No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 304 (เล่ม 46)

การพรรณนาบท ในบทเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้วแล แต่นัยแห่ง
วัณนนาในคาถานี้ มีดังนี้ :-
ภิกษุใด เมื่อบทธรรม เพราะเป็นบทแห่งนิพพานธรรม อันพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะทรงแสดงไม่อิงอาศัย ที่สุดทั้งสอง หรือ
เพราะทรงแสดงแล้ว โดยประการต่าง ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น โดยสมควรแก่
อาสัย แม้เป็นผู้มรรคสมังคี ชื่อว่า เป็นอยู่ในมรรค เพราะเป็นผู้มีมรรคกิจ
อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมด้วยศีล มีสติ ด้วย
สติอันดำรงดีแล้วในกายเป็นต้น หรือระลึกได้ถึงกิจที่ทำแล้วนานเป็นต้นได้
เสพบทอันไม่มีโทษ กล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เพราะเป็นบท
อันไม่มีโทษ โดยไม่มีโทษแม้ประมาณน้อย และเป็นบทโดยภาวะเป็นโกฏฐาส
ด้วยการเสพภาวนา จำเดิมแต่ภังคญาณ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสภิกษุที่ ๓
นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสขยายสมณะผู้เสขะ และสมณปุถุชนผู้
มีศีลว่า เป็นอยู่ในมรรค ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ขยายสมณะสักว่าโวหารอย่างเดียว ซึ่งมีผ้าเหลืองพันคอนั้น จึงตรัสว่า ฉทนํ
กตฺวาน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉทนํ กตฺวาน ความว่า กระทำความ
สมควรถือเพศ อธิบายว่าทรงเพศ. บทว่า สุพฺพตานํ ได้แก่ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก. จริงอยู่ วัตรของพระพุทธเจ้า พระปัจ-
เจกพุทธเจ้าและสาวก ย่อมงาม เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น เรียกว่า สุพฺพตา ผู้มีวัตรอันงาม.

304
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 305 (เล่ม 46)

บทว่า ปกฺขนฺที ความว่า แล่นไป คือเข้าไปในภายใน. จริงอยู่
บุคคลผู้ทุศีลกระทำเพศของผู้มีวัตรอันงามให้เป็นเครื่องปกปิด เพื่อปกปิดความ
ที่ตนเป็นผู้ทุศีล เหมือนการปกปิดวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น เพื่อปกปิด
คูถฉะนั้น ย่อมแล่นไปในท่ามกลางภิกษุว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ เมื่อเขาถวายลาภ
ว่า ภิกษุมีพรรษาประมาณเท่านี้ พึงรับลาภนี้ ก็ย่อมแล่นไปเพื่อจะรับว่า
เราก็มีพรรษาประมาณเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
กระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงาม
ให้เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติแล่นไปดังนี้.
บุคคลใดย่อมประทุษร้ายความเลื่อมใส อันเกิดแก่ตระกูลแม้ ๔ มี
ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ด้วยการประพฤติอันไม่สมควร เพราะเหตุนั้น บุคคล
นั้น ชื่อว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล. บทว่า ปคพฺโภ ความว่า
ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความคะนองกาย ๘ ฐานะ ความคะนองวาจา ๔
ฐานะ และความคะนองใจมีหลายฐานะ. ความสังเขปในพระสูตรนี้มีเพียงเท่านี้
ส่วนความพิสดารข้าพเจ้าจักพรรณนาในเมตตสุตตวัณณนา.
ชื่อว่า มีมายา เพราะเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยมายาอันปกปิด
กรรมที่ตนทำแล้วเป็นลักษณะ ชื่อว่า ไม่สำรวม เพราะไม่มีการสำรวมศีล
ชื่อว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นผู้เช่นกับแกลบ. เปรียบเหมือนแกลบ
แม้เว้นข้าวสารในภายใน แต่ปรากฏเหมือนข้าวเหนียวเมล็ดดีในภายนอก
ฉันใด บุคคลบางคนในศาสนานี้ก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสารมีศีลเป็นต้นใน
ภายใน แต่ย่อมปรากฏ เหมือนสมณะ ด้วยเพศสมณะ ปกปิดวัตรอันดีงาม
ฉะนั้น บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นคนเช่นกับแกลบ
อย่างนี้.

