No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 102 (เล่ม 48)

ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉัน
จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบปฐมสุณิสาวิมาน
อรรถกถาปฐมสุณิสาวิมาน
ปฐมสุณิสาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.
ปฐมสุณิสาวิมานั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?
สะใภ้ของครอบครัวผู้หนึ่ง ในเรือนหลังหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เห็น
พระเถระขีณาสพเข้ามาบิณฑบาตยังเรือน ก็เกิดปีติโสมนัสว่า นี้บุญเขต
อันยอดเยี่ยมมาปรากฏแก่เราแล้ว จึงแบ่งขนมส่วนหนึ่งซึ่งตนได้มาแล้ว
น้อมเข้าไปถวายพระเถระด้วยอาการเอื้อเฟื้อ. พระเถระรับขนมนั้นอนุโม-
ทนาแล้วก็ไป. ต่อมา สะใภ้ผู้นั้นก็ตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. คำที่
เหลือทั้งหมด ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์จงกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่างไป
ทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร
วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ท่าน.
ดูก่อนเพพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้นเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 103 (เล่ม 48)

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ
ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ
ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้
จึงกล่าวตอบว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็น
สะใภ้ในเรือนพ่อผัว. ดีฉันเห็นพระภิกษุผู้ปราศจาก
กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่หม่นหมองก็เลื่อมใส จึงได้
ถวายขนมแก่ท่านด้วยมือตนเอง ครั้นถวายขนมครึ่ง
หนึ่งแล้ว ก็บันเทิงอยู่ในสวนนันทนวัน.
เพราะบุญนั้น วรรณะของดิฉันจึงเป็นเช่นนี้
เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ
ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน. เพราะบุญนั้น ดีฉัน
จึงมีอานุภาพมากอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึง
สว่างไสวไปทุกทิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณิสา ได้แก่ ภริยาของบุตร. จริงอยู่
บิดาของสามีแห่งหญิง เรียกกันว่าสัสสุระ พ่อผัว. ส่วนหญิง [ ภริยาของ
บุตร] ของบิดาสามีนั้น เรียกกันว่า สุณิสา สะใภ้ เพราะเหตุนั้น เทวดา
หมายถึงบิดาของสามีนั้น จึงกล่าวว่า ได้เป็นสะใภ้ ในเรือนของพ่อผัว.
บทว่า ภาคฑฺฒภาคํ ความว่า ได้ถวายขนมครั้งหนึ่ง จากส่วนที่
ตนได้มา. ด้วยบทว่า โมทามิ นนฺทเน วเน เทวดากล่าว เพราะพระเถระ

103
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 104 (เล่ม 48)

พบตนในสวนนันทนวัน. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมสุณิสาวิมาน
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
ว่าด้วยสุณิสาวิมาร ๒
[๑๔] พระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง
ไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะบุญ
อะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ท่าน.
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้งเกิดเห็นมนุษย์อยู่ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านจึง
มีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และวรรณะของท่าน
จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น
บุตรสะใภ้อยู่ในตระกูลแห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้
ปราศจากกิเลสดุจ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส
ได้ถวายชิ้นขนมแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือตนเอง ครั้น

104
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 105 (เล่ม 48)

ถวายแล้ว จึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทนวัน เพราะ
บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ดีฉัน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
อย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบทุติยสุณิสาวิมาน
อรรถกถาทุติยสุณิสาวิมาน
ทุติยสุณิสาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. ก็ใน
ทุติยสุณิสาวิมานนั้น เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น. ในวัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง
ต่างกันเฉพาะถวายขนมสดเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์
จึงกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่างไป
ทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร
วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ท่าน.
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม
ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

105
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 106 (เล่ม 48)

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ
ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้
กล่าวตอบว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็นบุตร
สะใภ้ในเรือนพ่อผัว ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้ปราศจาก
กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่หม่นหมอง ก็เลื่อมใสแล้ว
จึงได้ถวายขนมสดครั้งหนึ่งแก่ท่านด้วยมือตนเอง
ครั้นถวายชิ้นขนมสดแล้ว ก็บันเทิงอยู่ในสวน
นันทนวัน.
เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้
เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ
ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมา ดีฉันขอบอก
แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้
เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาคํ ได้แก่ ส่วนของขนมสด ด้วย
เหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า ครั้นถวายชิ้นขนมสดแล้ว. ขนมที่ทำด้วย
ข้าวเหนียว ท่านเรียกว่ากุมมาส ขนมสด. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาทุติยสุณิสาวิมาน

106
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 107 (เล่ม 48)

๑๕. อุตตราวิมาน
ว่าด้วยอุตตราวิมาน
[๑๕] พระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง
ไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะบุญ
อะไร ท่านจึงมีวรรณะอย่างนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้
จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด
แก่ท่าน.
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้งเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร
ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ อนึ่ง วรรณะของ
ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
เมื่อดีฉันยังครองเรือนอยู่ ดีฉันไม่มีความริษยา
ไม่มีความตระหนี่ ไม่ตีเสมอ ไม่โกรธ อยู่ในโอวาท
ของสามี ไม่ประมาทเป็นนิจในวันอุโบสถ เข้าจำ
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน
๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และ
ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ [ วันรับวันส่ง ] สำรวมในศีล
ระมัดระวังจำแนกทาน เข้าอยู่ประจำวิมาน เว้นจาก
ปาณาติบาต ๑ งดเว้นจากความเป็นขโมย ๑ ไม่ประ-

