No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 142 (เล่ม 48)

ชื่อว่าอสังขตะ เพราะปัจจัยไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้. ประกอบความว่า ได้
ทรงแสดงอริยสัจจธรรม ชื่อทุกขนิโรธ เพราะดับทุกข์ในวัฏฏะหมดสิ้น
ชื่อว่า สัสสตะ เพราะเป็นของจริงทุกสมัยแก่ดีฉัน. บทว่า มคฺคญฺจิมํ
อกุฏิลมญฺชสํ สีวํ ความว่า มรรคชื่อว่า อกุฏิละไม่คด เพราะเว้น
ขาดอันตะทางสุดทั้งสอง [ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลถานุโยค ]
และเพราะละกิเลสมีมายาเป็นต้นที่ทำให้คด และความคดทางกายเป็นอาทิ
เสียได้ ชื่อว่า อัญชสะทางตรง ก็เพราะไม่คดเคี้ยวนั้นนั่นเอง. ชื่อว่า
สิวะเกษม คือนิพพาน ก็เพราะตัดกิเลสมีกามราคะเป็นต้นที่ทำให้ไม่เจริญ
รุ่งเรืองได้เด็ดขาด. บทว่า มคฺคํ ประกอบความว่า ได้ทรงแสดงแก่
ดีฉัน ถึงอริยสัจกล่าวคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่ประจักษ์แล้วแก่ท่าน
และดีฉันนี่ ซึ่งได้นามว่า มรรค ก็เพราะผู้ต้องการพระนิพพานแสวงหา
กัน หรือเพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไป.
ในบทว่า สุตฺวานหํ อมตปทํ อสงฺขตํ ตถาคตสฺส อนธิวรสฺส
สาสนํ นี้ มีความย่อดังนี้ว่า ดีฉันได้ฟังพระสัทธรรมคำสอนของพระผู้
ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถมีการเสด็จมาอย่างนั้นเป็นต้น ผู้เป็นพระ-
สัมมาสัมพุทธะนี้ชื่อว่า อนธิวระ เพราะเป็นผู้เลิศในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก อันชื่อว่า อมตบท อสังขตะ เพราะทรงแสดงเจาะจงถึงพระ-
นิพพาน ที่เป็นอมตบท อสังขตะ เพราะเป็นอุบายให้ดำเนินถึงอมตะ
หรือพระนิพพาน และเพราะพระนิพพาน แม้ปัจจัยไร ๆ ก็พึงปรุงแต่ง
ไม่ได้. บทว่า สีเลสฺวาหํ ได้แก่ ดีฉัน ในศีลทั้งหลาย ที่พึงเผล็ดผล.
บทว่า ปรมสุสํวุตา ได้แก่ สำรวมดีอย่างยิ่ง คือโดยชอบทีเดียว. บทว่า
อหุํ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า ธมฺเม  ิตา ได้แก่ ตั้งอยู่ในปฏิปัตติธรรม.

142
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 143 (เล่ม 48)

