No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 112 (เล่ม 48)

จริง ๆ คิดว่า โอ ! ผลในทานที่เราถวายพระผู้เป็นเจ้าพระธรรมเสนาบดี
แสดงในวันนี้แล้วสิหนอ เราไม่อาจปกปิดทรัพย์เท่านี้ไว้บริโภคได้แล้ว
บรรจุทองเต็มภาชนะอาหาร ที่ภริยานำมา ไปยังราชสกุล พระราชาพระ-
ราชทานโอกาสแล้วเข้าไปถวายบังคม เมื่อตรัสถามว่า อะไรกัน พ่อเอ๋ย
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ วันนี้เนื้อที่ ๆ ข้าพระบาทไถนา กลายเป็น
กองทองไปหมด จะโปรดให้นำทองที่เกิดนาไว้ก็ควรด้วยเกล้า พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสถามว่า เจ้าเป็นใคร. กราบทูลว่า ข้าพระบาท ชื่อปุณณะ
พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า วันนี้เจ้าทำบุญอะไร. กราบทูลว่า ข้าพระบาท
ถวายไม้ชำระฟันและน้ำบ้วนปากแต่เช้าตรู่แก่ท่านพระธรรมเสนาบดี ส่วน
ภริยาของข้าพระบาท ถวายอาหารที่เขานำมาสำหรับข้าพระบาทแก่พระผู้-
เป็นเจ้าเหมือนกัน พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย เขาว่า
ผลทานที่ถวายท่านพระธรรมเสนาบดีแสดงออกแล้วในวันนี้นี่เอง ตรัส
ถามว่า พ่อเอ๋ย เจ้าจะทำอย่างไร. กราบทูลว่า โปรดส่งเกวียนหลาย
พันเล่มให้ขนทองเข้ามาเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาก็ทรงส่งเกวียนไปขน
เมื่อพวกราชบุรุษถือเอาทอง ด้วยพูดว่า สมบัติของพระราชา ทองที่
ถือเอาก็กลายเป็นดินไป จึงไปกราบทูลพระราชา. ตรัสถานว่า พวกเจ้า
พูดว่า กระไร จึงถือเอา. กราบทูลว่า สมบัติของพระองค์ พระเจ้าข้า.
จึงทรงสั่งว่า พ่อเอ๋ย พวกเจ้าจงไปใหม่ กล่าวว่า สมบัติของปุณณะ. แล้ว
ถือเอามา. พวกราชบุรุษก็ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งไว้. ทองที่ถือเอา ๆ ก็เป็น
ทองดังเดิม. พวกเขาขนทองมาหมดแล้ว ทำเป็นกองไว้ที่พระลานหลวง
กองสูงถึง ๘๐ ศอก. พระราชาจึงทรงสั่งให้ชาวกรุงประชุมกัน ตรัสถามว่า

112
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 113 (เล่ม 48)