107
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 108 (เล่ม 48)

พฤติล่วงประเวณี ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๑ ห่าง
ไกลจากการดื่มน้ำเมา ๑ ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ ดีฉัน
เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระ-
โคดมผู้มีพระจักษุทรงพระยศ ดีฉันนั้นเป็นผู้มียศโดย
ยศก็เพราะศีลของตนเอง ดิฉันได้เสวยผลแห่งบุญ
ของตนอยู่ จึงสุขใจสุขกายไร้โรค เพราะบุญนั้น
ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผู้นี้จึงสำเร็จ
แก่ดีฉัน โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก
แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้
เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ อนึ่ง
วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
ก็แลเทพธิดาสั่งความว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านได้กรุณานำความไป
กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของดีฉันด้วยเถิดว่า นางอุตตรา-
อุบาสิกา ขอถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระเจ้าด้วยเศียรเกล้า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์ดีฉัน ใน
สามัญผลอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย เพราะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสกทาคามิผลนั้นแล้ว.
จบอุตตราวิมาน

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 109 (เล่ม 48)

อรรถกถาอุตตราวิมาน
อุตตราวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. อุตตรา-
วิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น บุรุษเข็ญใจ ชื่อปุณณะ อาศัยราชคฤหเศรษฐี
เลี้ยงชีพอยู่. ภริยาของเขาชื่อว่าอุตตรา. หญิงที่เป็นคนในเรือน ชื่อว่า
อุตตรา มี ๒ คน รวมทั้งธิดา [ ของเขาด้วย ] ต่อมาวันหนึ่ง เขาโฆษณา
ว่า มหาชนในกรุงราชคฤห์ควรเล่นนักษัตร ๗ วัน. เศรษฐีฟังเรื่องนั้น
แล้ว พูดกะปุณณะซึ่งมาแต่เช้าว่า พ่อเอ๋ย คนใกล้บ้านเรือนเคียงของเรา
ประสงค์จะเล่นนักษัตรกัน เจ้าเล่าจักเล่นนักษัตรหรือจักทำงานรับจ้าง.
ปุณณะตอบว่า นายท่าน ธรรมดางานนักษัตร ก็สำหรับคนมีทรัพย์ดอก
ขอรับ. ส่วนในเรือนของกระผม ไม่มีแม้แต่ทรัพย์และข้าวสารที่จะกิน
ในวันพรุ่งนี้ กระผมไม่ต้องการงานนักษัตร ได้โคก็จักไปไถนา. เศรษฐี
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงรับเอาโคไป. เขารับเอาโคงานและไถจ้างงาน
ไป กล่าวกะภริยาว่า แม่นาง ชาวเมืองเล่นงานนักษัตรกัน เพราะเป็น
คนจน ฉันก็ต้องไปทำงานรับจ้าง เจ้าหุงต้มอาหารเป็น ๒ เท่าในวันนี้
ก่อนแล้วค่อยนำไปให้ฉันนะ แล้วก็ไปนา.
แม้ท่านพระสารีบุตรเถระ เข้านิโรธสมาบัติ ๗ วันแล้ว ออกจาก
นิโรธสมาบัตินั้น สำรวจดูว่า วันนี้ เราควรจะสงเคราะห์ใครเล่าหนอ
ก็เห็นปุณณะเข้าอยู่ในข่าย คือญาณของตน ใคร่ครวญดูว่า ปุณณะผู้นี้
มีศรัทธาอาจสงเคราะห์เราไหมหนอ ก็รู้ว่า เขามีศรัทธาสามารถสงเคราะห์
ได้ และเขาจะได้มหาสมบัติ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย จึงถือบาตรจีวร

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 110 (เล่ม 48)

