No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 126 (เล่ม 45)

ด้วยสติอันสามารถให้เกิดความมั่นคงของกรรมฐานได้. บทว่า อนุปุพฺเพน
ได้แก่ โดยลำดับแห่งศีลวิสุทธิเป็นต้น คือโดยลำดับแห่งวิปัสสนาและลำดับ
แห่งมรรคในศีลวิสุทธิเป็นต้นนั้น. บทว่า สพฺพสํโยชนกฺขยํ ความว่า พึงถึง
คือ พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็นอารมณ์แห่งพระอรหัต อันเป็นที่สิ้นสุดกล่าว
คือ ความสิ้นแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เพราะสังโยชน์ทั้งหมด มีกามราคสังโยชน์
เป็นต้นสิ้นไป.
ในสองสูตรเหล่านี้พึงทราบว่า พระศาสดาทรงถือเอาองค์แห่งความ-
เพียรของการบรรลุอริยมรรค ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ ๗
๘. เภทสูตร
ว่าด้วยสังฆเภทให้ตกนรกตลอดกัป
[๑๙๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ
ฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน. คือ สังฆเภท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์แตก
กันแล้วย่อมมีการบาดหมางซึ่งกันและกัน มีการบริภาษซึ่งกันและกัน มีการ
ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสงฆ์แตกกันนั้น

126
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 127 (เล่ม 45)

ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส และผู้เลื่อมใสบางพวกย่อมเป็น
อย่างอื่นไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
ตกนรกตั้งอยู่ตลอดกัป ผู้มีความยินดีใน
พวก ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมเสื่อมจากธรรม
อันเกษมาจากโยคะ ผู้นั้นครั้นทำลายสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่
ในนรกตลอดกัป.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบเภทสูตรที่ ๘
อรรถกถาเภทสูตร
ในเภทสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ความตั้งขึ้นของพระสูตรนี้เป็นไฉน.
คือ อตฺถุปฺปตฺติโก (มีเรื่องเกิดขึ้น). ความย่อในข้อนั้นมีดังต่อไปนี้.
มีเรื่องว่า พระเทวทัต ชักชวนพระเจ้าอชาตศัตรูให้ถือผิด ให้ฆ่า
พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระชนกของพระองค์บ้าง ชักชวนนายขมังธนูให้ฆ่าบ้าง

127
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 128 (เล่ม 45)

กระทำโลหิตุบาทด้วยการกลิ้งศิลาบ้าง โทษนั้นยังไม่ปรากฏก่อน แต่ที่ปรากฏ
ตอนปล่อยช้างนาฬาคิรี. ครั้งนั้น มหาชนได้เกรียวกราวขึ้นว่า พระราชาทรง
เที่ยวคบคนชั่วเห็นปานนี้. ได้มีประกาศกันแพร่หลาย. พระราชาครั้นสดับดังนั้น
จึงรับสั่งให้งดถาดอาหาร ๕๐๐ ที่พระองค์พระราชทาน ไม่เสด็จไปอุปถัมภ์
พระเทวทัตอีกต่อไป. แม้ชาวเมืองก็พากันไม่ให้อาหารเพียงทัพพีหนึ่งแก่พระ-
เทวทัตผู้เข้าไปหาตระกูล. พระเทวทัตนั้นเสื่อมจากลาภและสักการะ ประสงค์
จะดำรงชีวิตด้วยการหลอกลวง จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามด้วยพุทธดำรัสมีอาทิว่า อย่าเลยเทวทัต ภิกษุใด
ปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเถิด. พระเทวทัต ยังชนผู้เลื่อมใส
ในความเศร้าหมอง เป็นคนโง่ให้เห็นชอบด้วยวัตถุ ๕ ประการนั้น ให้ภิกษุวัชชี
บุตร ๕๐๐ จับสลาก แล้วทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ได้พาภิกษุเหล่านั้นไปยัง
คยาสีสประเทศ.
ลำดับนั้น พระอัครสาวก ๒ รูป โดยพระพุทธดำรัสของพระศาสดาพา
กันไป ณ คยาสีสประเทศนั้น แสดงธรรมให้ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้นตั้งอยู่ในอริยผล
แล้วนำกลับมา. ส่วนภิกษุเหล่าใด ชอบใจลัทธิของพระเทวทัตผู้พยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์ ยังยกย่องอยู่อย่างเดิม เมื่อสงฆ์กำลังจะแตก และแตกแล้วได้เกิด
ความชอบใจ ข้อนั้นได้ปรากฏเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่
ภิกษุเหล่านั้น. ในไม่ช้านั่นเอง พระเทวทัตก็ถูกโรคเบียดเบียน อาพาธหนัก
ใกล้จะตาย คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา จึงให้เขานำขึ้นบนเตียงไปวางไว้
ณ ฝั่งสระโบกขรณีใกล้พระเชตวัน ขณะนั้นแผ่นดินก็แยกออก พระเทวทัต
ตกลงไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. ร่างของพระเทวทัตสูง ๑๐๐ โยชน์ ถูกหลาว
เหล็กขนาดลำตาลเสียบอยู่ตลอดกัป. และตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับ
พระเทวทัตยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก.

