No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 534 (เล่ม 43)

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงน้อยพระทัย
ในคราวนั้น พระราชกุมารทรงพระนามว่าอชาตศัตรู ทรงจับองคุลี
ของพระราชบิดา เสด็จเที่ยวไปอยู่ ทรงดำริว่า " โอ ทูลกระหม่อมของ
เราเป็นอันพาล, ชื่อว่าคฤหบดียังอยู่ในปราสาทที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ
ได้ ทูลกระหม่อมของเรานี่ เป็นถึงพระราชา ยังประทับอยู่ในพระราช-
มณเฑียรที่ทำด้วยไม้, บัดนี้ เราจักเป็นพระราชาแล้ว จักไม่ให้คฤหบดีนี้
อยู่ในปราสาทนี้.๑" เมื่อพระราชากำลังเสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาทชั้นบน
นั่นแหละ เป็นเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า. ท้าวเธอตรัสเรียกเศรษฐีมา
แล้ว ตรัสว่า " มหาเศรษฐี พวกเราจักบริโภคอาหารเช้าในที่นี้นี่แหละ."
เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ก็ทราบอยู่, พระกระยาหาร
สำหรับสมมติเทพ ข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้ว."
ท้าวเธอทรงสรงสนานด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วประทับนั่ง
บนบัลลังก์อันเป็นที่นั่งของเศรษฐีนั่นแหละ ที่เขาตกแต่งไว้ในมณฑป
เป็นที่นั่งของเศรษฐี ซึ่งทำด้วยแก้ว.
พระราชาประทับเสวยในบ้านโชติกเศรษฐี
ครั้งนั้น พวกบุรุษถวายน้ำสำหรับล้างพระหัตถ์แด่ท้าวเธอ แล้วคด
ข้าวปายาสเปียกจากภาชนะทองคำที่มีค่าได้แสนหนึ่ง วางไว้ตรงพระพักตร์.
พระราชาทรงเริ่มจะเสวยด้วยสำคัญว่า " เป็นโภชนะ."
เศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้ไม่ใช่ภาชนะ, นี้เป็นข้าว
ปายาสเปียก. พวกบุรุษคดโภชนะใสในภาชนะทองคำใบอื่น แล้ววางไว้
บนถาดเดิม." .
๑. อิมสฺส อิมสฺมึ ปาสาเท วสิตุํ น ทสฺสามิ เราจักไม่ให้อยู่ในปราสาทนี้ แก่คฤหบดีนี้.

534
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 535 (เล่ม 43)

ได้ยินว่า การบริโภคภาชนะนั้นด้วยไออุ่นที่พลุ่งขึ้นจากภาชนะข้าว
ปายาสเปียกนั้น ย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความสบาย. พระราชาเมื่อเสวย
โภชนะที่มีรสอร่อย ก็มิได้ทรงรู้ประมาณ.
ลำดับนั้น เศรษฐีถวายบังคมท้าวเธอแล้ว ประคองอัญชลีกราบทูล
ว่า " พอที พระเจ้าข้า, เพียงเท่านี้ก็พอ, พระองค์ไม่ทรงสามารถเพื่อ
จะให้โภชนะที่ยิ่งกว่านี้ไป ให้ย่อยได้."
ทีนั้น พระราชาตรัสกะเขาว่า " คฤหบดี เธอทำความหนักใจหรือ
จึงพูดถึงภัตของตน ?"
เศรษฐี. " ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า, เพราะภัตเพื่อหมู่พลของ
พระองค์แม้ทั้งหมด ก็อันนี้แหละ, แกงก็อันนี้, ก็แต่ว่าข้าพระองค์กลัว
ต่อความเสื่อมยศ.
พระราชา. เพราะเหตุไร ?
เศรษฐี. ถ้าว่า เหตุสักว่าความอึดอัดแห่งพระกาย จะพึงมีแก่
สมมติเทพเจ้าไซร้, ข้าพระองค์ย่อมกลัวต่อคำว่า ' วานนี้ พระราชาเสวย
( ภัต ) ในเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีคงจักทำอะไร (ถวายเป็นแน่) ' พระ-
เจ้าข้า.
พระราชา. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนำภัตไป, จงนำน้ำมา.
ในเวลาเสร็จภัตกิจของพระราชา ราชบริพารทั้งหมดก็บริโภคภต
นั้นนั่นแหละ.
พระราชาทรงสนทนากับเศรษฐี
พระราชาประทับนั่งสนทนาปรารภถึงความสุข ตรัสเรียกเศรษฐีมา
แล้วตรัสว่า " ภรรยาของท่านในเรือนนี้ไม่มีหรือ ?"

