No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 132 (เล่ม 48)

สิริมาหรือ. ทูลว่า พระเจ้าข้าขอรับ. ตรัสว่าถ้าอย่างนั้น โปรดให้ตีกลอง
ป่าวประกาศไปในพระนครว่า คนทั้งหลายจงให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้วรับ
สิริมาไป. พระราชาตรัสสั่งให้ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์. บรรดาคน
เหล่านั้น ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่จะพูดว่าฉันรับ พระราชาจึงกราบทูลพระ-
ศาสดาว่า ไม่มีคนรับ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงลดราคาลง
มาสิ มหาบพิตร. พระราชาก็ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า ใครให้ทรัพย์
๕๐๐ ก็จงรับสิริมาไป ไม่ทรงเห็นใคร ๆ ที่จะรับ จึงให้ตีกลองป่าว
ประกาศลดราคาลง ๒๕๐, ๒๐๐, ๑๐๐, ๕๐, ๒๕, ๒๐, ๑๐, ๕, ๑
กหาปณะ ครึ่งบาท ๑ มาสก ๑ กากณึก, ให้เปล่า ๆ [ไม่คิดราคา]
บรรดาชนแม้เหล่านั้น ก็ไม่มีใครพูดว่า ฉันรับ ๆ. พระราชาจึงกราบทูล
ว่า ให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีคนรับ พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงแสดงว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูมาตุคาม ซึ่งเป็นที่รักของมหาชน แต่ก่อน
คนทั้งหลายในพระนครนี้ ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ก็ได้นางไปตลอดวันหนึ่ง
บัดนี้ให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีคนรับ นามรูปเห็นปานนี้ ถึงความสิ้นไปเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา ทำให้งดงามด้วยเครื่องประดับภายนอกก็ยังมีแผล โดย
ปากแผลทั้ง ๙ อันกระดูก ๓๐๐ ท่อน สร้างเป็นโครงขึ้น อาดูรเดือดร้อน
อยู่เป็นประจำ ชื่อว่า มีความดำริมาก เพราะมหาชนผู้เขลา ดำริโดย
ส่วนมากอย่างเดียว อัตภาพที่ไม่ยั่งยืน ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า
ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ อรุกายํ สมุสฺสิตํ
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิ ตี

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 133 (เล่ม 48)

เธอจงดูรูปกาย ที่ปัจจัยทำให้งดงาม มีแผล
กระดูกสร้างเป็นโครงขึ้น มีความเดือดร้อน มีความ
ดำริมาก ซึ่งไม่มีความยืนยงคงที่เลย.
จบเทศนา ภิกษุที่มีจิตติดพันนางสิริมา ก็ปราศจากฉันทราคะ
เจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัต. สัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้
ธรรมาภิสมัย ตรัสรู้ธรรม.
สมัยนั้น สิริมาเทพกัญญาสำรวจความสำเร็จแห่งสมบัติของตน
ตรวจดูที่มาก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับยืน และ
หมู่มหาชนประชุมกัน ใกล้เรือนร่างของตนในอัตภาพก่อน จึงมีเทพ-
กัญญา ๕๐๐ ห้อมล้อม มาปรากฏกายกับรถ ๕๐๐ ลงจากรถแล้ว มี
บริวารตามมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนทำอัญชลีประนมมือ
ไหว้. สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยืนอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การถามปัญหาข้อหนึ่ง แจ่มแจ้งกะ
ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ การ
ถามปัญหาจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด [ ทรงอนุญาตให้ถามปัญหากะเทพธิดา
ได้ ] ท่านพระวังคีสะ จึงได้ถามสิริมาเทพธิดาว่า
ม้าทั้งหลายของท่าน เทียมรถแล้ว ประดับ
อย่างวิเศษ บ่ายหน้าลงไปในอากาศ [ เหาะได้ ] มี
กำลังว่องไว ม้าทั้งหลายของท่านเทียมรถ ๕๐๐ อัน
บุญกรรมเนรมิตแล้ว สารถีเตือนแล้วก็พาท่านไป.

