ตโต นาหุ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ต่อจากขณะแห่งอริยมรรคนั้น กิเลส
ไม่มีแล้ว. บทว่า นาหุ ปุพฺเพ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ หาประ-
มาณมิได้ ของเรานี้ใด บัดนี้ เราได้ประสบบริบูรณ์แล้วด้วยภาวนา ธรรม
อันหาโทษมิได้แม้นั้น ในกาลก่อนแต่ขณะอริยมรรคไม่ได้มีแล้ว คือไม่มี
เลย. บทว่า ตทา อหุ ความว่า ก็อรหัตมรรคญาณเกิดขึ้นแก่เราในกาล
ใด ในกาลนั้น ธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหมด ได้มีแล้วแก่เรา. จริงอยู่
คุณแห่งพระสัพพัญญูทั้งหมด พร้อมด้วยการบรรลุอรหัตมรรค ย่อมอยู่
ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทีเดียว. บทว่า น จาหุ น จ
ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ คืออริยมรรค
นั้นใด เกิดขึ้นแล้ว ณ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณของเรา อัน
เป็นเหตุให้เราละหมู่กิเลสทั้งหมดได้เด็ดขาด. อริยมรรคนั้น ก่อนแต่ขณะ
มรรค ไม่มีและไม่ได้มีแก่เราเลย ฉันใด แม้อริยมรรคนี้ก็ฉันนั้น จักไม่มี
คือจักไม่เกิดขึ้นอนาคต เหมือนกิเลสเหล่านั้น เพราะไม่มีกิเลสที่ตนจะ
ต้องละ ถึงในบัดนี้ คือในปัจจุบัน ก็ไม่มี คือไม่เกิด เพราะไม่มีกิจที่ตน
จะต้องทำ. เพราะพระอริยมรรคไม่เป็นไปมากครั้ง ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
พระองค์จึงตรัสว่า ย่อมไม่ถึงฝั่ง ๒ ครั้ง.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพิจารณาถึงอกุศลธรรมที่
พระองค์ละได้เด็ดขาดในสันดานของพระองค์ ด้วยอริยมรรค และธรรม
อันหาโทษมิได้ หาประมาณมิได้ อันถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา จึง
ทรงเปล่งอุทานอันเกิดด้วยกำลังปีติที่น้อมเข้ามาในตน. ด้วยคาถาต้น
ตรัสถึงเวสารัชญาณเบื้องต้นทั้งสองเท่านั้น เวสารัชญาณ ๒ ข้อหลัง