No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 104 (เล่ม 46)

อรรถกถาขัคควิสาณสูตร
วรรรคที่ ๑
คาถาที่ ๑
ขัคควิสาณสูตร เริ่มต้นว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร.
พระสูตรทั้งปวงมีอุบัติ ๔ อย่าง คือ เพราะอัธยาศัยของตน ๑ เพราะ
อัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑ เพราะอำนาจแห่งคำถาม ๑.
จริงอยู่ สูตรทั้งหลายมีทวยตานุปัสสนาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของ
ตน. สูตรทั้งหลายมีเมตตาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น สูตร
ทั้งหลายมีอุรคสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง สูตรทั้งหลายมี
วัมมิกสูตรเป็นต้นมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม.
ในสูตรเหล่านั้น ขัคควิสาณสูตรมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดย
ไม่แปลกกัน แต่โดยแปลกกัน เพราะในขัคควิสาณสูตรนี้บางคาถาพระปัจเจก-
สัมพุทธะนั้น ๆ ถูกถามจึงกล่าว บางคาถาไม่ถูกถาม จึงเปล่งอุทานอันสมควร
แก่นัยที่ตนสักว่าบรรลุแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น บางคาถามีอุบัติเพราะอำนาจ
แห่งคำถาม บางคาถามีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น บางคาถามีอุบัติเพราะ
อัธยาศัยของตน. ในอุบัติเหล่านั้น อุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดยไม่แปลก
กันนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้น.
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล
พระอานนท์ผู้มีอายุไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ได้เกิดปริวิตกในใจอย่างนี้ว่า ความ
ปรารถนาและอภินิหารย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาปรากฏแก่พระ-

104
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 105 (เล่ม 46)

สาวกทั้งหลาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนั้นไม่ ไฉนหนอ เราพึง
เข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องนี้ตามลำดับ. ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตรแก่ท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ คือ บุคคลย่อมบรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมในเพราะ
ปุพพโยคาวจรก่อนทีเดียว ถ้าไม่บรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมก่อนทีเดียว ต่อมา
ก็บรรลุอรหัตผลในเวลาตาย ฯลฯ ต่อมาเป็นเทวบุตรก็บรรลุอรหัตผล ต่อมา
ก็เป็นขิปปาภิญญบุคคล ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ต่อมาก็ย่อมเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะในกาลภายหลัง ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึง
ตรัสอีกว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยอภินิหาร มีปุพพโยคาวจรธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธะ และสาวกทั้งหลาย พึงประสงค์ความปรารถนาและอภินิหาร.
ท่านพระอานนท์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเป็น
พระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร. พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความ
ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานโดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึง
สี่อสงไขยและแสนกัป โดยกำหนดปานกลาง แปดอสงไขยและแสนกัป โดย
การกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยและแสนกัป ประเภททั้ง ๓ นั้น พึงรู้ด้วย
อำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ปัญญาธิกะ ผู้สัทธาธิกะ และผู้วิริยาธิกะ จริงอยู่
พระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ มีศรัทธาน้อยแต่มีปัญญามาก ผู้สัทธาธิกะมีปัญญา
ปานกลางแต่มีศรัทธามาก ผู้วิริยาธิกะมีศรัทธาและปัญญาน้อย แต่มีความเพียร
มาก.

105
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 106 (เล่ม 46)

ก็ข้อที่ บุคคลให้ทานเช่นกับด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วันก็ดี
สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อันสมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขย
แสนกัปแล้ว ก็เป็นพระพุทธเจ้าในระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ
เหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ
เปรียบเหมือนข้อที่ข้าวกล้าจะออกรวงได้ โดยล่วงไป ๓ เดือน ๔ เดือน หรือ
๕ เดือน ไม่ถึงกาลนั้น ๆ แล้ว บุคคลจะปรารถนาวันละแสนครั้งทุก ๆ วันก็ดี
รดน้ำวันละแสนครั้งทุก ๆ วันก็ดี จะให้ออกรวงได้โดยภายใน ๑ ปักษ์ หรือ
๑ เดือน นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะข้าวกล้ายังไม่ตั้งท้อง ยัง
ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ชื่อฉันใด ข้อที่บุคคลให้ทานเช่นกับ
ด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อัน
สมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้าใน
ระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยัง
ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
พึงทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวนั่นเทียว เพื่อประโยชน์แก่ความ
แก่รอบแห่งญาณ ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า โดยกาลแม้
ประมาณเท่านี้ ก็พึงปรารถนาสมบัติ ๘ ประการ ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่
อภินิหารนี้ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะ
การประชุมธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็น
มนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑
การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความ
ถึงพร้อมแห่งคุณ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

106
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 107 (เล่ม 46)