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 129 (เล่ม 45)

วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ประชุมสนทนากัน ณ ธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระเทวทัตทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นการทำกรรมหนักนัก. ลำดับนั้น
พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเมื่อภิกุษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงถึงโทษในการทำลายสงฆ์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความที่พระเทวทัตและผู้ฝักใฝ่ใน
พระเทวทัตนั้น บังเกิดในนรกอย่างนั้นแล้ว เมื่อทรงแสดงโทษในการทำลาย
สงฆ์ จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยอัธยาศัยของพระองค์เอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ธรรมมีโทษมากเป็น
อกุศลอย่างหนึ่ง. บทว่า โลเก ได้แก่สัตวโลก. ในบทว่า อุปฺปชฺชมาโน
อุปฺปชฺชติ นี้ มีอธิบายว่า เมื่อการบาดหมางเป็นต้น อันเป็นไปในการ
ทำลาย เกิดขึ้นในสงฆ์ก็ดี พูดด้วยจะแสดงเภทกรวัตถุ (เรื่องทำให้แตกกัน)
๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอาทิว่า ธรรม อธรรม ดังนี้ก็ดี ประกาศ
เพื่อให้เกิดความชอบใจในการทำลายสงฆ์นั้นก็ดี ครั้นประกาศจับสลากแล้วก็ดี
สังฆเภท เป็นอันชื่อว่า เกิดขึ้น. เมื่อให้จับสลากแล้ว ภิกษุ ๔ รูป หรือ
เกินกว่า ๔ รูป แยกกันกระทำอุเทศหรือสังฆกรรมเมื่อใด เมื่อนั้น สังฆเภท
ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อทำสังฆเภทแล้ว ชื่อว่า การทำลายได้เกิดขึ้นแล้ว.
กรรมก็ดี อุเทศก็ดี เป็นข้อกำหนดในเหตุแห่งการทำลายสงฆ์ ๕ เหล่านี้ คือ
กรรม อุเทศ โวหาร อนุสสาวนะ (การประกาศ) สลากัคคาหะ (การจับสลาก)
ส่วนโวหาร อนุสสาวนะ และสลากัคคาหะ เป็นส่วนเบื้องต้น.
ในบทว่า พหุชนาทิตาย เป็นต้น มีเนื้อความเชื่อมกัน ดังนี้ ธรรม
อย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่มหาชน โดยห้ามสมบัติมีฌานและ
มรรคเป็นต้น เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่มหาชน โดยห้ามสมบัติ คือ สวรรค์

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 130 (เล่ม 45)