บทว่า ญตฺวาน ได้แก่ รู้ด้วยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. บทว่า
ตตฺเถว แปลว่า ในขณะนั้นนั่นเอง หรือในอัตภาพนั้นนั่นแล. บทว่า
สมถสมาธิมาผุสํ ได้แก่ สัมผัส คือประสบ โลกุตรสมาธิ ที่เป็น
สมถะฝ่ายปรมัตถ์ เพราะสงบ เพราะระงับ โดยตัดธรรมฝ่ายข้าศึกได้
เด็ดขาด ก็ผิว่า ขณะใด ตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ขณะนั้นนั่น
แหละ ก็เป็นอันตรัสรู้ด้วยการเจริญมรรค แต่เที่ยวแสดงการรู้ทะลุปรุโปร่ง
ซึ่งอารมณ์ ทำให้เป็นเหมือนเหตุที่การรู้ทะลุปรุโปร่งด้วยการเจริญ สำเร็จ
เป็นเบื้องต้น เทวดาจึงกล่าวว่า ดีฉันรู้บทที่ปราศจากกิเลสดุจธุลี ที่
ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ซึ่งพระตถาคตผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่าทรงแสดง
แล้ว ดีฉันจึงได้สัมผัสสมาธิทางสมถะ ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือนดัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาศัยจักษุและรูป จักษุวิญญาณ จึงเกิด
ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ญตฺวาน พึงทราบว่า เทวดากล่าวโดยที่การ
เสมอกัน [ พร้อมกัน ] เหมือนดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดวง-
อาทิตย์อุทัยสู่ท้องฟ้า กำจัดมืดได้หมด. บทว่า สาเยว แปลว่า ความ
สัมผัสโลกุตรสมาธิ ที่ได้แล้วนั่นแหละ. บทว่า ปรมนิยามตา ได้แก่
เป็นความแน่นอนแห่งมรรค อย่างยิ่งสูงสุด.
บทว่า วิเสสํ ได้แก่ แปลก คือให้สำเร็จความผิดแผกจากปุถุชน
ทั้งหลาย. บทว่า เอกํสิกา ได้แก่ หมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ที่มี
การยึดมั่นส่วนเดียวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี
แล้ว. บทว่า อภิสมเย วิเสสิย ได้แก่ บรรลุคุณวิเศษ โดยการรู้
ทะลุปรุโปร่งซึ่งสัจจะ เกจิอาจารย์กล่าวว่า วิเสสินี ก็มี อธิบายว่า มี

143
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 144 (เล่ม 48)

คุณวิเศษ เพราะเหตุตรัสรู้. บทว่า อสํสยา ได้แก่ ชื่อว่า ปราศจาก
ความสงสัย เพราะละความสงสัยที่มีวัตถุ ๑๖ และวัตถุ ๘ ได้แล้ว.
เกจิอาจารย์กล่าวว่า อสํสิยา. บทว่า พหุชนปูชิตา ความว่า มีคุณที่ผู้
ไปสุคติอื่นพึงปรารถนา. บทว่า ขิฑฺฑา รตึ ได้แก่ ความยินดีเล่น อีกอย่าง
หนึ่ง เล่นด้วย ยินดีด้วย คือ อยู่ด้วยการเล่น และสุขด้วยความยินดี.
บทว่า อมตทสมฺหิ ได้แก่ ดีฉันเป็นผู้เห็นอมตะ เห็นพระ-
นิพพาน. บทว่า ธมฺมทสา ได้แก่ เห็นธรรมคือ สัจจะ ๔. บทว่า
โสตาปนฺนา ได้แก่ ผู้ถึงกระแสอริยมรรคเบื้องต้น. บทว่า น จ ปนมตฺถิ
ความว่า ก็แต่ดีฉันไม่มีทุคติ เพราะไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดากันละ.
บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ นำมาซึ่งความเลื่อมใส. บทว่า กุสลรเต
ได้แก่ ผู้ยินดีในกุศล ธรรมที่ไม่มีโทษ พระนิพพาน. บทว่า ภิกฺขโว
แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า นมสฺสิตุํ อุปาคมึ ประกอบกับบทว่า
สมณสมาคมํ สิวํ เชื่อมความว่า และดีฉันเข้ามา ก็เพื่อจะนั่งใกล้
สมาคม สังคม ที่เจริญรุ่งเรือง ที่มีธรรมเกษม ของเหล่าพระสมณะ
ผู้สงบบาป พุทธสาวกของพระพุทธเจ้า. บทว่า สิริมโต ธมฺมราชิโน
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ อธิบายว่าในพระธรรมราชา ผู้ทรงสิริ ก็พวกเกจิอาจารย์
ก็กล่าวกันดังนี้ทั้งนั้น.
บทว่า มุทิตมนมฺหิ แปลว่า ดีฉันมีใจบันเทิงแล้ว. บทว่า ปีณิตา
ได้แก่ ยินดีแล้ว อีกอย่างหนึ่ง อิ่มแล้ว โดยรสแห่งปีติ. บทว่า นรวร-
ธมฺมสารถึ ได้แก่ พระผู้ชื่อว่า นรวรทัมนสารถี เพราะทรงเป็นผู้ชื่อว่า
พระผู้ประเสริฐ เพราะเป็นบุคคลผู้เลิศด้วย เป็นผู้ชื่อว่า ทัมมสารถี
เพราะทรงนำผู้ที่ควรฝึก คือ เวไนยสัตว์ที่ควรฝึกให้แล่นมุ่งหน้าไปสู่