535
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 536 (เล่ม 43)

เศรษฐี. มี พระเจ้าข้า.
พระราชา. นางอยู่ที่ไหน ?
เศรษฐี กราบทูลว่า นางนั่งอยู่ในห้องอันมีสิริ ยังไม่ทราบเกล้าว่า
สมมติเทพเสด็จมา.
ก็พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร เสด็จมาแล้วแต่เช้าตรู่ก็จริง, ถึง
อย่างนั้น นางก็ยังไม่รู้ว่าท้าวเธอเสด็จมา.
ลำดับนั้น เศรษฐีรู้ว่า " พระราชามีพระประสงค์จะทอดพระเนตร
ภริยาของเรา " จึงไปสู่สำนักของนางแล้ว บอกว่า " พระราชาเสด็จมา
แล้ว, การที่หล่อนเฝ้าพระราชา ไม่ควรหรือ ?"
ภรรยาเศรษฐีน้อยใจที่ยังมีผู้ใหญ่กว่าตน
นางนอนอยู่นั่นแล กล่าวว่า " นาย ชื่อว่าพระราชานั้นเป็นอย่าง-
ไร ?" เมื่อเขาบอกว่า " คนที่เป็นใหญ่ของพวกเรา ชื่อว่าพระราชา,"
จึงแจ้งความที่คนเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่นอยู่ กล่าวว่า " พวกเรา ยังมีแม้
บุคคลผู้เป็นใหญ่ (นับว่า) ทำบุญกรรมทั้งหลายไว้ไม่ดีหนอ, พวกเราทำ
บุญกรรมทั้งหลายชื่อด้วยไม่มีศรัทธา จึงถึงสมบัติเกิดแล้วในที่ของชนอื่น
ผู้เป็นใหญ่; ทานจักเป็นของอันเราทั้งหลายไม่เธอแล้วให้เป็นแน่, นี่เป็น
ผลของทานนั้น" แล้วกล่าวว่า " นาย บัดนี้ฉันจักทำอย่างไร ?"
สามี. หล่อนจงถือเอาพัดก้านตาลมาพัดถวายพระราชา.
เมื่อนางถือพัดก้านตาลมาพัดถวายพระราชาอยู่ ลม (มี) กลิ่นแห่ง
พระภูษาสำหรับโพกของพระราชา กระทบนัยน์ตาของนางแล้ว.

536
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 537 (เล่ม 43)

ภรรยาเศรษฐีน้ำตาไหล
ลำดับนั้น สายแห่งน้ำตาไหลออกจากนัยน์ตาของนาง. พระราชา
ทอดพระเนตรเห็นอาการนั้น จึงตรัสกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี ธรรมดา
มาตุคาม มีความรู้น้อย ชะรอยจะร้องไห้ เพราะกลัวว่า ' พระราชาจะพึง
ยึดเอาสมบัติของสามีของเรา,' ท่านจงปลอบนาง, เราไม่มีความต้องการ
ด้วยสมบัติของท่าน."
เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ นางมิได้ร้องไห้.
พระราชา. เมื่อเป็นเช่นนั้น นั่นอะไรกันเล่า ?
เศรษฐี. น้ำตาของนางไหลออกมาแล้ว เพราะกลิ่นแห่งพระภูษา
สำหรับโพกของพระองค์, ด้วยว่าภรรยาของข้าพระองค์นี้ ไม่เคยเห็น
แสงสว่างของประทีปหรือแสงสว่างของไฟ ย่อมบริโภค นั่งและนอน
ด้วยแสงสว่างของแก้วมณีเท่านั้น; ส่วนสมมติเทพ คงจักประทับนั่งด้วย
แสงสว่างแห่งประทีป.
พระราชา. ถูกละ เศรษฐี.
เศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าเช่นนั้น จำเดิมแต่วันนี้
ขอพระองค์จงประทับนั่งด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี" แล้วได้ถวายแก้วมณี
อันหาค่ามิได้ ใหญ่ประมาณเท่าผลแตงโม.
พระราชาทอดพระเนตรเรือนแล้ว ตรัสว่า " สมบัติของโชติกะมาก
จริง " แล้วได้เสด็จไป.๑
นี้เป็นเรื่องเกิดของพระโชติกเถระก่อน
๑. เบื้องหน้าแต่นี้ เรื่องพระชฏิลเถระ พึงเป็นเรื่องอันท่านเรียงไว้ในภายหลัง.

