No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 524 (เล่ม 43)

ด้วยเงิน ต้นหนึ่งขจิตด้วยแก้วมณีเป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีด้วย
เสาเหล่านั้น ให้มุงด้วยกระเบื้องสำหรับมุงอันขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการ
เหมือนกัน.
ก็ในเวลาสร้างพระคันธกุฎีนั้นแล หลานชายชื่ออปราชิต ผู้มีชื่อ
เหมือนกับคนนั่นแล เข้าไปหาอปราชิตกุฎุมพีนั้นแล้ว กล่าวว่า " แม้ฉัน
ก็จักสร้าง, ท่านจงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถิด ลุง" เขากล่าวว่า " พ่อ ฉัน
ไม่ให้, ฉันจักสร้างไม่ให้ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น. "
หลานชายนั้น อ้อนวอนแม้เป็นอันมาก เมื่อไม่ได้ส่วนบุญ จึงคิด
ว่า " การที่เราได้กุญชรศาลาข้างหน้าพระคันธกุฎี ย่อมควร" ดังนี้แล้ว
จึงให้สร้างกุญชรศาลา๑ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๙ ประการ. เขาเกิดเป็นเมณฑก-
เศรษฐีในพุทธุปบาทกาลนี้.
ก็บานหน้าต่างใหญ่ ๓ บาน ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ได้มี
แล้วในพระคันธกุฎี. อปราชิตคฤหบดีให้สร้างสระโบกขรณี ๓ สระ ที่
โบกด้วยปูนขาว ณ ภายใต้ที่ตรงบานหน้าต่างเหล่านั้น ให้เต็มด้วยน้ำหอม
อันเกิดแต่ชาติทั้ง ๔๒ แล้วให้ปลูกดอกไม้ ๕๓ สี, ให้ย่อยบรรดาแก้ว ๗
ประการ แก้วที่ควรแก่ความเป็นของที่จะพึงย่อยได้แล้วถือเอาแก้วนอกนี้
ทั้งหมดทีเดียว โปรยรอบพระคันธกุฎีโดยถ่องแถวเพียงเข่า ยังบริเวณ
ให้เต็มแล้ว.
๑. ศาลามีรูปคล้ายช้าง. ๒. กุงฺกุมํ หญ้าฝรั่น ๑. ยวนปุปฺผํ ดอกไม้เกิดในยวน-
ประเทศ ๑. ตครํ กฤษณา ๑. ตุรุกฺโข กำยาน ๑. ๓. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้
ปรากฏโดยมาก. เพื่อจะโปรยพระสรีระด้วยสายแห่งเกสรทั้งหลาย อันตั้งขึ้นแล้วด้วยกำลังลม
ในกาลแห่งพระตถาคตประทับนั่งภายในแล้ว กระเบื้องที่ยอดพระคันธกุฎี ได้สำเร็จด้วยทองคำ
อันสุกปลั่ง. หาง (กระเบื้อง) สำเร็จด้วยแก้วประพาฬตอนล่าง กระเบื้องมุงสำเร็จด้วยแก้วมณี.
พระคันธกุฎีนั้น ได้ตั้งอยู่งดงามดุจนกยูงลำแพน ด้วยประการฉะนี้.

524
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 525 (เล่ม 43)

