No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 294 (เล่ม 43)

สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหลาย มีทรัพย์คือ ข้าวเปลือก
บุตรและภรรยาเป็นต้น เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำคือขื่อ
เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอันคูณด้วยร้อย คูณด้วยพัน คูณด้วยแสน, แต่
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำนั่นแม้ชนิดใหญ่ที่ตัดได้ยาก
ด้วยประการดังนี้แล้ว เข้าสู่ป่าหิมพานต์บวช." ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต
นิทานมา (ตรัส) ว่า
" ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดแล้วในตระกูลคฤหบดีตกยากตระกูลหนึ่ง.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัย บิดาได้ทำกาละแล้ว. พระโพธิสัตว์นั้นทำ
การรับจ้างเลี้ยงมารดา. ต่อมา มารดากระทำนางกุลธิดาคนหนึ่งไว้ในเรือน
เพื่อพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ไม่ปรารถนาเลย ในกาลต่อมาก็ได้กระทำกาละ
แล้ว. ฝ่ายภรรยาของพระโพธิสัตว์นั้นตั้งครรภ์แล้ว. พระโพธิสัตว์นั้น
ไม่ทราบว่าครรภ์ตั้งขึ้นเลย จึงกล่าวว่า " นางผู้เจริญ หล่อนจงทำการ
รับจ้างเลี้ยงชีพเถิด, ฉันจักบวช."
นางกล่าวว่า " นาย ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วแก่ดิฉันมิใช่หรือ ? เมื่อดิฉัน
คลอดแล้ว ท่านจักเห็นทารกแล้ว จึงบวช." พระโพธิสัตว์นั้น รับว่า
" ดีละ " ในกาลแห่งนางคลอดแล้ว จึงอำลาว่า " นางผู้เจริญ หล่อนคลอด
โดยสวัสดีแล้ว, บัดนี้ ฉันจักบวชละ. " ทีนั้นนางกล่าวกะพระโพธิสัตว์
นั้นว่า " ท่านจงรอ เวลาที่ลูกน้อยของท่านหย่านมก่อน " แล้วก็ตั้งครรภ์
อีก.
พระโพธิสัตว์นั้นดำริว่า " เราไม่สามารถจะให้นางคนนี้ยินยอมแล้ว

294
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 295 (เล่ม 43)

ไปได้. เราจักไม่บอกแก่นางละ จักหนีไปบวช." ท่านไม่บอกแก่นางเลย
ลุกขึ้นแล้วในส่วนราตรี หนีไปแล้ว.
ครั้งนั้น คนรักษาพระนครได้จับท่านไว้แล้ว. ท่านกล่าวว่า "นาย
ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้เลี้ยงมารดา, ขอท่านทั้งหลายจงปล่อยข้าพเจ้าเสียเถิด"
ให้เขาปล่อยตนแล้ว พักอยู่ในที่แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวช
เป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว เล่นฌานอยู่. ท่านอยู่ในที่
นั้นนั่นเอง เปล่งอุทานขึ้นว่า " เครื่องผูกคือบุตรและภรรยา เครื่องผูก
คือกิเลส อันบุคคลตัดได้โดยยาก ชื่อแม้เห็นปานนั้น เราตัดได้แล้ว."
พระศาสดาทรงแสดงเครื่องจองจำ ๒ อย่าง
พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ
อุทานที่พระโพธิสัตว์นั้นเปล่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๔. น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา
ยทายสํ ทารุชํ ปพฺพชญฺจ
สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา.
เอตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา
โอหารินํ สิถิลํ ทุปฺปมุญฺจํ
เอตํปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ
อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย.
" เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และ
เกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าวเครื่อง

295
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 296 (เล่ม 43)

จองจำนั้น ว่าเป็นของมั่นคงไม่. ความกำหนัดใด
ของชนทั้งหลายผู้กำหนัด ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณี
และตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตร๑ แลใน
ภรรยาทั้งหลายใด, นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความ
กำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า เป็นเครื่องจองจำอัน
มั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน (แต่) เปลื้องได้
โดยยาก. นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั่น
แล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช.๒"
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา เป็นต้น ความว่า บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หากล่าวเครื่องจองจำที่เกิดแต่
เหล็ก กล่าวคือตรวน ชื่อว่า เกิดแต่เหล็ก ที่เกิดแต่ไม้ กล่าวคือ ชื่อ คา
และเครื่องจองจำคือเชือก ที่เขาเอาหญ้าปล้อง หรือวัตถุอย่างอื่น มีปอ
เป็นต้น ฟันทำเป็นเชือก ว่า " เป็นของมั่นคง" ไม่, เพราะความเป็น
เครื่องจองจำ ที่บุคคลสามารถตัดด้วยศัสตราทั้งหลาย มีดาบเป็นต้นได้.
บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดนักแล้ว, อธิบายว่า ผู้
กำหนัดด้วยราคะจัด.
บทว่า มณิกุณฺฑเลสุ คือในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย, อีกอย่าง
หนึ่ง (คือ) ในตุ้มหูทั้งหลายอันวิจิตรด้วยแก้วมณี.
บทว่า ทฬฺหํ ความว่า ความกำหนัดใด ของชนทั้งหลาย ผู้กำหนัด
๑. แปลเติมอย่างอรรถกถา. ๒. ขุ. ธ. ๒๕/๖๐, ชา. ทุก. ๒๗/ข้อ ๒๕๑. อรรถกถา
๓/๑๘๕. พันธนาคารชาดก.

