรถกถาทาสีวิมาน

164
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 165 (เล่ม 48)

๒. ลขุมาวิมาน
ว่าด้วยลขุมาวิมาน
[๑๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพธิดาว่า
ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านผู้มีรัศมีงามยิ่ง ส่อง
สว่างไสวไปทุกทิศ ประดุจดาวประกายพรึก ฉะนั้น
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี
ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ บ้านของดีฉันตั้งอยู่ใกล้
ทางออกประตูบ้านชาวประมง ดีฉันมีใจเลื่อมใสใน
พระอริยะผู้ตรงได้ถวายข้าวสุก ขนมสด ผักดอง และ
น้ำเครื่องดื่ม เจือด้วยรสต่าง ๆ แก่พระสาวกทั้งหลาย
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งกำลังท่องเที่ยวไปในบ้าน
นั้น ประการหนึ่ง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรด้วยดีในศีลทุก
เมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงได้ครอบครอง
วิมานนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นขาดจากการ
เอาสิ่งของของผู้อื่น ด้วยไถยจิต จากการประพฤติ
ล่วงละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจาก

165
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 166 (เล่ม 48)

การดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในเบญจศีล ฉลาดใน
อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ และ
พระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้
ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ อีก
ประการหนึ่ง ท่านเจ้าขา ขอพระคุณเจ้าถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
แล้วทูลตามคำของดีฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ของพระผู้
มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญู ก็ข้อ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์ดีฉันในสามัญ
ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นไม่น่าอัศจรรย์ดอกเจ้าค่ะ
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ใน
สกทาคามิผลแล้วเจ้าค่ะ.
จบลขุมาวิมาน
อรรถกถาขุมาวิมาน
ลขุมาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น. ลขุมา
วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี. พาราณสี-
นครมีประตูอยู่แห่งหนึ่งชื่อว่าประตูบ้านชาวประมง แม้หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ไม่

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 167 (เล่ม 48)

ห่างไกลประตูนั้น ก็รู้จักกันว่าประตูบ้านชาวประมง ที่ประตูบ้านนั้น มี
หญิงคนหนึ่งชื่อลขุมา สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและความรู้ เห็นภิกษุทั้งหลาย
เข้าไปทางประตูนั้น ไหว้แล้วนิมนต์ไปเรือนของตน ถวายภิกขาทัพพี
หนึ่ง เพราะความคุ้นเคยนั้นแล เมื่อศรัทธาเพิ่มพูนขึ้นจึงให้สร้างโรงฉัน
หลังหนึ่ง นำอาสนะเข้าไปถวายภิกษุทั้งหลาย ที่เข้าไปในโรงฉันนั้น
ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ได้ถวายข้าวสุก ขนมกุมมาส ผักดองซึ่งมีอยู่ใน
เรือนแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ตั้งอยู่
ในสรณะและศีล เป็นผู้มั่นคง เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อขวนขวาย
วิปัสสนาอยู่ ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะตนถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัย. เวลาย่อมานางทำกาละตายไปบังเกิดในมหติวิมานภพดาวดึงส์
มีนางเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวเทวจาริกไปได้ถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านผู้มีรัศมีงามสว่างไสวไป
ทุกทิศ ประดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไรท่าน
จึงมีวรรณะเช่นนี้ และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
บ้านของดีฉันตั้งอยู่ใกล้ทางออกประตูบ้านชาว
ประมง ดีฉันมีใจเลื่อมใสในท่านผู้ตรง ถวายข้าวสุก
ขนมกุมมาส ผักดองและน้ำส้ม เจือรสเค็มแก่พระ-
สาวกทั้งหลาย ผู้แสดงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งท่องเที่ยว

167
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 168 (เล่ม 48)

อยู่ที่ประตูบ้านชาวประมง ประการหนึ่ง ดีฉันได้เข้า
รักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ
ตลอดปาฏิหาริยปักข์ [ วันรับ- ส่ง] เป็นผู้สังวร
ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน
จึงได้ครอบครองวิมานนี้ ดีฉันเว้นจากปาณาติบาต
เว้นจากถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการ
ประพฤติล่วงละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาทและ
ห่างไกลจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในเบญจศีล
ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระ-
จักษุ และมีพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้นดีฉันจึงมี
วรรณะเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯ ล ฯ รัศมีของ
ดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
ประการหนึ่ง ขอท่านผู้เจริญ พึงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลตามคำของดีฉันว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรง
พยากรณ์ดีฉันในสามัญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ดีฉันในสกทาคามิผลแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวฏฺฏทฺวารา นิกฺขมฺม ความว่า
ใกล้ที่ออกไปจากประตูบ้านชาวประมง.