ในพระนครนี้ ทองของใครมีเท่านี้บ้าง กราบทูลว่า ไม่มี พระเจ้าข้า.
ตรัสถามว่า ควรให้อะไรแก่เขาเล่า. กราบทูลว่า ฉัตรตำแหน่งเศรษฐี พระ-
เจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ปุณณะจงเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก แล้วพระราช-
ทานฉัตรตำแหน่งเศรษฐีแก่เขาพร้อมด้วยโภคสมบัติยิ่งใหญ่.
ครั้งนั้น ปุณณะนั้นกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้า
พระบาทอยู่ในสกุลอื่นตลอดเวลาเท่านี้ ขอโปรดพระราชทานที่อยู่แก่ข้า
พระบาทด้วย. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น จงดู นั่นกองไม้ปรากฏอยู่
จงให้นำกองไม้นั้นมาปลูกเรือนเสีย ตรัสบอกสถานที่เป็นเรือนของเศรษฐี
เก่า. ปุณณเศรษฐีนั้นให้ปลูกเรือน ๒-๓ วันเท่านั้นตรงที่นั้น รวมงาน
มงคลขึ้นบ้านและงานมงคลฉลองฉัตรตำแหน่งเป็นงานเดียวกัน ได้ถวาย
ทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน ครั้งนั้น พระศาสดา
เมื่อทรงอนุโมทนาทาน ตรัสอนุปุพพีกถาแก่เขา จบธรรมกถา ปุณณ-
เศรษฐีภริยาและธิดาของเขา ชื่ออุตตรารวม ๓ คนได้เป็นโสดาบัน.
ต่อมา ราชคหเศรษฐีขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้บุตรของตน ถูก
ปุณณเศรษฐีปฏิเสธ จึงกล่าวว่า อย่าทำอย่างนี้เลย ท่านอาศัยเราอยู่ตลอด
เวลาเท่านี้จึงได้สมบัติ จงให้ธิดาของท่านแก่บุตรเราเถิด ปุณณเศรษฐี
นั้นกล่าวว่าพวกท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ ธิดาของเราเว้นพระรัตนตรัยเสีย ก็อยู่
ด้วยไม่ได้ เราจึงไม่ให้ธิดาแก่บุตรของท่านนั้น. ครั้งนั้น กุลบุตรเศรษฐี
คฤหบดีเป็นต้นเป็นอันมาก พากันอ้อนวอนปุณณเศรษฐีนั้นว่า ท่านอย่า
ทำลายความคุ้นเคยกับราชคหเศรษฐีนั้นเลย โปรดให้ธิดาแก่เขาเถิด ปุณณ-
เศรษฐีนั้นรับคำของคนเหล่านั้น แล้วได้ให้ธิดาในดิถีเพ็ญเดือน ๘ ครั้ง
นั้นตั้งแต่มีสามี อุตตราธิดานั้น ไม่ได้เข้าไปหาภิกษุหรือภิกษุณี ถวายทาน

113
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 114 (เล่ม 48)

หรือฟังธรรมเลย เมื่อเวลาล่วงไป ๒ เดือนครึ่ง จึงถามหญิงรับใช้ที่ยืน
อยู่ใกล้ ๆ ตนว่า บัดนี้ในพรรษายังเหลืออยู่เท่าไร. หญิงรับใช้จึงตอบว่า
ครั้งเดือน เจ้าค่ะแม่เจ้า. อุตตราธิดานั้นจึงส่งข่าวบอกบิดามารดาว่า เหตุไร
บิดามารดาจึงจับลูกขังไว้ในเรือนจำอย่างใน บิดามารดาเฆี่ยนดีฉันประกาศ
ให้เป็นทาสของคนอื่นเสียยังจะดีกว่า ไม่ควรให้แก่สกุลมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้
ตั้งแต่ดีฉันมาแล้ว ก็ไม่ได้ทำบุญแม้สักอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่าเห็นภิกษุ.
คราวนั้น บิดาของนาง จึงประกาศความเสียใจว่า ธิดาของเราตกทุกข์จึง
ส่งทรัพย์ไป ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ และส่งข่าวไปว่าในนครนี้มีโสเภณีชื่อ
สิริมา รับทรัพย์วันละพันทุกวัน จงเอาทรัพย์นี้นำนางมามอบแก่สามี
แล้ว จงทำบุญตามชอบใจของตนเถิด. นางอุตตราธิดาก็กระทำอย่างนั้น
เมื่อสามีเห็นนางสิริมาจึงถามว่า นี้อะไรกัน จึงกล่าวว่า นายท่าน สหาย
ของฉันจะปรนนิบัติท่านตลอดครึ่งเดือนนี้ ส่วนดีฉันประสงค์จะให้ทาน
ฟังธรรมตลอดกึ่งเดือนนี้. สามีนั้นเห็นหญิงนั้นสวยก็เกิดความสิเนหาจึง
รับคำว่า ดีซิจ๊ะ.
ฝ่ายนางอุตตราธิดานิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดอย่าไปที่อื่น รับอาหารในที่นี้
นี่แหละตลอดครึ่งเดือนนี้ ถือเอาปฏิญญาของพระศาสดาดีใจว่า ตั้งแต่
บัดนี้ไป เราจักได้บำรุงพระศาสดาและฟังธรรมจนถึงวันมหาปวารณา
สั่งว่า พวกเจ้าจงต้มข้าวต้มอย่างนี้ จงหุงข้าวสวยอย่างนี้ จงทอดขนมอย่างนี้
เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัวใหญ่. ลำดับนั้น สามีของนางมุ่งหน้าไป
ยังโรงครัวใหญ่ด้วยคิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา ยืนใกล้หน้าต่าง
ตรวจดูว่า หญิงโง่งั่งคนนั้นกำลังเที่ยวทำอะไรหนอ เห็นนางนั้นมอมแมม