144
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 145 (เล่ม 48)

พระนิพพานด้วย . บทว่า ปรมหิตานุกมฺปกํ ได้แก่ ทรงอนุเคราะห์สัตว์
ทั้งปวง ด้วยประโยชน์เกื้อกูล อย่างยิ่ง อย่างสูงสุด.
สิริมาเทพธิดา ครั้นประกาศความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย โดยมุข
คือประกาศลัทธิของตนอย่างนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ภิกษุสงฆ์ ทำประทักษิณเวียนขวาแล้ว ก็กลับเทวโลกแห่งเดิม พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องที่มาถึงแล้วนั้นนั่นแหละ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ
เกิดเรื่องแล้วทรงแสดงธรรม. จบเทศนา ภิกษุผู้กระสันก็บรรลุพระอรหัต
พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล.
จบอรรถกถาสิริมาวิมาน
๑๗. เปสการิยวิมาน
ว่าด้วยเปสการิยวิมาน
[๑๗] ท้าวสักกเทวราชตรัสถามว่า
วิมานนี้งดงามส่องแสงรุ่งเรืองประจำ มีเสา
แก้วไพฑูรย์ สดใสไร้มลทิน ต้นไม้ทองคำปกคลุม
โดยรอบ เป็นสถานที่เกิดด้วยผลกรรมของเรา เทพ-
อัปสรที่มีอยู่ก่อนตั้งแสนเหล่านั้น ก็เกิดในวิมานนั้น
เพราะกรรมของตนเอง.
เจ้าเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศก็เข้าอยู่
ส่งรัศมีข่มเทวดาที่เกิดก่อน พระจันทร์ราชาแห่ง

145
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 146 (เล่ม 48)

ดาวนักษัตรส่งข่มหมู่ดาวฉันใด เจ้าเมื่อส่งแสงก็
รุ่งโรจน์ข่มเทพอัปสรทั้งหมด โดยบริวารยศฉันนั้น
เหมือนกัน ดูก่อนเทพธิดาผู้มีพักตร์ชวนพิศ เจ้ามา
จากภพไหนจึงได้มาถึงภพของเรานี้ เราทั้งหมดไม่อิ่ม
ด้วยการพบเจ้าเหมือนเทพเจ้าชาวไตรทศรวมหมดทั้ง
พระอินทร์ ไม่อิ่มด้วยการพบองค์พระพรหมฉะนั้น.
เทพธิดา อันท้าวสักกเทวราชตรัสถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะประกาศ
เนื้อความนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า
ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ตรัสถามข้า-
พระบาทถึงปัญหาอันใดว่า จุติมาจากภพไหนจึงได้มา
ถึงภพของเรานี้ กรุงพาราณสี เป็นราชธานีของแคว้น
กาสี เมื่อก่อนข้าพระบาทอยู่ในนครนั้น เป็นธิดา
นายช่างหูก เป็นผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระ-
ธรรม และพระสงฆ์ เชื่อมั่นโดยส่วนเดียว ไม่สงสัย
มีสิกขาบทอันได้สมาทานแล้วไม่ขาดวิ่น ได้บรรลุ
อริยผลเป็นผู้แน่นอนในธรรม คือความตรัสรู้ เป็นผู้มี
อนามัย.
ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติของเทพธิดานั้น
จึงตรัสกึ่งคาถาว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้รุ่งเรืองด้วยยศโดยธรรม มีใจ
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เชื่อมั่นโดยส่วนเดียว ไม่สงสัย ผู้มีสิกขาบทไม่ขาด

