No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 122 (เล่ม 48)

ไม่จริงไม่แท้นั้น เป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เป็นสมุฏฐานของวิญญัติอย่างนั้น
สำรวม อธิบายว่า งดเว้นจากมุสาวาทนั้น. จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ
รวมไว้.
ในบทว่า เถยฺยา ความเป็นขโมย เรียกเถยยะ อธิบายว่า ขโมย
ของเขาด้วยเจตนาเป็นขโมย. โดยความเถยยเจตนาของผู้ที่สำคัญในของที่
เจ้าของหวงแหนว่าเจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานของความพยายามที่จะ
ขโมยของเขาชื่อว่าเถยยะ. หรือสัมพันธ์ความว่า เจตนาที่สำรวมห่างไกล
จากเถยยะ เจตนาเป็นขโมยนั้น.
ในบทว่า อติจารา ความประพฤติล่วง ชื่อว่าอติจารา อธิบายว่า
ความประพฤติล่วงขอบเขตของโลก ด้วยอำนาจความในฐานะที่ไม่ควร
ละเมิด ชื่อว่ามิจฉาจาร. หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑๐ จำพวกได้แก่หญิง
ที่มารดารักษา หญิงที่บิดารักษา หญิงที่บิดามารดารักษา หญิงที่พี่ชาย
รักษา หญิงที่พี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่โคตรสกุลรักษา
หญิงที่ธรรมเนียมรักษา หญิงที่มีอารักขา หญิงที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด
๑๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่เขาซื้อมาเป็นภริยา หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดย
สมัครใจ หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยโภคสมบัติ หญิงที่หอบผ้าหนีตามผู้ชาย
หญิงที่แต่งงาน หญิงที่ชายสวมเทริด หญิงที่เป็นทาสีและภริยา หญิงที่เป็น
คนงานและภริยา หญิงเชลย หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วขณะ ชื่อว่าอคมนีย-
ฐาน ๆ ที่ไม่ควรละเมิด สำหรับชายทั้งหลาย. ส่วนชายอื่น ๆ ก็ชื่อว่า
อคมนียฐานในหญิงทั้งหลาย เฉพาะสำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือหญิง
มีอารักขาและหญิงมีสินไหมรวม ๒ และหญิง ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ชายซื้อ
มาเป็นต้น อคมนียฐานนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในบทว่ามิจฉาจารนี่.

122
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 123 (เล่ม 48)

โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐานที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์
อสัทธรรม ชื่อว่าอติจาร. เจตนางดเว้นจากอติจารนั้น.
ในบทว่า มชฺชปานา สุราและเมรัย เรียกว่ามัชชะ เพราะอรรถว่า
ทำให้มึนเมา. คนทั้งหลายย่อมดื่มด้วยมัชชะนั้น เหตุนั้น มัชชะนั้น จึง
ชื่อว่าปานะ การดื่มมัชชะ ของมึนเมา ชื่อว่ามัชชปานะ. สุรา ๕ ประเภท
คือ สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าว สุราใส่เชื้อ สุรา
ประกอบด้วยเครื่องปรุง หรือเมรัย ๕ ประเภท คือน้ำดอกไม้ดอง น้ำ
ผลไม้ดอง น้ำผึ้งหมัก น้ำอ้อยงบหมัก เมรัยที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง
คนเอาใบพืชห่อสุราเมรัยดื่มแม้ด้วยปลายหญ้าคา ด้วยเจตนาทุศีลใด เจตนา
นั้น ชื่อว่ามัชชปานะ เจตนาเว้นไกลจากมัชชปานะนั้น.
อุตตราเทพธิดา แสดงนิจศีลที่แยกแสดงโดยเป็นธรรมที่ควรละ
ด้วยบทว่า ปาณาติปาตา วิรตา เป็นต้นอย่างนี้แล้ว รวมกันแสดงโดยเป็น
ธรรมที่ควรสมาทานอีกจึงกล่าวว่า ปญฺจสิกฺขาปเท รตา ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า สิกฺขาปทํ แปลว่า บทที่ควรศึกษา. อธิบายว่า ส่วน
แห่งสิกขา. อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรมแม้ทั้งหมดมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าสิกขา
เพราะเป็นธรรมที่ควรศึกษา. ก็บรรดาองค์ศีลทั้ง ๕ องค์ใดองค์หนึ่ง
ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งศีล เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นบทที่ตั้งแห่งสิกขาทั้งหลาย ได้แก่องค์ศีลทั้ง
๕ ดีฉันอภิรมย์ยินดีในสิกขาบท ๕ อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ยินดีแล้วในสิกขาบททั้ง ๕. บทว่า อริยสจฺจาน โกวิทา ได้แก่ กุศล
ละเอียดในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยอำนาจ
ตรัสรู้ ด้วยปริญญากำหนดรู้ ปหานละ สัจฉิกิริยาทำให้แจ้ง ภาวนาทำให้