114
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 115 (เล่ม 48)

ด้วยเหงื่อเปรอะเปื้อนด้วยเขม่าเที่ยวจัดแจงอยู่อย่างนั้น คิดว่า โอ หญิง
โง่เง่าไม่ได้เสวยสิริสมบัตินี้ในฐานะเช่นนี้ เที่ยวปลื้มใจว่า จักบำรุงเหล่า
สมณะโล้น ดังนี้หัวเราะแล้วลับไป.
เมื่อสามีนั้นลับไปแล้ว นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ สามีของนางนั้น
คิดว่า ผู้นี้เห็นอะไรหนอจึงหัวเราะ จึงมองไปทางหน้าต่างนั้นนั่นแหละ
เห็นนางอุตตราธิดาก็คิดว่า ผู้นี้เห็นหญิงนี้เองจึงหัวเราะ และผู้นี้คงสนิท
ชิดชมกับหญิงผู้นี้แน่. ได้ยินว่า นางสิริมานั้นเป็นหญิงภายนอก อยู่เสวย
สมบัตินั้นในเรือนนั้นครึ่งเดือน ไม่รู้ความที่ตนเป็นหญิงภายนอก สำคัญว่า
ตนเป็นแม่เรือน นางจึงผูกอาฆาตในนางอุตตราธิดา คิดว่า เราจะก่อทุกข์
แก่หญิงคนนี้ ลงจากปราสาทเข้าโรงครัวใหญ่ คว้ากระบวยตักเนยใสที่
เดือดในที่ทอดขนมไปตรงข้างหน้านางอุตตราธิดา นางอุตตราธิดาเห็น
นางสิริมากำลังเดินมา จึงแผ่เมตตาไปยังนางว่า สหายของเราได้ทำอุปการะ
แก่เรา จักรวาลก็ยังแคบเกินไป พรหมโลกก็ยังต่ำเกินไป สหายของเรา
มีคุณยิ่งใหญ่ ถึงเราก็อาศัยนางจึงได้ให้ทานฟังธรรม ถ้าเรามีความโกรธ
ในสหายผู้นี้ เนยใสนี้จงลวกเรา ถ้าเราไม่มีความโกรธ เนยใสก็จงอย่าลวกเรา
ถึงเนยใสที่เดือดแม้นางสิริมาราดลงบนศีรษะของนางอุตตราธิดานั้น ก็
เป็นประหนึ่งน้ำเย็น. ขณะนั้นนางสิริมาคิดว่าเนยใสนี้คงจักเย็น จึงเอา
กระบวยตักใหม่ถือเดินมา พวกทาสีของนางอุตตราเห็นก็ตะคอกว่า เฮ้ยอี
หญิงดื้อ เจ้าไม่ควรจะราดเนยที่เดือดบนศีรษะเจ้านายของข้า ลุกขึ้นรุม
ตบถีบจนนางสิริมาล้มลง นางอุตตราธิดาแม้จะห้ามก็ห้ามไม่ได้. ครั้งนั้น
นางยืนอยู่ข้างบนห้ามทาสีทุกคนแล้วสอบสวนนางสิริมาว่า เหตุไร เจ้าจึง
ทำกรรมหนักเช่นนี้ ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ชโลมด้วยน้ำมันยาที่เคี่ยวถึง

115
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 116 (เล่ม 48)