เพื่อความฉิบหายแก่มหาชน โดยเป็นเหตุให้เกิดในอบาย เพื่อความไม่เกื้อกูล
แก่มหาชนโดยอกุสลธรรม เพื่อทุกข์ทางกาย ทางใจ อันจะทำให้เกิดในสุคติ
เพราะไม่มีมรรคเกื้อกูล. บทว่า เทวมนุสฺสานํ นี้ แสดงถึงบุคคลชั้นยอด
ในเมื่อท่านกล่าวว่า พหุโน ชนสฺส ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า พหุชนาหิตาย ได้แก่ เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก
คือ แก่หมู่สัตว์มาก. อธิบายว่า เพื่อความไม่เป็นประโยชน์ในทิฏฐธรรมและ
สัมปรายภพ บทว่า อสุขาย ได้แก่ เพื่อไม่ใช่ความสุข ในทิฏฐธรรมและ
สัมปรายภพ. อธิบายว่า เพื่อความทุกข์สองอย่าง. บทว่า อนตฺถาย ได้แก่
เพื่อพลาดประโยชน์อย่างยิ่ง. จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง.
ประโยชน์ยิ่งกว่าพระนิพพานนั้นไม่มี. บทว่า อหิตาย ได้แก่ เพื่อพลาด
สวรรค์และมรรค. จริงอยู่ ชื่อว่า ประโยชน์เกื้อกูลยิ่งกว่ามรรค อันเป็นทาง
ให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล คือ พระนิพพาน ไม่มี. บทว่า ทุกฺขาย ได้แก่
เพื่อทุกข์ในวัฏฏะ โดยพลาดจากอริยสุข. จริงอยู่ ผู้ที่พลาดจากอริยสุขเสียแล้ว
ไม่ควรบรรลุอริยสุขนั้น เขาย่อมน้อมไปในวัฏทุกข์. จริงอยู่ ชื่อว่า สุข
ยิ่งกว่าอริยสุขไม่มี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สมาธินี้ เป็นสุขใน
ปัจจุบันและเป็นผลของสุขต่อไป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโดยสรุปของ บทว่า สํฆเภโท
แล้ว เพื่อทรงประกาศภาวะแห่งสังฆเภทนั้น เป็นเหตุของความไม่เกื้อกูลเป็นต้น
โดยส่วนเดียว จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า สํเฆ โข ปน ภิกฺขเว ภินฺเน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ภินฺเน เป็นสัตตมีวิภัตติ ในอรรถว่า นิมิต
เหมือนอย่างว่า ในเพราะทรัพย์ไม่เกิดแก่คนไม่มีทรัพย์. อธิบายว่า เพราะเหตุ
แตกกัน. บทว่า อญฺญมญฺญภณฺฑนานิ ได้แก่ เถียงกันและกันว่า นี้ธรรม
นี้ไม่ใช่ธรรม ของบริษัท ๔ และของผู้ที่เป็นฝ่ายของบริษัทนั้น. จริงอยู่ ความ

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 131 (เล่ม 45)