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 134 (เล่ม 48)

ท่านประดับองค์แล้ว ส่องแสงสว่าง ราวกะ
ดวงไฟโชติช่วง ยืนอยู่เหนือรถอันเพริศแพร้ว.
ดูก่อนเทพธิดาผู้อ่าองค์ ดูไม่จืดเลย อาตมาขอถาม
ท่าน ท่านมาจากเทพหมู่ไร จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้ไม่มีผู้ใดประเสริฐยิ่งกว่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺตา จ เต ปรมอลงฺกตา หยา
ความว่า หยะคือม้าทั้งหลายของท่านคือที่เทียมรถของท่าน ประดับด้วย
อลังการอย่างเยี่ยม อย่างเหลือเกิน อย่างวิเศษ หรือประดับด้วยเครื่อง
อลังการของม้า อันเป็นทิพย์อย่างยิ่ง สูงสุด หรือม้าอาชาไนยอย่างยิ่ง
เลิศประเสริฐสุด ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง หรือว่า ม้าที่เทียมรถ
เหมาะแก่ท่านและรถของท่าน หรือเทียมรถแล้วประกบเข้ากัน เพราะ
สมกันและกัน. ก็บทว่า ปรมอลงฺกตา ในคาถานั้น พึงเห็นว่าท่านไม่ทำ
สนธิในฝ่ายแรก นิเทศไม่แจกในฝ่ายที่สอง. บทว่า อโธมุขา แปลว่า
มีหน้าต่ำ, ก็หากมี หน้าของม้าในครั้งนั้นตั้งอยู่โดยปกติ [ไม่ต่ำ ] โดย
เหตุที่ลงจากเทวโลก ม้าเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า อโธมุขา มีหน้าลง.
บทว่า อฆสิคมา แปลว่า ไปสู่เวหาส [คือเหาะได้ ]. บทว่า พลี
แปลว่า มีกำลัง. บทว่า ชวา แปลว่า เร็ว อธิบายว่า มีกำลังและวิ่งเร็ว.
บทว่า อภินมฺมิตา ได้แก่ อันบุญกรรมของท่านเนรมิต ทำให้บังเกิด.
อีกอย่างหนึ่ง สิริมาเทพธิดาหมายถึงที่ตนเองเนรมิตแล้วเท่านั้น จึงกล่าวว่า
อภินิมฺมิตา เพราะนางเป็นเทพธิดาชั้นนิมมานรดี. บทว่า ปญฺจรถาสตา
ท่านกล่าวทำทีฆะอักษร และลิงควิปลาส เพื่อสะดวกแก่คาถา. หรือพึง

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 135 (เล่ม 48)