296
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 297 (เล่ม 43)

ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลายนั่นแล และความเยื่อใย คือความ
ทะยานอยากได้ในบุตรและภรรยาใด, บุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย ย่อม
กล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่น อันเป็นเครื่องผูกซึ่งสำเร็จด้วยกิเลส
ว่า " มั่น. "
บทว่า โอหารินํ ความว่า ชื่อว่า มีปกติเหนี่ยวลง เพราะย่อมฉุดลง
คือนำไปในเบื้องต่ำ เพราะคร่ามาแล้วให้ตกไปในอบาย ๔.
บทว่า สิถิลํ ความว่า ชื่อว่า หย่อน เพราะย่อมไม่บาดผิวหนัง
และเนื้อ คือย่อมไม่นำโลหิตออกในที่ที่ผูก ได้แก่ ไม่ให้รู้สึกแม้ความเป็น
เครื่องผูก ย่อมให้ทำการงานทั้งหลาย ในที่ทั้งหลายมีทางบกและทางน้ำ
เป็นต้นได้.
บทว่า ทุปฺปมุญฺจํ ความว่า ชื่อว่า เปลื้องได้โดยยาก ก็เพราะ
เครื่องผูกคือกิเลส อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความโลภแม้คราวเดียว
ย่อมเป็นกิเลสชาตอันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก เหมือนเต่าเปลื้องจากที่เป็น
ที่ผูกได้ยากฉะนั้น.
สองบทว่า เอตํปิ เฉตฺวาน ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่อง
ผูกคือกิเลสนั่น แม้อันมั่นอย่างนั้น ด้วยพระขรรค์คือญาณ เป็นผู้หมด
ความเยื่อใย ละกามสุขแล้ว เว้นรอบ คือหลีกออก, อธิบายว่า ย่อม
บวช.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องเรือนจำ จบ.

297
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 298 (เล่ม 43)

๕. เรื่องพระนางเขมา [๒๔๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าพิมพิสาร พระนามว่าเขมา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย
ราครตฺตา" เป็นต้น .
หนามบ่งหนาม
ได้สดับมา พระนางเขมานั้นตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของ
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้เป็นผู้มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใสอย่างเหลือเกิน.
ก็พระนางได้ทรงสดับว่า " ทราบว่า พระศาสดาตรัสติโทษของรูป" จึง
ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา. พระราชาทรงทราบความที่
พระอัครมเหสีนั้นมัวเมาอยู่ในรูป จึงตรัสให้พวกนักกวีแต่งเพลงขับเกี่ยว
ไปในทางพรรณนาพระเวฬุวัน แล้วก็รับสั่งให้พระราชทานแก่พวกนัก
ฟ้อนเป็นต้น. เมื่อนักฟ้อนเหล่านั้นขับเพลงเหล่านั้นอยู่ พระนางทรง
สดับแล้ว พระเวฬุวันได้เป็นประหนึ่งไม่เคยทอดพระเนตรและทรงสดับ
แล้ว. พระนางตรสถามว่า " พวกท่านขับหมายถึงอุทยานแห่งไหน ?"
เมื่อพวกนักขับทูลว่า " หมายอุทยานเวฬุวันของพระองค์ พระเทเทวี" ก็ได้
ทรงปรารถนาจะเสด็จไปพระอุทยาน. พระศาสดาทรงทราบการเสด็จมา
ของพระนาง เมื่อประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทแล จึงทรง
นิรมิตหญิงรูปงาม ยืนถือพัดก้านตาลพัดอยู่ที่ข้างพระองค์
ฝ่ายพระนางเขมาเทวี เสด็จเข้าไปอยู่แล ทอดพระเนตรเห็นหญิง
นั้น จึงทรงดำริว่า " ชนทั้งหลาย ย่อมพูดกันว่า ' พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