คฤหบดีชื่ออปราชิต ยังพระคันกุฎีให้สำเร็จด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว
จึงเข้าไปหาพระเถระผู้พี่ชาย เรียนว่า " ท่านขอรับ พระคันธกุฎีสำเร็จ
แล้ว. กระผมหวังการใช้สอยพระคันธกุฎีนั้น, ได้ยินว่า บุญเป็นอันมาก
ย่อมมีเพราะการใช้สอย."
พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ทราบ
ว่า กุฎุมพีผู้นี้ให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระองค์, บัดนี้เธอหวังการใช้สอย."
พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จไปสู่ที่เฉพาะหน้าพระ-
คันธกุฎี ทอดพระเนตรกองรัตนะที่เขากองล้อมรอบพระคันธกุฎี ได้
ประทับยืนอยู่แล้วที่ซุ้มแห่งประตู๑, ก็เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า " พระเจ้า-
ข้า การรักษาจักมีแก่ข้าพระองค์เอง, ขอพระองค์จงเสด็จเข้าไปเถิด."
พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว.
เขาตั้งการรักษารัตนะที่โปรยไว้รอบพระคันธกุฎี
แม้กุฎุมพีก็ตั้งการรักษาไว้โดยรอบ สั่งมนุษย์ทั้งหลายไว้ว่า " พ่อ
๑. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้ ปรากฏโดยมาก: ลำดับนั้น กุฏุมพีกราบทูลพระองค์ว่า
" ขอพระองค์โปรดเสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า" พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ทอด
พระเนตรดูพระเถระพี่ชายของกุฏุมพีนั้นถึง ๓ ครั้ง, พระเถระทราบด้วยอาการที่พระองค์ทอด
พระเนตรแล้วนั่นแล กล่าวกะน้องชายว่า " มาเถิด พ่อ เธอจงทูลพระศาสดาว่า การรักษาจักมี
แก่ข้าพระองค์เอง ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ตามสบายเถิด" เขาฟังคำพระเถระแล้ว ถวายบังคม
พระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พวกมนุษย์เข้าไปที่โคนไม้แล้ว
ไม่มีความเยื่อใยหลีกไปฉันใด, อนึ่ง พวกมนุษย์ข้ามแม่น้ำ ไม่มีความเยื่อใย สละพ่วงแพเสียได้
ฉันใด, ขอพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ความความเยื่อใยฉันนั้น ประทับอยู่เถิด." ก็พระศาสดาประทับยืน
อยู่เพื่ออะไร ๆ ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ชนเป็นอันมาก ย่อมมาสู่สำนัก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตบ้าง ในเวลาหลังภัตบ้าง เมื่อชนเหล่านั้นถือเอารัตนะ
ทั้งหลายไปอยู่, พวกเราไม่อาจห้ามได้ กุฎุมพีพึงติเตียนว่า ' เมื่อรัตนะประมาณเท่านี้เราโปรยลง
แล้วที่บริเวณ, พระศาสดาไม่ห้ามปรามอุปัฏฐากของพระองค์ แม้ผู้นำ (รัตนะ) ไปอยู่ ดังนี้แล้ว
ทำความอาฆาตในเรา พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย ' เพราะเหตุนี้ พระศาสดาจึงได้ประทับยืนอยู่แล้ว.

525
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 526 (เล่ม 43)

พวกเธอจงห้ามชนทั้งหลายผู้ถือเอา (รัตนะ) ด้วยพก หรือด้วยกระเช้า
และกระสอบไป, แต่อย่าห้ามชนผู้ถือเอาด้วยมือไป." แม้ในภายในนคร
ก็ให้บอกว่า " รัตนะ ๗ ประการ อันเราโปรยลงแล้วที่บริเวณพระคันธกุฎี,
มนุษย์เข็ญใจทั้งหลายผู้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้วไป จงถือเอาเต็ม
มือทั้งสอง, มนุษย์ทั้งหลายแม้ถึงสุขแล้วก็จงถือเอาด้วยมือเดียว."
ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา
ประสงค์จะฟังธรรมก่อนจึงจักไปทีเดียว, ส่วนผู้ไม่มีศรัทธา ไปด้วยความ
โลภในทรัพย์ ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากทุกข์ได้;" เพราะเหตุนั้น เขาจึง
ให้บอกอย่างนั้น เพื่อต้องการจะสงเคราะห์ชน.
มหาชน ถือเอารัตนะทั้งหลายตามกำหนดที่เขาบอกแล้วนั่นแล. เมื่อ
รัตนะที่เขาโปรยลงไว้คราวเดียว หมดแล้ว เขาจึงให้โปรยลงเรื่อย ๆ โดย
ถ่องแถวเพียงเข่า ถึง ๓ ครั้ง. อนึ่ง เขาวางแก้วมณีอันหาค่ามิได้ประมาณ
เท่าผลแตงโม แทบบาทมูลของพระศาสดา.
ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชื่อว่า ความอิ่ม จักไม่มี
แก่ชนทั้งหลายผู้แลดูรัศมีแห่งแก้วมณี พร้อมด้วยพระรัศมีอันมีสีดุจทองคำ
แต่พระสรีระของพระศาสดา;" เพราะฉะนั้น เขาจึงได้ทำอย่างนั้น. แม้
มหาชนก็แลดูไม่อิ่มเลย.
พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิลักแก้วมณี
ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง คิดว่า " ได้ยินว่า
แก้วมณีที่มีค่ามาก อันกุฎุมพีนั้นวางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา, เรา
จักลักแก้วมณีนั้น " จึงไปสู่วิหาร เข้าไปโดยระหว่างมหาชนผู้มาแล้วเพื่อ
จะถวายบังคมพระศาสดา.