ร้อยครั้ง.
ขณะนั้นนางสิริมารู้สึกว่าตนเป็นหญิงภายนอกจึงคิดว่า เราราดเนยใส
ที่เดือดบนศรีษะหญิงผู้นี้ เพราะเหตุเพียงสามีหัวเราะ กระทำกรรมหนักแล้ว
หญิงผู้นี้ไม่สั่งทาสีจับเรา แม้เวลาที่พวกทาสีทำร้ายเราก็ยังห้ามปรามทาสี
ทุกคน ได้กระทำสิ่งที่ควรท่าแก่เราทีเดียว ถ้าเราไม่ขอมานาง ศีรษะ
ของเราก็คงจะแตก ๗ เสี่ยง จึงหมอบลงใกล้เท้าอุตตราธิดานั้นกล่าวว่า
แม่นาย โปรดอดโทษแก่ดีฉันเถิด. อุตตราธิดากล่าวว่า เราเป็นธิดามีบิดา
เมื่อบิดาของเราอดโทษ เราก็จะอดโทษให้ นางสิริมากล่าวว่า สุดแต่แม่
นายเถิด ดีฉันจะให้ปุณณเศรษฐีบิดาของท่านอดโทษให้ อุตตราธิดา
กล่าวว่า ท่านปุณณเศรษฐีเป็นชนกบิดาในวัฏฏะของดีฉัน แต่เมื่อชนก-
บิดาในวิวัฏฏะอดโทษแล้ว ดีฉันจึงจะอดโทษให้. นางสิริมาถามว่า ก็ใคร
เล่าเป็นชนกบิดาในวิวัฏฏะของท่าน. นางตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
นางสิริมากล่าวว่า ดีฉันไม่คุ้นกับพระองค์นี้ ดีฉันจะทำอย่างไรเล่า ?
นางอุตตราธิดากล่าวว่า พรุ่งนี้ พระศาสดาจักทรงพาภิกษุสงฆ์มาในที่นี้
เธอก็จงถือสักการะตามแต่จะได้มาในที่นี้นี่แหละ จงให้พระองค์งดโทษ
ให้. นางสิริมากล่าวว่า ดีละแม่เจ้า แล้วก็ลุกขึ้นไปเรือนตนสั่งหญิงรับใช้
๕๐๐ คน จัดแจงของเคี้ยวของกินและกับข้าวต่าง ๆ รุ่งขึ้นก็ถือสักการะ
นั้นมายังเรือนของนางสิริมา ไม่อาจจะวางของลงในบาตรของภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขได้ จึงยืนอยู่ นางอุตตราธิดาก็รับของนั้นมา
ทั้งหมดแล้วจัดการให้.
ครั้นพระศาสดาเสวยเสร็จ ฝ่ายนางสิริมาพร้อมกับบริวารก็หมอบลง
แทบเบื้องบาทพระศาสดา. ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า เจ้ามีความ

116
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 117 (เล่ม 48)

ผิดอะไร นางสิริมากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อวันวาน
ข้าพระองค์กรทำกรรมชื่อนี้ ขณะนั้นสหายของข้าพระองค์จึงห้ามเหล่าทาสี
ที่จะทำร้ายข้าพระองค์ได้กระทำอุปการะแก่ข้าพระองค์โดยแท้ ข้าพระองค์
นั้นสำนึกรู้คุณของนางจึงขอขมานาง แต่นางกล่าวกะข้าพระองค์ว่า เมื่อ
พระองค์งดโทษ นางจึงจะงดโทษ พระศาสดาตรัสถามว่า อุตตรา เขาว่า
อย่างนี้จริงหรือ นางอุตตราธิดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงเจ้าข้า
สหายราดเนยใสเดือดบนศรีษะของข้าพระองค์เจ้าข้า พระศาสดาตรัสถาม
ว่า เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าคิดอะไร นางอุตตราธิดาทูลว่า ข้าพระองค์คิด
อย่างนี้ว่า จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำเกินไป สหายของ
ข้าพระองค์มีคุณยิ่งใหญ่ ด้วยว่าข้าพระองค์อาศัยนางจึงได้ให้ทานและฟัง
ธรรม ถ้าว่าข้าพระองค์มีความโกรธในนาง ขอเนยใสนี้จงลวกข้าพระองค์
ถ้าไม่โกรธขอเนยใสอย่าลวก แล้วก็แผ่เมตตาไปยังนางพระเจ้าค่ะ พระ-
ศาสดาตรัสว่า ดีละ ดีละอุตตรา ชนะความโกรธอย่างนี้ก็สมควร ด้วยว่าขึ้น
ชื่อว่าผู้โกรธ ผู้ไม่โกรธพึงชนะ ผู้ด่า ผู้ไม่ด่าก็พึงชนะ ผู้บริภาษ ผู้ไม่
บริภาษก็พึงชนะ ผู้ตระหนี่ถี่เหนียว อันเขาพึงชนะได้ด้วยการให้ทรัพย์
สิ่งของของตน ผู้พูดเท็จ อันเขาพึงชนะด้วยการพูดจริง เมื่อทรงแสดง
ความข้อนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อาสธุํ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ
ความไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ ด้วย
การให้ พึงชนะผู้พูดเท็จ ด้วยคำจริง.

