No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 95 (เล่ม 47)

ดาบสครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอาหารอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะยกเรื่องมุสาวาทขึ้นติเตียน จึงกล่าวว่า น อามคนฺโธ ฯเปฯ สุสงฺขเตหิ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ดาบสเมือกล่าวบริภาษอยู่ว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ผู้เว้นจากคุณของพราหมณ์ ข้า
แต่ท่านผู้เป็นพราหมณ์ผู้สมมติแต่เพียงชาติ พระองค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถาม
ในกาลก่อนแล้ว พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ว่า คือว่าพระองค์ตรัสโดยส่วนเดียว
อย่างนี้ว่า กลิ่นดิบไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.
บทว่า สาลีนมนฺนํ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี.
บทว่า ปริภุญฺชมาโน ได้แก่ บริโภคอยู่.
บาทคาถาว่า สกุนฺตมํเสหิ สุสงฺขเตหิ ความว่า ดาบสกล่าวถึง
เนื้อนกซึ่งพระราชานำมาถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น ก็ดาบสเมื่อจะ
กล่าวอย่างนี้นั้นเอง จึงได้แหงนมองดูพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
เบื้องล่างตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกศาในเบื้องบน จึงได้เห็นความ
สมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประ-
การ รวมทั้งได้เห็นการแวดล้อมแห่งพระรัศมีที่ขยายออกไปวาหนึ่ง จึงคิดว่า
ผู้ที่มีกายประดับด้วยมหาปุริสลักษณะเป็นต้นเห็นปานนี้ ไม่ควรที่จะพูดเท็จ ก็
พระอุณาโลมนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนนุ่มคล้ายนุ่น และขนที่
ขุมขนทั้งหลาย เป็นอเนกเกิดขึ้นแก่ท่านผู้นี้. เพราะผลอันไหลออกแห่งสัจวาจา
แม้ในระหว่างภพนั่นเอง ก็บุคคลเช่นนี้นั้นจะพูดเท็จในบัดนี้ได้อย่างไร กลิ่น
ดิบของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องเป็นอย่างอื่นแน่แท้ พระองค์ตรัสคำนี้หมายถึง

95
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 96 (เล่ม 47)

กลิ่นอันใดว่า พราหมณ์เราหาได้บริโภคกลิ่นดิบไม่ ดังนี้ ไฉนหนอเราจะพึง
ถามถึงกลิ่นนั้น เป็นผู้มีมานะมากับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเจรจาด้วยอำนาจโคตร
นั้นเอง จึงกล่าวคาถาที่เหลือนี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ข้าพระองค์ขอ
ถามเนื้อความนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดับของ
พระองค์มีประการเป็นอย่างไร ดังนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ถึงกลิ่นดิบแก่พราหมณ์นั้น
จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปาณาติปาโต ดังนี้.
การฆ่าสัตว์ชื่อว่า ปาณาติบาต ในคาถานั้น. ในคำว่า วธจฺเฉท-
พนฺธนํ นี้ มีอธิบายว่า การทุบตีทำร้ายสัตว์ทั้งหลายด้วยท่อนไม้เป็นต้น ชื่อว่า
วธะ การทุบตี การตัดมือและเท้าเป็นต้น ชื่อว่า เฉทะ การตัด การจอง
จำด้วยเชือกเป็นต้น ชื่อว่า พันธนะ การจองจำ.
การลักและการพูดเท็จ ชื่อว่า เถยยะและมุสาวาท.
การให้ความหวังเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักให้ เราจักกระทำ
แล้วก็ทำให้หมดหวังเสีย ชื่อว่า นิกติ การกระทำให้มีความหวัง.
การให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ทองว่าเป็นทองเป็นต้น ชื่อว่า วัญจนา
การหลอกลวง.
การเล่าเรียนคัมภีร์เป็นอเนกที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัชเฌนกุตติ
การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์.
ความพระพฤติผิดในภรรยาที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า ปรทารเสวนา
การคบหาภรรยาผู้อื่น.