526
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 527 (เล่ม 43)

กุฎุมพีกำหนดไว้ว่า " พราหมณ์นี้ มีประสงค์จะถือเอาแก้วมณี"
ด้วยอาการแห่งการเข้าไปแห่งพราหมณ์นั้นนั่นแล คิดว่า " โอหนอ !
พราหมณ์ไม่ควรถือเอา."
แม้พราหมณ์นั้น วางมือไว้แทบบาทมูลคล้ายจะถวายบังคมพระ-
ศาสดา ถือเอาแก้วมีซ่อนไว้ในเกลียวผ้า หลีกไปแล้ว. กุฎุมพีไม่อาจ
ยังจิตให้เลื่อมใสในพราหมณ์นั้นได้.
ในกาลจบธรรมกถา กุฏุมพีนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า
" พระเจ้าข้า รัตนะ ๗ ประการอันข้าพระองค์โปรยล้อมรอบพระคันธกุฎี
สิ้น ๓ ครั้ง โดยถ่องแถวเพียงเข่า, เมื่อชนทั้งหลายถือเอารัตนะเหล่านั้น
ขึ้นชื่อว่า ความอาฆาตมิได้มีแล้วแก่ข้าพระองค์, จิตยิ่งเลื่อมใสขึ้นเรื่อย ๆ,
แต่วันนี้ ข้าพระองค์คิดว่า " โอหนอ ! พราหมณ์นี้ ไม่ควรถือเอา
แก้วมณี," เมื่อพราหมณ์นั้นถือเอาแก้วมณีไปแล้ว, จึงไม่อาจยังจิตให้
เลื่อมใสได้."
พระศาสดาทรงสดับคำของกุฎุมพีนั้นแล้ว ตรัสว่า " อุบาสก ท่านไม่
อาจเพื่อจะทำของมีอยู่ของตน ให้เป็นของอันชนเหล่าอื่นพึงนำไปไม่ได้
มิใช่หรือ ?" ดังนี้แล้ว ได้ประทานนัยแล้ว.
กุฎุมพีนั้น ดำรงอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว ถวายบังคม
พระศาสดา ได้ทำการปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า พระราชาหรือโจรแม้
หลายร้อย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะข่มเหงข้าพระองค์ ถือเอาแม้เส้นด้ายแห่ง
ชายผ้าอันเป็นของข้าพระองค์ จงอย่ามี นับแต่วันนี้เป็นต้นไป, แม้ไฟก็
อย่าไหม้ของ ๆ ข้าพระองค์, แม้น้ำก็อย่าพัด."

527
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 528 (เล่ม 43)

แม้พระศาสดา ก็ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้นว่า " ขอความ
ปรารถนาที่ท่านปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."
กุฎุมพีนั้น เมื่อทำการฉลองพระคันธกุฎี ถวายมหาทานแก่ภิกษุ ๖๘
แสน ในภายในวิหารนั่นแหละ ตลอด ๙ เดือน ในกาลเป็นที่สุด ได้
ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุทุกรูป. ผ้าสาฎกสำหรับทำจีวรของภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์
ได้มีค่าถึงพันหนึ่ง.
อปราชิตกุฎุมพีเกิดเป็นโชติกเศรษฐี
กุฎุมพีนั้น ทำบุญทั้งหลายจนตลอดอายุอย่างนั้นแล้ว เคลื่อนจาก
อัตภาพนั้น บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ตลอดกาลประมาณเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูล
เศรษฐีตระกูลหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ อยู่ในท้องของมารดาตลอด ๙ เดือน
ครึ่ง.
ก็ในวันที่กุฎุมพีนั้นเกิด สรรพอาวุธทั้งหลายในพระนครทั้งสิ้น
รุ่งโรจน์แล้ว. แม้อาภรณ์ทั้งหลายที่สวมกายของชนทั้งปวง* เป็นราวกะว่า
รุ่งโรจน์ เปล่งรัศมีออกแล้ว. พระนครได้รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน. แม้
เศรษฐีก็ได้ไปสู่ที่บำรุงพระราชาแต่เช้าตรู่.
ครั้งนั้น พระราชาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " วันนี้สรรพอาวุธทั้งหลาย
รุ่งโรจน์แล้ว, พระนครก็รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน; ท่านรู้เหตุในเรื่องนี้
ไหม ?"
เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทราบ.
พระราชา. เหตุอะไร ? เศรษฐี.
๑.กายารุฬฺหา อันขึ้นแล้วสู่กาย.

