No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 676 (เล่ม 45)

บทว่า ปาริจริยาย ความว่า ด้วยการทะนุบำรุงด้วยวิธี ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดู
การทำกิจให้ และการดำรงวงสกุลเป็นต้น . สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า (ตะวันออก)
บุตรควรทะนุบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้ว เราจักเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น
๒. เราจักทำกิจของท่าน
๓. เราจักดำรงวงศ์ตระกูลไว้
๔. เราจักปฏิบัติตนเป็นผู้รับมรดก
๕. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มทักษิณาทานให้
ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ที่บุตรทะนุบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้วแล จะอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ๑. ห้ามบุตรจาก
ความชั่ว ๒. ให้บุตรตั้งมั่นอยู่ในความดี ๓. ให้บุตรศึกษาเล่าเรียน ๔. หา
ภรรยาที่เหมาะสมให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย. อีกอย่างหนึ่ง บุตรคนใด
บำรุงมารดาบิดาโดยทำให้เลื่อมใสอย่างยิ่งในวัตถุทั้ง ๓ (พระรัตนตรัย) ให้ดำรง
อยู่ในศีล หรือให้ประกอบในการบรรพชา บุตรนี้ พึงทราบว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ
บรรดาผู้บำรุงมารดาบิดาทั้งหลาย.
พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็การบำรุงนี้นั้น เป็นเหตุ
นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้ง ๒ มาให้แก่บุตรจึงไว้ตรัสไว้ว่า
คนทั้งหลาย จะพากันสรรเสริญเขา
ในโลกนี้ที่เดียว เขาละโลกนี้ไปแล้ว ก็
ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ ดังนี้.

676
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 677 (เล่ม 45)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. อธิบายว่า
มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย จะสรรเสริญ คือ ยกย่อง ได้แก่ ชมเชย บุคคล
ผู้อุปรากมารดาบิดา ด้วยการบำรุงบำเรอท่าน และเอาเขาเป็นทิฏฐานุคติ
(เป็นเยี่ยงอย่าง) แม้ตนเอง ก็ปฏิบัติในมารดาบิดาของตนอย่างนั้นแล้ว ย่อม
ประสบบุญมากมาย. บทว่า เปจฺจ ความว่า ผู้บำรุงมารดาบิดาไปสู่ปรโลก
แล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมจะรื่นเริงบรรเทิงเพลิดเพลินใจ ด้วยทิพยสมบัติ
ทั้งหลาย.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๗
๘. พหุการสูตร
ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก
[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มี
อุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ
อามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะ
เพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้.

677
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 678 (เล่ม 45)

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่าง-
อาศัยกันและกัน ๒ ฝ่าย ย่อมยังสัท-
ธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ให้
สำเร็จ (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อม
ปรารถนาเฉพาะจีวร บิณฑบาต ที่นอน
ที่นั่ง และคิลานปัจจัย อันเป็นเครื่อง
บรรเทาเสียซึ่งอันตรายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน
อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วเชื่อ-
ถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย มี
ปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี
ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติใน
ศาสนานี้ ปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่
กามบันเทิงอยู่ในเทวโลก.
จบพหุการสูตรที่ ๘
อรรถกถาพหุการสูตร
ในพหุการสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺราหฺมณคฺคหปติกา ได้แก่ ผู้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้ง
คหบดี. ทุกจำพวกเมื่อครองเรือน ยกเว้นพวกพราหมณ์ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เป็นคหบดี ในที่นี้. บทว่า เย เท้าความถึงผู้ที่อ้างมาโดยไม่แน่นอน. บทว่า
เต เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อน

678
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 679 (เล่ม 45)

ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะแก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลาย ผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากัน
ทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของ
เราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา ให้มีค่าสูง มีผล
อันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มี
อุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิส คือ โดยการแจกแบ่งอามิส
ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า
แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม
คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม จึงได้ตรัส
คำมีอาทิไว้ว่า ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว. คำนั้น ก็มีนัยดุจที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร ? ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑ-
บาต (เคารพบิณฑบาต). ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุที่พราหมณคหบดีเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้
ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้
เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำ ในสมณะเหล่านี้ จักมี
ผลานิสงส์มาก ดังนี้ จึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อม
ด้วยความไม่ประมาทเถิด แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขา
เหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้ เธอทั้งหลาย
พึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ ดังที่พรรณามานี้แล.

