No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 152 (เล่ม 48)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมตํ ความว่า ปัญหานั้นใด. บทว่า
อนุปุจฺฉเส ได้แก่ พระองค์ตรัสถาม โดยอนุกูล. บทว่า มมํ แปลว่า
ข้าพระบาท. ปุรตฺถิ ตัดบทว่า ปุรํ อตฺถิ แปลว่า บุรีมีอยู่. บทว่า กาสีนํ
ได้แก่ แคว้นกาสี. เทวดาระบุนามตนในอัตภาพก่อน ว่า เปสการี
ประกาศบุญของตน ด้วยบทว่า พุทฺเธ จ ธมฺเม จ เป็นต้น.
ท้าวสักกะ เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติและทิพย์สมบัตินั้นของ
นาง จึงตรัสว่า
ดูก่อนเวลานาง ผู้มีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่น
ส่วนเดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว
เป็นผู้แน่นอนในธรรมคือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัยเราขอ
แสดงความยินดีสมบัติของเจ้า และการมาดีของเจ้า
เจ้ารุ่งโรจน์ด้วยธรรมและยศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺตฺยาภินนฺทามเส ได้แก่ เรายินดี
อนุโมทนา สมบัติแม้ทั้งสองของเจ้านั้น. บทว่า สฺวาคตญฺจ เต ได้แก่
และการมาในที่นี้ของเจ้า ที่ชื่อว่า สวฺาคต มาดี เป็นที่จำเริญสติและ
โสมนัสของเรา. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสบอกเรื่องนั้น ถวายท่านพระมหาโมคคัลลาน-
เถระ. พระเถระจึงกราบทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำความข้อนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทที่ประชุมกัน. เทศนานั้น เกิดประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.
จบอรรถกถาเปสการิยวิมาน

152
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 153 (เล่ม 48)

จบอรรถกถาปีฐวรรคที่ ๑ ประดับด้วย เรื่อง ๑๗ เรื่อง ใน
วิมานวัตถุ แห่งปรมัตถทีปนี้ อรรถกถาขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอิตถีวิมาน
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปีฐวิมาน ๒. ทุติยปีฐวิมาน ๓. ตติยปีฐวิมาน ๔. จตุตถ-
ปีฐวิมาน ๕. กุญชรวิมาน ๖. ปฐมนาวาวิมาน ๗. ทุติยนาวาวิมาน
๘. ตติยนาวาวิมาน ๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณาวิมาน ๑๑. ปฐม-
ปติพพตาวิมาน ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน ๑๓.ปฐมสุณิสาวิมาน ๑๔. ทุติย-
สุณิสาวิมาน ๑๕ อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน ๗. เปสการิยวิมาน
และอรรถกถา.

153
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 154 (เล่ม 48)

จิตตลดาวรรคที่ ๒
๑. ทาสีวิมาน
ว่าด้วยทาสีวิมาน
[๑๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า
ท่านแวดล้อมด้วยหมู่นางเทพนารี เที่ยวชมไป
โดยรอบในสวนจิตตดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจ
ท้าวสักกเทวราชทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือน
ดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงย่อมสำเร็จแก่ท่าน
และโภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.
ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ
ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้
ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และรัศมีของท่านจึง
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
ดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดิฉันเป็น
ทาสีหญิงรับใช้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกา
ของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พาก-
เพียรออกไปจากกิเลส ในศาสนาของพระโคดมผู้ทรง

154
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 155 (เล่ม 48)

พระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง
ร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การที่จะหยุด
ความเพียรในการเจริญกรรมฐาน เป็นอันไม่มีเป็น
อันขาด ทาง [ มรรค แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕]
เป็นทางสวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก
เป็นทางตรง อันสัตบุรุษทั้งหลาย ประกาศแล้ว
โปรดดูผลแห่งความพากเพียรคือ ที่ดีฉันบรรลุอริย-
มรรคตามอุบายที่ต้องการเกิด ดีฉันถูกท้าวสักกเทว
ราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่าอริยเทพหกหมื่นช่วยกัน
ปลุกดีฉัน คือ เทพบุตรอันมีนามว่าอาลัมพะ คัคคมะ
ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ โปกขระ และสุผัสสะ และ
เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ อันมีนามว่า วีณา โมกขา
นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา
มิสสเกสี และบุณฑริกา และนางเทพกัญญาอีกพวก
หนึ่งเหล่านี้ คือ นางเอนิปัสสา นางสุปัสสา นาง
สุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐกว่านางเทพอัปสร
ทั้งหลาย ก็ช่วยปลุกเทพอัปสรนั้น ได้เข้ามา
หาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วยวาจาที่น่ายินดี
ว่า เอาเถิด พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง จักนำท่าน
ให้รื่นรมย์ ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็นที่ไม่เศร้าโศก
เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้นไตรทศนี้ มิใช่สำหรับ
ผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากสำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น