528
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 529 (เล่ม 43)

เศรษฐี. ทาสของพระองค์เกิดในเรือนของข้าพระองค์, ความ
รุ่งโรจน์นั้น ได้มีแล้วด้วยเดชแห่งบุญของเขานั่นแหละ.
พระราชา. เขาจักเป็นโจรกระมัง ?
เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้อนั้นไม่มี, สัตว์มีบุญได้ทำอภินิหาร
ไว้แล้ว.
พระราชาทรงตั้งทรัพย์ค่าเลี้ยงดูวันละพัน ด้วยพระดำรัสว่า " ถ้า
กระนั้น เธอเลี้ยงเขาไว้ให้ดีจึงจะควร, นี้จงเป็นค่าน้ำนมสำหรับเขา."
ครั้นในวันเป็นที่ตั้งชื่อ ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อของเขาว่า " โชติกะ" นั่น
แหละ เพราะพระนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน.
ต่อมา ในเวลาที่เขาเติบโตแล้ว เมื่อภาคพื้นอันเขาลงชำระอยู่ เพื่อ
ต้องการปลูกเรือน ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว.
ท้าวสักกะเสด็จมานิรมิตสมบัติให้โชติเศรษฐี
ท้าวสักกะทรงใคร่ครวญดูว่า " นี้เหตุอะไรหนอแล ?" ทรงทราบ
ว่า " ชนทั้งหลายกำลังจับจองที่ปลูกเรือนเพื่อโชติกะ" ทรงดำริว่า " โชติกะ
นี้ จักไม่อยู่ในเรือนที่ชนเหล่านั่นทำแล้ว, การที่เราไปในที่นั้น ควร"
แล้วเสด็จไปที่นั้นด้วยเพศแห่งนายช่างไม้ ตรัสว่า " พวกท่านทำอะไร
กัน ?"
เหล่าชน. พวกฉันจับจองที่ปลูกเรือน สำหรับโชติกะ.
ท้าวสักกะตรัสว่า " พวกท่านจงหลีกไป, โชติกะนี้จักไม่อยู่ในเรือน
ที่พวกท่านปลูก" แล้วทอดพระเนตรดูภูมิประเทศประมาณ ๑๖ กรีส.
ภูมิประเทศนั้น ได้เป็นที่สม่ำเสมอในทันใดนั้นนั่นเอง ดุจวงกสิณ. ท้าว
เธอทรงดำริอีกว่า " ขอปราสาท ๗ ชั้นสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จง

529
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 530 (เล่ม 43)

ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้น ณ ที่นี้ " แล้วทอดพระเนตรดู. ปราสาท (เห็น
ปานนั้น) ผุดขึ้นแล้วในขณะนั้นนั่นเอง. ท้าวสักกะทรงดำริอีกว่า " ขอ
กำแพง ๗ ชั้น ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงผุดขึ้นแวดล้อมปราสาท
นี้" แล้วทอดพระเนตรดู. กำแพงเห็นปานนั้นผุดขึ้นแล้ว. ครั้งนั้น
ท้าวเธอทรงดำริว่า " ขอต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย จงผุดขึ้นในที่สุดรอบ
กำแพงเหล่านั้น " แล้วทอดพระเนตรดู. ต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลายเห็นปาน
นั้น ผุดขึ้นแล้ว. ท้าวเธอทรงดำริว่า " ขุมทรัพย์ ๔ ขุม จงผุดขึ้นที่มุม
ทั้ง ๔ แห่งปราสาท" แล้วทอดพระเนตรดู. ทุกสิ่งได้มีอย่างนั้นเหมือน
กัน.
ก็บรรดาขุมทรัพย์ทั้งหลาย ขุมทรัพย์ขุมหนึ่งได้มีประมาณโยชน์
หนึ่ง, ขุมหนึ่งได้มีประมาณ ๓ คาวุต, ขุมหนึ่งได้มีประมาณกึ่งโยชน์,
ขุมหนึ่งได้มีประมาณคาวุตหนึ่ง๑, ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ยักษ์ ๗ ตนยึดการ
รักษาไว้แล้ว. ในซุ้มประตูที่ ๑ ยักษ์ชื่อยมโมลีพร้อมด้วยยักษ์พันหนึ่ง
ที่เป็นบริวารของตน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๒ ยักษ์ชื่อ
อุปปละพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๒ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว,
ที่ซุ้มประตูที่ ๓ ยักษ์ชื่อวชิระพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๓ พัน
ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ยักษ์ชื่อวชิรพาหุพร้อมด้วยยักษ์ที่
๑. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้ ปรากฏโดยมาก: ก็ประมาณนั่น ได้เป็นประมาณแห่งปาก
ขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์. เบื้องล่างได้มีที่สุดแผ่นดิน, ประมาณขอบปากแห่งขุมทรัพย์
ที่เกิดขึ้นแก่โชติกเศรษฐี ท่านมิได้กล่าวไว้. ขุมทรัพย์ทุกขุมเต็มเปี่ยมเทียวผุดขึ้น เหมือน
ผลตาลที่เขาฝานหัวฉะนั้น, ลำอ้อย ๔ ลำ เป็นวิการแห่งทองคำ ประมาณเท่าต้นตาลรุ่น ๆ เกิด
ขึ้นที่มุมปราสาททั้ง ๔. ลำอ้อยเหล่านั้นมีใบเป็นวิการแห่งแก้วมณี มีข้อเป็นวิการแห่งทองคำ.
นับว่าสมบัตินั้นเกิดขึ้นแล้ว เพื่อแสดงบุรพกรรม (ของเขา).

