No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 144 (เล่ม 43)

วันและกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของพระ-
โคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
๖. การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่
ปกครองไม่ดีให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน
เป็นทุกข์ ผู้เดินทางไกลก็ถูกทุกข์ติดตาม เพราะ-
ฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อัน
ทุกข์ติดตาม.
๗. ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม
ด้วยยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้อัน
เขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว.
๘. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ไกล
เหมือนภูเขาหิมพานต์ (ส่วน) อสัตบุรุษย่อมไม่
ปรากฏในที่นี้ เหมือนลูกศรอันเขาซัด (ยิง) ไปใน
ราตรีฉะนั้น.
๙. ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว
พึงเป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไป เป็นผู้เดียว
ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า.
จบปกิณณกวรรคที่ ๒๑

144
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 145 (เล่ม 43)

๒๑. ปกิณณกวรรควรรณนา
๑. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ [๒๑๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรพกรรม
ของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มตฺตาสุขปริจฺจาคา" เป็นต้น.
เกิดภัย ๓ อย่างในเมืองไพศาลี
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมืองไพศาลีได้เป็นเมืองมั่งคั่งกว้าง-
ขวาง มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น. ก็ในเมืองไพศาลีนั้นได้มีกษัตริย์
ครอบครองราชสมบัติตามวาระกันถึงเจ็ดพันเจ็ดร้อยพระองค์. ปราสาท
เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับของกษัตริย์เหล่านั้น ก็มีประมาณเท่านั้น
เหมือนกัน, เรือนยอดก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน; สถานที่รื่นรมย์และ
สระโบกขรณี เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับอยู่ในพระราชอุทยาน ก็ได้มี
ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.
โดยสมัยอื่นอีก เมืองไพศาลีนั้นได้เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก ข้าว
กล้าเสียหาย. ทีแรกพวกมนุษย์ที่ขัดสนในเมืองไพศาลีนั้น ได้ตายแล้ว
(มากกว่ามาก) เพราะโทษคือความหิว. พวกอมนุษย์ก็เข้าไปสู่พระนคร
เพราะกลิ่นซากศพของมนุษย์เหล่านั้น อันเขาทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ, มนุษย์
ทั้งหลายได้ตายมากกว่ามาก เพราะอุปัทวะที่เกิดจากอมนุษย์. อหิวาตกโรค
เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะความปฏิกูลด้วยกลิ่นศพแห่งมนุษย์เหล่านั้น.

145
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 146 (เล่ม 43)

ภัย ๓ อย่าง คือ "ภัยเกิดแต่ภิกษาหาได้ยาก ๑ ภัยเกิดแต่อมนุษย์ ๑
ภัยเกิดแต่โรค ๑" เกิดขึ้นแล้วด้วยประการฉะนี้.
ชาวนครประชุมกันแล้ว กราบทูลพระราชาว่า "มหาราช ภัย ๓
อย่างเกิดขึ้นแล้วในพระนครนี้, ในกาลก่อนแต่กาลนี้ จนถึงพระราชา
ชั้น ๗ ชื่อว่าภัยเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแล้ว; เพราะว่าในรัชกาลของ
พระราชาผู้ทรงธรรมทั้งหลาย ภัยเห็นปานนี้ย่อมไม่เกิดขึ้น."
พระราชารับสั่งให้ทำการประชุมชนทั้งปวงในท้องพระโรงแล้ว
ตรัสว่า "ถ้าว่าความไม่ทรงธรรมของเรามีอยู่ไซร้, ท่านทั้งหลายจงตรวจ
ดูซึ่งเหตุนั้น." ชาวเมืองไพศาลีตรวจดูประเพณีทุกอย่าง ไม่เห็นโทษ
อะไร ๆ ของพระราชา จึงกราบทูลว่า "มหาราช โทษของพระองค์
ไม่มี" จึงปรึกษากันว่า "อย่างไรหนอแล ภัยของพวกเรานี้พึงถึงความ
สงบ ?" บรรดาชนเหล่านั้น เมื่อบางพวกกล่าวว่า "ภัยพึงถึงความสงบ
ด้วยการพลีกรรม ด้วยการบวงสรวง ด้วยการกระทำมงคล," ชนเหล่า
นั้นทำพิธีนั้นทั้งหมด ก็ไม่อาจป้องกันได้.
ชนพวกอื่นกล่าวกันอย่างนี้ว่า "ครูทั้ง ๖ มีอานุภาพมาก, พอเมื่อ
ครูทั้ง ๖ มาในที่นี้แล้ว, ภัยพึงสงบไป." อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า "พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่สรรพ-
สัตว์; เมื่อพระองค์เสด็จมาในที่นี้แล้ว, ภัยเหล่านี้พึงถึงความสงบได้."
ชนแม้ทุกจำพวกชอบใจถ้อยคำของชนเหล่านั้นแล้ว กล่าวว่า "เดี๋ยวนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ?"