537
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 538 (เล่ม 43)

เด็กชฎิละถูกมารดาเอาลอยน้ำ
บัดนี้ พึงทราบการอุบัติของพระเถระชื่อชฎิละ :-
ความพิสดารว่า ในกรุงพาราณสี ได้มีธิดาของเศรษฐีคนหนึ่งเป็น
ผู้มีรูปสวย. มารดาบิดาให้หญิงคนใช้ไว้คนหนึ่ง เพื่อต้องการรักษานาง
ในเวลานางมีอายุรุ่นราว ๑๕- ๑๖ ปี ให้อยู่ในห้องอันมีสิริบนพื้นชั้นบน
แห่งปราสาท ๗ ชั้น.
วันหนึ่ง วิทยาธรคนหนึ่งกำลังเหาะไปทางอากาศ เห็นนางกำลัง
เปิดหน้าต่าง แลดูภายนอกอยู่ เกิดความสิเนหา จึงเข้าไปทางหน้าต่างแล้ว
ได้ทำความเชยชิดกับนาง. นางอาศัยการอยู่ร่วม (หลับนอน) กับวิทยาธร
นั้น ตั้งครรภ์แล้ว ต่อกาลไม่นานเลย.
ลำดับนั้น หญิงคนใช้นั้นเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า " คุณนาย
นี่อะไรกัน ? อันนางบอกว่า " ข้อนั้นจงยกไว้, เจ้าอย่าบอกแก่ใคร ๆ,"
จึงได้เป็นผู้นิ่งเสียเพราะกลัว. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน แม้นางคลอด
บุตรแล้ว ให้หญิงคนใช้นำภาชนะใหม่มา ให้เด็กนั้นนอนในภาชนะนั้น
แล้ว ปิดภาชนะนั้นเสีย วางพวงดอกไม้ไว้ข้างบน สั่งหญิงคนใช้ว่า
" เจ้าจงเอาศีรษะเทินภาชนะนี้ไปลอยเสียในแม่น้ำคงคา, ถ้าถูกใคร ๆ ถาม
ว่า ' นี่อะไร ? ' เจ้าพึงบอกว่า ' พลีกรรมของคุณนายของฉัน." หญิง
คนใช้นั้นได้ทำอย่างนั้น.
หญิง ๒ คนเถียงกันเพราะเด็กชฎิละ
ก็หญิง ๒ คนกำลังอาบน้ำอยู่ในภายใต้แม่น้ำคงคา เห็นภาชนะนั้น
ถูกน้ำพัดมาอยู่, หญิงคนหนึ่งพูดว่า " ภาชนะนั้นเป็นของฉัน." คนหนึ่ง
พูดว่า " สิ่งที่มีอยู่ในภาชนะนั้น เป็นของฉัน," เมื่อภาชนะ (ลอยมา)

538
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 539 (เล่ม 43)