530
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 531 (เล่ม 43)

เป็นบริวารของตน ๔ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๕ ยักษ์
ชื่อสกฏะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๕ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว,
ที่ซุ้มประตูที่ ๖ ยักษ์ชื่อสกฏัตถะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๖ พัน
ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๗ ยักษ์ชื่อทิสามุขะพร้อมด้วยยักษ์ที่
เป็นบริวารของตน ๗ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว. ทั้งภายในและภายนอก
แห่งปราสาท ได้มีการรักษาอย่างมั่นคงแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.
พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานฉัตรตั้งให้เป็นเศรษฐี
พระราชาทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงสดับว่า " ได้ยินว่า ปราสาท
๗ ชั้น ซึ่งสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นแล้วเพื่อโชติกะ, กำแพง
๗ ชั้น ซุ้มประตู ๗ ซุ้ม ขุมทรัพย์ ๔ ขุมก็ผุดขึ้นแล้ว (เพื่อโชติกะ
เหมือนกัน )" ทรงส่งฉัตรตำแหน่งเศรษฐีไป (ให้) แล้ว, เขาได้เป็นผู้
ชื่อว่า โชติกเศรษฐี. ก็หญิงผู้มีบุญกรรมอันทำไว้แล้วกับโชติกเศรษฐีนั้น
เกิดแล้วในอุตตรกุรุทวีป.
ครั้งนั้น เทพดานำนางมาจากอุตตรกุรุทวีปนั้นแล้ว ให้นั่งในห้อง
อันเป็นสิริ.
หญิงนั้นเมื่อมา ถือเอาทะนานข้าวสารทะนานหนึ่ง และแผ่นศิลา
อันลุกโพลง ๓ แผ่น (มา), ภัตของชนทั้งสองนั้น ได้มีแล้วด้วยทะนาน
ข้าวสารนั้นนั่นเทียว ตลอดชีวิต.
ดังได้สดับมา ถ้าชนเหล่านั้นเป็นผู้มีประสงค์จะยังแม้เกวียน ๑๐๐
เล่มให้เต็มด้วยข้าวสาร, มันก็คงปรากฏเป็นทะนานอันเต็มด้วยข้าวสารอยู่
นั่นเอง. ในเวลาหุงภัต พวกเขาใส่ข้าวสารในหม้อ แล้ววางไว้เบื้องบน

531
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 532 (เล่ม 43)