123
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 124 (เล่ม 48)

มี. อธิบายว่า มีสัจจะอันแทงทะลุปรุโปร่งแล้ว. อุตตราเทพธิดา ระบุ
ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยมหาโคตรด้วยบทว่า โคตมสฺส. ระบุโดย
พระเกียรติยศ หรือปริวารยศ ด้วยบทว่า ยสสฺสิโน.
บทว่า สาหํ ได้แก่ ดีฉันผู้มีคุณตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า สเกน
สีเลน ได้แก่ ด้วยศีลตามสภาพของตนมีความเป็นผู้ไม่ริษยาเป็นต้น และ
ด้วยศีลสมาทานมีอุโบสถศีลเป็นต้น เป็นตัวเหตุ. จริงอยู่ ศีลนั้นเรียกว่า
สกํ ของตน โดยเฉพาะ เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง และ
เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ตํ หิ ตสฺสส สกํ โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ
ตญฺจสฺส อนุคฺคํ โหติ ฉายาว อนุปายินี
บุญนั้นแล ย่อมเป็นของเขา เขาพาบุญนั้นไป
และบุญนั้น ย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาตามไป
ฉะนั้น.
บทว่า ยสสา ยสสฺสินี ได้แก่ เป็นผู้มียศมีเกียรติ ด้วยกิตติศัพท์
ที่แพร่ไปโดยรอบ ดุจน้ำมันที่แผ่ไปเหนือพื้นน้ำ โดยคุณตามเป็นจริงที่
ตนบรรลุแล้ว เป็นต้นว่า อุตตราอุบาสิกาเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลและ
จรรยา ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่มักโกรธ และเป็นต้นว่า เป็นผู้บรรลุ
ผลแล้ว รู้ศาสนาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มียศ มีบริวารพรั่งพร้อม
แล้วโดยปริวารยศ ที่ตนได้แล้วในที่นี้ด้วยคุณคือศีลนั้น. บทว่า อนุโภมิ

124
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 125 (เล่ม 48)

สกํ ปุญฺญํ ได้แก่ เสวยบุญของตน ตามที่สั่งสมไว้. จริงอยู่ ผลบุญอัน
ผู้ใดย่อมเสวย แม้บุญนั้นของผู้นั้น ก็เรียกว่า อนุภูยติ อันเขาย่อมเสวย
เพราะเป็นอุปจารใกล้ชิดกับผล. อีกนัยหนึ่ง แม้ผลสุจริต ท่านก็เรียกว่า
บุญ เพราะเป็นของปุถุชน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุที่สมาทานธรรมฝ่ายกุศล
ทั้งหลาย. บทว่า สุขิตา จมฺหิ อนามยา ได้แก่ ดีฉัน เป็นผู้เจริญ มีสุข
ด้วยสุขทิพย์ และสุขพละ มีอนามัยไร้โรคเพราะไม่มีทุกข์ ทางกาย
และทางใจ.
จ ศัพท์ในบทว่า มม จ เป็นสมุจจยัตถะ [ความประชุม]. ด้วย
จ ศัพท์นั้น อุตตราเทพธิดา ย่อมประมวลการไหว้สั่งความว่า และขอ
ท่านพึงถวายบังคม ตามคำของดีฉัน ไม่ใช่ตามสภาพของท่าน. แสดง
ความปรากฏแห่งความเป็นอริยสาวิกาของตน ด้วยคำว่า อนจฺฉริยํ
เป็นต้น. คำว่า ตํ ภควา เป็นต้นเป็นคำของพระสังคีติกาจารย์. คำที่
เหลือมีนัยกล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุตตราวิมาน
๑๖. สิริมาวิมาน
ว่าด้วยสิริมาวิมาน
[๑๖] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศ
บุญกรรม ที่นางทำไว้ในครั้งก่อน จึงสอบถามนางด้วยสองคาถาว่า

125
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 126 (เล่ม 48)