เห็นว่าไม่ลบวิภัตติ. อธิบายว่า รถ ๕๐๐. บทว่า อนฺเวนฺติ ตํ สารถิ-
โจทิตา หยา ความว่า ดูก่อนท่านเทวดาผู้เจริญ ม้าเหล่านี้เทียมรถ
อันสารถีเตือนแล้วย่อมพาท่านไป. เกจิอาจารย์กล่าวว่า สารถิอโจทิตา
ความว่า อันสารถีทั้งหลายไม่ต้องเตือนเลย ก็พาท่านไป. อีกนัยหนึ่ง
บทหนึ่งว่า สารถิโจทิตา หยา ท่านกล่าวทำทีฆะ เพื่อสะดวกแก่คาถา
ประกอบความว่า ม้าเทียมรถ ๕๐๐ อันสารถีเตือนแล้ว.
บทว่า สา ติฏฺฐสิ แปลว่า ท่านนั้นยืนอยู่. บทว่า รถวเร ได้แก่
รถอันสูงสุด. บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ มีเรือนร่างประดับด้วยทิพยาลังการ
มีภาระ [ น้ำหนัก ] ๖๐ เล่มเกวียน. บทว่า โอภาสยํ ชลมิวโชติปาวโก
ได้แก่ ส่องแสงสว่างโชติช่วง อยู่ประดุจดวงไฟลุกโพลง. ท่านอธิบายว่า
ส่องแสงสว่างรุ่งเรืองอยู่โดยรอบ. คำว่า โชติ เป็นชื่อทั่วไปของดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย. บทว่า วรตนุ ได้แก่ ผู้ทรงรูป
สูงสุด [ คือสวย ] ผู้งามทุกส่วน. ผู้ที่ดูไม่จืดเลย น่าดูไม่ทราม อธิบาย
ว่าน่าดู น่าเลื่อมใส เพราะงามทุกส่วนนั้นนั่นเอง. บทว่า กสฺมา น
กายา อนธิวรํ อุปาคมิ ความว่า ท่านมาแต่หมู่เทพชั้นไรหนอ จึงมา
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม.
เทวดานั้นถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงองค์จึงกล่าว
คาถาว่า
บัณฑิตกล่าวเทพ [ ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ] ที่
เป็นผู้เลิศด้วยกาม [กามวจร] หมู่ใดว่าเป็นเทวดา
ผู้ยอดเยี่ยมยินดีด้วยกามสมบัติที่เหล่าเทพชั้นนิม-
มานรดีเนรมิตให้ ดีฉันเป็นเทพอัปสรมีวรรณะงาม

135
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 136 (เล่ม 48)

จากเทพหมู่นั้น มาในที่นี้ก็เพื่อนมัสการพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามคฺคปตฺตานํ ยมาหุนุตฺตรํ ความว่า
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเทพหมู่ใด ว่ายอดเยี่ยมโดยยศและโดยโภคะเป็นต้น
แห่งเทพทั้งหลายชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยเครื่องอุป-
โภคคือกามทั้งหลาย. จากเทพหมู่นั้น. บทว่า นิมฺมาย นิมฺมาย รมนฺติ
เทวตา ความว่าเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี เนรมิต ๆ ตามความที่ตน
ปรารถนาด้วยตนเอง ย่อมยินดีเล่น ระเริง อภิรมย์. บทว่า ตสฺมา กายา
ได้แก่ จากหมู่เทพชั้นนิมมานรดีนั้น. บทว่า กามวณฺณินี ได้แก่ ผู้ทรง
กามรูป ผู้ทรงรูปตามที่ปรารถนา. บทว่า อิธาคตา ได้แก่ มาในที่นี้
คือมนุษยโลกนี้ หรือสู่มนุษยโลกนี้.
เมื่อเทวดากล่าวบอกความที่ตนเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดีอย่างนี้แล้ว
พระเถระประสงค์จะให้นางกล่าวถึงภพก่อน บุญที่ทำในภพนั้นและลัทธิ
ของนาง จึงได้กล่าวสองคาถาว่า
ท่านสร้างสมสุจริตอะไร ในอัตภาพเทวดานี้
ไว้ในภพก่อนเพราะบุญอะไรท่านจึงนั่งม้าเป็นพาหนะ
มียศนับไม่ได้ จำเริญสุข และฤทธิ์ของท่าน ไม่มี
ฤทธิ์อื่นประเสริฐกว่า ยังเหาะได้ทั้งวรรณะของท่าน
รุ่งโรจน์รูปทั้งสิบทิศ.
ดูก่อนเทวดา ท่านอันทวยเทพแวดล้อมและ
สักการะแล้ว ท่านจุติจากที่ไหน จึงถึงสุคติ หรือ

136
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 137 (เล่ม 48)