แผ่นศิลาเหล่านั้น. แผ่นศิลาก็ลุกโพลงขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อภัตสัก
ว่าสุกแล้ว ย่อมดับไป พวกเขารู้ความที่ภัตสุกแล้ว ด้วยสัญญานั้น
นั่นแหละ. แม้ในเวลาแกงของควรแกงเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เขา
ทั้งสองย่อมหุงต้มอาหารด้วยแผ่นศิลาอันลุกโพลงด้วยอาการอย่างนี้.
ชนเหล่านั้น ย่อมอยู่ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี, ไม่รู้แสงสว่างของ
ไฟหรือประทีปเลย.
มหาชนต่างแตกตื่นมาชมสมบัติ
ได้ยินว่า สมบัติของโชติกเศรษฐีเห็นปานนั้น ได้ปรากฏทั่วชมพู-
ทวีปทั้งสิ้นแล้ว. มหาชนเทียมยานเป็นต้นมา เพื่อต้องการดู.
โชติกเศรษฐี สั่งให้หุงภัตด้วยข้าวสารที่นำมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้ว
ให้ ๆ แก่ชนทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ, สั่งว่า " ชนทั้งหลายจงถือเอาผ้า, จงถือ
เอาเครื่องประดับ จากต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย," แล้วให้เปิดปากขุมทรัพย์
ที่มีประมาณคาวุตหนึ่ง แล้วสั่งว่า " ชนทั้งหลายจงถือเอาทรัพย์พอยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้." เมื่อชนทั้งหลายผู้อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถือเอา
ทรัพย์ไปอยู่ ปากแห่งขุมทรัพย์มิได้พร่องลงแล้ว แม้เพียงองคุลีเดียว.
ได้ยินว่า นั่นเป็นผลแห่งรัตนะที่เขาโปรยลง ทำให้เป็นทรายใน
บริเวณพระคันธกุฎี.
พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะชมปราสาท
เมื่อมหาชน ถือเอาผ้าอาภรณ์ และทรัพย์ตามความปรารถนาไป
อยู่อย่างนั้น, พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาท
ของโชติกเศรษฐีนั้นบ้าง เมื่อมหาชนมาอยู่ จึงไม่ได้โอกาสแล้ว.

532
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 533 (เล่ม 43)

ในกาลต่อมา เมื่อพวกมนุษย์น้อยลง เพราะถือเอาวัตถาภรณ์และ
ทรัพย์ตามความปรารถนาไปแล้ว พระราชาจึงตรัสกะบิดาของโชติกะว่า
" ฉันมีความประสงค์จะชมปราสาทของบุตรของท่าน." บิดาของโชติกะ
นั้นกราบทูลว่า " ดีละ สมมติเทพ " แล้วไปบอกแก่บุตรว่า " พ่อ พระ-
ราชามีพระประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาทของเจ้า," เขาพูดว่า " ดีละ
คุณพ่อ, ขอพระองค์เสด็จมาเถิด."
พระราชา ได้เสด็จไปในที่นั้นพร้อมด้วยข้าราชบริพารเป็นอันมาก.
ทาสีผู้ปัดกวาดเทหยากเยื่อที่ซุ้มประตูที่ ๑ ได้ถวายมือแด่พระราชา.
พระราชาทรงละอาย ด้วยทรงสำคัญว่า " ภรรยาของเศรษฐี" จึงไม่ทรง
วางพระหัตถ์ที่แขนของนาง. พระราชาทรงสำคัญทาสีแม้ที่ซุ้มประตูที่เหลือ
ทั้งหลายว่า " ภรรยาของเศรษฐี " อย่างนั้น จึงไม่ทรงวางพระหัตถ์ที่แขน
ของทาสีเหล่านั้น.
โชติกเศรษฐี มาต้อนรับพระราชาถวายบังคมแล้ว อยู่เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์ กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ขอเชิญเสด็จไปข้างหน้าเถิด "
แผ่นดินที่ประดับด้วยแก้วมณี ย่อมปรากฏแก่พระราชา เป็นเหมือนเหว
ที่ลึกตั้ง ๑๐๐ ชั่วบุรุษ. ท้าวเธอทรงสำคัญว่า " โชติกะนี้ ขุดบ่อไว้เพื่อ
ต้องการจับเรา " จึงไม่อาจเพื่อ๑จะเสด็จพระราชดำเนินไปได้."
โชติกะ กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้มิใช่บ่อ, ขอพระองค์
จงเสด็จมาข้างหลังข้าพระองค์" แล้วได้เป็นผู้นำเสด็จ.๒
พระราชา ทรงเหยียบพื้นในเวลาที่โชติกะนั้นเหยียบแล้ว เสด็จ
เที่ยวทอดพระเนตรปราสาทตั้งแต่พื้นชั้นล่าง.
๑. ปาทํ นิกฺขิปิตุํ เพื่ออันวางพระบาทลง. ๒. ปุรโต อโหสิ ได้มีข้างหน้า.

533