ม้าของท่านเทียมรถ ประดับด้วยอลังการอย่าง
เยี่ยม ก้มหน้าไปในอากาศ มีกำลังว่องไว ม้าเหล่านั้น
เทียมรถ ๕๐๐ อันบุญกรรมเนรมิตแล้ว นายสารถี
เตือนแล้วก็พาตัวท่านไป ท่านนั้นประดับองค์แล้วยืน
อยู่บนรถอันเพริศแพร้ว ก็สว่างไสวคล้ายดวงไฟกำลัง
โชติช่วงอยู่นี้.
ดูก่อนเทพธิดาผู้อ่าองค์ น่าดูไม่จืด อาตมาขอ
ถามท่าน ท่านมาจากเทพหมู่ไร จึงเข้าเฝ้าพระพุทธ-
เจ้าผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.
สิริมาเทพธิดาจึงตอบด้วยคาถาว่า
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงเทพซึ่งเป็นผู้เลิศด้วย
กามหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้
ยินดีด้วยกามสมบัติ ที่ทวยเทพพวกอื่นมาเนรมิตให้
[ นิมมานรดี ดีฉันเป็นอัปสรที่มีวรรณะงาม มาจาก
เทพหมู่นั้น มาในมนุษยโลกนี้ก็เพื่อจะถวายบังคม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.
พระเถระใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึง
ได้ถามด้วยสองคาถาว่า
ชาติก่อนแต่จะมาในที่นี้ ท่านได้สั่งสมสุจริต
กรรมอะไรไว้ ท่านจึงมียศนับประมาณไม่ได้ เปี่ยม
ไปด้วยความสุข เพราะบุญอะไร ตัวท่านจึงมีฤทธิ์ ซึ่ง
ไม่มีฤทธิ์ไร ๆ ประเสริฐยิ่งกว่า และเหาะได้ (เช่นนี้)

126
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 127 (เล่ม 48)

ทั้งวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดูก่อน
เทวดา ท่านมีทวยเทพห้อมล้อมสักการะ ท่านจุติมา
จากที่ไหนจึงถึงสุคตินี้ อนึ่ง ท่านได้ทำตามโอวาทา-
นุสาสนีของศาสดาองค์ไร หากท่านเป็นสาวิกาของ
พระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านได้โปรดบอกอาตมาด้วย.
สิริมาเทพธิดา เมื่อจะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถาม จึงกล่าว
ตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดีฉันเป็นปริจาริกานางบำเรอของพระเจ้าพิมพิ-
สารผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงมีสิริ ในมหานคร ซึ่ง
สถาปนาไว้ในระหว่างภูผา ดิฉันมีความชำนาญด้วย
ศิลปะการฟ้อนรำขับร้องอย่างเยี่ยม คนทั้งหลายใน
กรุงราชคฤห์ เขารู้จักดิฉันในนามว่า " สิริมา "
เจ้าข้า. พระพุทธเจ้าทรงเป็นนิสภะยอดผู้องอาจใน
จำพวกฤษีผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์
โลกพิเศษ ได้ทรงแสดงทุกขสัจ สมุทัยสัจ ทุกข-
นิโรธสัจความดับทุกข์ อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ
มรรคสัจที่ไม่คดทางตรง เป็นทางเกษมแก่ดีฉัน ดีฉัน
ครั้นฟังอมตบททางไม่ตาย ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่ง
เป็นคำสอนของพระตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็น
ผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย ดำรงมั่นอยู่
ในธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้
แล้ว ครั้นดีฉันรู้จักบทอันปราศจากกิเลสดุจธุลี ซึ่ง
ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรง

127
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 128 (เล่ม 48)

แสดงไว้นั้น ดีฉันจึงได้สัมผัสสมาธิอันเกิดจากความ
สงบในอัตภาพนั้นเอง อันนั้นเป็นความแน่นอนใน
มรรคผลอันเยี่ยมสำหรับดีฉัน ครั้นได้อมตธรรมอัน
ประเสริฐ อันทำให้แยกจากปุถุชนแล้ว จึงเชื่อมั่น
โดยส่วนเดียว ในพระรัตนตรัย บรรลุคุณพิเศษเพราะ
ตรัสรู้ หมดความสงสัย จึงเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมาก
บูชาแล้ว จึงเสวยความยินดีระเริงเล่นไม่น้อยเลย
โดยประการดังกล่าวมานี้ ดีฉันจึงเป็นเทพธิดาผู้เห็น
นิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็น
ผู้ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล
ขั้นแรก คือ เป็นโสดาบัน ทุคติเป็นอันไม่มีอีกละ
ดีฉันนั้นมาเพื่อถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส
ผู้ยินดีในธรรมฝ่ายกุศล เละเพื่อจะนมัสการสมณะ
สมาคมอันเกษม ดีฉันเป็นผู้มีความเคารพในพระ-
ธรรมราชาผู้ทรงพระสิริ ครั้นได้เห็นพระสัมพุทธมุนี
แล้ว ก็ปลื้มใจอิ่มเอิบ ดีฉันขอถวายบังคมพระ-
ตถาคต ผู้เห็นสารถีฝึกคนดีที่ควรฝึก ทรงตัดตัณหา
เสียได้ ทรงยินดีแล้วกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำ
ประชุมชนให้พ้นทุกข์ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลกด้วย
ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง.
จบสิริมาวิมาน