ถึงแล้ว, จึงจับภาชนะนั้นวางไว้บนบก เปิดดูเห็นเด็ก, หญิงคนหนึ่ง พูดว่า
" เด็กเป็นของฉันทีเดียว เพราะฉันกล่าวว่า ' ภาชนะเป็นของฉัน." คนหนึ่ง
พูดว่า " เด็กเป็นของฉันเพราะฉันกล่าวว่า ' สิ่งที่มีอยู่ในภาชนะเป็นของ
ฉันทีเดียว."
หญิงทั้งสองนั้นเถียงกัน ไปสู่ศาลวินิจฉัยแล้ว แจ้งเนื้อความนั้น
เมื่อพวกอำมาตย์ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้, จึงได้ไปสู่สำนักพระราชา.
พระราชาทรงสดับคำของหญิงทั้งสองนั้น จึงตรัสว่า " เจ้าจงเอา
เด็ก, เจ้าจงเอาภาชนะ."
ก็หญิงผู้ที่ได้เด็ก ได้เป็นอุปัฏฐายิกาของพระมหากัจจายนเถระ,
เพราะเหตุนั้น หญิงนั้นจึงเลี้ยงทารกนั้นไว้ ด้วยคิดว่า " จักให้เด็กนี้บวช
ในสำนักของพระเถระ."
เหตุที่เด็กนั้นได้รับตั้งชื่อว่าชฎิละ
ผมของเด็กนั้น ได้ปรากฏรุงรัง เพราะมลทินแห่งครรภ์อันเขาล้าง
ออกไม่หมด ในวันที่เด็กนั้นเกิด. เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อ
เขาว่า " ชฎิล" นั้นแหละ.
ในเวลาที่เดินได้ พระเถระเข้าไปสู่เรือนนั้นเพื่อบิณฑบาต.
อุบาสิกานิมนต์พระเถระให้นั่งแล้ว ได้ถวายอาหาร.
พระเถระเห็นเด็ก จึงถามว่า " อุบาสิกา ท่านได้เด็กหรือ ?"
อุบาสิกาเรียนว่า " ได้ เจ้าค่ะ, ดิฉันเลี้ยงเด็กนี้ไว้ด้วยหวังว่า ' จัก
ให้บวชในสำนักของท่าน,' ขอท่านจงให้เขาบวช" ดังนี้แล้ว ได้ถวาย
แล้ว.

539
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 540 (เล่ม 43)

พระมหากัจจายนะรับเด็กไปมอบให้อุปัฏฐาก
พระเถระรับว่า " ดีละ " แล้วพาเด็กนั้นไป ตรวจดูว่า " บุญกรรม
ที่จะเสวยสมบัติของคฤหัสถ์ของเด็กนี้ มีอยู่หรือหนอแล ?" คิดว่า " สัตว์
ผู้มีบุญมาก จักเสวยสมบัติใหญ่, เด็กนี้ยังเล็กนัก, แม้ญาณของเขาก็ยัง
ไม่ถึงความแก่รอบ" จึงได้พาเด็กนั้นไปสู่เรือนของอุปัฏฐากคนหนึ่ง ใน
กรุงตักกสิลา. อุปัฏฐากนั้นไหว้พระเถระแล้วยืนอยู่, เห็นเด็กนั้นแล้ว
เรียนถามว่า " ท่านได้เด็กหรือขอรับ ?"
พระเถระตอบว่า " เออ อุบาสกเขาจักบวช, แต่ยังเป็นเด็กเล็กนัก,
จงอยู่ในสำนักของท่านเถิด."
อุบาสกนั้นรับว่า " ดีละ ขอรับ " แล้วตั้งเด็กไว้ในฐานะเพียงดัง
บุตรบำรุงแล้ว.
ก็สินค้าในเรือนของอุบาสกนั้น เป็นของที่สั่งสมไว้แล้วสิ้น ๑๒ ปี.
เขาไปสู่ระหว่างแห่งบ้าน นำเอาสินค้าแม้ทั้งหมดไปสู่ตลาด ให้เด็กนั่งใน
ตลาดแล้ว บอกราคาแห่งสินค้านั้น ๆ แล้วกล่าวว่า " เจ้าพึงถือเอาทรัพย์
ชื่อมีประมาณเท่านี้ แล้วจึงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้" ดังนี้แล้วหลีกไป.
เทพดาช่วยให้เด็กขายของได้หมด
ในวันนั้น เทพดาผู้รักษาพระนคร ทำให้ชนผู้มีความต้องการ
(ด้วยวัตถุ) โดยที่สุดแม้สักว่าพริกและผักชี ให้บ่ายหน้าไปสู่ตลาดของเด็ก
เท่านั้น. เด็กนั้นขายสินค้าที่สะสมไว้สิ้น ๑๒ ปี (หมด) โดยวันเดียว
เท่านั้น. กุฎุมพีมาไม่เห็นอะไร ๆ ในตลาด จึงกล่าวว่า " พ่อ สินค้า
ทั้งหมด เจ้าให้ฉิบหายเสียแล้วหรือ."