679
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 680 (เล่ม 45)

ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เอวมิทํ ภิกฺขเว มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างก็อาศัยกันด้วยอำนาจ
อามิสทานและธรรมทานมีประการดังที่กล่าวมานี้อย่างนี้แล้ว อยู่ประพฤติ
ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์นี้ ด้วยอำนาจการนิยมอุโบสถศีล
เป็นต้น และด้วยอำนาจปาริสุทธศีล ๔ เป็นต้น เพื่อต้องการถอนโอฆะ
ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกาม (โอฆะ) เป็นต้น และเพื่อทำที่สุดแห่ง
วัฏทุกข์แม้ทั้งหมด โดยชอบนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า สาคารา ได้แก่
คฤหัสถ์ทั้งหลาย. บทว่า อนาคารา ได้แก่ ผู้สละเรือนออกบวช. บทว่า
อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา ความว่า ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นต่างก็อาศัยกัน.
อธิบายว่า คฤหัสถ์ ผู้มีเรือนอาศัยธรรมทานของบรรพชิต ผู้ไม่มีเรือน
และบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนก็อาศัยการถวายปัจจัยของคฤหัสถ์ผู้มีเรือน. บทว่า
อาราธยนฺติ ความว่า ให้สำเร็จ คือ ให้ถึงพร้อม. บทว่า สทฺธมฺมํ
ได้แก่ ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงพระธรรมที่สูงสุด ในบรรดาสัทธรรมเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ (คือ) พระอรหัตและพระนิพพาน. บทว่า สาคาเรสุ
ความว่า จากคฤหัสถ์ผู้มีเรือนทั้งหลาย. บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในความหมาย
ปัญจมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) ในสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ผู้มีเรือน. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัย ๒ อย่าง ที่เหลือจากที่กล่าวมาแล้ว
คือ บิณฑบาตและเภสัช. บทว่า ปริสฺสยวิโนทนํ ได้แก่ที่อยู่อาศัยมีวิหาร
เป็นต้น ที่บำบัดอันตรายมีอันตรายที่เกิดจากฤดูเป็นต้น.
บทว่า สุคตํ ได้แก่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกพร้อมด้วยกัลยาณ-
ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ความจริง พระสาวกพระองค์ทรงประสงค์

680
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 681 (เล่ม 45)

เอาว่า สุคต ในพระคาถานี้. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาเรือน.
อธิบายว่า ผู้มีปกติอยู่บ้านครอบครองเรือนแสวงหาอุปกรณ์แห่งโภคทรัพย์
และคุณธรรมมีศีลของคฤหัสถ์เป็นต้น. บทว่า สทฺทหนฺตา อรหตํ ความว่า
ผู้เชื่อถ้อยคำของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ หรือเชื่อข้อ
ปฏิบัติชอบของท่านเหล่านั้น. อธิบายว่า เชื่อมั่นอยู่ว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติ
ชอบแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติตามที่ท่านเหล่านี้บอก การปฏิบัตินั้นก็จะเป็นไป
เพื่อสวรรคสมบัติและนิพพานสมบัติ. ปาฐะว่า สทฺทาตา ดังนี้ก็มี. บทว่า
อริยปญฺญาย ความว่า ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บทว่า ฌายิโน ความว่า
ผู้เพ่งด้วยฌานทั้ง ๒ คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน. บทว่า
อิธ ธมฺนํ จริตฺวาน ความว่า ครั้นปฏิบัติธรรมมีศีลเป็นต้น ที่เป็นทาง
แห่งโลกิยสุขและโลกุตรสุข ในอัตภาพนี้ หรือในศาสนานี้แล้ว จะไปสู่สุคติ
ตลอดเวลาที่ยังไม่บรรลุปรินิพพาน. บทว่า นนฺทิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปกติ
เพลิดเพลิน เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัส. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
บทว่า ธมฺมํ จริตฺวาน มคฺคํ ความว่า บรรลุโสดาปัตติมรรค. บทว่า
เทวโลกสฺมึ ความว่า ในเทวโลกชั้นกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น. บทว่า โมทนฺ-
ติ กามกามิโน ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่กาม คือ เป็นผู้ประสงค์บรรเทิงอยู่
เพราะสำเร็จตามวัตถุที่ประสงค์แล้ว.
จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๘

