No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 136 (เล่ม 45)

เนื้อความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของ
พระองค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงทำ
กาละไซร้ เขาพึงเข้าถึงนรก เพราะจิต
ของเขาขุ่นมัว เขาเป็นอย่างนั้น เหมือน
ถูกนำมาทอดทิ้งไว้ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไปสู่ทุคติ เพราะเหตุแห่งจิตขุ่นมัว
นั้นแล.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุคคลสูตรที่ ๑๐
จบทุติยวรรคที่ ๒
อรรถกถาปุคคลสูตร
ถามว่า อะไรเป็นอุบัติของสูตรที่ ๑๐. ตอบว่า อัตถุปปัตติกะ (มี
เรื่องเกิดขึ้น).
เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญมาก บางคนทำบาปมาก
บางคนทำปนกันไปทั้งสองอย่าง ในบุคคลเหล่านั้น คนที่ทำปนกันทั้งสองอย่าง
ภพหน้าจะเป็นเช่นไร. ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปยังธรรมสภาประทับนั่ง
บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ ได้สดับถ้อยคำนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้าหมองในเวลาใกล้ตาย ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้
จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ ด้วยเรื่องที่เกิดขึ้นนี้.

136
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 137 (เล่ม 45)

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เป็นนิบาตในการชี้ถึงที่อยู่. ท่านกล่าว อิธ
นิบาตนี้ในที่บางแห่งหมายถึงที่อยู่ ในบทเป็นต้นว่า อิเธว ติฏฺฐมานสฺส
เทวภูตสฺส เม สโต แปลว่า เมื่อเราเป็นเทพสถิตอยู่ เทวโลกนี้แล.
ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา ในบทมีอาทิว่า อิเธว ภิกฺขเว สมโฌ อิธ
ทุติโย สมโณ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น
สมณะที่สองมีในศาสนานี้. ในที่บางแห่งเป็นเพียงบทบูรณ์ ในบทมีอาทิว่า
อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอันทายกขอร้องแล้วพึงฉัน. ในที่บางแห่งกล่าวหมายถึงโลก ในบทมีอาทิว่า
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ แปลว่า พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้.
พึงเห็นว่าในสูตรนี้หมายถึงในโลกแม้นี้เท่านั้น.
บทว่า เอกจฺจํ ได้แก่ คนหนึ่ง คือคนใดคนหนึ่ง. บทว่า ปุคฺคลํ
ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์นั้นท่านเรียกว่าบุคคล เพราะยังกุศลอกุศล และ
วิบากของกุศลอกุศลนั้น ให้บริบูรณ์ตามปัจจัย และเพราะอำนาจความตายกลืน
กิน. บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยความประทุษร้าย ด้วยความ
อาฆาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยราคะ
เป็นต้นอันเป็นโทษ. อนึ่ง บทว่า เอกจฺจํ ในที่นี้ นี้เป็นวิเสสนะของบุคคล
ผู้มีจิตขุ่นมัว. ท่านกล่าวอย่างนั้น ถึงบุคคล ผู้ให้ปฏิสนธิได้ทำเหตุขึ้น. อนึ่ง
เพราะอกุศลยังเป็นไปอยู่ ผู้ใกล้จะตายไม่สามารถจะกลับจิตให้หยั่งลงด้วยกุศล
ได้. ท่านแสดงอาการที่ควรกล่าวในบัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ดังนี้. บทว่า
เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต คือ ด้วยเจโตปริยญาณ (การกำหนดรู้จิต) ของตน.
บทว่า เจโต ได้แก่ จิตของบุคคลนั้น . บทว่า ปริจฺจ คือ กำหนดรู้.
ถามว่า นี้เป็นวิสัยของยถากัมมูปคญาณ (การรู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม) มิใช่

137
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 138 (เล่ม 45)

หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริง แต่ข้อนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจอกุศลจิต
อันเป็นไปในกาลนั้น.
บทว่า อิมมฺหิ จายํ สมเย ความว่า หากในกาลนี้หรือในปัจจย-
สามัคคีนี้ บุคคลนี้พึงทำกาละในภายหลังชวนวิถี (วิถีจิตที่แล่นไป). การทำ
กาละย่อมไม่มีในขณะแห่งชวนจิต. บทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ นิรเย
ความว่า เขาถูกกรรมของตนซัดไป คือตั้งไว้ในนรก เหมือนถูกนำอะไร ๆ
มาทิ้งลงฉะนั้น. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ ทั้งขันธ์อันมีใจครองเสีย.
บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ในการไม่ยึดถือขันธ์ อันเกิดในระหว่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่เพราะตัดขาดชีวิตินทรีย์. บทว่า
ปรมฺมรณา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่จุติจิต (จิตที่เคลื่อนไป).
บทว่า อปายํ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนรกนั่นเอง. จริงอยู่
นรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความสุข กล่าวคือความเจริญ. อีกอย่างหนึ่ง
นรกชื่อว่าอบาย เพราะปราศจากความเจริญ อันถือว่าเป็นบุญซึ่งเป็นเหตุแห่ง
สวรรค์และนิพพาน. นรกชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ไป คือ เป็นที่อาศัยของ
ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มากด้วยโทสะ
ไปเกิดด้วยกรรมชั่ว. นรกชื่อว่าวินิบาต เพราะเป็นที่ที่สัตว์หมดอำนาจ
ทำกรรมชั่วตกไป หรือเป็นที่ที่สัตว์พินาศมีอวัยวะน้อยใหญ่ย่อยยับตกไป.
ชื่อว่านรก เพราะอรรถว่าหมดความยินดี เพราะความเจริญที่รู้กันว่า เป็น
ความยินดีมิได้มีในนรกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ติรัจฉานโยนิ
(กำเนิดเดียรัจฉาน) ด้วยอปายศัพท์. อนึ่ง ติรัจฉานโยนิเป็นอบาย เพราะ
ปราศจากสุคติ นาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่เกิดหาใช่ทุคติไม่. ชื่อปิตติวิสัยด้วย
ทุคติศัพท์. จริงอยู่ ปิตติวิสัยนั้น เป็นทั้งอบายเป็นทั้งทุคติ เพราะปราศจากสุคติ

138
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 139 (เล่ม 45)

และเป็นคติของทุกข์ ไม่ใช่วินิบาต เพราะไม่ตกลงเช่นกับอสูร. ชื่ออสุรกาย
ด้วยวินิปาตศัพท์. ก็อสุรกายนั้นเป็นทั้งอบาย เป็นทั้งทุคติ เพราะอรรถ
ตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะตกไปทั้งร่างกาย. ท่านกล่าวนรก
มีประการมากมาย มีอเวจีเป็นต้น ด้วยนรกศัพท์. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงนรก
อย่างเดียวแม้ด้วยทุก ๆ บท. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ถือเอาปฏิสนธิ.
คาถาที่หนึ่งในคาถาทั้งหลาย พระธรรมสังคาหกเถระได้จัดไว้แล้ว
ในสังคีติกาล (เวลาทำสังคายนา). บทว่า ญตฺวาน เป็นบุพพกาลกิริยา
จริงอยู่ ญาณก่อนเป็นพยากรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ญตฺวาศัพท์ มีเนื้อความ
เป็นเหตุ เหมือนประโยคว่า สีหํ ทิสฺวา ภยํ โหติ ภัยย่อมมีเพราะเห็น
สีหะ ดังนี้. อธิบายว่า เพราะความรู้เป็นเหตุ. บทว่า พุทฺโธ ภิกฺขูน
สนฺติเก ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์เนื้อความที่พระองค์
ตรัสด้วยสองคาถาเบื้องต้นนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระองค์. บทที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐
จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โมหสูตร ๒. โกธสูตร ๓. มักขสูตร ๔. โมหสูตร
๕. กามสูตร ๖. ปฐมเสขสูตร ๗. ทุติยเสขสูตร ๘. เภทสูตร ๙. โมทสูตร
๑๐. ปุคคลสูตร และอรรถกถา.