ท่านเชื่อฟังคำสั่งสอนของศาสดาองค์ใด หากท่าน
เป็นพุทธสาวิกา ขอท่านโปรดบอกอาตมาด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริ ท่านกล่าวทำทีฆะ [ เสียงยาว ] .
อธิบายว่าสั่งสม. บทว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต. หรือว่า อิธ แปลว่า
ในอัตภาพเทวดานี้. บทว่า เกนจฺฉสิ ความว่า เพราะบุญอะไร ท่านจึง
นั่งม้าเป็นพาหะ. เกจิอาจารย์กล่าวว่า เกนาสิ ตฺวํ. บทว่า อมิตยสา
ได้แก่ มียศนับไม่ได้ มีบริวารยศไม่น้อย. บทว่า สุเขธิตา แปลว่า จำเริญ
โดยสุข อธิบายว่า มิทิพยสุขเพิ่มพูนดี. บทว่า อิทฺธี ได้แก่ อานุภาพทิพย์.
บทว่า อนธิรา ได้แก่ ชื่อว่า อนธิวรา เพราะไม่มีฤทธิ์อื่นที่ยิ่งที่วิเศษ.
อธิบายว่า สูงสุดยิ่ง. บทว่า วิหงฺคมา แปลว่า ไปได้ทางอากาศ. บทว่า
ทส ทิสา แปลว่า ทั้งสิบทิศ. บทว่า วิโรจติ ได้แก่ ส่องสว่าง.
บทว่า ปริจาริตา สกฺกตา จสิ ได้แก่ เป็นผู้อันทวยเทพแวดล้อม
แล้วโดยรอบและยกย่องแล้ว. บทว่า กุโต จุตา สุคติคตาสิ ได้แก่ เป็น
ผู้จุติจากคติไหน ในคติทั้ง ๕ จึงเข้าถึงสุคติ คือเทวคตินี้ โดยอำนาจ
ปฏิสนธิ. บทว่า กสฺส วา ตฺวํ วจนกรานฺสาสนึ ได้แก่ ท่านทำตามคติ
ด้วยการรับโอวาทานุศาสนีในศาสนา คือธรรมวินัยของศาสดาองค์ไรหนอ.
หรือว่าพึงทราบความในข้อนี้ว่า ท่านทำตามคำของศาสดาองค์ไรหนอ
ด้วยการตั้งอยู่ในคำพร่ำสอน ของศาสดาผู้สั่งสอน. พระเถระครั้นถาม
ลัทธิของนางโดยไม่ต้องแสดงศาสดาอย่างนี้แล้ว จึงถามโดยต้องแสดง
ศาสดาอีกว่า หากท่านเป็นพุทธสาวิกา ขอโปรดบอกแก่อาตมาด้วยเถิด.
ในคำถามนั้น บทว่า พุทฺธสาวิกา ได้แก่ ชื่อว่าพุทธสาวิกา เพราะเกิด

137
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 138 (เล่ม 48)

เมื่อสุดการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้
ไญยธรรมแม้ทุกอย่างด้วยพระสยัมภูญาณ โดยประจักษ์ ประดุจผลมะขาม
ป้อมบนฝ่ามือ.
เทวดาเมื่อจะกล่าวความที่พระเถระถามอย่างนี้ จึงได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ว่า
ดีฉันเป็นปริจาริกาของพระราชาผู้ทรงคุณอัน
ประเสริฐ ทรงมีสิริ ณ มหานคร ซึ่งสถาปนาไว้เป็น
อันดี ณ กลางภูผา [ ๕ ลูก] เป็นผู้ชำนาญเยี่ยม
ด้วยศิลปะฟ้อนรำขับร้อง. คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์
ได้รู้จักดีฉันในนามว่า สิริมา เจ้าข้า. พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นฤษีประเสริฐสุด เป็นผู้แนะนำ ได้ทรงแสดง
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ ทุกขนิโรธสัจ ที่ปัจจัยปรุงแต่ง
ไม่ได้ และมรรคสัจนี้ ที่ไม่คด เป็นทางตรง
ทางเกษม.
ดีฉันสดับอมตบท ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็น
คำสอนของพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า
ดีฉันเป็นผู้สำรวมอย่างยิ่งในศีลทั้งหลาย ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนระประเสริฐทรงแสดง
แล้ว.
ดีฉันรู้บทที่ปราศจากกิเลสดุจธุลี ที่ปัจจัยปรุง
แต่งไม่ได้ ซึ่งพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า