96
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 97 (เล่ม 47)

บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ความ
ประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนี้ ชื่อว่า อามคันธะ
กลิ่นดิบ คือ เป็นกลิ่นทีมีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะไม่เป็นที่พอใจ เพราะคลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดคือ
กิเลส เพราะเป็นของที่สัปบุรุษทั้งหลายเกลียด และเพราะนำมาซึ่งความเป็น
กลิ่นที่เหม็นอย่างยิ่ง.
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบ
ทั้งหลายเหล่าใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่า
กลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยัง
ไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น ) จึงเป็น
กลิ่นดิบ ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ
(คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและ
โภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยนัยหนึ่ง ด้วยเทศนา
ที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ๆ ประกอบ
ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น ๆ สัตว์ผู้หนึ่งเท่านั้น จะประกอบด้วยกลิ่นดิบ
ทุกอย่างก็หามิได้ และกลิ่นดิบทุกอย่าง จะประกอบกับสัตว์ผู้เดียวเท่านั้น ก็หา
มิได้ ฉะนั้นเมื่อจะทรงประกาศกลิ่นดิบเหล่านั้น ๆ แก่สัตว์เหล่านั้น เมื่อจะ
ทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคคลธิษฐานก่อนโดยนัยว่า ชนทั้งหลาย
เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมแล้วในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น จึงได้ทรงภาษิต
พระคาถา ๒ พระคาถา.

97
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 98 (เล่ม 47)

ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา
ความว่า ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวม เพราะทำลายความ
สำรวมเสียแล้ว ในกามทั้งหลายกล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนใน
ชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.
สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว
คือได้ประสบแล้ว ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณเป็นผู้มีปกติ
เห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภครสทั้งหลายอยู่.
บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาด
กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติด
ในรสนั้น.
บทว่า นติถีกทิฏฺฐิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง
เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น.
บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.
บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก
ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืน การยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิด ๆ.
บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า พึงทราบกลิ่นดิบที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าแสดงเฉพาะในบุคคล ด้วยคาถานี้ว่ามี ๖ ชนิด ด้วยอรรถที่
พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้น แม้อื่นอีกว่า ความไม่สำรวมในกาม ๑ การติด
ในรส ๑ อาชีววิบัติ ๑ นัตถิกทิฏฐิ ๑ ความเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอในทุจริตมีกาย
ทุจริตเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้แนะนำได้ยาก ๑.

98
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 99 (เล่ม 47)

คำว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบ
ไม่ ด้วยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้นั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
สองบทว่า เย ลูขสา ความว่า ชนเหล่าใด เศร้าหมอง ไม่มีรส
อธิบายว่า ประกอบตนไว้ในอัตตกิลมถานุโยค.
บทว่า ทารุณา ได้แก่ หยาบช้า กักขละ คือประกอบด้วยความ
เป็นผู้ว่ายาก.
บทว่า (ปร) ปิฏฺฐิมํสิกา ความว่า ต่อหน้า ก็พูดไพเราะ แล้วก็
พูดติเตียนในที่ลับหลัง จริงอยู่ ชนทั้งหลายเหล่านี้ ไม่อาจจะแลดูซึ่งหน้าได้
เป็นราวกะว่าแทะเนื้อหลังของชนทั้งหลายลับหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียก
ว่า หน้าไว้หลังหลอก.
บทว่า มิตฺตทุพฺภิโน คือ ผู้ประทุษร้ายมิตร มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติ
ผิดต่อมิตรทั้งหลายผู้ให้ความคุ้นเคย ในเรื่องภรรยา ทรัพย์ และชีวิต ใน
ที่นั้น ๆ.
บทว่า นิกฺกรุณา ความว่า ปราศจากความเอ็นดู คือต้องการให้
สัตว์ทั้งหลายพินาศ.
บทว่า อติมาโน ได้แก่ ประกอบด้วยการถือตัวจัด ดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกระทบถึงชาติ
กำเนิด ฯลฯ หรือด้วยอ้างถึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ความถือตัวเห็นปานนี้
ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตเหมือนกับธง.

99
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 100 (เล่ม 47)