155
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 156 (เล่ม 48)

ทั้งมิใช่ความสุขในโลกนี้และโลกหน้าสำหรับผู้ที่มิได้
ทำบุญไว้ หากเป็นความสุขในโลกนี้และโลกหน้า
สำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น รวมกับทวยเทพชั้นไตรทศ
เหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้
ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ
บันเทิงอยู่ในสวรรค์.
จบทาสีวิมาน

156
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 157 (เล่ม 48)

จิตตลดาวรรคที่ ๒
๑. อรรถกถาทาสีวิมาน
วรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ทาสีวิมานมีคาถาว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท ดังนี้เป็นต้น. ทาสี-
วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อุบาสกคนหนึ่ง
ชาวกรุงสาวัตถี ไปพระวิหารในเวลาเย็น กับอุบาสกเป็นอันมาก ฟัง
ธรรมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบริษัทออกไปแล้ว กราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จักถวายภัตตาหาร
ประจำ ๔ สำรับ แก่สงฆ์ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถา
อันสมควรแก่เขา ทรงปล่อยเขากลับไป. อุบาสกนั้น เรียนพระภัตตุท-
เทสก์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจัดภัตตาหารประจำไว้ ๔ สำรับ
ถวายสงฆ์ วันพรุ่งนี้ ขอพระเป็นเจ้า โปรดมาเรือนของข้าพเจ้าเถิดดังนี้แล้ว
กลับไปเรือนของตนบอกเรื่องนั้นแก่ทาสีแล้ว สั่งสำทับว่าเจ้าไม่พึงลืม
เรื่องนั้นตลอดเวลาเป็นนิตย์เชียวนะ ทาสีนั้นก็รับคำ. ตามปกติ นางมี
ศรัทธาสมบูรณ์ อยากได้ทำบุญมีศีล เพราะฉะนั้น จึงตื่นเช้าทุกวัน
ตระเตรียมข้าวและน้ำอันประณีต กวาดที่นั่งของพวกภิกษุ จัดเครื่องเรือน
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปูอาสนะ นิมนต์ภิกษุผู้เข้าไปก่อนให้นั่งบน
อาสนะเหล่านั้นแล้ว จึงไหว้บูชาด้วยของหอมดอกไม้ธูปและเทียน อังคาส
โดยเคารพ.

157
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 158 (เล่ม 48)

ต่อมาวันหนึ่ง นางเข้าไปหาภิกษุผู้ฉันเสร็จไหว้แล้ว จึงถามอย่าง
นี้ว่า ท่านเจ้าขา จะหลุดพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นนี้ ได้อย่างไรเจ้าคะ.
ภิกษุทั้งหลายให้สรณะและศีล ๕ แก่นางแล้ว ประกาศให้รู้สภาพของ
ร่างกาย ประกอบนางไว้ในปฏิกูลมนสิการใส่ใจว่าปฏิกูล ภิกษุอีกพวกหนึ่ง
กล่าวธรรมมีกถาที่เกี่ยวด้วยความไม่เที่ยง. นางรักษาศีลอยู่ ๑๖ ปี ทำ
โยนิโสมนสิการติดต่อกันมาตลอดวันหนึ่ง ได้ความสบายในการฟังธรรม
และเจริญวิปัสสนาเพราะญาณแก่กล้า ก็ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
สมัยต่อมา นางทำกาละแล้วไปเกิดเป็นนางบำเรอสนิทเสน่หาของท้าว
สักกเทวราช. นางอันดุริยเทพหกหมื่นบำเรออยู่ มีอุปสรแสนหนึ่งแวดล้อม
เสวยทิพย์สมบัติใหญ่ ร่าเริงบันเทิงพร้อมด้วยบริวาร เที่ยวไปในอุทยาน
เป็นต้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เห็นนางแล้ว ได้ถามโดยนัยที่กล่าว
ในหนหลังนั่นแหละว่า
ท่านแวดล้อมด้วยหมู่เทพนารี เที่ยวชมไปโดย
รอบในสวนจิตตลดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าว
สักกเทวราช ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ.
เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน
และโภคทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.
ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม
ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่าน
จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึง
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

158
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 159 (เล่ม 48)

นางเทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทวดา
ตอบว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น
ทาสีหญิงรับรู้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกา
ของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พาก-
เพียงออกไปจากกิเลส ในศาสนาของพระโคดมผู้ทรง
พระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง
ร่างกายนี้ จะแตกทำลายไปก็ตามที่ การจะหยุด
ความเพียรในการเจริญกัมมัฏฐานนี้ ไม่มีเป็นอันขาด
ทาง [ มรรค ] แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕] เป็นทาง
สวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทางตรง
สัตบุรุษประกาศแล้ว ท่านโปรดดูผลแห่งความเพียร
คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรค ตามอุบายที่ต้องการเกิด
ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่า
ดุริยเทพหกหมื่น ช่วยกันปลุกดีฉัน คือ เทพบุตร
นามว่า อาลัมพะ คัคคมะ ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ
โปกขระ และสุผัสสะ และเหล่าเทพธิดาวัยรุ่น นาม
ว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา
สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี บุณเฑริกา และ
เทพกัญญาอีกพวกหนึ่งเหล่านี้คือ นางเอนิปัสสา

159
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 160 (เล่ม 48)

นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐ
กว่าเทพอัปสรทั้งหลาย ก็ช่วยกันปลุกเทพอัปสรเหล่า
นั้น ได้เข้ามาหาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วย
วาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถิดพวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง
จักนำท่านให้รื่นรมย์ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็น
ที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้น
ไตรทศนี้ มิใช่สำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากเป็นของ
สำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น มิใช่สุขทั้งในโลกนี้และ
โลกหน้า หากเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
สำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น อันบุคคลผู้ปรารถนาร่วมกับ
ทวยเทพชั้นไตรทศเหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้
ให้มาก เพราะว่าผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อม
ด้วยโภคสมบัติบันเทิงอยู่ในสวรรค์.
ในบทเหล่านั้นอปิศัพท์ ในบทว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท นี้ ใช้ใน
สัมภาวนะความยกย่อง. อิวศัพท์ ท่านลบสระอิออกกล่าวความอุปมา.
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าประดุจท้าวสักกะจอมทวยเทพ ท่านกล่าวยกย่อง
เทวดานั้นดุจท้าวสักกะ ก็เพื่อแสดงบริวารสมบัติของเทวดานั้น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า จิตฺตลตาวเน ได้แก่ ที่
บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งบุญของนางเทพธิดาชื่อจิตตา. อนึ่ง เทวอุทยาน
ได้นามว่าจิตตลดาวัน เพราะโดยมากในสวนนั้นมีเถาไม้อันเป็นทิพย์ชื่อ
สันตานกะเป็นต้น อันวิจิตรคือประกอบด้วยความวิเศษแห่งดอกไม้และ

160
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 161 (เล่ม 48)

ผลไม้เป็นต้นอันงดงาม.
บทว่า ปรเปสฺสิยา ได้แก่ หญิงรับใช้ในกิจนั้น ๆ ในตระกูล
แห่งชนเหล่าอื่น. อธิบายว่า ขวนขวายงานของคนเหล่าอื่น.
บทคาถาว่า ตสฺสา เม นิกฺกโม อาสิ สาสเน ตสฺส ตาทิโน
ความว่า เมื่อดีฉันนั้นเป็นทาสีอยู่ เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคพุทธ-
เจ้า ผู้มีพระจักษุ ๕ รักษาศีลทำมนสิการกัมมัฏฐานอยู่ ๑๖ ปี ครั้น
กัมมัฏฐานกล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เมื่อเกิดขึ้นแก่ดีฉันด้วยอานุภาพ
แห่งมนสิการ ความเพียรชอบซึ่งนับเข้าในสัตถุศาสน์นั้นได้ชื่อว่า นิกกมะ
เพราะออกไปจากฝ่ายสังกิเลสธรรม ได้มีได้เป็น คือ ในสัตถุศาสน์ของ
พระโคดมผู้ชื่อว่ามีพระคุณคงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยสมบัติคือลักษณะของ
ผู้คงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น.
ก็เพื่อแสดงอาการที่เป็นไปส่วนเบื้องต้น ของความเพียรนั้น. เทวดา
จึงกล่าวว่า กามํ ภิชฺชตุยํ กาโย เนว อตฺเถตฺถ สนฺถนํ ดังนี้ คาถา
นั้นมีอธิบายว่า ดีฉันปลุกความเพียรว่า ถ้าว่าร่างกายของเราจะแตก
ทำลายไปก็ตามที ดีฉันไม่ทำความเยื่อใย แม้เพียงเล็กน้อยในกายนี้เสียไป
เราจะไม่หยุดความเพียร คือทำความเพียรให้หย่อน ในการเจริญกัมมัฏฐาน
นี้เป็นอันขาด แล้วขวนขวายวิปัสสนา.
บัดนี้ เทวดาเมื่อจะแสดงคุณที่ตนขวนขวายวิปัสสนานั้น อย่างนั้น
ได้มาแล้ว จึงกล่าวว่า
ทาง [ มรรค] แห่งสิกขาบท ๕ เป็นทาง
สวัสดี มีความเจริญ ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทาง

161