681
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 682 (เล่ม 45)

๙. กุหนาสูตร
ว่าด้วยการหลอกลวง
[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้หลอกลวง
มีใจกระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วยกิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจ
ไม้อ้อสูงขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเราตถาคต ภิกษุ
เหล่านั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนักปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจ
ตั้งมั่นดี ภิกษุเหล่านั้นแล เป็นผู้นับถือเราตถาคต ไม่ปราศไปแล้วจากธรรม
วินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง มีใจ
กระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วย
กิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจไม้อ้อสูง
ขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่
งอกงามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่
หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนัก-
ปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจตั้งมั่นดี
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรมอัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
จบกุหนาสูตรที่ ๙

682
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 683 (เล่ม 45)

อรรถกถากุหนาสูตร
ในกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุหา ได้แก่ เป็นผู้หลอกลวงด้วยเครื่องหลอกลวงมีการร่าย
มนต์เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ทำการลวง เพื่อต้องการประกาศคุณความดี
ที่ตนไม่มีแล้วให้ผู้อื่นสนเท่ห์. บทว่า ถทฺธา ความว่า เป็นผู้มีใจกระด้าง
เพราะความโกรธและมานะ คือ เป็นผู้ไม่ทำความยำเกรงอย่างยิ่งในครูทั้งหลายผู้
ควรทำความเคารพไม่อ่อนน้อมเที่ยวไปมาเหมือนกลิ่นขี้เหล็กเข้าไปแล้วยืนแข็ง
ทื่ออยู่ฉะนั้น เพราะความโกรธที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนมักโกรธเป็นผู้มาก
ด้วยความแค้นใจ ถูกว่า แม้นิดเดียวก็ข้อจงใจ โกรธ พยาบาท แผ่อำนาจไป
ดังนี้ด้วย เพราะความเป็นผู้ว่ายากที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนว่ายากเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับเอาอนุสาสนีด้วยความ
เคารพดังนี้ด้วย เพราะความเมาแยกออกเป็นควานเมาในชาติเป็นต้น ที่ตรัส
ไว้แล้วอย่างนี้ว่า ความเมาในชาติ ความเมาในโคตร ความเมาเพศ ความเมา
ในความไม่มีโรค ความเมาในความหนุ่มสาว (และ) ความเมาในชีวิต ดังนี้
ด้วย. บทว่า ลปา ความว่า เป็นผู้ประจบประแจง คือ เป็นผู้สงเคราะห์
ตระกูลด้วยอำนาจมิจฉาชีพ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เป็นผู้พูด เพื่อปัจจัย
ด้วยสามารถถ้อยคำที่ประดิษฐ์ประดอยแล้ว และด้วยสามารถแห่งอุบายโกง.
บทว่า สิงฺคี ความว่า วาจาที่ประกอบด้วยกิเลสที่เด่นชัด เช่นกับ
เขาสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า คำพูดดุจเขาสัตว์ เป็นไฉน. การพูด มีแง่งอน
ภาวะที่พูดแง่งอน การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม
การพูดมีเหลี่ยมมีคู ภาวะที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด นี้เรียกว่าคำพูดดุจเขา

683
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 684 (เล่ม 45)