146
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 147 (เล่ม 48)

วิ่น บรรลุอริยผล ผู้แน่นอนในธรรมคือความตรัสรู้ผู้มี
อนามัย เราขอแสดงความยินดีต่อบุญสมบัตินั้นของ
ท่าน และการมาดีของท่าน.
จบเปสการิยวิมาน
อรรถกถาเปสการิยวิมาน
เปสการิยวิมาน มีคาถาว่า อิทํ วิมานํ รุจิรํ ปภสฺสรํ เป็นต้น.
เปสการิยวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุง-
พาราณสี สมัยนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งแล้ว ถือบาตรจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงพาราณสี. ภิกษุเหล่านั้นเดินเข้าไปใกล้ประตูเรือนของ
พราหมณ์ผู้หนึ่ง ในเรือนหลังนั้นธิดาของพราหมณ์ ชื่อเปสการี กำลัง
เก็บเหาจากศรีษะของมารดา ใกล้กับประตูเรือน เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลัง
เดินไป จึงพูดกะมารดาว่า แม่จ๋า นักบวชเหล่านี้ ยังหนุ่มแน่นอยู่ใน
ปฐมวัย สะสวย น่าดูน่าชม ละเอียดอ่อน ชะรอยจะสูญเสียอะไรบางอย่าง
ไปกระมัง เหตุไรหนอจึงพากันบวชในวัยนี้นะแม่นะ มารดาพูดกะธิดาว่า
ลูกเอ๋ย มีโอรสเจ้าศากยะ ออกผนวชจากราชตระกูลศากยะเกิดเป็นพระ-
พุทธเจ้าขึ้นในโลก. พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นักบวชเหล่านี้ฟังธรรมของ

147
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 148 (เล่ม 48)

พระองค์แล้ว ก็พากันออกบวช จ้ะลูก.
สมัยนั้น อุบาสกผู้หนึ่ง บรรลุผลรู้แจ่มแจ้งคำสั่งสอน เดินไปตาม
ถนนนั้น ได้ยินคำกล่าวนั้นแล้ว ก็เข้าไปหาสตรีทั้งสองนั้น. ขณะนั้น
พราหมณ์จึงกล่าวกะอุบาสกผู้นั้นว่า ท่านอุบาสก เดี๋ยวนี้ กุลบุตรจำนวน
มาก สละโภคสมบัติเป็นอันมาก สละเครือญาติใหญ่ ๆ พากันบวชใน
ลัทธิสมัยของพระศากยเจ้า กุลบุตรเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
หนอ จึงพากันบวช อุบาสกฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า เห็นโทษในกามทั้ง
หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช แล้วจึงขยายความนั้นตามสมควร
แก่กำลังความรู้ของตน โดยพิสดาร พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย
ประกาศคุณานิสงส์ของศีล ๕ ทั้งปัจจุบัน ทั้งภายหน้า ลำดับนั้น ธิดา
ของพราหมณ์จึงถามอุบาสกนั้นว่า แม้เราก็สามารถตั้งอยู่ในสรณะและศีล
แล้วบรรลุคุณานิสงส์ที่ท่านกล่าวได้หรือ อุบาสกนั้นกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั่วไปแก่คนทุกคน เหตุไรจะไม่สามารถเล่า
แล้วได้ให้สรณะและศีลแก่นาง ธิดาพราหมณ์นั้น รับสรณะ สมาทาน
ศีลแล้ว ถามอีกว่า กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้มีอีกไหม. อุบาสกนั้นกำหนดว่า
นางเข้าใจ รู้ว่านางคงจักพรักพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อจะประกาศสภาวะ
ของร่างกาย จึงบอกกรรมฐานคืออาการ ๓๒ ให้นางเกิดคลายความรัก
ในกายสูงขึ้นไปก็ให้สลดใจด้วยธรรมกถา ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ มี
ความไม่เที่ยงเป็นต้น บอกทางวิปัสสนาให้แล้วก็ไป. ธิดาของพราหมณ์
นั้น สนใจทุกคำ ที่อุบาสกนั้นกล่าวนัยไว้แล้ว มีจิตมั่นคงในการใส่ใจ
ปฏิกูลสัญญา เริ่มตั้งวิปัสสนา เพราะความพรักพร้อมแห่งอุปนิสัยไม่
นานนัก ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สมัยต่อมา นางก็ตายไปบังเกิดเป็น