บทว่า อทานสีลา คือ มีปกติไม่ให้ ได้แก่ มีจิตใจน้อมไปเพื่อไม่ให้
อธิบายว่า ไม่ยินดีในการจ่ายแจก.
หลายบทว่า น จ เทนฺติ กสฺสจิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่มีปกติไม่
ให้นั้น แม้จะเป็นผู้ถูกขอก็ไม่ยอมให้อะไรแก่ใคร ๆ คือว่าเป็นเช่นกับด้วย
มนุษย์ในสกุลอทินนปุพพกะพราหมณ์ ย่อมจะเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต
ในสัมปรายภพ.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาทานสีลา ดังนี้ก็มี ความว่า เป็นผู้มี
ปกติรับอย่างเดียว แต่ก็ไม่ยอมให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ.
บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ผู้ศึกษาพึง
ทราบว่ากลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจาะจงบุคคลทั้งหลายด้วยคาถา
นี้มี ๘ ชนิด ด้วยอรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในตอนต้นอื่นอีก
คือ ความเป็นผู้มีรสที่เศร้าหมอง ๑ ความทารุณ ๑ หน้าไหว้หลังหลอก ๑
ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว ๑ การไร้ความเอ็นดู ๑ การถือตัวจัดหนึ่ง ๑ การมี
ปกติไม่ให้ ๑ และการไม่สละ ๑ เนื้อและโภชนะให้ใช้กลิ่นดิบเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัส ๒ พระคาถาด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษ-
ฐานอย่างนี้แล้ว ก็ได้ทรงทราบถึงการอนุวัตรตามอัธยาศัยของดาบสนั้นอีก จึง
ได้ตรัสพระคาถา ๑ (คาถา) ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน.
ความโกรธในพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในอุรคสูตร ความมัวเมาแห่งจิต มีประเภทดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า ความเมาในคติ ความเมาในโคตร ความเมาใน
ความไม่มีโรค เป็นต้น ชื่อว่า มโท ความเมา.

100
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 101 (เล่ม 47)

ความเป็นผู้แข็งกระด้าง ชื่อว่า ถมฺโภ ความเป็นคนหัวดื้อ.
การตั้งตนไว้ในทางที่ผิด ได้แก่การตั้งตนไว้ผิดจากพระดำรัสที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ปจฺจุปฺปฏฺฐานา การตั้ง
ตนไว้ผิด.
การปกปิดบาปที่ตนกระทำไว้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแนกไว้ใน
คัมภีร์วิภังค์ โดยนัยเป็นต้นว่า คนบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต ชื่อว่า
มายา หลอกลวง.
การริษยาในลาภสักการะของบุคคลอื่นเป็นต้นชื่อว่า อุสฺสุยา ริษยา.
คำที่บุคคลยกขึ้น มีการอธิบายว่า การยกตนขึ้น ชื่อว่า ภสฺสสมุสฺ-
โสโย การยกตน.
ความถือตัวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า คน
บางคนในโลกนี้ถือตัวว่าเสมอกับผู้อื่นในกาลก่อน ด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ฯลฯ
หรือด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มาภายหลังยกตนว่าเสมอ ไม่ยอมรับว่าตน
เองเลวกว่าคนอื่น มานะเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตดุจธง ชื่อว่า
มานาติมาโน การถือตัว.
การสมาคมกับอสัปบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสพฺภิสนฺถโว การสมาคม
กับอสัตบุรุษ.
บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า อกุศล
ราศี ๙ อย่างมีความโกรธเป็นต้นนี้ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นดิบ โดยอรรถ
ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น
ดิบเลย.

101
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 102 (เล่ม 47)

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงกลิ่นดิบ ๙ อย่าง ด้วยเทศนาที่เป็น
ธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-
ธิษฐานที่นัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแลแม้อีก จึงได้ทรงภาษิต
๓ พระคาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ปาปสีลา ความว่า ชนเหล่าใด
ปรากฏในโลกว่ามีปกติประพฤติชั่ว เพราะเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว.
การยืมหนี้แล้วฆ่าเจ้าหนี้เสียเพราะไม่ใช้หนี้นั้น และการพูดเสียดแทง
เพราะคำส่อเสียด ตามนัยที่กล่าวไว้ในวสลสูตร ชื่อว่า อิณฆาตสูจกา ผู้ฆ่า
เจ้าหนี้และพูดเสียดแทงเจ้าหนี้.
บาทคาถาว่า โวหารกูฏา อิธ ปาฏิรูปิกา ความว่า ชนทั้งหลาย
ดำรงอยู่แล้ว ในฐานะที่ตั้งอยู่ในธรรม (เป็นผู้ตัดสินความ) รับค่าจ้างแล้ว ทำ
เจ้าของให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าผู้พูดโกง เพราะประกอบด้วยโวหารที่โกง ชื่อว่า
ปาฏิรูปิกา คนผู้หลอกลวง เพราะเอาเปรียบผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนา.
บทว่า ปาฏิรูปิกา ได้แก่ พวกคนทุศีล.
จริงอยู่. เพราะเหตุคนทุศีลเหล่านั้น มีการสำรวมอิริยาบถให้งดงาม
เรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งจะเปรียบได้กับท่านผู้มีศีล ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นคนผู้
หลอกลวง
บาทคาถาว่า นราธมา เยธ กโรนฺติ กิพฺพิสํ ความว่า ชนเหล่า
ใด เป็นคนต่ำทรามในโลกนี้ ย่อมกระทำกรรมหยาบช้า กล่าวคือการปฏิบัติผิด
ในมารดาและบิดาทั้งหลาย และในพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น.