540
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 541 (เล่ม 43)

เด็กตอบว่า " ฉันไม่ได้ให้สินค้าฉิบหาย, ฉันขายสินค้าทั้งหมดตาม
นัยที่ท่านบอกไว้แล้วนั่นแหละ, นี้เป็นค่าของสินค้าชื่อโน้น. นี้เป็นค่า
ของสินค้าชื่อโน้น." กุฎุมพีปลื้มใจ คิดว่า " บุรุษที่หาค่ามิได้สามารถ
เพื่อจะเป็นอยู่ในที่ใดที่หนึ่งได้" จึงให้ลูกสาวผู้เจริญวัยแล้วในเรือนของ
ตนแก่เขา สั่งพวกบุรุษว่า " พวกเจ้าจงสร้างเรือนแก่เขา" เมื่อเรือน
สำเร็จแล้ว จึงบอกว่า " พวกเจ้าจงไป, จงอยู่ในเรือนของตน."
ชฎิลกุมารได้เป็นเศรษฐีเพราะภูเขาทองผุดใกล้เรือน
ครั้นในเวลาที่ชฎิลกุมารนั้นเข้าไปสู่เรือน เมื่อธรณีประตูพอเขา
เหยียบแล้วด้วยเท้าช้างหนึ่ง ภูเขาทองประมาณ ๘๐ ศอก ชำแรกแผ่นดิน
ผุดขึ้นแล้ว ณ ที่ส่วนอันมีข้างหลังเรือน.
พระราชาพอสดับว่า " ข่าวว่า ภูเขาทองชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นใกล้
เรือนของชฎิลกุมาร" จึงทรงส่งฉัตรสำหรับเศรษฐีไปประทานแก่เขา.
เขาได้เป็นผู้มีชื่อว่า ชฎิลเศรษฐี. เขาได้บุตร ๓ คน.
ชฎิลเศรษฐีให้บุรุษเที่ยวสืบหาเศรษฐีที่เสมอกับตน
เขายังจิตให้เกิดขึ้นในการบวช ในเวลาที่บุตรเหล่านั้นเจริญวัยแล้ว
คิดว่า " ถ้าตระกูลเศรษฐีที่มีโภคะเสมอด้วยเราทั้งหลายจักมีไซร้, บุตร
ทั้งหลายก็จักให้บวชได้; ถ้าไม่มีไซร้, บุตรทั้งหลายก็จักไม่ให้; ในชมพู-
ทวีป ตระกูลที่มีโภคะเสมอด้วยเราทั้งหลาย มีอยู่หรือหนอ" จึงให้ช่าง
ทำอิฐที่สำเร็จด้วยทองคำ ด้ามปฏักที่สำเร็จด้วยทองคำ และเขียงเท้า
ที่สำเร็จด้วยทองคำ เพื่อต้องการจะทดลองดู ให้ในมือของบุรุษทั้งหลาย
แล้ว ส่งไปว่า " พวกเจ้าจงไป, จงถืออิฐที่สำเร็จด้วยทองคำเป็นต้น
เหล่านี้ ทำเป็นเหมือนแลดูอะไร ๆ นั่นเทียว เที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป

541
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 542 (เล่ม 43)

รู้ความที่ตระกูลแห่งเศรษฐีที่มีโภคะเสมอด้วยเรามีอยู่หรือไม่มีแล้ว จงมา."
บุรุษเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปถึงภัททิยนคร.
พวกบุรุษพบเมณฑกเศรษฐี
ครั้งนั้น เมณฑกเศรษฐีเห็นบุรุษเหล่านั้นแล้ว ถามว่า " พ่อทั้งหลาย
พวกท่านเที่ยวไปทำอะไรกัน ?" เมื่อพวกเขาบอกว่า " พวกฉันเที่ยวดูของ
สิ่งหนึ่ง ," รู้ว่า " กิจด้วยการถืออิฐที่สำเร็จด้วยทองคำเป็นต้นเหล่านี้เที่ยว
ไป เพื่อจะตรวจดูสิ่งอะไร ๆ นั่นแหละ ของบุรุษเหล่านี้ ย่อมไม่มี,
บุรุษเหล่านี้เที่ยวสืบสวนดูเศรษฐี " จึงกล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่าน
จงเข้าไปตรวจดูหลังเรือนของเรา."
บุรุษเหล่านั้น เห็นแพะทองคำทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วใน
หนหลัง มีขนาดเท่าช้าง ม้า และโคอุสุภะ ซึ่งเอาหลังจดหลัง ชำแรก
แผ่นดินผุดขึ้นแล้วในที่ประมาณ ๘ กรีส ที่หลังเรือนนั้นแล้ว เทียวไปใน
ระหว่าง ๆ แพะเหล่านั้นแล้วออกไป.
ลำดับนั้น เศรษฐีถามบุรุษเหล่านั้นว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่าน
เที่ยวไปตรวจดูผู้ใด, ผู้นั้น พวกท่านเห็นแล้วหรือ ?" เมื่อพวกเขากล่าวว่า
" เห็น นาย " จึงส่งไปแล้วด้วยพูดว่า " ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงไป."
บุรุษเหล่านั้นไปจากที่นั้นนั่นแหละแล้ว, เมื่อเศรษฐีของตนพูดว่า
" พ่อทั้งหลาย ตระกูลเศรษฐีที่โภคะเสมอเราทั้งหลาย พวกเจ้าเห็นแล้ว
หรือ ? " บอกว่า " นาย ท่านจะมีอะไร ? สมบัติชื่อเห็นปานนี้ของ
เมณฑกเศรษฐีมีอยู่ ในภัททิยนคร" แล้วบอกเรื่องราวนั้นทั้งหมด.