146
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 147 (เล่ม 43)

ชาวเมืองไพศาลีให้ไปทูลเชิญพระศาสดา
ก็ในกาลนั้น เมื่อดิถีเป็นที่เข้าจำพรรษาใกล้เข้ามาแล้ว, พระศาสดา
ทรงประทานปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วเสด็จอยู่ในพระเวฬุวัน.
ก็โดยสมัยนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ทรงบรรลุโสดาปัตติผล
พร้อมด้วยพระเจ้าพิมพิสารในสมาคมแห่งพระเจ้าพิมพิสาร ประทับนั่งใน
ที่ใกล้แห่งบริษัทนั้น. ชาวเมืองไพศาลี ตระเตรียมบรรณาการใหญ่ ส่ง
เจ้ามหาลีลิจฉวีและบุตรของปุโรหิตไปด้วยสั่งว่า " ท่านทั้งหลาย จงยัง
พระเจ้าพิมพิสารให้ยินยอมแล้ว นำพระศาสดามาในพระนครนี้." เจ้า
มหาลีลิจฉวีและบุตรปุโรหิตเหล่านั้นไปแล้ว ถวายบรรณาการแด่พระราชา
กราบทูลความเป็นไปนั้นให้ทรงทราบแล้วอ้อนวอนว่า " มหาราช ขอ
พระองค์ทรงส่งพระศาสดาไปยังพระนครแห่งข้าพระองค์."
พระราชา ตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงรู้เอาเองเถิด" แล้วไม่ทรงรับ
(บรรณาการนั้น). ชนเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม
แล้ว ทูลอ้อนวอนว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเมืองไพศาลีเกิดภัย ๓
อย่าง, เมื่อพระองค์เสด็จไป, ภัยเหล่านั้นก็จักสงบ, เชิญเสด็จเถิด
พระเจ้าข้า. ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไป." พระศาสดาทรงสดับคำของชน
เหล่านั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ทรงทราบว่า " ในเมืองไพศาลี เมื่อ
เราสวดรัตนสูตร, อาชญาจักแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล, ในกาลจบ
พระสูตร การบรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน, ภัยเหล่านั้นก็จัก
สงบไป" แล้วทรงรับถ้อยคำของชนเหล่านั้น.
พระศาสดาเสด็จเมืองไพศาลี
พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวว่า " นัยว่า พระศาสดาทรงรับการ

147
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 148 (เล่ม 43)

เสด็จไปยังเนืองไพศาลี " แล้ว รับสั่งให้ทำการป่าวร้องในพระนครเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า " พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองไพศาลีหรือ
พระเจ้าข้า ?" เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ขอถวายพระพร มหาบพิตร"
ทูลว่า " ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ทรงรอก่อน พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์
จัดแจงหนทางก่อน " แล้วรับสั่งให้ปราบพื้นที่ ๕ โยชน์ในระหว่างกรุง-
ราชคฤห์และแม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ ให้จัดแจงวิหารไว้ในที่
โยชน์หนึ่ง ๆ จึงกราบทูลกาลเป็นที่เสด็จไปแด่พระศาสดา.
ครั้งนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางกับภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระราชา
รับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี โดยส่วนสูงประมาณเพียงเข่า ในระหว่าง
โยชน์หนึ่ง ๆ แล้วให้ยกธงชัย ธงแผ่นผ้า และต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้น
เศวตฉัตร ๒ คันซ้อนกันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กั้นเศวตฉัตรแก่ภิกษุ
รูปละคันๆ พร้อมทั้งบริวาร ทรงทำบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น
ทรงอาราธนาพระศาสดาให้ประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง ๆ ถวายมหาทาน
แล้ว ให้เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคาโดย ๕ วัน ทรงประดับเรือในที่นั้น พลาง
ทรงส่งข่าวไปแก่ชาวเมืองไพศาลีว่า " ชาวเมืองไพศาลีจงจัดแจงหนทาง
ทำการรับรองพระศาสดาเถิด."
ชาวเมืองไพศาลีจัดการต้อนรับพระศาสดา
ชาวเมืองไพศาลีเหล่านั้น คิดว่า " เราทั้งหลายจักทำการบูชาทวีคูณ
(๒ เท่า) แล้วปราบพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่างเมืองไพศาลีและ
แม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ แล้วตระเตรียมเศวตฉัตรซ้อน ๆ กัน
ด้วยเศวตฉัตร เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ คัน เพื่อภิกษุรูปละ ๒ คัน
ทำการบูชาอยู่ ได้มายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว.