ไปยังที่ เขาไถนา เห็นกอไม้กอหนึ่งใกล้ริมบ่อ จึงยืนอยู่. ปุณณะเห็น
พระเถระแล้วหยุดไถนา ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คิดว่า
พระเถระคงต้องการไม้ชำระฟัน จึงทำกัปปิยะไม้ชำระฟันแล้วถวาย. พระ-
เถระจึงนำบาตรและผ้ากรองน้ำให้เขาไป. เขาคิดว่า พระเถระคงต้องการ
น้ำ จึงรับบาตรและผ้ากรองน้ำนั้น กรองน้ำแล้วถวาย.
พระเถระคิดว่า ปุณณะนี้ อยู่หลังเรือนของคนอื่น ๆ ถ้าเราจักไป
ยังประตูเรือนของเขา ภริยาของปุณณะนี้คงจักไม่อาจเห็นเราได้ จำเรา
จักอยู่ในที่ตรงนี้แหละ จนกว่าภริยาของเขานำอาหารเดินทางมา. พระ-
เถระรออยู่หน่อยหนึ่งในที่ตรงนั้นนั่นแหละ รู้ว่า ภริยาของเขตเดินทางมา
แล้ว ก็ออกเดินบ่ายหน้าไปภายในกรุง. ระหว่างทาง นางเห็นพระเถระ
ก็คิดว่า บางคราวเมื่อมีไทยธรรม เราก็ไม่พบพระผู้เป็นเจ้า บางคราว
เมื่อเราพบพระผู้เป็นเจ้า ก็ไม่มีไทยธรรม แต่วันนี้ เราพบพระผู้เป็นเจ้า
ด้วย ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่ด้วย พระผู้เป็นเจ้าจักสงเคราะห์เราได้ไหมหนอ.
นางลดภาชนะอาหารลงแล้ว ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์กล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า ขออย่าคิดเลยว่า ของนี้ปอนหรือประณีต โปรดสงเคราะห์
ดีฉันผู้เป็นทาสเถิด. ขณะนั้น พระเถระก็น้อมบาตรเข้าไป เมื่อนาง
เอามือข้างหนึ่งถือภาชนะ เอามืออีกข้างหนึ่งถวายอาหารจากภาชนะนั้น
เมื่อถวายได้ครึ่งหนึ่ง ท่านก็เอามือปิดบาตรบอกว่า พอละ. นางจึงกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า อาหารนี้มีส่วนเดียว ไม่อาจแบ่งเป็นสองส่วนได้ ขอท่าน
โปรดอย่าสงเคราะห์เฉพาะโลกนี้แก่ทาสของท่านเลย สงเคราะห์ถึงโลก
หน้าด้วย ดีฉันปรารถนาจะถวายหมดไม่เหลือเลยเจ้าข้า แล้วเอาอาหาร
ทั้งหมด วางลงในบาตรของท่าน ทั้งความปรารถนา ขอดีฉันว่าจงมีส่วน

110
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 111 (เล่ม 48)

แห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วด้วยนะเจ้าข้า. พระเถระกล่าวว่า จงสมปรารถนา
เถิด แล้วยืนทำอนุโมทนา นั่งฉัน ณ ที่สะดวกด้วยน้ำแห่งหนึ่ง. แม้
นางก็กลับไปหาข้าวสารหุงเป็นข้าวสวย.
ส่วนปุณณะไถที่ประมาณ ๘ กรีส ไม่อาจทนความหิวได้ ก็ปลดโค
เข้าไปยังร่มไม้แห่งหนึ่ง นั่งมองนางอยู่. ขณะนั้น ภริยาของเขาถืออาหาร
เดินไป เห็นเขาแล้วก็คิดว่า เขาหิวนั่งมองเรา ถ้าจักตะคอกเราว่า ช่างช้า
เหลือเกิน แล้วตีด้วยด้ามปฏักไซร้ กรรมที่เราทำก็จักไร้ประโยชน์
จำเราจักบอกกล่าวเขาเสียก่อน จึงพูดอย่างนี้ว่า นายจ๋า วันนี้ดีฉันทำจิต
ผ่องใสทั้งวัน โปรดอยู่ทำกรรมที่ดีฉันทำไว้แล้วให้ไร้ประโยชน์เลย ดีฉัน
นำอาหารสำหรับนายมาแต่เช้า ระหว่างทาง พบท่านพระธรรมเสนาบดี
จึงถวายอาหารสำหรับนายแก่ท่าน แล้วกลับบ้านหุงอาหารแล้วจึงมา นายจ๋า
โปรดทำจิตให้ผ่องใสเถิด. ปุณณะนั้นถามว่า แม่นางพูดอะไร ฟังเรื่องนั้น
สักครั้ง แล้วกล่าวว่า แม่นาง เจ้าถวายอาหารสำหรับฉันแก่พระผู้เป็นเจ้า
ช่างทำดีแท้ แม้ฉันก็ถวายไม้ชำระฟันและน้ำบ้วนปากแก่ท่านเมื่อเช้าตรู่
วันนี้ เขามีใจผ่องใส ยินดีถ่อยคำนั้น ลำบากกายเพราะได้อาหารตอนสาย
จึงวางศีรษะหนุนตักของนางแล้วก็หลับไป.
ลำดับนั้น เนื้อที่ ๆ เขาไถตอนเช้า ละเอียดเป็นฝุ่น กลายเป็นทอง
สีแดงไปหมด ปรากฏงดงามเหมือนกองดอกกรรณิการ์. เขาตื่นแล้วมองดู
กล่าวกะภริยาว่า แม่นาง เนื้อที่ ๆ ฉันไถไว้แห่งหนึ่ง ปรากฏชัดแก่ฉัน
เป็นทองไปหมด หรือลูกตาของฉันฝาดไป เพราะได้อาหารสายเกินไปหนอ
ภริยากล่าวว่า นายจ๋า มันปรากฏแก่สายตาของดีฉันก็อย่างนั้นเหมือนกัน
จ้ะ. เขาลุกขึ้นเดินไปที่นั้นหยิบขึ้นมาก้อนหนึ่ง ทุบที่หัวไถ ก็รู้ว่าเป็นทอง

111