148
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 149 (เล่ม 48)

บริจาริกาของท้าวสักกเทวราช มีบริวารถึงแสนหนึ่ง ท้าวสักกเทวราช
เห็นนางแล้ว เกิดอัศจรรย์จิตมีหฤทัยบันเทิง จึงตรัสถามถึงกรรมที่นาง
ทำด้วย ๔ คาถาว่า
วิมานนี้ น่ารัก มีรัศมีสว่างเป็นประจำ มีเสา
แก้วไพฑูรย์ เนรมิตไว้ดีแล้ว ต้นไม้ทองทั้งหลาย
ปกคลุมโดยรอบ เป็นสถานที่เกิดด้วยวิบากกรรมของ
เรา อัปสรที่มีอยู่ก่อนเหล่านี้ เกิดอยู่แล้วในที่นั้น
จำนวนแสนหนึ่ง ด้วยกรรมของตนเอง ตัวเจ้าผู้มียศ
ก็เกิดในที่นั่น ส่องรัศมีข่มเหล่าเทวดาเก่า ๆ ดวงจันทร์
ราชาแห่งดวงดาว รุ่งโรจน์ข่มหมู่ดาว ฉันใด ตัวเจ้า
รุ่งเรืองอยู่ด้วยยศก็รุ่งโรจน์ ข่มอัปสรหมู่นี่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ดูก่อนเทพธิดาผู้มีพักตร์ชวนพิศ ตัวเจ้ามาจาก
ไหน จึงมาถึงภพนี้ของเรา พวกเราทุกองค์ไม่อิ่ม
ด้วยการเห็นเจ้าเลย เหมือนทรงเทพชั้นไตรทศ พร้อม
ด้วยองค์อินทร์ ไม่อิ่มด้วยกายเห็นองค์พระพรหม
ฉะนั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า อิทํ อิมานํ ในคาถานั้น ทรงหมายเอา
วิมานของพระองค์ ซึ่งเทวดานั้นเกิดแล้ว. บทว่า สสตํ ประกอบ
ความว่า น่ารัก มีรัศมีสว่างทุกเวลา อีกนัยหนึ่ง บทว่า สสตํ ได้แก่
แผ่ไปโดยชอบ อธิบายว่า กว้างขวางอย่างยิ่ง. บทว่า สมนฺตโมตฺถตํ

149
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 150 (เล่ม 48)