148
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 149 (เล่ม 43)

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงขนานเรือ ๒ ลำ ให้ทำพลับพลา ให้ประดับ
ด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ปูลาดพุทธอาสน์สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่างไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ขึ้นสู่
เรือ นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จลง
ไปสู่น้ำประมาณเพียงพระศอ กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จมาตราบใด, หม่อมฉันจักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นั่นแหละ
ตราบนั้น" ส่งเรือไปแล้วก็เสด็จกลับ. พระศาสดาเสด็จไปในแม่น้ำคงคา
สิ้นทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง จึงถึงแดนของชาวเมืองไพศาลี.
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ทรงต้อนรับพระศาสดา ลุยน้ำประมาณเพียง
พระศอ นำเรือเข้ายังฝั่งแล้ว เชิญเสด็จพระศาสดาให้ลงจากเรือ. พอเมื่อ
พระศาสดาเสด็จขึ้นจากเรือเหยียบฝั่งแม่น้ำเท่านั้น, มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝน
โบกขรพรรษให้ตกแล้ว. ในที่ทุก ๆ แห่ง น้ำประมาณเพียงเข่า เพียงขา
เพียงสะเอวเป็นต้น ไหลบ่าพัดพาเอาซากศพทั้งปวง ให้เข้าไปในแม่น้ำ
คงคาแล้ว. ภูมิภาคได้สะอาดแล้ว. เจ้าลิจฉวีทั้งหลายทูลให้พระศาสดา
ประทับอยู่ในที่โยชน์หนึ่ง ๆ ถวายมหาทานทำการบูชาให้เป็น ๒ เท่า
นำเสด็จไปสู่เมืองไพศาลี โดย ๓ วัน. ท้าวสักกเทวราชอันหมู่เทวดา
แวดล้อมได้เสด็จมาแล้ว. อมนุษย์ทั้งหลายหนีไปโดยมาก เพราะเทวดา
ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกันแล้ว.
น้ำมนต์แห่งพระปริตรมีอำนาจมาก
พระศาสดา ประทับยืนที่ประตูพระนครในเวลาเย็น ตรัสเรียก
พระอานนทเถระมาแล้ว ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้แล้ว
เที่ยวไปกับเจ้าลิจฉวีกุมารทั้งหลาย ทำพระปริตรในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น

149
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 150 (เล่ม 43)

ในเมืองไพศาลี." พระเถระเรียนรัตนสูตรที่พระศาสดาประทานแล้ว เอา
บาตรสำเร็จด้วยศิลาของพระศาสดาตักน้ำ ยืนอยู่ประตูพระนครแล้ว.
ระลึกถึงพระพุทธคุณของพระตถาคตเหล่านั้นทั้งหมด จำเดิมแต่ตั้งความ
เพียรไว้ว่า " พระบารมี ๓๐ ถ้วน คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-
บารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ คือ โลกัตถจริยา ๑ ญาตัตถจริยา ๑
พุทธัตถจริยา ๑ การก้าวลงสู่พระครรภ์ในภพที่สุด การประสูติ การเสด็จ
ออกมหาภิเนษกรมณ์ การทรงประพฤติความเพียร การชำนะมาร การ
แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์ไม้โพธิ์ การยังพระธรรมจักร
ให้เป็นไป และพระโลกุตรธรรม ๙ " แล้วเข้าไปยังพระนคร เที่ยวทำ
พระปริตรในระหว่างกำแพงทั้ง ๓ ตลอด ๓ ยามแห่งราตรี. เมื่อคำสักว่า
" ยงฺกิญฺจิ " เป็นต้น อันพระเถระนั้นกล่าวแล้วเท่านั้น, น้ำที่สาดขึ้นไป
เบื้องบนตกลงบนกระหม่อมของอมนุษย์ทั้งหลาย.
จำเดิมแต่การกล่าวคาถาว่า " ยานีธ ภูตานิ " เป็นต้น, หยาดน้ำ
เป็นราวกะว่าเทริดเงินพุ่งขึ้นในอากาศ แล้วตกลง ณ เบื้องบนแห่งมนุษย์
ทั้งหลายผู้ป่วย. มนุษย์ทั้งหลายหายโรคในทันใดนั่นเอง แล้วลุกขึ้นแวดล้อม
พระเถระ. ก็จำเดิมแต่บทว่า " ยงฺกิญฺจิ " เป็นต้น อันพระเถระกล่าว
แล้ว อมนุษย์ทั้งหลายถูกเมล็ดน้ำกระทบแล้ว ๆ ยังไม่หนีไปก่อน ที่อาศัย
กองหยากเยื่อและส่วนแห่งฝาเรือนเป็นต้น ก็หนีไปแล้วโดยประตูนั้น ๆ.
ประตูทั้งหลายไม่มีช่องว่างแล้ว. อมนุษย์เหล่านั้นเมื่อไม่ได้โอกาส ก็ทำลาย
กำแพงหนีไป. มหาชนประพรมท้องพระโรงในท่ามกลางพระนครด้วย
ของหอมทั้งปวง ผูกผ้าเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองเป็นต้นในเบื้องบน
ตกแต่งพุทธอาสน์ นำเสด็จพระศาสดามาแล้ว.