138
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 139 (เล่ม 48)

ทรงแสดงแล้ว ดีฉันได้สัมผัสสมาธิจากสมถะ ใน
อัตภาพนั้นนั่นแล อันนั้น ได้เป็นความแน่นอน
อย่างยิ่ง [ ที่จะบรรลุมรรคผล ] สำหรับดีฉัน.
ดีฉันได้อมตธรรมอันประเสริฐ ทำให้แปลก
จากปุถุชน มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยส่วนเดียว
บรรลุคุณวิเศษเพราะตรัสรู้ ไม่มีความสงสัยอันชน
เป็นอันมากบูชาแล้ว ดีฉันเสวยความยินดีระเริงเล่น
ไม่น้อยเลย.
ดีฉันเป็นเทวดาเห็นอมตธรรมอย่างนี้ เป็น
สาวิกาของพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า
เห็นธรรมก็ตั้งอยู่ในผลระดับแรก [ โสดาปัตติผล]
เป็นพระโสดาบัน ทุคติเป็นอันไม่มีอีกละ.
ดีฉันนั้นเข้ามาเพื่อถวายบังคมพระองค์ ผู้ที่ไม่มี
ผู้อื่นประเสริฐกว่า และเหล่าภิกษุผู้ยินดีในกุศล ที่น่า
เลื่อมใส เพื่อนมัสการสมณสมาคมอันรุ่งเรื่อง ดีฉัน
มีความเคารพในพระธรรมราชาผู้ทรงสิริ.
ดีฉันพบพระมุนีแล้ว ก็มีใจบันเทิงเอิบอิ่ม ขอ
ถวายบังคมพระตถาคต ผู้ทรงเป็นสารถีฝึกคนดีที่
ควรฝึก ทรงตัดตัณหา ยินดีในกุศล เป็นผู้นำสัตว์
ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคนฺตเร ได้แก่ ในระหว่างกลางภูผา

139
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 140 (เล่ม 48)

๕ ลูก คืออิสิคิลิ เวปุลละ เวภาระ ปัณฑวะและคิชฌกูฏ. สมัยที่นครนั้น
เขาเรียกกันว่า คิริพชนคร [ ปัญจคิรีนคร ]. บทว่า นครวเร ได้แก่
ณ นครสูงสุด. สิริมาเทพธิดา กล่าวหมายถึงกรุงราชคฤห์. บทว่า
สุมาปิเต ได้แก่ ที่มหาโควินทบัณฑิตสถาปนาโดยชอบ ด้วยวิธีใช้วิชา
ดูพื้นที่. บทว่า ปริจาริกา ได้แก่ เป็นผู้ปรนนิบัติด้วยการบำเรอด้วย
สังคีตะ. บทว่า ราชวรสฺส ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสารมหาราชผู้ประเสริฐ.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า คำว่า สิริ ในคำว่า สิริมโต นี้ เป็นชื่อของ
พุทธิความรู้และบุญ. อีกนัยหนึ่ง สมบัติมีความสง่างามแห่งเรือนร่าง
เป็นต้น อันบังเกิดเพราะบุญ ท่านเรียกว่า สิริ เพราะอาศัยคนทำบุญ
หรือคนทำบุญอาศัย. สิรินั้นมีอยู่แก่พระราชานั้น เหตุนั้น พระราชานั้น
จึงทรงชื่อว่า สิริมา มีสิริ. พระราชาพระองค์นั้น ผู้ทรงมีสิริ. บทว่า
ปรมสุสิกฺขิตา ได้แก่ ศึกษาแล้วอย่างยิ่งและโดยชอบ. บทว่า อหุํ แปลว่า
ได้เป็นแล้ว. บทว่า อเวทึสุ แปลว่า รู้กันทั่วแล้ว.
บทว่า อิสินิสโภ ได้แก่ จ่าฝูงโค ๑๐๐ ตัว ชื่อว่าอุสภะ. จ่าฝูง
โค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า วสภะ. อีกนัยหนึ่ง จ่าฝูงโค ๑๐๐ คอก ชื่อว่า
อุสภะ จ่าฝูงโค ๑,๐๐๐ คอก ชื่อว่า วสภะ โคที่ประเสริฐสุดกว่าโค
ทุกตัว ทนต่ออันตรายทุกอย่าง สีขาว น่าเลื่อมใส บรรทุกภาระของ
หนักได้มาก แม้เสียงฟ้าผ่า ๑๐๐ ครั้งก็ไม่ทำให้หวั่นไหว ชื่อว่า นิสภะ
โคนิสภะนั้นประกอบด้วยกำลังโคนิสภะ ๔ เท้าเหยียบแผ่นดิน อันตราย
ไร ๆ ก็ทำให้หวั่นไหวไม่ได้ ยืนมั่นด้วยการยืนไม่ไหวติง ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงประกอบด้วยกำลังของพระตถาคตทรง
ใช้พระบาท คือ เวสารัชชญาณทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดินคือบริษัท ๘ อัน