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 129 (เล่ม 48)

อรรถกถาสิริมาวิมาน
สิริมาวิมาน มีคาถาว่า ยุตฺตา จ เต ปรมอลงฺกตา เป็นต้น.
สิริมาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น โสเภณีชื่อสิริมา ที่กล่าวไว้ในเรื่องติดต่อมาใน
หนหลัง [อุตตราวิมาน] สละงานที่เศร้าหมอง [ การเป็นโสเภณี ]
เพราะบรรลุโสดาปัตติผล ได้ตั้งสลากภัต ๘ กอง แก่พระสงฆ์. ตั้งแต่
ต้นมา ภิกษุ ๘ รูปก็มาเรือนนางเป็นประจำ. นางสิริมานั้น กล่าวคำ
เป็นต้นว่า โปรดรับเนยใส โปรดรับนมสด แล้วบรรจุบาตรของภิกษุ
เหล่านั้นจนเต็ม. ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ย่อมพอแก่ภิกษุ ๓ รูปบ้าง
๔ รูปบ้าง นางถวายบิณฑบาต โดยคำใช้สอย ๑๖ กหาปณะ ทุกวัน.
ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งฉันสลากภัตกองที่ครบ ๘ ในเรือนของ
นางแล้วก็ไปยังวิหารแห่งหนึ่งไกลออกไป ๓ โยชน์. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงถามภิกษุรูปนั้น ซึ่งนั่งในที่ปรนนิบัติพระเถระเวลาเย็นว่า ผู้มีอายุ
ท่านรับภิกษาที่ไหนจึงมาที่นี่. ตอบว่า ผมฉันสลากภัตกองที่ ๘ ของ
นางสิริมา. ถามว่า ผู้มีอายุ นางสิริมา ถวายสลากภัตนั้นยังน่าพอใจอยู่
หรือ. ภิกษุนั้นจึงพรรณนาคุณของนางว่า ผมไม่อาจพรรณนาอาหารของ
นางได้ นางถวายแต่ของประณีตเหลือเกิน ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ยัง
พอแก่ภิกษุ ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง. แต่การเห็นนางต่างหากที่สำคัญกว่า
ไทยธรรมของนาง. จริงอยู่ หญิงนั้นงามเห็นปานนี้ งามเห็นปานนั้น.
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งฟังคำพรรณนาคุณของนางสิริมานั้นแล้ว
แม้ไม่ได้เห็นตัวก็เกิดสิเนหาโดยได้ยินเท่านั้น คิดว่า เราควรจะไปดูนางใน

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 130 (เล่ม 48)