บาดหมางเป็นเบื้องต้นของการทะเลาะ. บทว่า ปริภาสา ได้แก่คุกคามโดยให้เกิด
ความกลัวว่า เราจักทำความฉิบหายนี้ ๆ แก่พวกท่าน ดังนี้ . บทว่า ปริกฺเขปา
ได้แก่ ดูหมิ่นด้วยชาติเป็นต้น คือ ด่าและสบประมาท ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.
บทว่า ปริจฺจชนา ได้แก่ ขับไล่ให้ออกไปโดยทำอุกเขปนียกรรม (การลงโทษ
ให้ออกจากหมู่) เป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเพราะสงฆ์แตกกันนั้น
หรือในเพราะความบาดหมางกันเป็นต้น อันเป็นนิมิตแห่งสังฆเภทนั้น. บทว่า
อปฺปสนฺนา ได้แก่ ชนผู้ไม่รู้ถึงคุณของพระรัตนตรัย. บทว่า นปฺปสีทนฺติ
ได้แก่ ไม่เลื่อมใสอย่างอาการเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้
ประพฤติธรรม เป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอเป็นต้น หรือไม่สนใจที่จะฟัง จะเชื่อ
ภิกษุเหล่านั้น . อนึ่ง เป็นผู้ไม่เลื่อมใสในพระธรรมและในพระศาสดาก็เหมือน-
กัน. บทว่า เอกจฺจานํ อญฺญถตฺตํ ได้แก่ ปุถุชนผู้มีศรัทธาไม่แก่กล้าก็จะ
เลื่อมใสอย่างอื่นไป.
จะอธิบายในคาถาต่อไป. ในบทว่า อาปายิโก เป็นต้น ชื่อว่า
อาปายิโก เพราะควรจะไปบังเกิดในอบาย. ชื่อว่า เนรยิโก เพราะจะต้อง
เกิดในมหานรก คือ อเวจีนั้น. ชื่อว่า กปฺปฏฺโฐ เพราะตั้งอยู่ในมหา
นรกนั้นตลอดอันตรกัปหนึ่งบริบูรณ์. ชื่อว่า วคฺครโต เพราะยินดีในพวก
ทำลายสงฆ์ด้วยกัน. ชื่อว่า อธมฺโม เพราะไม่ใช่ธรรม. ชื่อว่า อธมฺมฏฺโฐ
เพราะตั้งอยู่ในอธรรม คือ ทำลายสงฆ์ด้วยเภทกรวัตถุ (เรื่องทำการทำลาย).
บทว่า โยคกฺเขมโต ได้แก่ ย่อมกำจัด คือ ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจาก
โยคะนั้น. พระอรหัตและพระนิพพาน ชื่อว่า เกษมจากโยคะ เพราะปลอดจาก
โยคะ ๔ แต่ไม่ควรพูดถึง ในการกำจัดพระอรหัตและพระนิพพานนั้นจากธรรม
อันเกษมจากโยคะนั้น. ชื่อว่า สํฆํ เพราะอรรถว่า สืบต่อจากความเป็นผู้มี
ทิฏฐิและศีลเสมอกัน. ชื่อว่า สมคฺคํ คือให้ความเกื้อกูลกัน เพราะประกอบ

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 132 (เล่ม 45)

แบบแผนมีกรรมอย่างเดียวกัน. บทว่า เภตฺวาน ได้แก่ ทำลายโดยให้สงฆ์
แตกกัน อันมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัป.
ก็อายุกัปในที่นี้ คือ อันตรกัปนั่นเอง. บทว่า นิรยมฺหิ ได้แก่ อเวจี-
มหานรก.
จบเภทสูตรที่ ๘
๙. โมทสูตร
ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์
[๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมือเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์
พร้อมเพรียงกันอยู่ ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษ
ซึ่งกันและกัน ไม่มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชน-
ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เถิดสุข
และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อมเพรียง

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 133 (เล่ม 45)

กันให้เกิดสุข ผู้ยินดีแล้วในหมู่ผู้พร้อม-
เพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อม
จากธรรมอันเกษมจากโยคะ ผู้นั้นกระทำ
หมู่ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงใน
สวรรค์ตลอดกัป.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบโมทสูตรที่ ๙
อรรถกถาโมทสูตร
ในโมทสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ธรรมเป็นกุศล คือ ธรรมไม่มีโทษอย่างหนึ่ง.
ก็หากว่า ความวิวาทจะพึงเกิดขึ้นในสงฆ์ว่า นี้ธรรม นี้ไม่ใช่ธรรมเป็นต้น
ในข้อนั้น วิญญูชนผู้ใคร่ธรรมควรสำเหนียกว่า ข้อนั้นเป็นยานะที่จะมีได้
คือ ความวิวาท เมื่อเจริญขึ้นพึงเป็นไป เพื่อความร้าวรานแห่งสงฆ์ หรือ
เพื่อความทำลายสงฆ์. หากว่า อธิกรณ์นั้นตนยกขึ้นตั้งไว้เอง ควรรีบงดเว้น
จากอธิกรณ์นั้น เหมือนเหยียบไฟ ฉะนั้น. เมื่อถูกคนอื่นยกอธิกรณ์ขึ้น หาก
สามารถจะสงบอธิกรณ์นั้นด้วยตนเอง พึงพยายามไปเสียให้ไกล ปฏิบัติเหมือน
อย่างที่อธิกรณ์นั้นสงบลง. แต่หากไม่สามารถให้สงบด้วยตนเองได้ ความวิวาท
นั้นยังเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ไม่สงบลงได้ ก็ขอให้เพื่อนสพรหมจารีผู้ใคร่การศึกษา
ผู้เหมาะสมในเรื่องนั้นช่วยเหลือ ระงับอธิกรณ์นั้นโดยธรรม โดยวินัย โดย