298
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 299 (เล่ม 43)

ตรัสโทษของรูป,' ก็หญิงนี้ ยืนพัดอยู่ในสำนักของพระองค์, เราไม่เข้า
ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยวของหญิงนี้, รูปหญิงเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น, ชนทั้งหลาย
เห็นจะกล่าวตู่พระศาสดา ด้วยคำไม่จริง" ดังนี้แล้ว ก็มิใส่ใจถึงเสียงพระ-
ดำรัสของพระตถาคต ได้ประทับยืนทอดพระเนตรดูหญิงนั้นนั่นแล.
ในร่างกายนี้ไม่มีสาระ
พระศาสดาทรงทราบเนื้อความที่พระนางมีมานะจัดเกิดขึ้นในรูปนั้น
เมื่อจะทรงแสดงรูปนั้นด้วยอำนาจวัยมีปฐมวัยเป็นต้น จึงทรงแสดงทำให้
เหลือเพียงกระดูกในที่สุด โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
พระนางเขมาพอทอดพระเนตรเห็นรูปนั้น จึงทรงดำริว่า " รูปนั้น
แม้เห็นปานนี้ ก็ถึงความสิ้นความเสื่อมไปโดยครู่เดียวเท่านั้น, สาระใน
รูปนี้ ไม่มีหนอ ?"
พระศาสดาทรงตรวจดูวาระจิตของพระนางเขมานั้นแล้ว จึงตรัสว่า
" เขมา เธอคิดว่า ' สาระมีอยู่ในรูปนี้หรือ ?' เธอจงดูความที่รูปนั้นหา
สาระมิได้ ในบัดนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" เขมา เธอจงดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาดเน่า
เปื่อย ไหลออกทั้งข้างบน ไหลออกทั้งข้างล่าง อันคน
พาลทั้งหลาย ปรารถนายิ่งนัก."
ในกาลจบพระคาถา พระนางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระนางว่า " เขมา สัตว์เหล่านี้ เยิ้ม
อยู่ด้วยราคะ ร้อนอยู่ด้วยโทสะ งงงวยอยู่ด้วยโมหะ จึงไม่อาจเพื่อก้าว
ล่วงกระแสตัณหาของตนไปได้ ต้องข้องอยู่ในกระแสตัณหานั้นนั่นเอง "
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

299
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 300 (เล่ม 43)

๕. เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ
สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ
เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา
อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหาย.
" สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระ-
แสตัณหา เหมือนแมลงมุม ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้
เองฉะนั้น. ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้น
แล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มกฺกฏโกว ชาลํ ความว่า เหมือน
อย่างว่า แมลงมุมทำข่ายคือใยแล้ว ก็นอนอยู่ในศูนย์ใยในที่ท่ามกลาง
แล้วก็รีบวิ่งไปฆ่าตั๊กแตนหรือตัวแมลง ที่ตกไปในริมสายใย สูบกินรส
ของมันแล้ว ก็กลับมานอนอยู่ในที่นั้นอย่างเดิมฉันใด; สัตว์ทั้งหลาย
เหล่าใด ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ๑ โกรธแล้วด้วยโทสะ๒ หลงแล้วด้วยโมหะ,
สัตว์เหล่านั้นย่อมตกไปสู่กระแสตัณหาที่ตัวทำไว้เอง คือเขาไม่อาจเพื่อ
ก้าวล่วงกระแสตัณหานั้นไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน; กระแสตัณหา บุคคล
ล่วงได้ยากอย่างนี้.
บาทพระคาถาว่า เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา ความว่า บัณฑิต
ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกนั่นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย คือไม่มีอาลัย ละทุกข
ทั้งปวงด้วยอรหัตมรรคแล้ว ก็เว้น คือไป.
๑. ผู้อันราคะย้อมแล้ว. ๒. อันโทสะประทุษร้ายแล้ว.

300
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 301 (เล่ม 43)

ในกาลจบเทศนา พระนางเขมาทรงดำรงอยู่ในพระอรหัต. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว. พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า " มหา-
บพิตร พระนางเขมาจะบวชหรือปรินิพพาน จึงควร ?"
พระราชา. โปรดให้พระนางบวชเถิด พระเจ้าข้า, อย่าเลยด้วยการ
ปรินิพพาน.
พระนางบรรพชาแล้ว ก็ได้เป็นสาวิกาผู้เลิศ ดังนี้แล.
เรื่องพระนางเขมา จบ.