150
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 151 (เล่ม 43)

พระศาสดา ประทับนั่งบนอาสนะอันตกแต่งแล้ว. ทั้งภิกษุสงฆ์ ทั้ง
หมู่เจ้าลิจฉวีนั่งแวดล้อมพระศาสดาแล้ว. แม้ท้าวสักกเทวราชอันหมู่เทวดา
แวดล้อมแล้ว ได้ประทับยืนในโอกาสสมควร. ฝ่ายพระเถระเที่ยวไปสู่พระ-
นครทั้งสิ้นโดยลำดับแล้ว มากับมหาชนผู้หายโรค ถวายบังคมพระศาสดา
นั่งแล้ว พระศาสดาทรงตรวจดูบริษัทแล้ว ได้ทรงภาษิตรัตนสูตรนั้น
นั่นเอง. ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พันแล้ว.
พระศาสดา ทรงแสดงรัตนสูตรนั้นเหมือนกันตลอด ๗ วัน คือแม้
ในวันรุ่งขึ้น ก็ทรงแสดงอย่างนั้น ทรงทราบความที่ภัยทั้งปวงสงบแล้ว
ตรัสเตือนหมู่เจ้าลิจฉวีแล้ว เสด็จออกจากเมืองไพศาลี. เจ้าลิจฉวี
ทั้งหลายทรงทำสักการะทวีคูณ นำเสด็จพระศาสดาไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา
โดย ๓ วันอีก.
พวกพระยานาคทำการบูชาพระศาสดา
พระยานาคทั้งหลายผู้เกิดในแม่น้ำคงคา คิดว่ามนุษย์ทั้งหลายย่อมทำ
สักการะแด่พระตถาคต, เราทั้งหลายจะทำอะไรหนอ ?" พระยานาคเหล่า-
นั้นนิรมิตเรือสำเร็จด้วยทองคำ เงิน และแก้วมณี จัดตั้งบัลลังก์สำเร็จด้วย
ทองคำ เงิน และแก้วมณี ทำน้ำให้ดาดาษด้วยดอกปทุม ๕ สี แล้วทูล
อ้อนวอนพระศาสดา เพื่อประโยชน์เสด็จขึ้นเรือของตน ๆ ว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงทำการอนุเคราะห์แม้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
เถิด." มนุษย์และนาคทั้งหลายย่อมทำการบูชาพระตถาคต.
เทวดาทั้งปวง ตั้งต้นแต่เทวดาผู้สถิต ณ ภาคพื้น ตลอดถึงพรหม-
โลกชั้นอกนิฏฐ์คิดว่า " พวกเราจะทำอะไรหนอ ?" แล้วทำสักการะ.
บรรดามนุษย์และอมนุษย์เหล่านั้น นาคทั้งหลายยกฉัตรซ้อน ๆ กันขึ้น

151
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 152 (เล่ม 43)