117
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 118 (เล่ม 48)

จบคาถาก็ได้ตรัสกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ จบสัจจะ นางอุตตราธิดาก็ตั้ง
อยู่ในสกทาคามิผล สามี บิดาของสามี และมารดาของสามี กระทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล แม้นางสิริมากับบริวาร ๕๐๐ ก็ได้เป็นโสดาบัน. ต่อมา
นางอุตตราธิดาตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัล-
ลานะ เที่ยวเทวจาริกตามนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง พบนางอุตตรา-
เทวธิดา จึงถามด้วยคาถาว่า
ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง
ไปทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร
วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ท่าน.
ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม
ท่าน ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร เพราะ
บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดานั้น ดีใจถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม
แล้ว จึงพยากรณ์ปัญหาโดยอาการที่ท่านถามถึงกรรม
ที่มีผลอย่างนี้ กล่าวตอบว่า
ดีฉันอยู่ครองเรือน ไม่มีความริษยา ความ
ตระหนี่และการตีเสมอ ดีฉันไม่เป็นคนมักโกรธ อยู่
ในโอวาทของสามี เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ในวัน

118
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 119 (เล่ม 48)

อุโบสถ ดีฉันถืออุโบสถประกอบไปด้วยองค์ ๘ ตลอด
วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด
ปาฏิหาริยปักษ์ วันรับ-วันส่ง ดีฉันสำรวมในศีลทุก
เมื่อ มีความระมัดระวัง ชอบให้ทาน จึงครองวิมาน
อยู่ ดีฉันเว้นขาดจากปาณาติบาต มุสาวาท อทิน-
นาทาน กาเมสุมิจฉาจาร และเว้นไกลจากการดื่ม
น้ำเมา ยินดีในสิกขาบท ๕ รอบรู้อริยสัจ เป็น
อุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระยศ ผู้มีพระจักษุ ดีฉัน
นั้นมียศด้วยยศเสวยบุญของตน มีความสุข มีอนามัย
ก็ด้วยศีลของตนเอง เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉัน
จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน
และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก
กล่าวแก่ท่าน ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใด
ไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
นางอุตตราเทพธิดา สั่งความท่านพระโมคคัลลานะว่า ท่านผู้เจริญ
ขอท่านพึงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า ตาม
คำของดีฉันว่าข้าแต่พระองค์เจริญ อุบาสิกาชื่อว่าอุตตรา ถวายบังคมพระ-
บาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์
เลย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสามัญญผลอันใดอันหนึ่ง

119
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 120 (เล่ม 48)