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 103 (เล่ม 47)

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า กลิ่นชนิดนี้
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยคาถานี้ อันตั้งอยู่แล้วในบุคคล เป็น
บุคลาธิษฐาน ผู้ศึกษาพึงทราบกลิ่นแม้อื่นอีก ๖ ชนิด โดยอรรถที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในกาลก่อนว่า ความเป็นผู้มีปกติประพฤติชั่ว ๑ การกู้หนี้มาแล้ว
ไม่ใช้ ๑ การพูดเสียดสี ๑ การเป็นผู้พิพากษาโกง ๑ การเป็นคนหลอกลวง
๑ การกระทำที่หยาบช้า ๑ เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย ดังนี้.
บาทคาถาว่า เย อิธ ปาเณสุ อสํยตา ชนา ความว่า ชนเหล่า
ใดในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพราะประพฤติตามความอยาก
ชื่อว่าไม่สำรวมแล้ว เพราะไม่กระทำแม้สักว่าความเอ็นดูในสัตว์.
บาทคาถาว่า ปเร สมาทาย วิเหสมุยฺยุตา ความว่า ถือเอา
ทรัพย์หรือชีวิตอันเป็นของที่มีอยู่ของบุคคลอื่น ต่อแต่นั้นก็ประกอบการเบียด
เบียน โดยการใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้ต่อชนทั้งหลายผู้อ้อนวอนหรือ
ห้ามอยู่ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้" ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง จับสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นได้แล้ว ก็ยึดถือไว้อย่างนี้ว่า
เราจะฆ่าสัตว์ ๑๐ ตัวในวันนี้ จะฆ่า ๒๐ ตัวในวันนี้ ดังนี้ แล้วก็ทำการ
เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น.
บทว่า ทุสฺสีลลุทฺทา ความว่า ผู้ทุศีล เพราะประพฤติชั่ว และ
ชื่อว่าผู้ดุร้าย เป็นผู้มีการงานหยาบช้า เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชน
ทั้งหลายผู้มีกรรมอันเป็นบาป มีชาวประมง นายพรานเนื้อและนายพรานนก
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในพระคาถานี้.

103
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ – หน้าที่ 104 (เล่ม 47)

บทว่า ผรุสา ได้แก่ มีวาจาหยาบคาย.
บทว่า อนาทรา ได้แก่ผู้เว้นจากความเอื้อเฟื้ออย่างนี้ว่า พวกเรา
จักไม่กระทำในบัดนี้ พวกเราเห็นบาปนี้ จักงดเว้น ดังนี้.
บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า กลิ่นนี้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยคาถานี้ ซึ่งตั้งอยู่แล้วในบุคคลทั้งที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้ว และยังไม่ได้กล่าวโดยกาลก่อน เป็นต้นว่า การฆ่า การตัด
และการจองจำ ชื่อว่า ปาณาติบาต ดังนี้.
บัณฑิตพึงทราบ กลิ่นดิบ ๖ ชนิด คือ ความไม่สำรวมในสัตว์
ทั้งหลาย ๑ การเบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ความเป็นผู้
ร้ายกาจ ๑ ความเป็นผู้หยาบคาย ๑ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เนื้อและ
โภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ข้อนั้น
ท่านหาได้กล่าวไว้อีกด้วยเหตุทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า เพื่อปรารถนาจะฟัง
เพื่อการกำหนด เพื่อกระทำให้มั่นคง ไม่.
ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถึงเนื้อความนี้ไว้ข้าง
หน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ ได้ตรัสบอกเนื้อความนี้อย่างนี้
บ่อย ๆ ชื่อว่าให้ผู้อื่นทราบเนื้อความนั้น.
บาทคาถาว่า เอเตสุ คิทฺธา วิรุทฺธาติปาติโน ความว่า กำหนัด
แล้ว ด้วยความกำหนัดในสัตว์เหล่านั้น โกรธแล้วด้วยโทสะ ไม่เห็นโทษด้วย
โมหะ และฆ่าสัตว์ด้วยการประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายบ่อย ๆ

104