305
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 306 (เล่ม 46)

ก็ในอานาปานสติสูตร แม้ปุถุชนผู้ดีงามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทนี้ไม่มีแกลบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้มีแกลบออกแล้ว ดำรงอยู่
ในสาระอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ ส่วนในสูตรนี้และในกปิล-
สูตร ผู้ต้องปาราชิกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนแกลบ ไม่ใช่สมณะแต่
สำคัญว่า สมณะออกจากที่นั้น* ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ.
บทว่า ปฏิรูเปน จรํ ส มคฺคทูสี ความว่า บุคคลนั้นกระทำ
เพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงามให้เป็น
เครื่องปกปิดแล้วนั้น ประพฤติด้วยวัตตปฏิรูป คือ วัตตรูป ได้แก่ด้วย
อาจาระสักว่าภายนอก โดยประการที่ชนย่อมรู้เรา ตามที่ประพฤติอยู่ว่า ภิกษุ
นี้ อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือรุกขมูลเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสมณะ
ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะประทุษร้ายโลกุตรมรรคของตน และเพราะประทุษ-
ร้ายสุคติมรรคของคนเหล่าอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะผู้สักว่าโวหาร ผู้ทุศีลว่า
เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
จะทรงแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากันและกัน จึงตรัสว่า เอเต จ
ปฏิวิชฺฌิ ดังนี้.
คาถามนั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นกษัตริย์ก็ตาม
เป็นพราหมณ์ก็ตาม คนใดคนหนึ่งก็ตาม ทราบชัด คือรู้ทั่ว กระทำให้แจ้ง
ซึ่งสมณะ ๔ เหล่านั้น ด้วยลักษณะตามที่กล่าวแล้ว สดับลักษณะของสมณะ ๔
* ขุ. สุ. ๓๐๙.

306
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 307 (เล่ม 46)

เหล่านี้ โดยเพียงได้ฟัง ชื่อว่า อริยสาวก เพราะความที่ลักษณะนั้นแลได้ฟังแล้ว
ในสำนักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีปัญญา ด้วยรู้ชัดว่า ภิกษุรูปนี้ และรูปนี้
มีลักษณะอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นนั่นแล ทั้งหมดแม้นี้ว่าเป็นเช่นนั้น สมณะนี้
เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ตรัสแล้วในภายหลัง เห็นแล้วอย่างนี้ คือ เห็น
ภิกษุชั่วนั่น แม้ทำความชั่วอย่างนี้.
ในคาถานั้นมีโยชนาดังนี้ ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญาทราบ
สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น ด้วยปัญญานั้นอยู่ เห็นแล้วอย่างนี้
ย่อมไม่ยังศรัทธาของคฤหัสถ์ผู้ทราบชัดสมณะเหล่านี้ให้เสื่อม คือ แม้เห็นภิกษุ
ชั่ว ทำกรรมชั่วอย่างนี้แล้ว ไม่ยังศรัทธาให้เสื่อม คือ ไม่ให้เสื่อมเสีย ไม่ให้
ศรัทธาฉิบหาย ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากัน
และกัน ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระอริยสาวก ผู้แม้
เห็นแล้วอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น จึงตรัสว่า กถญฺหิ
ทุฏเฐน ดังนี้.
คาถาวจนะนั้นมีความสัมพันธ์ว่า ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องที่
ประกอบแล้วนั่นแล คือ แม้เห็นภิกษุทำความชั่วบางรูป ดังนี้แล้ว รู้สมณะ
เหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร
เพราะจะพึงกระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษ
ประทุษร้าย ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษ
ประทุษร้าย จะพึงกระทำสมณะผู้บริสุทธิ์
ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้.