ที่นั้น จึงบอกพรรษาสุดท้ายของตนแล้วถามภิกษุรูปนั้นซึ่งยังอยู่ ฟังคำ
ของภิกษุรูปนั้นว่า ผู้มีอายุ พรุ่งนี้ท่านเป็นสังฆเถระก็จักได้สลากภัตกอง
ที่ ๘ ในเรือนหลังนั้น แล้วก็ถือบาตรจีวรกลับไปในทันใดนั่นเอง พอ
อรุณขึ้นตอนเช้าตรู่ ก็เข้าไปยืนยังโรงสลาก เป็นสังฆเถระได้สลากภัต
กองที่ ๘ ในเรือนนาง ในเวลาที่ภิกษุซึ่งฉันเมื่อวันวานกลับไปแล้ว โรค
ก็เกิดขึ้นในเรือนร่างของนาง เพราะฉะนั้น นางจึงนอนเปลื้องเครื่อง
ประดับทั้งหลาย. ขณะนั้นเหล่าทาสี เห็นภิกษุทั้งหลายมาเพื่อรับสลากภัต
กองที่ ๘ จึงบอกนาง. นางไม่อาจจะไปวางอาหารลงในบาตรด้วยมือตน
เอง หรือนิมนต์ให้ท่านนั่งได้ ได้แต่ใช้เหล่าทาสี สั่งว่า แม่คุณเอ๋ย พวก
เจ้าจงรับบาตรนิมนต์ให้ท่านนั่ง ให้ท่านดื่มข้าวต้ม แล้วถวายของเคี้ยว
เวลาอาหารจงบรรจุบาตรให้เต็มแล้วถวาย ทาสีเหล่านั้น รับคำว่าดีแล้วแม่
นาย แล้วนิมนต์ให้ท่านเข้าไปให้ดื่มข้าวต้มถวายของเคี้ยว เวลาอาหาร
บรรจุอาหารเต็มบาตรแล้วก็บอกนาง. นางกล่าวว่า พวกเจ้าจงช่วยกัน
พยุงเราไป จักไหว้พระผู้เป็นเจ้า แล้วทาสีเหล่านั้นช่วยกันพยุงนางไปหา
ภิกษุทั้งหลาย ไหว้ภิกษุทั้งหลายด้วยเรือนร่างที่สั่นเทาอยู่. ภิกษุนั้นดูนาง
แล้วก็คิดว่า นางกำลังป่วย รูปยังงามถึงเพียงนี้ เวลานางไม่ป่วยประดับ
ด้วยอาภรณ์ครบถ้วน จักงามสักเพียงไหน. ขณะนั้นกิเลสที่สะสมไว้หลาย
โกฏิปีของภิกษุนั้น ก็ฟุ้งขึ้น. ภิกษุนั้นไม่มีญาณ ไม่อาจฉันอาหารได้
ถือบาตรกลับวิหารปิดบาตรเก็บไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง คลี่ชายจีวรลงปูนอน.
ขณะนั้น ภิกษุผู้สหายรูปหนึ่ง แม้อ้อนวอนก็ไม่อาจให้เธอฉันอาหารได้
ภิกษุนั้น ก็อดอาหาร.
เวลาเย็นวันนั้นนั่นเอง นางสิริมาก็ตาย. พระราชาทรงส่งข่าวไป

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 131 (เล่ม 48)

ทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสิริมาน้องสาวของหมอชีวก
ตายเสียแล้วพระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงทราบข่าวนั้นแล้ว ทรงส่งข่าว
ถวายพระราชาว่า อย่าเพิ่งทำฌาปนกิจสิริมา ขอได้โปรดนำไปป่าข้าศพสด
ให้นอนให้รักษาไว้ โดยวิธีที่ฝูงกาเป็นต้นจะไม่จิกกิน. พระราชาก็ทรง
ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์. ล่วงเวลาไป ๓ วัน ตามลำดับ. วันที่ ๔
ร่างของนางก็พองขึ้น. เหล่าหนอนก็ไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙. ทั่ว
เรือนร่างก็เป็นเหมือนถาดข้าวสาลีแตก. พระราชาก็โปรดให้ตีกลองป่าว
ประกาศไปในพระนครว่า ยกเว้นเด็กเฝ้าบ้านเสีย คนที่ไม่มาดูนางสิริมา
ต้องเสียค่าปรับไหม ๘ กหาปณะ ทรงส่งข่าวไปทูลพระศาสดาว่า เขาว่า
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จะเสด็จมาดูนางสิริมา. พระศาสดาจึง
ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า จักไปดูนางสิริมา.
ภิกษุหนุ่มแม้รูปนั้น ไม่เธอฟังคำของใคร ๆ นอนอดอาหารอยู่ ๔
วัน. อาหารในบาตรก็บูด บาตรก็ขึ้นสนิม. ภิกษุรูปนั้น ถูกเพื่อนภิกษุ
เข้าไปหาพูดว่าท่าน พระศาสดาจะเสด็จไปดูนางสิริมานะ แม้จะถูกความ
หิวครอบงำ แต่พอได้ยินเพื่อนภิกษุออกชื่อว่าสิริมา ก็รีบลุกขึ้นถามว่า
ท่านพูดอะไร ถูกเพื่อนภิกษุกล่าวว่า พระศาสดาจะเสด็จไปดูนางสิริมา
ตัวท่านจักไปไหมเล่า. ก็ตอบว่า ไปสิขอรับ แล้วเทอาหารทิ้งล้างบาตร
เก็บใส่ถลก ก็ไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์. พระศาสดามีหมู่ภิกษุแวดล้อม
ประทับยืนอยู่ข้างหนึ่ง ทั้งภิกษุสงฆ์ ทั้งราชบุรุษ ทั้งอุบาสกบริษัท ทั้ง
อุบาสิกาบริษัท ก็พากันยืนอยู่แต่ละข้าง ๆ พระศาสดาตรัสถามพระราชา
ว่า ถวายพระพรมหาบพิตร นั่นใคร พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น้องสาวของหมอชีวก ชื่อสิริมา พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่านั่น

131