No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 374 (เล่ม 42)

พระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ในเวลาที่เขายืนอยู่ พระศาสดา
ตรัสกะผู้ขวนขวายในทานว่า " ของอะไรที่เป็นเดนของภิกษุสงฆ์ มีอยู่
หรือ ? "
ผู้ขวนขวายในทาน. มีอยู่ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงเลี้ยงดูผู้นี้.
พระศาสดายังถูกโพนทะนา
เขาให้มนุษย์นั้นนั่งในที่ที่พระศาสดาตรัสสั่งนั่นแหละ แล้วเลี้ยง
ดูด้วยข้าวยาคู ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค โดยเคารพ. มนุษย์
ผู้นั้นบริโภคภัตเสร็จ บ้วนปากแล้ว. ได้ยินว่า ชื่อว่าการจัดภัตของพระ-
ตถาคต ย่อมไม่มีในที่อื่น ในปิฎก ๓ เว้นที่นี้เสีย. จิตของเขามีความ
กระวนกระวายสงบแล้ว ได้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแก่เขา. ในที่สุด
แห่งเทศนา เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา
แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. มหาชนตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้ว
ก็กลับ.
ภิกษุทั้งหลายที่ไปกับพระศาสดานั่นแหละ ยกโทษว่า " ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พวกท่านจงดูกรรมของพระศาสดาเถิด. กรรมเห็นปานนี้ ย่อม
ไม่มีในวันทั้งหลายอื่น, แต่วันนี้ พระศาสดาทรงอาศัยมนุษย์คนหนึ่ง
รับสั่งให้คนจัดแจงข้าวยาคูเป็นต้นให้ให้แล้ว. " พระศาสดาเสด็จกลับ
ประทับยืนอยู่แล้วเทียว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร
กัน ? " ทรงสดับเนื้อความนั้นแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย เรา

374
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 375 (เล่ม 42)

คิดว่า ' เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้น
แล้วจึงมา. อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า
แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิด
แต่ความหิว. จึงได้กระทำอย่างนี้; ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่น
กับโรค คือความหิวไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญฺตวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
" ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย เป็น
ทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความ
จริงแล้ว (กระทำให้เเจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความ
ว่า เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัด
ได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้น ๆ (คือเป็นครั้งคราว). ส่วนความหิว
ต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยม
กว่าโรคที่เหลือ.
ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย. สองบทว่า เอตํ ญตฺวา ความว่า
บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า " โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี,
ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี, " แล้วกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้ง.

375
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 376 (เล่ม 42)

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ความว่า เพราะพระนิพพาน
นั้น เป็นสุขอย่างยอด คืออย่างสูงสุดกว่าสุขทั้งหมด.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง จบ.

376
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 377 (เล่ม 42)

๖. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๑๖๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็น
ต้น.
พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยพระกระยาหารตั้ง
ทะนานแห่งข้าวสาร ด้วยสูปะและพยัญชนะอันสมควรแก่พระกระยาหาร
นั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความ
เมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรง
พลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่
สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย
เสด็จมาแล้วหรือ ? "
พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉัน
มีทุกข์มาก.
อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภค
มากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :-
" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก
นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา

377
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 378 (เล่ม 42)

เลี้ยงด้วยอาหาร, ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อม
เข้าห้องบ่อย ๆ."
แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณ จึงควร,
เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข " เมื่อจะทรงโอวาทให้ยิ่ง จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง
อายุอยู่ ค่อย ๆ ย่อยไป๑ "
พระราชาไม่อาจจะทรงเรียนพระคาถาได้. แต่ตรัสกะเจ้าหลานชื่อ
สุทัสนะ ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ว่า " พ่อ เธอจงเรียนคาถานี้. " สุทัสนะนั้น
ทรงเรียนคาถานั้นเเล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จะกระทำ
อย่างไร พระเจ้าข้า ? " ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " เมื่อพระ-
ราชาเสวยอยู่ ท่านพึงกล่าวคาถานี้ในกาลเสวยก้อนที่สุด, พระราชาทรง
กำหนดเนื้อความได้เเล้ว จักทรงทิ้งก้อนข้าวนั้น, ในการหุงภัตเพื่อพระ-
ราชา เธอพึงให้ลดข้าวสารมีประมาณเท่านั้น ด้วยอันนับเมล็ดข้าวในก้อน
ข้าวนั้น. " สุทัสนะนั้นทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาเสวย
เวลาเช้าก็ตาม เวลาเย็นก็ตาม ก็กล่าวคาถานั้นขึ้น ในการเสวยก้อน
สุดท้าย แล้วให้ลดข้าวสาร ด้วยอันนับเมล็ด ในก้อนข้าวที่พระราชานั้น
ทรงทิ้ง. แม้พระราชาทรงสดับคาถาของสุทัสนะนั้นแล้ว รับสั่งให้พระ-
ราชทานทรัพย์ครั้งละพัน.
๑. แปลกันมาอย่างนี้. คือเติม ภุตฺตาหาโร เป็นประธาน แต่น่าจะหมายความว่า....... มีโรค
ภัยไข้เจ็บน้อย, เขาแก่ช้าอายุยืน.