คำว่า อภินิหาร นั่นเป็นชื่อแห่งมูลปณิธาน. ในการประชุมธรรม
๘ ประการนั้น คำว่า ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ มนุษยชาติ. ด้วยว่านอกจาก
มนุษยชาติแล้ว ปณิธานของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในชาติที่เหลือทั้งหลาย แม้ใน
ชาติเทวดาก็ตาม ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้ เพราะบุคคลที่ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น
เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว
พึงปรารถนาความเป็นมนุษย์เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น พึงตั้งปณิธาน
ด้วยว่า อภินิหารย่อมสำเร็จอย่างนี้.
คำว่า ความถึงพร้อมด้วยเพศ ได้แก่ ความเป็นบุรุษ. ก็ปณิธาน
ของสตรี กะเทย และอุภโตพยัญชนก แม้ดำรงอยู่ในมนุษยชาติ ก็ย่อมสำเร็จ
ไม่ได้ ด้วยว่าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระ-
พุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นบุรุษ
เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษนั้น พึงตั้งปณิธาน อภินิหารย่อมสำเร็จได้
ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เหตุ ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง อุปนิสัย แห่งพระอรหัต.
ก็บุคคลใดพยายามอยู่ในอัตภาพนั้น สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตได้ อภินิหาร
ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่ เหมือนสำเร็จแกสุเมธ-
บัณฑิต ฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้น บรรพชาที่บาทมูลของพระพุทธเจ้า
พระนามว่า ทีปังกร ได้เป็นผู้สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตโดยอัตภาพนั้นได้.
คำว่า การเห็นพระศาสดา ได้แก่ การเห็นเฉพาะพระพักตร์
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยว่าอภินิหารย่อมสำเร็จด้วยประการนี้ หาสำเร็จโดย

107
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 108 (เล่ม 46)

ประการอื่นไม่ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น เพราะสุเมธบัณฑิตนั้น
เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร เฉพาะพระพักตร์แล้ว ได้ตั้งความ
ปรารถนา.
คำว่า การบรรพชา ได้แก่ ความเป็นอนาคาริก. ก็ความเป็น
อนาคาริกนั้นแล ย่อมควรในศาสนา หรือในนิกายของดาบสและปริพาชก
ผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนควรแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า
สุเมธบัณฑิตนั้น เป็นดาบส ชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน.
คำว่า ความถึงพร้อมแห่งคุณ ได้แก่ การได้คุณธรรมมีฌาน
เป็นต้น. ก็อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลแม้บวชแล้ว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณเท่านั้น
ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า
สุเมธบัณฑิตนั้นได้อภิญญา ๕ และได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงตั้งปณิธาน.
คำว่า อธิการ ได้แก่ การการทำที่ยิ่ง อธิบายว่า การบริจาค.
จริงอยู่ อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ทำการบริจาควัตถุมีชีวิตเป็นต้น แล้ว
ตั้งปณิธานไว้เท่านั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิต
ฉะนั้น ก็สุเมธบัณฑิตนั้นทำการบริจาคชีวิตแล้วตั้งปณิธานอย่างนี้ว่า
ขอพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยศิษย์
ทั้งหลาย จงทรงเหยียบข้าพเจ้าไป อย่าได้
ทรงเหยียบเปือกตมเลย ขอการกระทำยิ่งนี้
จักเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำ ความ
เป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้นของบุคคลใดมีกำลัง อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคล

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 109 (เล่ม 46)

นั้น ก็ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึงกล่าวว่า
ใครเล่าไหม้ในนรกตลอดสี่อสงไขยและแสนกัปแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้าดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า
เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้นชื่อว่ามีกำลัง.
อนึ่ง ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึง
กล่าวว่า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว
แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอัน
เกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
ใครเล่าลุยข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยน้ำปริ่มฝั่งแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้า ใครเล่าย่ำยีก้าวล่วงสกลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดร์
แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว
ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้น
ชื่อว่ามีกำลัง. สุเมธบัณฑิตประกอบพร้อมด้วยฉันทะ คือ ความเป็นผู้ปรารถนา
เพื่อจะทำเห็นปานนี้ ได้ตั้งปณิธานแล้วแล.
พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ
๑๘ ประการ. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้น ย่อมไม่เป็นคนบอด
แต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑
ไม่เป็นคนแคระ ๑ ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑ ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑
ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรม
ห้าอย่าง ๑ ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑ อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิด

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 110 (เล่ม 46)

ดิรัจฉาน ๑ ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌาม
ตัณหิกเปรต ๑ ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑ ไม่เกิดในอเวจี
นรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑ ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่
เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ
ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑.
ก็พุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ใด คือ อุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ๑ อวัฏฐานะ ๑
หิตจริยา ๑ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธภูมิเหล่านั้น. ในพุทธภูมิ
๔ ประการนั้น ความเพียรเรียกว่า อุตสาหะ ปัญญาเรียกว่า อุมมัคคะ
อธิษฐานเรียกว่า อวัฏฐานะ เมตตาภาวนาเรียกว่า หิตจริยา.
ก็อัธยาศัย ๖ ประการ แม้เหล่านี้ใด คือ อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ
อัธยาศัยเพื่อปวิเวก อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ
อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง อัธยาศัยเพื่อความสลัดออก ย่อมเป็นไปเพื่อบ่ม
โพธิญาณ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมด้วยอัธยาศัยเหล่าใด
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในกาม
ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี ผู้มีอัธยาศัย
เพื่อความไม่โลภ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโลภะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความ
ไม่โกรธ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโทสะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง
เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่า
มีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง สุเมธบัณฑิตผู้โพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัย
เหล่านั้น.