สัตว์๑ (มีแง่งอน). บทว่า อนฺนฬา ความว่า ผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่ชูขึ้น
คือเที่ยวไปยกตนที่มีใจว่างเปล่าจากคุณวิเศษ คล้ายไม้อ้อชูขึ้นมาอ้าง. บทว่า
อสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ไม่ได้ แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุของเรา
ตถาคตเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นคนของเราตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า
มยฺหํ (ของเราตถาคต) นี้ เพราะภิกษุเหล่านั้นบวชอุทิศพระองค์. แต่เพราะ
เหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่ปฏิบัติชอบ โดยประกอบการหลอกลวงเป็นต้น ฉะนั้น
พระองค์จึงไม่ตรัสเรียกว่า มามกะ(เป็นคนของเราตถาคต).ด้วยบทว่า อปคตา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ถึงแม้ว่า ภิกษุเหล่านั้นบวชแล้วในศาสนา
ของเราตถาคต แต่เพราะไม่ปฏิบัติตามที่เราตถาคตสอน จึงเท่ากับไปแล้วจาก
พระธรรมวินัยนี้นั่นเอง คือ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าอยู่ไกลแสนไกลจากศาสนานี้.
สมจริงดังที่ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ท้องฟ้ากับพื้นปฐพี นักปราชญ์
กล่าวว่าอยู่ไกลัน และฝั่งมหาสมุทร
(ทั้ง ๒) นักปราชญ์ก็กล่าวว่าอยู่ไกลกัน ข้า
แต่พระราชา แต่ธรรมของสัตบุรุษกับของ
อสัตบุรุษ นักปราชญ์ กล่าวว่าไกลกันยิ่ง
กว่านั้นเสียอีก.
บทว่า วุฑฺมึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชติ ความว่า และภิกษุเหล่า
นั้นผู้มีสภาพหลอกลวงเป็นต้น จะไม่เข้าถึง อธิบายว่า ไม่ประสบซึ่งความเจริญ
ตามอำนาจของความเจริญด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น ซึ่งความงอกงามตาม
๑. ปาฐะว่า จาตุริยํ ปาริกฺกติยํ แต่ในขุททกวัตถุวิภังค์ อภิธรรมว่า จาตุริยํ ปริกฺขตตา
ปาริกฺขติยํ จึงแปลตามบาลีในอภิธรรม

684
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 685 (เล่ม 45)

สภาพด้วยความไม่หวั่นไหว อยู่ในคุณความดีมีศีลเป็นต้นนั้น ซึ่งความ
ไพบูลย์ด้วยความบริบูรณ์ด้วยธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น โดยความแผ่ไปในที่
ทุกแห่ง.
บทว่า เต จ โข เม ภิกฺขเว ภิกขู มามกา ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แม้นอกนี้ว่า เม (ของเราตถาคต) เพราะ
บวชอุทิศพระองค์. อนึ่ง ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต) เพราะ
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยบรรยายที่ผิดไปจากที่กล่าวมา
แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า งอกงามอยู่ในธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น จนถึงอรหัต-
มรรค. แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จึงจะชื่อว่า ถึงความงอกงามไพบูลย์,
คาถาเข้าใจง่ายอยู่แล้ว.
จบอรรถกถากุหนาสูตรที่ ๙
๑๐. ปุริสสูตร
ว่าด้วยเหมือนบุรุษถูกกระแสน้ำพัดไป
[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงถูกกระแสแห่ง
แม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไป บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งเห็นบุรุษนั้นแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูป
และสาตรูปพัดไปแม้โดยแท้ แต่ท่านจะตกถึงห้วงน้ำที่มีอยู่ภายใต้แห่งแม่น้ำนี้
ซึ่งมีคลื่น มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีรากษส (ผีเสื้อน้ำ) ย่อมเข้าถึงความตายบ้าง
ความทุกข์ปางตายบ้าง ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นได้ฟังเสียงของบุรุษนั้นแล้ว
พึงพยายามว่ายทวนกระแสน้ำด้วยมือทั้ง ๒ และด้วยเท้าทั้ง ๒ ดูก่อนภิกษุ

685