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสกทาคามิผลแล้ว.
ในคาถานั้น บทว่า อิสฺสา จ มจฺฉริยมาโน ปลาโส นาโหสิ
มยฺหํ ฆรมาวสนฺติยา ความว่า ความริษยามีสมบัติของหญิงเหล่าอื่นผู้อยู่
ครองเรือนเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ ๑
ความตระหนี่ มีลักษณะปกปิดสมบัติของตน เพราะไม่ประสงค์จะให้แก่ผู้
มาขอสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้จะเป็นการขอยืมเป็นต้นก็ดี ๑ ความตีเสมอ ซึ่ง
มีการถือเป็นคู่แข่งกับผู้อื่น โดยตระกูลและประเทศเป็นต้น ๑ บาปธรรม
แม้ทั้ง ๓ ดังกล่าวไม่มี ไม่เกิดขึ้นแก่ดีฉันผู้ครองเรือน ในเมื่อมีปัจจัย
พร้อมแล้ว. บทว่า อกฺโกธนา ได้แก่ มีสภาพไม่โกรธเพราะพรั่งพร้อม
ด้วยขันติ เมตตา และกรุณา. บทว่า ภตฺตุ วสานุวตฺตินี ได้แก่ มีปกติ
อยู่ในอำนาจของสามี โดยความคล้อยตามสามีมีตื่นก่อนนอนหลัง เป็นต้น
อธิบายว่า มีปกติประพฤติน่าพอใจ. บทว่า อุโปสเถ นิจฺจหมปฺปมตฺตา
ได้แก่ ดีฉันไม่ประมาท คืออยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นนิจในอันรักษา
อุโบสถศีล.
อุตตราเทพธิดา เมื่อแสดงความไม่ประมาทในอุโบสถนั้นนั่นแล
เพื่อจะแสดงวันรักษาอุโบสถ วิธีรักษาอุโบสถ จึงกล่าวว่า จาตุทฺหสึ
เป็นต้น. ในคำนั้น คำว่า จาตุทฺทสึ ปญฺจทสึ สัมพันธ์กับคำว่า ปกฺขสฺส
แปลว่า ตลอดจาตุททสีแห่งปักษ์ ปัญจทสีแห่งปักษ์ คำนี้เป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคแปลว่า ตลอด, สิ้น. ในคำว่า ยา จ ปกฺขสฺส
อฏฺฐมี นี้ จ ศัพท์เป็นเศษคำ. บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ ความว่า
ได้แก่ ตลอดปักษ์ของผู้รักษา และปักษ์ที่พึงรักษาอุโบสถศีลด้วยการรับ
การส่ง คือวันต้นและวันท้ายตามลำดับแห่งวันจาตุททสี วันปัณณรสี

120
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 121 (เล่ม 48)

และวันอัฏฐมี อธิบายว่า วัน ๑๓ ค่ำ วันแรมคำหนึ่ง วัน ๗ ค่ำ และ
วัน ๙ ค่ำ. บทว่า อฏฺฐงฺคสุสมาคตํ ได้แก่ มาพร้อมด้วยดี ประกอบ
พร้อมด้วยองค์ ๘ มี ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.
บทว่า อุปวสิสฺสํ แปลว่าเข้าอยู่ จริงอยู่คำนี้เป็นคำแสดงอนาคต
ลงในอรรถแห่งอดีต. แต่เกจิอาจารย์สวดว่า อุปวสึ อย่างเดียว. บทว่า
สทา ได้แก่ ในวันอุโบสถทั้งหมด พร้อมทั้งวันปาฏิหาริยปักษ์. บทว่า
สีเลสุ ได้แก่ ในวันอุโบสถศีลที่พึงทำให้สำเร็จ. จริงอยู่คำนี้เป็นสัตตมี-
วิภัตติ ใช้ในอรรถที่ทำให้สำเร็จผล. บทว่า สํวุตา ได้แก่ สำรวมทาง
กายวาจาจิต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สทา แปลว่า ทุกเวลา. บทว่า
สีเลสุ ได้แก่ นิจศีล. บทว่า สํวุตา ได้แก่ สำรวมทางกายวาจา.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงนิจศีลนั้น อุตตราเทพธิดาจึงกล่าวว่า เว้นขาด
จากปาณาติบาตเป็นต้น. ในคำนั้น ปาณะโดยโวหารสมมติ ได้แก่สัตว์ โดย
ปรมัตถ์ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. การทำสัตว์ให้ตกล่วงไป การฆ่าสัตว์ การ
ทำลายสัตว์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. โดยอรรถ ได้แก่ เจตนาฆ่าของผู้มีความ
สำคัญในสัตว์มีชีวิตว่ามีชีวิต ซึ่งเป็นสมุฏฐานของความพยายามเด็ดชีวิ-
ตินทรีย์ เป็นไปทางกายทวารวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง. เว้น อธิบายว่า
งดหันกลับจากปาณาติบาตนั้น.
ในบทว่า มุสาวาทา วจีประโยคหรือกายประโยคที่หักรานประโยชน์
ของผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสา. เจตนาที่เป็นสมุฏฐานของกาย-
ประโยคและวจีประโยคที่ทำให้คลาดเคลื่อนต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์จะให้
คลาดเคลื่อน ซึ่งว่ามุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องที่ไม่
จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท ได้แก่ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้เขารู้เรื่องที่

121