140
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 141 (เล่ม 48)

ปัจจามิตร ผู้ขัดประโยชน์ไร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทำให้ทรง
หวั่นไหวไม่ได้ ทรงยืนหยัดด้วยการยืนอย่างไม่ไหวติง. เพราะฉะนั้น จึง
ทรงเป็นนิสภะ เพราะทรงเป็นเหมือนโคนิสภะ. ชื่อว่า ทรงเป็นนิสภะ
ในเหล่าผู้แสวงคุณที่เป็นเสกขะและอเสกขะ ซึ่งได้ชื่อว่า อิสิ ฤษี
เพราะอรรถว่าแสวงหาธรรมขันธ์ มีศีลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ทรงเป็นนิสภะของเหล่าฤษีทั้งหลาย หรือเป็นฤษีด้วย เป็นนิสภะนั้นด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อิสินิสภะ เป็นทั้งฤษีทั้งนิสภะ. ทรงชื่อว่า วินายกะ
เพราะทรงแนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลาย. อีกนัยหนึ่ง ทรงเว้นจากนายกผู้
แนะนำ เหตุนั้น จึงทรงชื่อว่า วินายก อธิบายว่า ทรงเป็นสยัมภู พระ-
ผู้เป็นเอง [ คือตรัสรู้เอง ].
บทว่า อเทสยิ สมุทยทุกฺขนิจฺจตํ ได้แก่ ได้ตรัสว่า สมุทัยสัจ
ทุกขสัจ ไม่เที่ยง สิ้นไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนั้น สิริมาเทพธิดา จึง
แสดงอาการเป็นไปแห่งญาณ คือ การตรัสรู้ของตนว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา อีก
นัยหนึ่ง บทว่า สมุทยทุกฺขนิจฺจตํ ได้แก่ สมุทัยสัจ ทุกขสัจและ
อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง. ในบทนั้น เทพธิดาแสดงวิปัสสนาภูมิ
ด้วยการถือสมุทัยสัจและทุกขสัจ แสดงอาการเป็นไปแห่งวิปัสสนาภูมินั้น
ด้วยการถือเอาความเป็นของไม่เที่ยง. จริงอยู่ เมื่อเจริญอาการคือความ
ไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย อาการคือทุกข์ แม้อาการคืออนัตตา ก็เป็น
อันเจริญด้วย เพราะอาการทั้งสามนั้นเกี่ยวเนื่องกับสังขารนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา. บทว่า อสงฺขตํ ทุกฺขนิโรธสสฺสตํ ได้แก่

141