ได้แก่ ปกคลุมโดยรอบ. ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ฐานํ ทรงหมายเอา
วิมานนั่นเอง. จริงอยู่วิมานนั้น เรียกว่า ฐานะ สถาน เพราะเป็นที่คน
ทำบุญดำรงอยู่. บทว่า กมฺมวิปากสมฺภูตํ ได้แก่ เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม
หรือเกิดพร้อมกับวิบากของกรรม. บทว่า มมํ พึงประกอบเข้ากับสอง
บทว่า อิทํ มม ฐานํ มม กมฺมวิปากสมฺภวํ สถานของเรานี้ เกิดด้วย
วิบากกรรมของเรา.
ในคาถาว่า ตตฺรูปปนฺนา มีความย่ออย่างนี้ว่า เหล่าบุพเทวดา
เพราะเกิดขึ้นก่อน ชื่อว่าอัปสรมีอยู่ก่อนเหล่านี้ จำนวนแสนหนึ่งเข้าถึง
คือเกิดขึ้น ในวิมานนั้น คือในวิมานตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า ตุวํสิ
ได้แก่ ตัวเจ้าเป็นผู้เข้าถึง เกิดขึ้นด้วยกรรมของตนเอง. บทว่า ยสสฺสินี
ได้แก่ ผู้พรักพร้อมด้วยปริวารยศ อธิบายว่า ตัวเจ้าส่องรัศมีรุ่งโรจน์ตั้งอยู่
ด้วยกรรม คือ อานุภาพกรรมของตนนั้นนั่นแล.
บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศรัศมีนั้นด้วยอุปมา จึง
ตรัสคาถาว่า สสี เป็นต้น. ความของคาถานั้นว่า ดวงจันทร์ได้ชื่อว่า
สสี เพราะประกอบด้วยตรารูปกระต่าย และชื่อว่าราชาแห่งดวงดาว
เพราะมีคุณยิ่งกว่าดวงดาวทั้งหลาย ย่อมรุ่งโรจน์รุ้งร่วง ข่มงำดวงดาว
ทุกหมู่ ฉันใด ตัวเจ้าเมื่อรุ่งเรื่องด้วยยศของตน ก็รุ่งโรจน์โชติช่วง
ล้ำอัปสรเทพกัญญาหมู่กลุ่มนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ก็คำว่า อิมา และ อิมํ
เป็นเพียงนิบาต. แต่เกจิอาจารย์กล่าวว่า เจ้ารุ่งโรจน์เหมือนราชาแห่ง
ดวงดาว รุ่งโรจน์ล้ำหมู่ดาวฉะนั้น.
บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสถามถึงภพก่อนของเทวดานั้น
และบุญที่เทวดานั้นทำไว้ในภพนั้น จึงตรัสถามว่า กุโต นุ อาคมฺม

150
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 151 (เล่ม 48)

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุโต นุ อาคมฺม ความว่า ดูก่อน
นวลนางผู้ดูไม่จืดเลย คืองามทุกส่วนสัด เพราะบุญกรรมอะไรหนอ เป็น
ตัวเหตุ ตัวเจ้าจึงมาเข้าถึง คือเข้าถึงโดยการถือกำเนิด ยังภพของเรานี้.
ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศความที่ตรัสว่า อโนมทสฺสเน นี่แล
ด้วยอุปมา จึงตรัสว่า พฺรหฺมํว เทวา ติทสา สหินฺทกา สพฺเพน
ตปฺปามเส ทสฺสเนน ตํ. ในคาถานั้น ความว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์
ที่ชื่อว่า สหินทกะ เพราะพร้อมด้วยองค์อินทร์ เมื่อพบท้าวสหัมบดีพรหม
หรือสนังกุมารพรหมที่เสด็จถึง ย่อมไม่อิ่มด้วยการเห็น ฉันใด พวกเรา
ทวยเทพทุกองค์ย่อมไม่อิ่ม ด้วยการเห็นเจ้า ฉันนั้น.
ก็เทวดาองค์นั้น ถูกท้าวสักกะ จอมทวยเทพตรัสถามอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ทรงพระกรุณา
ตรัสถามข้าพระบาทถึงปัญหาข้อนี้ได้ว่า เจ้าจุติจาก
ที่ไหนจึงมา ณ ที่นี้ ข้าพระบาทขอทูลตอบปัญหาข้อ
นั้นว่า ราชธานีของแคว้นกาลีมีอยู่ชื่อว่า พาราณสี
ข้าพระบาทเกิดในราชานี้นั้น มีชื่อว่า เปสการี
เพคะ.
ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่นส่วน
เดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว
เป็นผู้แน่นอนในธรรม คือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัย.

151