ประมาณโยชน์หนึ่ง. ฉัตรที่ซ้อน ๆ กัน อันมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
คือนาคภายใต้ มนุษย์ที่พื้นดิน ภุมมัฏฐกเทวดาที่ต้นไม้ กอไม้ และภูเขา
เป็นต้น อากาสัฏฐกเทวดาในกลางหาว ต่างก็ยกขึ้นแล้ว ตั้งต้นแต่นาคภพ
ตลอดถึงพรหมโลก โดยรอบจักรวาล ด้วยประการฉะนี้. ในระหว่าง
ฉัตรมีธงชัย, ในระหว่างธงชัยมีธงแผ่นผ้า, ในระหว่าง ๆ แห่งธงเหล่านั้น
ได้มีเครื่องสักการะมีพวงดอกไม้ จุณเครื่องอบ และกระแจะเป็นต้น.
เทพบุตรทั้งหลายประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือเพศแห่งคน
เล่นมหรสพ ป่าวร้องเที่ยวไปในอากาศ. ได้ยินว่า สมาคม ๓ แห่งเท่านั้น
คือ " สมาคมในเวลาแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑ สมาคมในเวลาเสด็จลงจาก
เทวโลก ๑ สมาคมในเวลาลงสู่คงคานี้ ๑ " ได้เป็นสมาคมใหญ่.
พระเจ้าพิมพิสารให้เตรียมรับเสด็จพระพุทธเจ้าอีก
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ทรงตระเตรียมสักการะทวีคูณ จากสักการะ
อันพวกเจ้าลิจฉวีทำ ได้ทรงยืนแลดูการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

ที่ฝั่งโน้น. พระศาสดาทอดพระเนตรการบริจาคใหญ่ ของพระราชา
ทั้งหลายใน ๒ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา และทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย
มีนาคเป็นต้น แล้วทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิตพระองค์หนึ่ง ๆ มีภิกษุ
องค์ละ ๕๐๐ เป็นบริวารไว้ที่เรือลำหนึ่ง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันหมู่
นาคแวดล้อมแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ภายใต้แห่งเศวตฉัตรคันหนึ่ง ๆ และ
ต้นกัลปพฤกษ์และพวงระเบียบดอกไม้. ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิตพระองค์
หนึ่ง ๆ พร้อมทั้งบริวารในโอกาสแห่งหนึ่ง ๆ แม้ในเทวดาทั้งหลายมี
เทวดาชั้นภุมมัฏฐกะเป็นต้น. เมื่อห้องจักรวาลทั้งสิ้นเกิดเป็นประหนึ่งว่า
มีมหรสพอันเดียวและมีการเล่นอันเดียว ด้วยประการฉะนี้แล้ว, พระศาสดา

152
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 153 (เล่ม 43)

เมื่อจะทรงทำการอนุเคราะห์แก่นาคทั้งหลาย ได้เสด็จขึ้นสู่เรือแก้วลำหนึ่ง.
แม้บรรดาภิกษุทั้งหลายรูปหนึ่ง ๆ ก็ขึ้นสู่เรือลำหนึ่ง ๆ เหมือนกัน.
พระยานาคทั้งหลาย นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้
เข้าไปสู่นาคภพ ฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดาตลอดคืนยังรุ่ง
ในวันที่ ๒ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของควรเคี้ยว
ด้วยของควรบริโภคอันเป็นทิพย์. พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาแล้วออก
จากนาคภพ อันเทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นบูชาอยู่ ทรงข้ามแม่น้ำคงคา
ด้วยเรือ ๕๐๐ ลำแล้ว.
พระราชาทรงต้อนรับ อัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จลงจากเรือ ทรงทำ
สักการะทวีคูณ จากสักการะอันเจ้าลิจฉวีทั้งหลายทำในเวลาเสด็จมา นำ
พระศาสดามาสู่กรุงราชคฤห์ โดย ๕ วัน โดยนัยก่อนนั่นแล.
พวกภิกษุชมพุทธานุภาพ
ในวันที่ ๒ พวกภิกษุกลับจากบิณฑบาตแล้ว ในเวลาเย็นนั่งประชุม
กันในโรงธรรม สนทนากันว่า " น่าชม ! อานุภาพของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย. น่าประหลาดใจ ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสใน
พระศาสดา; พระราชาทั้งหลายทรงทำพื้นที่ให้สม่ำเสมอในหนทาง ๘ โยชน์
ทั้งฝั่งนี้ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา เกลี่ยทรายลงลาดดอกไม้มีสีต่าง ๆ โดย
ส่วนสูงประมาณเพียงเข่า ด้วยความเลื่อมใสอันเป็นไปแล้วในพระพุทธเจ้า,
น้ำในแม่น้ำคงคาก็ดาดาษ ด้วยดอกปทุม ๕ สี ด้วยอานุภาพนาค, เทวดา
ทั้งหลายก็ยกฉัตรซ้อน ๆ กันขึ้นตลอดถึงอกนิฏฐภพ, ห้องจักรวาลทั้งสิ้น
เกิดเป็นเพียงดังว่ามีเครื่องประดับเป็นอันเดียว และมีมหรสพเป็นอันเดียว."

153