110
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 111 (เล่ม 46)

ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร
ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานถึงสองอสงไขย
และแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล. ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็น
พระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการ
ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีเหตุแห่งอภินิหาร
เหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ การเห็นท่าน
ผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก องค์ใดองค์หนึ่ง. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.
ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร. ตอบว่า
การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัป
การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกควรนานแสนกัป ความปรารถนาเป็นพระ-
มารดาพระบิดา อุปัฏฐาก และพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัป
เหมือนกัน ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น
เทียว ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ
อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ตลอดกาลมี
ประเภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยการปรารถนานี้ ด้วยอภินิหารนี้นั้นแลอย่างนี้

111
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 112 (เล่ม 46)

เมื่อจะทรงอุบัติขึ้นโลก ก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
หรือตระกูลคหบดี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ส่วนพระอัครสาวกทั้งหลาย ย่อม
เกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์เท่านั้น เหมือนพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งปวง ย่อมไม่ทรงอุบัติในกัปกำลังเสื่อม ย่อมทรงอุบัติ
ในกัปกำลังเจริญ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม
อุบัติในกาลอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้
เองด้วย ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง
แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอด
ธรรมรส เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยกโลกุตร-
ธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้ การบรรลุธรรมย่อมมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น เหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเหมือนกับรสแห่งกับข้าวที่พรานป่า
ได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหมดอัน
ต่างโดยอิทธิ สมาบัติ และปฏิสัมปทา แต่เพราะมีคุณพิเศษจึงต่ำกว่าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เหนือพระสาวกทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลเหล่าอื่นบรรพชา
ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย
หรือย่อมทำอุโบสถด้วยเหตุเพียงพูดว่า วันนี้ อุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ
ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสะ ในภูเขาคันธมาทน์แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการปรารถนาและอภินิหาร อันบริบูรณ์
ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์แล้ว

112
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ – หน้าที่ 113 (เล่ม 46)

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ๆ แล ผู้ถึงพร้อมด้วยการ
ปรารถนานี้ และอภินิหารนี้ จึงตรัสขัคควิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพสุ
ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ. นี้อุบัติแห่งขัคควิสาณสูตร เพราะอำนาจแห่งคำถาม
โดยไม่แปลกกันก่อน บัดนี้ พึงทราบอุบัติโดยแปลกกัน ในขัคควิสาณสูตรนั้น
พึงทราบอุบัติแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน.
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ หยั่งลงสู่ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ บำเพ็ญ
บารมีทั้งหลายตลอดสองอสงไขยแสนกัป บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร
ได้ทำสมณธรรม. ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บำเพ็ญวัตรนั่นแล้ว
ชื่อว่า บรรลุปัจเจกโพธิ ไม่มี. ก็วัตรนั้นเป็นอย่างไร. การนำกรรมฐานไปและ
การนำกรรมฐานกลับมา ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. ข้าพเจ้าพึงกล่าวคตปัจจา-
คตวัตรนั้นโดยประการแจ่มแจ้ง.
ภิกษุในศาสนานี้บางรูปนำไปแต่ไม่นำกลับ บางรูปนำ กลับแต่ไม่
นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับ บางรูปนำไปด้วย นำ กลับด้วย
ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดตื่นแต่เช้าตรู่ ทำเจติยังคณวัตรและโพธิยังคณวัตร
รดน้ำที่ต้นโพธิ ตักน้ำเต็มหม้อน้ำดื่ม ยืนที่โรงน้ำดื่ม ทำอาจาริยวัตร
อุปัชฌายวัตร สมาทานประพฤติวัตรเล็ก ๘๒ วัตรใหญ่ ๑๔ ภิกษุนั้นทำ
บริกรรมร่างกายเข้าไปสู่เสนาสนะ ยังเวลาให้ล่วงไปในอาสนะสงัดจนถึงเวลา
ภิกขาจาร รู้เวลา นุ่ง คาดประคดเอว ห่มอุตราสงค์ พาดสังฆาฏิ สะพายบาตร
ใส่ใจกรรมฐาน ถึงลานเจดีย์แล้ว ไหว้เจดีย์และต้นโพธิ์ ห่มในที่ใกล้บ้าน

113