168
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 169 (เล่ม 48)

บทว่า ฑากํ ได้แก่ ผักดองและกับมีกะเพราเป็นต้น. บทว่า
โลณโสวีรกํ ความว่า น้ำปานะอย่างหนึ่ง ที่เขาปรุงพร้อมด้วยเครื่อง
ปรุงมากอย่างนั้นมีข้าวเปลือกเป็นต้น. บางพวกเรียกน้ำข้าวตังว่า น้ำ
เกลือก็มี.
เวลาจบการถามและการตอบ นางบรรลุสกทาคามิผล ด้วยธรรม
เทศนาของพระเถระ. คำที่เหลือ เหมือนนัยที่กล่าวมาในอุตตราวิมาน
นั้นแล.
จบอรรถถถาขุมาวิมาน.
๓. อาจามทายิกาวิมาน
ว่าด้วยอาจามทายิกาวิมาน
[๒๐] ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะตรัสถามถึงที่เกิดแห่งหญิงนั้น กะ
พระมหากัสสปเถระ จึงตรัสคาถาสองคาถา ความว่า
หญิงขัดสน ยากไร้ อาศัยชายคาเรือนของ
คนอื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่พระคุณ
เจ้าผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ซึ่งมาหยุดยืนนั่งอยู่เฉพาะ
หน้า ด้วยมือของตนเอง ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์
แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไหนหนอเจ้าข้า.
พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า

169
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 170 (เล่ม 48)

หญิงขัดสน ยากไร้ อาศัยชายคาเรือนของคน
อื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพผู้
กำลังเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ซึ่งมายืนหยุดนิ่งเฉพาะ
หน้า ด้วยมือของตนเองนั้น ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์
จุติจากมนุษยโลกนี้พ้นไปแล้ว เทวดาผู้มีฤทธิ์มาก
ชื่อนิมมานรดีมีอยู่ นางผู้ถวายเพียงข้าวตังเป็นทานก็
ถึงความสุขอันเป็นทิพย์ บันเทิงใจอยู่ในชั้นนิมมาน-
รดีนั้น.
ท้าวสักกเทวราชกล่าวสรรเสริญทานนั้นว่า
น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานอันหญิงยากไร้ตั้งไว้ดี
แล้วในพระคุณเจ้ามหากัสสป ได้ทักษิณาสำเร็จผล
แล้ว ด้วยไทยทานที่นำมาแก่ผู้อื่นหนอ. นางผู้งาม
ทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ได้รับอภิเษกเป็นเอก
อัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่
๑๖ ของอาจามทานนี้ ทองคำร้อยนิกขะ ม้าตั้งร้อย
ตัว รถเทียมม้าอัสดรร้อยคัน หญิงสาวผู้สวมกุณฑล-
มณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทาน
นี้ พระยาช้างตระกูลเหมวตะ เป็นช้างร่างใหญ่ มี
งางอน มีสายรัดทองคำ มีข่ายเครื่องประดับเป็น
ทองร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทาน
นี้ ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ จะครองความเป็นเจ้า

170
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 171 (เล่ม 48)

มหาทวีปทั้งสี่ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม-
ทานนี้.
จบอาจามทายิกาวิมาน
อรรถกถาอาจามทายิกาวิมาน
อาจามทายิกาวิมานมีคาถาว่า ปิณฺฑาย เต จรนฺตสฺส ดังนี้เป็นต้น.
อาจามทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีครอบครัวหนึ่งเป็นอหิวาตกโรค
คนในครอบครัวนั้นตายกันหมด เหลือหญิงคนหนึ่ง. หญิงนั้น ทิ้งเรือน
และทรัพย์และข้าวเปลือกที่อยู่ในเรือนทั้งหมด กลัวมรณภัย หนีไปทาง
ช่องฝาเรือน หมดที่พึ่ง ไปเรือนของคนอื่น อยู่ข้างหลังเรือนของเขา.
พวกผู้คนในเรือนนั้น คิดสงสาร ให้ข้าวต้มข้าวสวยและข้าวตังเป็นต้น
ที่เหลือในหม้อข้าวเป็นต้นแก่นาง. นางเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยข้าวตังของผู้คน
เหล่านั้น.
สมัยนั้น ท่านมหากัสสปะ เข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ออกจาก
นิโรธนั้นแล้วคิดว่า วันนี้เราจักอนุเคราะห์ใคร ด้วยการรับอาหารหนอ
จักเปลื้องใคร จากทุคติและจากทุกข์ เห็นหญิงนั้นใกล้ตาย และกรรม
ของนางที่จะนำไปนรก และโอกาสแห่งบุญที่นางได้ทำแล้ว คิดว่า เมื่อ
เราไป หญิงคนนี้จักถวายข้าวตังที่ตนได้แล้ว เพราะบุญนั้นนั่นแหละ นาง
จักเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี เมื่อเป็นดังนั้น เอาเถิดจำเราจักช่วยนาง

171