307
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 308 (เล่ม 46)

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เพราะพระอริยสาวกผู้สดับ มีปัญญา จะพึง
กระทำผู้ไม่ถูกประทุษร้ายนอกนี้ ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษประทุษร้าย ด้วย
ศีลวิบัติ คือ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค จะพึงการทำสมณะผู้บริสุทธิ์ เป็น
เช่นนั้น ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ด้วยกายสมาจารเป็นต้น คือ สมณะ
ผู้สักว่าโวหารผู้สุดท้ายอย่างไรได้ คือ พึงรู้ว่า เป็นเช่นนั้น ดังนี้.
ในการจบพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสมรรค หรือ ผล แก่
อุบาสก เพราะอุบาสกนั้นละความสงสัยได้แล้ว ดังนี้แล.
จบจุนทสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อ ปรมัตถโชติกา

308
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 309 (เล่ม 46)

ปราภวสูตรที่ ๖
ว่าด้วยความเสื่อม ๑๒ อย่าง
[๓๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม
สิ้นไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้
สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
[๓๐๔] ข้าพระองค์มา เพื่อจะทูลถาม
ถึงผู้เสื่อม และคนผู้เจริญกะท่านพระโคดม
จึงขอทูลถามว่า อะไรเป็นทางของคนเสื่อม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม
ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้
เสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้
เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์
จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของ
คนเสื่อม.

309
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 310 (เล่ม 46)

คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำ
สัตบุรุษให้เป็นที่รัก ชอบใจธรรมของอสัต-
บุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะ
เหตุนั้นแล เราจงทราบข้อนี้เถิดว่า ความ
เสื่อมนั้นเป็นที่ ๒.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์
จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๓ อะไรเป็นทางของ
คนเสื่อม.
คนใดชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น
เกียจคร้าน โกรธง่าย ข้อนั้นเป็นทางของ
คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด
ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๓.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์
จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๔ อะไรเป็นทางของ
คนเสื่อม.
คนใดสามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือ
บิดาผู้แก่เฒ่า ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อ
นั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล
เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้น
เป็นที่ ๔.

310
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 311 (เล่ม 46)

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๕ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนใดลวงสมณะพราหมณ์ หรือแม้
วณิพกอื่นด้วยมุสาวาท ข้อนั้นเป็นทางของ
คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด
ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๕.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๖ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนมีทรัพย์มาก มีเงินทองของกิน
กินของอร่อยแต่ผู้เดียว ข้อนั้นเป็นทางของ
คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด
ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๖.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๗ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะ
ทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่น
ญาติของตน ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า
ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๗.

311
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 312 (เล่ม 46)

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๘ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลง
สุรา และเป็นนักเลงการพนันผลาญทรัพย์
ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า
ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๘.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๙ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนไม่สันโดษด้วยภริยาของตนประ-
ทุษร้ายในภริยาของคนอื่นเหมือนประทุษร้าย
ในหญิงแพศยา ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า
ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๙.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
ชายแก่ได้หญิงรุ่นสาวมาเป็นภริยา
ย่อมนอนไม่หลับ เพราะความหึงหวงหญิง

312
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 313 (เล่ม 46)

รุ่นสาวนั้น ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า
ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๐.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่๑๑ อะไรเป็นทาง
ของคนเสื่อม.
คนใดตั้งหญิงนักเลงสุรุ่ยสุร่าย หรือ
แม้ชายเช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่ ข้อนั้น
เป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั่น เราจง
ทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๑.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๒ อะไรเป็น
ทางของคนเสื่อม.
ก็บุคคลผู้เกิดในสกุลกษัตริย์ มีโภค-
ทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ ปรารถนา
ราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม.
บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็นอัน
ประเสริฐ พิจารณาเห็นคนเหล่านี้ เป็นผู้
เสื่อมในโลก ท่านย่อมคบโลกที่เกษม (คน
ผู้เจริญ).
จบปราภวสูตรที่ ๖

313