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 134 (เล่ม 45)

สัตถุสาสน์พึงให้อธิกรณ์สงบอย่างนี้. เมื่ออธิกรณ์สงบอย่างนี้ กุศลธรรมอัน
ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ ท่านประสงค์ว่า เอกธรรม ในที่นี้. จริงอยู่
กุศลธรรมนั้นปลดเปลื้องธรรมเศร้าหมองอันจะนำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และ
ความทุกข์อันควรเกิดของภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝักใฝ่ทั้งสองข้างเกิดความสงสัยกัน
ของภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ ด้วยประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น ของ
อารักขเทวดาเหล่านั้นตลอดถึงเทพและพรหม แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์และ
ความสุขให้แก่ชาวโลกพร้อมด้วยเทวดา เพราะกุศลธรรมนั้นเป็นเหตุแห่งกอง
บุญ เป็นที่หลั่งไหลแห่งกุศล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เอกธมฺโม ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย เป็นต้น
แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก.
พึงทราบเนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น โดยตรงกันข้ามกับที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในสูตรก่อน. บทว่า สํฆสฺส สามคฺคี ได้แก่
ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ คือ ความไม่มีแตกกัน ความมีธรรมอย่างเดียวกัน
และความมีอุทเทสอย่างเดียวกัน.
ในคาถามีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความ
พร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข ได้แก่ความสามัคคี ท่านกล่าวว่า เป็นความสุข
เพราะความสามัคคีเป็นปัจจัยแห่งความสุข เหมือนที่ท่านกล่าวว่า สุโข
พุทฺธานํ อุปฺปาโท ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นความสุข.
บทว่า สมคฺคานญฺจนุคฺคโห ได้แก่ การอนุเคราะห์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ด้วยการอนุโมทนาในความพร้อมเพรียงกัน คือ อนุรูปแก่สามัคคี อธิบายว่า
การถือเอาคือดำรงไว้ เพิ่มกำลังให้ โดยอาการที่ผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นจะไม่
ละความสามัคคี. บทว่า สมคฺคํ กตฺวาน ได้แก่ กระทำหมู่ที่แตกกันหรือ

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ – หน้าที่ 135 (เล่ม 45)

ถึงความร้าวฉานกัน ให้พร้อมเพรียงกัน คือ ให้มีความเกื้อกูลกัน. บทว่า
กปฺปํ ได้แก่ อายุกัปนั้นเอง. บทว่า สคฺคมฺหิ โมทติ ได้แก่ ครอบงำ
เทวโลกอื่นในกามาวจรเทวโลกโดยฐานะ ๑๐ เสวยทิพยสุข ย่อมบันเทิง คือ
ย่อมเสวย ย่อมเล่น ด้วยความสำเร็จที่ตนปรารถนาแล้ว.
จบอรรถกถาโมทสูตรที่ ๙
๑๐. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยจิตขุนมัวพาไปสู่ทุคติ
[๑๙๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้
ผู้มีจิตขุ่นมัว ด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงกระทำกาละไซร้
เขาถูกกรรมของตนซัดไปในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตของเขาขุนมัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิต
ขุ่นมัวแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก อย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงทราบบุคคลบางคน
ในโลกนี้ ผู้มีจิตขุ่นมัวได้ทรงพยากรณ์

135