542
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 543 (เล่ม 43)

ชฏิลเศรษฐีให้สืบเสาะเป็นครั้งที่ ๒
เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจแช่มชื่น คิดว่า " ตระกูลเศรษฐี
เราได้ไว้ก่อนแล้วตระกูลหนึ่ง, ตระกูลเศรษฐีแม้อื่นอีกมีอยู่หรือหนอ ?"
แล้วให้ผ้ากัมพลมีค่าได้แสนหนึ่ง ส่งไปว่า " พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงไป,
จงเสาะหาตระกูลเศรษฐีแม้อื่น." พวกเขาไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ทำกอง
ฟืนในที่ไม่ไกลแต่เรือนของโชติกเศรษฐี ติดไฟแล้วได้ยืนอยู่.
ก็ในเวลาพวกชนถามว่า " นี้อะไรกัน ?" ก็บอกว่า " เมื่อพวกฉัน
จะขายผ้ากัมพลซึ่งมีค่ามากผืนหนึ่ง ผู้ซื้อไม่มี, พวกฉันแม้จะถือเที่ยวไป
อยู่ ก็กลัวโจร, เพราะเหตุนั้น พวกฉันจักเผามันเสียแล้วจึงจักไป."
พวกบุรุษพบโชติกเศรษฐี
ครั้งนั้น โชติกเศรษฐีเห็นพวกเขาจึงถามว่า " พวกนี้ทำอะไรกัน ?"
ฟังเนื้อความนั้นแล้ว ให้เรียกมาถามว่า "ผ้ากัมพลมีค่าเท่าไร ? " เมื่อ
พวกเขาบอกว่า " มีค่าแสนหนึ่ง " จึงสั่งให้ ๆ ทรัพย์แสนหนึ่ง บอกว่า
" พวกท่านจงให้ (ผ้าผืนนั้น) แก่ทาสีผู้กวาดซุ้มประตูเทหยากเยื่อ" แล้วส่ง
ให้ในมือของพวกเขานั่นแล. ทาสีนั้นรับเอาผ้ากัมพลแล้วร้องไห้ ไปสู่
สำนักของนาย บอกว่า " นาย เมื่อความผิดมีอยู่ ประหารดิฉันเสีย ไม่
ควรหรือ ? เพราะเหตุไร จึงส่งผ้ากัมพลเนื้อหยาบอย่างนี้แก่ดิฉัน,? ดิฉัน
จักนุ่งหรือจักห่มผ้ากัมพลผืนนี้อย่างไรได้ ?"
โชติกเศรษฐี. ฉันมิได้ส่งไปให้เจ้าเพื่อประโยชน์แก่การนุ่งหรือการ
ห่มนั่น แต่ส่งผ้ากัมพลผืนนั้นไปให้เจ้า เพื่อต้องการจะให้พับเข้าแล้ววาง
ไว้ใกล้ที่นอนของเจ้า ในเวลาจะนอน เช็ดเท้าที่ล้างแล้วด้วยน้ำหอม
(ต่างหาก), เจ้าไม่อาจทำกิจแม้นั่นได้หรือ ?

543