301
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 302 (เล่ม 43)

๖. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน [๒๔๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอุคคเสน
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มุญฺจ ปุเร " เป็นต้น.
อุคคเสนรักใคร่หญิงนักฟ้อน
ได้ยินว่า เมื่อครบปีหรือ ๖ เดือนแล้ว พวกนักฟ้อนประมาณ ๕๐๐
ไปยังกรุงราชคฤห์ ทำมหรสพ (ถวาย) แด่พระราชาตลอด ๗ วัน ได้
เงินและทองเป็นอันมาก, การตกรางวัลในระหว่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุด. มหาชน
ต่างก็ยืนบนเตียงเป็นต้น ดูมหรสพ.
ลำดับนั้น ธิดานักหกคะเมนคนหนึ่ง ขึ้นไปสู่ไม้แป้น หกคะเมน
เบื้องบนของไม้เป็นนั้น เดินฟ้อนและขับร้องบนอากาศ ณ ที่สุดแห่ง
ไม้แป้นนั้น.
สมัยนั้น บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน ยืนอยู่บนเตียงที่ (ตั้ง) ซ้อนๆ
กันกับด้วยสหาย แลดูหญิงนั้น มีความรักเกิดขึ้นในอาการทั้งหลาย มีการ
แกว่งมือและเท้าเป็นต้นของนาง ไปสู่เรือนแล้วคิดว่า " เราเมื่อได้นาง
จึงจักเป็นอยู่, เมื่อเราไม่ได้ก็จะตายเสียในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ก็ทำการ
ตัดอาหาร นอนอยู่บนเตียง; แม้ถูกมารดาบิดาถามว่า " พ่อ เจ้าเป็นโรค
อะไร ?" ก็บอกว่า " เมื่อฉันได้ลูกสาวของนักฟ้อนคนนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่,
เมื่อฉันไม่ได้ ก็จะตายเสียในที่นี้นี่แหละ," แม้เมื่อมารดาปลอบว่า " พ่อ
เจ้าอย่าทำอย่างนี้เลย, พวกเราจักนำนางกุมาริกาคนอื่น ซึ่งสมควรแก่

302
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 303 (เล่ม 43)

ตระกูลและโภคะของพวกเรา มาให้แก่เจ้า" ก็ยังนอนกล่าวอย่างนั้น
เหมือนกัน.
อุคคเสนได้นางนักฟ้อนสมประสงค์
ลำดับนั้นบิดาของเขา แม้อ้อนวอนเป็นอันมาก เมื่อไม่สามารถจะ
ให้เขายินยอมได้ จึงเรียกสหายของนักฟ้อนมา ให้ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว
ส่งไปด้วยสั่งว่า " ท่านจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้ลูกสาวของท่าน
แก่บุตรชายของฉันเถิด."
นักฟ้อนนั้นกล่าวว่า " ข้าพเจ้ารับเอากหาปณะแล้วก็ให้ไม่ได้; ก็ถ้า
ว่าบุตรชาย (ของท่าน) นั้น ไม่ได้ลูกสาว (ของข้าพเจ้า) นี้แล ไม่อาจ
จะเป็นอยู่ไซร้, ถ้ากระนั้น บุตรของท่านจงเที่ยวไปกับด้วยพวกข้าพเจ้า
เถิด, ข้าพเจ้าจักให้ลูกสาวแก่เขา." มารดาบิดาบอกความนั้นแก่บุตรแล้ว.
เขาพูดว่า " ฉันจักเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อนนั้น" ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของ
มารดาบิดาเหล่านั้น แม้ผู้อ้อนวอนอยู่ ได้ออกไปยังสำนักของนักฟ้อน
แล้ว.
นักฟ้อนนั้น ให้ลูกสาวแก่เขาแล้ว เที่ยวแสดงศิลปะในบ้านนิคม
และราชธานี กับด้วยเขานั่นแหละ.
ฝ่ายนางนั้น อาศัยการอยู่ร่วมกับบุตรเศรษฐีนั้น ต่อกาลไม่นาน
นักก็ได้บุตร เมื่อจะเย้าบุตรนั้น จึงพูดว่า " ลูกของคนเฝ้าเกวียน, ลูก
ของคนหาบของ, ลูกของคนไม่รู้อะไรๆ."
ฝ่ายบุตรเศรษฐีนั้น ขนหญ้ามาให้โคทั้งหลาย ในที่แห่งชนเหล่านั้น
ทำการกลับเกวียนพักอยู่แล้ว, (และ) ยกเอาสิ่งของที่ได้ในที่แสดงศิลปะ
แล้วนำไป, นัยว่า หญิงนั้นหมายเอาบุตรเศรษฐีนั้นนั่นเอง เมื่อจะเย้าบุตร

303