139
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 140 (เล่ม 45)

อิติวุตตกะ เอกนิบาต วรรคที่ ๓
๑. จิตตฌายีสูตร
ว่าด้วยจิตผ่องใสย่อมไปสวรรค์
[๑๙๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้ผู้มี
จิตผ่องใสด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้บุคคลนี้พึงทำกาละไซร้ เขาพึงเกิด
ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
ผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงทรามบุคคลบางคน
ในโลกนิมีจิตผ่องใส ได้ทรงพยากรณ์เนื้อ
ความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของพระ
องค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงกระทำ
กาละไซร้ บุคคลนี้พึงเข้าถึงสุคติ เพราะ
จิตของเขาผ่องใส เขาเป็นอย่างนั้นเหมือน
เชิญมาฉะนั้น เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบจิตตฌายีสูตรที่ ๑

140
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 141 (เล่ม 45)

ตติยวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถาจิตตฌายีสูตร
ในจิตตฌายีสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่มีใจเลื่อมใสแล้ว ด้วยความเชื่อในพระ
รัตนตรัย และด้วยความเชื่อในผลของกรรม. บทว่า สุคตึ ได้แก่คติดีหรือ
คติแห่งสุข เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุคติ. บทว่า สคฺคํ ได้แก่เลิศด้วยดีด้วย
สมบัติมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สวรรค์. ในบทว่า โลกํ ได้แก่ผล
แห่งบุญและบาป หรือชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป. อนึ่ง ในที่นี้แม้
คติของมนุษย์ก็สงเคราะห์ ด้วยสุคติศัพท์. คติของเทวดาก็สงเคราะห์ด้วย
สัคคศัพท์เหมือนกัน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
จบอรรถกถาจิตตฌายีสูตรที่ ๑
๒. ปุญญสูตร
ว่าด้วยเรื่องอย่ากลัวต่อบุญเลย
[๒๐๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า
บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา

141
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 142 (เล่ม 45)

น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตน
ได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้
ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่เรา
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานเเห่ง
พรหมที่ว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
โดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต
เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ ๗
ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวไปไยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
ผลวิบากแห่งกรรม ๓ ประการของเราคือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา
บุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุขเป็นกำ
ไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติ
สงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บิณฑิตครั้นเจริญ
ธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความ

142
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 143 (เล่ม 45)

สุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุข.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุญญสูตรที่ ๒
อรรถกถาปุญญสูตร
ในปุญญสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
มาศัพท์ ในบทว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ นี้ เป็นนิบาตลงใน
อรรถปฏิเสธ. ปุญญศัพท์ มาในผลแห่งบุญ ในประโยคเป็นต้นว่า
กุสลสนํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ เอวมิทํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผลบุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้เพราะเหตุแห่งการสมาทาน
กุสลธรรมทั้งหลาย. มาในสุจริตอันเป็นกามาวจร และรูปาวจรในประโยค
เป็นต้นว่า อวิชฺชาคโต ยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล ปญฺญญฺจ (กตฺวา)
สํขารํ อภิสํขโรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษบุคคลถูกอวิชชครอบงำ
ย่อมปรุงแต่งสังขารเพราะทำบุญ. มาในอุปปัตติภพอันเป็นสุคติวิเศษ ใน
ประโยคมีอาทิว่า ปุญฺญูปคํ ภวติ วิญฺญาณํ วิญญาณเข้าถึงบุญย่อมเจริญ.
มาในกุศลเจตนาในประโยคเป็นต้นว่า ตีณีมานิ ภิกฺขเว ปุญฺญกิริยา-
วตฺถูนิ ทานมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ สีลมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ ภาวนามยํ
ปุญฺญกิริยาวตฺถุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ เหล่านี้คือ บุญ-

143
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 144 (เล่ม 45)

กิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑ บุญกิริยาวัตถุ
สำเร็จด้วยภาวนา ๑. แต่ในที่นี้พึงทราบว่ามาในกุศลธรรมในภูมิทั้ง ๓.
ในบทว่า ภายิตฺถ นี้ภัยมี ๒ อย่างคือ ญาณภัย ๑ สารัชชภัย ๑.
ในภัย ๒ อย่างนั้น ญาณภัยมาในบทมีอาทิว่า เทพแม้เหล่าใดมีอายุยืน มีผิว
พรรณงาม มากด้วยความสุข เทพแม้เหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ตถาคต โดยมากก็ถึงความกลัว หวาดสะดุ้ง สังเวช ดังนี้. สารัชชภัยมาใน
บทมีอาทิว่า ภัยได้มีแล้ว ความหวาดสะดุ้งได้มีแล้ว ความสยองเกล้าได้มีแล้ว
ดังนี้. ในที่นี้ประสงค์เอาสารัชชภัยเท่านั้น. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กลัวต่อบุญที่ภิกษุพึงประพฤติตลอดกาล
มีอาทิอย่างนี้ คือ การสำรวมกาย วาจา ตลอดกาลนาน การบำเพ็ญข้อวัตร
ปฏิบัติ การฉันมื้อเดียว การนอนหนเดียว การฝึกอินทรีย์ การข่มจิตด้วย
ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส มีสติสัมปชัญญะ ปรารภความเพียรด้วยการประกอบ
กรรมฐาน พวกเธออย่าได้ถึงความกลัว ความหวาดสะดุ้ง พวกเธออย่าได้กลัว
ต่อบุญ อันให้ความสุขในสัมปรายภพและนิพพาน เพราะภัยเกียดกั้นความสุข
ในปัจจุบันบางอย่างเลย. ความจริงบทนี้เป็นนิบาตลงในอรรถไม่ใช่ของตน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความเป็นของไม่ควร
กลัว แต่บุญนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขสฺเสตํ ดังนี้ สุขศัพท์ในบทว่า
สุขสฺเสตํ นั้น มาในต้นเค้าของสุขในประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานํ
อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำ
มาซึ่งความสุข ความปราศจากความกำหนัดเป็นสุขในโลก. มาในสุขารมณ์ใน
ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป สุขํ สุขานุปติตํ สุขาวกฺกนฺตํ
ดูก่อนมหาลี ก็เพราะรูปเป็นความสุข ตกลงไปสู่ความสุข ก้าวลงไปสู่ความสุข.
มาในฐานะมีสุขเป็นปัจจัยในประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น

144
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 145 (เล่ม 45)

สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว สุขา สคฺคา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การเข้าถึงสวรรค์อันเป็นความสุขเพียงบอกกล่าวเท่านั้น ทำไม่ได้ง่ายนัก.
มาในเหตุแห่งความสุข ในประโยคมีอาทิว่า สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบุญนำมาซึ่งความสุข. มาในความไม่เบียดเบียน ในประโยคมีอาทิ
ว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มีความสุข
ในปัจจุบันเป็นวิหารธรรม. นาในนิพพาน ในประโยคมีอาทิว่า นิพฺพานํ
ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. มาในสุขเวทนา ในประโยคมีอาทิว่า
สุขสฺส จ ปหานา ก็เพราะละสุขเสียได้. มาในอุเบกขาเวทนา ใน
ประโยคมีอาทิว่า อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ สุขมิจฺเจว ภาสิตํ เมื่อไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข ก็กล่าวได้ว่าเป็นสุขอย่างเดียว. มาในสุขที่น่าปรารถนา ในประโยค
มีอาทิว่า เทฺวปิ มยา อานนฺท เวทนา วุตฺตา ปริยาเยน สุขา เวทนา
ทุกฺขา เวทนา ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวเวทนาแม้สองอย่าง คือ สุขเวทนา
และทุกขเวทนาโดยปริยาย. มาในวิบากที่น่าปรารถนา ในประโยคมีอาทิว่า
สุโข วิปาโก ปุญฺญานํ วิบากแห่งบุญทั้งหลายเป็นความสุข. ในที่นี้
พึงเห็นว่า มาในวิบากที่น่าปรารถนาเท่านั้น.
ในบทว่า อิฏฺฐสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
น่าปรารถนา เพราะควรเสาะหา และเพราะห้ามสิ่งไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า
น่าใคร่ เพราะเป็นสิ่งควรให้ใคร่และเพราะก้าวเข้าไปถึงใจ ชื่อว่า น่ารัก
เพราะเป็นสิ่งควรน่ารัก และเพราะให้เกิดความเอิบอิ่ม ชื่อว่า น่าพอใจ
เพราะให้เกิดความนับถือ และเพราะความเจริญแห่งใจ. บทว่า ยทิทํ
ปุญฺญานิ ความว่า คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อ ของความสุข คือ วิบากอันน่า-
ปรารถนา. ความสุขนั่นแหละ คือ บุญ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอุปจาร
อันไม่ต่างกันแห่งเหตุด้วยผล. ผู้ไม่ประมาทสดับผลอันแจ่มแจ้งชัดเจนของบุญ

145