378
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 379 (เล่ม 42)

พระราชาลดพระกระยาหารได้แล้ว
โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้นทรงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีพระกระยา-
หารแห่งข้าวสารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงถึงความสุขแล้ว ได้มีพระ-
สรีระอันเบา.
ภายหลังวันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ความสุขเกิดแก่
หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันเป็นผู้สามารถ จะติดตามจับเนื้อก็ได้ ม้าก็ได้,
เมื่อก่อนหม่อมฉันมีการยุทธ์กับหลาน; บัดนี้หม่อมฉันให้ธิดาชื่อว่าวชิร-
กุมารีแก่หลานแล้ว ให้บ้านนั้น ทำให้เป็นค่าน้ำอาบของธิดานั้นนั่นแล.
ความทะเลาะกับหลานนั้นสงบแล้ว, สุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะ
เหตุแม้นี้. เเม้เเก้วมณีของพระเจ้ากุสะ ซึ่งหายไปแล้วในเรือนของหม่อม-
ฉันในวันก่อน; บัดนี้แก้วมณีแม้นั้นมาสู่เงื้อมมือแล้ว, ความสุขแท้เกิด
แล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้, หม่อมฉันปรารถนาความคุ้นเคยกับ
เหล่าสาวกของพระองค์ จึงทำแม้ธิดาแห่งญาติของพระองค์ไว้ในเรือน,
ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อนฉัน เพราะเหตุเเม้นี้. " พระศาสดาตรัสว่า
" มหาบพิตร ชื่อว่าความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ทรัพย์แม้เช่นกับ
ความเป็นผู้สันโดษ ด้วยวัตถุตามที่ตนได้แล้ว ไม่มี, ชื่อว่าญาติเช่นกับ
ด้วยผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี, ชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วยพระนิพพาน
ไม่มี " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐิปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

379
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 380 (เล่ม 42)

" ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง,
ทรัพย์มีความสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง, ญาติมีความ
คุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง, พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาโรคฺยปรมา ความว่า มีความเป็นผู้
ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ลาภทั้งหลาย แม้มีอยู่แก่คนมีโรค ไม่จัด
เป็นลาภแท้, เพราะฉะนั้น ลาภทั้งปวงจึงมาถึงแก่คนไม่มีโรคเท่านั้น; เหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา. "
บาทพระคาถาว่า สนฺตุฏฺฐปรมํ ธนํ ความว่า ภาวะคืออันยินดี
ด้วยวัตถุที่ตนได้เเล้วซึ่งเป็นของมีอยู่แห่งตน ของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต
นั่นแล ชื่อว่าสันโดษ, สัน โดษนั้น เป็นทรัพย์อันยิ่งกว่าทรัพย์ที่เหลือ.
บาทพระคาถาว่า วิสฺสาสปรมา ญาตี๑ ความว่า มารดาก็ตาม บิดา
ก็ตามจงยกไว้. ไม่มีความคุ้นเคยกับคนใด. คนนั้นไม่ใช่ญาติแท้: แต่มี
ความคุ้นเคยกับคนใด, คนนั่นแม้ไม่เนื่องกัน ก็ชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง
คืออย่างสูง; เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " วิสฺสาสปรมา
ญาตี. "
อนึ่ง ชื่อว่าความสุข เหมือนพระนิพพาน ไม่มี, เหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ."
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.
๑ . บาลีเป็น ญาติ.

380
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 381 (เล่ม 42)

๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปริเวกรสํ " เป็นต้น.
ได้ทราบข่าวปรินิพพานแล้วบำเพ็ญสมณธรรม
ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลายโดยเดือน ๔ เดือน๑
จากนี้ เราจักปรินิพพาน. " ภิกษุ ๗๐๐ ในสำนักของพระศาสดาถึงความ
สะดุ้งแล้ว. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพทั้งหลาย. ภิกษุปุถุชน
ทั้งหลายไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้. ภิกษุทั้งหลายเป็นพวก ๆ เที่ยว
ปรึกษากันว่า " พวกเราจักทำอย่างไรหนอ ? " ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง
ชื่อว่าติสสเถระคิดว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน โดยล่วงไป
๔ เดือน ก็เราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์
อยู่นั่นแหละ, เราควรถือเอาพระอรหัต (ให้ได้)" แล้วจึงอยู่ผู้เดียวเท่านั้น
ในอิริยาบถ ๔. การไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย หรือการสนทนาปราศรัย
กับผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมไม่มี. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า" คุณติสสะ
เหตุไร ? คุณจึงทำอย่างนี้. " ท่านไม่ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุ
เหล่านั้น กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระติสสเถระไม่มีความรักในพระองค์. " พระศาสดา
๑. น่าจะเป็น ๓ เดือน แต่ว่าในที่นี้เห็นจะนับโดยเดือน.

381
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 382 (เล่ม 42)

รับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ติสสะ เหตุไร ? เธอจึงทำอย่างนี้. "
เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า " ดีละ
ติสสะ " แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือน
ติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็น
ต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ
ชื่อว่าบูชาเรา. " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรสํ ปิวํ.
" บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน
เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกรสํ ความว่า ซึ่งรสอันเกิดแล้ว
แต่วิเวก, อธิบายว่า ซึ่งความสุขอันเกิดแต่ความเป็นผู้เดียว.
บทว่า ปิตฺวา ความว่า ดื่มแล้วด้วยความสามารถแห่งอันเป็นผู้ทำกิจ
มีอันกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์.
บาทพระคาถาว่า รสํ อุปสมสฺส จ ความว่า ดื่มแล้วซึ่งรสแห่ง
พระนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลสด้วย.
สองบทว่า นิทฺทโร โหติ ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้
ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีบาป เพราะความไม่มีความกระวน
กระวาย คือราคะเป็นต้นในภายใน เพราะดื่มรสทั้งสองอย่างนั้น.

382
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 383 (เล่ม 42)

สองบทว่า รสํ ปิวํ ความว่า แม้เมื่อดื่มรสแห่งปีติ อันเกิดขึ้นแล้ว
ด้วยสามารถแห่งโลกุตรธรรม ๙ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย และ
ไม่มีบาป.
ในกาลจบเทศนา พระติสสเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้
มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระติสสเถระ จบ.

383